ศาลปกครองวานนี้ ได้ไต่สวน 3 ฝ่าย คือ #เอไอเอส #ทรู #กสทช.
เพื่อหาแนวทางคุ้มครองผู้ใช้บริการและกำหนดวันซิมดับที่เหมาะสม (ทรูร้องสอด)
สรุปเอาตามที่เข้าใจกันง่ายๆ
สาเหตุและปัญหา
เอไอเอส ร้อง ศาลปกครองกลาง เนื่องจาก กสทช ออกใบอนุญาต 900Mhz ใน lot ที่ 2 ให้กับทรู
และมีมติในวันเดียวกัน ให้ เอไอเอส ซิมดับ และสิ้นสุดการใช้บริการ 2G 900 Mhz ในวันที่ 15 มีนาคม
ผลทำให้ลูกค้าเอไอเอส บนคลื่นความถี่ 900 MHz ประมาณ 800,000 ราย รวมทั้งเครือข่ายอื่นๆทั้ง AWN TOT ที่มา Roaming อีกประมาณ 8 ล้านราย
ไม่สามารถใช้งานต่อได้
เอไอเอสจึงขอให้ศาลมีคำพิพากษา เพิกถอนมติของ กสทช และให้มีคำสั่ง ให้ เอไอเอส ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คลื่นความถี่ 900 MHz ต่อไป
จนถึงวันที่บริษัท JAS และ TRUE พร้อมจะให้บริการ ขยายเครือข่ายมารองรับได้อย่างต่อเนื่อง
AIS กับ กสทช
ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประกาศ ของ กสทช เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ในข้อ 9
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ข้อ ๙ วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ในกรณีระยะเวลาความคุ้มครองยังไม่สิ้นสุด เมื่อคณะกรรมการได้จัดสรรคลื่นความถี่ให้กับผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่รายใหม่แล้ว ให้คณะกรรมการกำหนดวันหยุดการให้บริการซึ่งถือเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาความคุ้มครอง พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้ให้บริการทราบถึงกำหนดวันหยุดให้บริการดังกล่าวเพื่อเตรียมความพร้อมในการนำคลื่นความถี่ไปให้บริการใหม่
วรรคสอง กำหนดว่า ผู้ให้บริการมีหน้าที่จะต้องแจ้งถึงวันหยุดให้บริการแก่ผู้ใช้บริการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันหรือตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ก่อนที่ผู้ให้บริการจะหยุดให้บริการ
ง่ายๆคือ กสทช จะมีมติ
แจ้งซิมดับ ต้องแจ้งล่วงหน้าก่อน 90 วัน หรือ อย่างน้อยก็ 30 วัน จะแจ้งปุ๊บ ดับปั๊บ ไม่ได้
ศาลพิเคราะห์อีกว่า ที่แล้วๆมา กสทช ประชุมเรื่อง มาตการเยียวยา ก็ไม่ได้กำหนดวันหยุดให้บริการหรือซิมดับวันใดวันหนึ่ง แต่อย่างใด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แต่เมื่อได้พิจารณามติในคราวประชุม ครั้งที่ ๓๔/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ และมติในคราวประชุม ครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ เห็นว่า ตามมติดังกล่าวข้างต้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ไม่ได้กำหนดให้วันใดวันหนึ่งเป็นวันหยุดการให้บริการ
แต่
มติวันที่ 14 มีนาคม ของ กสทช ไปกำหนดวันหยุดให้บริการ มาตการเยียวยา ตรงไปเข้ากับ ข้อ 9 ของ มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)
รวมถึง กสทช ให้เอไอเอส ทำรายงานข้อมูลเลขหมายพร้อมจำนวนเงินคงเหลือในระบบ 400,000 เลขหมาย ของวันที่ 15 มีนาคม นำส่ง กสทช. ภายในวันที่ 31 มีนาคม โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า กสทช ได้แจ้ง เอไอเอส ซึ่งเป็นผู้ให้บริการทราบถึงกำหนดวันหยุดให้บริการก่อนหน้านั้นแต่อย่างใด
จึงถือได้ว่า มติ กสทช เมื่อ 14 มีนาคม น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กสทช ร้องต่อ ถ้าศาลมีคำสั่งทุเลา จะเป็น จะเป็นบรรทัดฐานในกรณีประมูลคลื่นความถี่ในครั้งต่อๆ ไป ที่จะต้องขยายมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการ
ศาลพิเคราะห์ว่า กสทช ก็ควรจะทำให้ตรงตาม ข้อ 9 นั้นแหละ คือ บรรทัดฐาน จะได้ไม่เกิดปัญหา
ส่วน การนำส่งเงินรายได้ช่วงขยายระยะเวลาเยียวยานี้ ให้ กสทช จัดการปกติ มันไม่เป็นอุปสรรคอะไรหรอก ถ้าเทียบกับ ซิบดับ 400,000 เลขหมาย (ศาลท่านใช้ว่าช่างน้ำหนักเอา)
AIS กับ TRUE
ทรู ได้ร้องสอด เข้ามา ให้ ศาลไม่รับฟ้องคดี และให้ยกคำสั่งทุเลา ของ เอไอเอส ออกไป!?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อีกทั้งกรณีที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอด ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙ ขอให้ศาลมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณา และให้มีคำสั่งยกคำขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
ศาลพิเคราะห์ว่า ตามที่ได้สอบถามผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ว่า ทรู ได้ เสนอให้ กสทช นำคลื่น 900 5Mhz ไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ตามหนังสือ TUC/H/REG/๒๓๘/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙
ศาลเห็นว่า
ถ้าจะมีคำสั่งทุเลาตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ก็ไม่ทำให้ ทรู เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายแต่อย่างใด
ศาลจึงเห็นว่ามีเหตุสมควรที่จะทุเลาการบังคับตามมติดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบข้อ ๗๒ วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓
จึงมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในคราวประชุมนัดพิเศษ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๙ โดยให้ระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวสิ้นสุดลงในวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา
สำนักงานศาลปกครอง
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙
สรุป มติ กสทช ไม่ชอบด้วยกฏหมาย TRUE แมนๆ ร้องสอดให้ศาลไม่รับพิจารณา พลิก! ให้ใช้ฟรี แสดงว่าทรูไม่เสียประโยชน์
เพื่อหาแนวทางคุ้มครองผู้ใช้บริการและกำหนดวันซิมดับที่เหมาะสม (ทรูร้องสอด)
เอไอเอส ร้อง ศาลปกครองกลาง เนื่องจาก กสทช ออกใบอนุญาต 900Mhz ใน lot ที่ 2 ให้กับทรู
และมีมติในวันเดียวกัน ให้ เอไอเอส ซิมดับ และสิ้นสุดการใช้บริการ 2G 900 Mhz ในวันที่ 15 มีนาคม
ผลทำให้ลูกค้าเอไอเอส บนคลื่นความถี่ 900 MHz ประมาณ 800,000 ราย รวมทั้งเครือข่ายอื่นๆทั้ง AWN TOT ที่มา Roaming อีกประมาณ 8 ล้านราย
ไม่สามารถใช้งานต่อได้
เอไอเอสจึงขอให้ศาลมีคำพิพากษา เพิกถอนมติของ กสทช และให้มีคำสั่ง ให้ เอไอเอส ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คลื่นความถี่ 900 MHz ต่อไป
จนถึงวันที่บริษัท JAS และ TRUE พร้อมจะให้บริการ ขยายเครือข่ายมารองรับได้อย่างต่อเนื่อง
ศาลปกครองกลางพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประกาศ ของ กสทช เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) ในข้อ 9
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ง่ายๆคือ กสทช จะมีมติ แจ้งซิมดับ ต้องแจ้งล่วงหน้าก่อน 90 วัน หรือ อย่างน้อยก็ 30 วัน จะแจ้งปุ๊บ ดับปั๊บ ไม่ได้
ศาลพิเคราะห์อีกว่า ที่แล้วๆมา กสทช ประชุมเรื่อง มาตการเยียวยา ก็ไม่ได้กำหนดวันหยุดให้บริการหรือซิมดับวันใดวันหนึ่ง แต่อย่างใด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่ มติวันที่ 14 มีนาคม ของ กสทช ไปกำหนดวันหยุดให้บริการ มาตการเยียวยา ตรงไปเข้ากับ ข้อ 9 ของ มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ๒๕๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)
รวมถึง กสทช ให้เอไอเอส ทำรายงานข้อมูลเลขหมายพร้อมจำนวนเงินคงเหลือในระบบ 400,000 เลขหมาย ของวันที่ 15 มีนาคม นำส่ง กสทช. ภายในวันที่ 31 มีนาคม โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า กสทช ได้แจ้ง เอไอเอส ซึ่งเป็นผู้ให้บริการทราบถึงกำหนดวันหยุดให้บริการก่อนหน้านั้นแต่อย่างใด
จึงถือได้ว่า มติ กสทช เมื่อ 14 มีนาคม น่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กสทช ร้องต่อ ถ้าศาลมีคำสั่งทุเลา จะเป็น จะเป็นบรรทัดฐานในกรณีประมูลคลื่นความถี่ในครั้งต่อๆ ไป ที่จะต้องขยายมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการ
ศาลพิเคราะห์ว่า กสทช ก็ควรจะทำให้ตรงตาม ข้อ 9 นั้นแหละ คือ บรรทัดฐาน จะได้ไม่เกิดปัญหา
ส่วน การนำส่งเงินรายได้ช่วงขยายระยะเวลาเยียวยานี้ ให้ กสทช จัดการปกติ มันไม่เป็นอุปสรรคอะไรหรอก ถ้าเทียบกับ ซิบดับ 400,000 เลขหมาย (ศาลท่านใช้ว่าช่างน้ำหนักเอา)
ทรู ได้ร้องสอด เข้ามา ให้ ศาลไม่รับฟ้องคดี และให้ยกคำสั่งทุเลา ของ เอไอเอส ออกไป!?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ศาลพิเคราะห์ว่า ตามที่ได้สอบถามผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ว่า ทรู ได้ เสนอให้ กสทช นำคลื่น 900 5Mhz ไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ตามหนังสือ TUC/H/REG/๒๓๘/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙
ศาลเห็นว่า ถ้าจะมีคำสั่งทุเลาตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ก็ไม่ทำให้ ทรู เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายแต่อย่างใด
ศาลจึงเห็นว่ามีเหตุสมควรที่จะทุเลาการบังคับตามมติดังกล่าว ทั้งนี้ ตามมาตรา ๖๖ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบข้อ ๗๒ วรรคสอง แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓
จึงมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในคราวประชุมนัดพิเศษ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๙ โดยให้ระยะเวลาคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวสิ้นสุดลงในวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา
๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙