นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนร่วมรณรงค์ประหยัดพลังงานในช่วงหน้าร้อนนี้ โดยขอความร่วมมือทั้งประชาชนและหน่วยราชการปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เวลา 14.00-15.00 น. ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีครับ ก็ลองทำดูอย่างน้อยๆก็ประหยัดเงินในกระเป๋าของท่านได้ เรามาลองคำนวนดูคร่าวๆ เอาแบบง่ายๆไม่ต้องทฤาฎีอะไรมากให้ปวดหัว หากสมมุติว่าเราปิดไฟหลอดฟลูออเรสเซนต์หลอดยาวขนาด 36W วันละ 1 ชม. สมมุติว่าค่าไฟเราหน่วยละ 4 บาท เราจะประหยัดเงินในกระเป่าเราได้ = 4*36/1000 = 0.144 บาท/วัน (14.4 สตางค์/วัน) ใน 1 เดือนเราจะประหยัดเงินในกระเป๋าเราได้ = 4.32 บาท/เดือน หรือประมาณ 52.56 บาท/ปี
เอาเป็นว่าผมลองมานำเสนอแนวคิด-ปฏิบัติ ในทางของผมมานำเสนอให้เพื่อนสมาชิกได้ลองพิจารณาดูว่ามันมีอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถทำให้ทุกท่านประหยัดเงินในกระเป๋าท่านลงได้ในสภาวะเศรษฐกิจห่วยๆแบบนี้ลงได้ อีกไม่นาน กฟผ. ก็จะขึ้นค่าไฟแล้ว และปัจจุบันอากาศเริ่มร้อนจัด ทำให้ความต้องการไฟฟ้าของประเทสต้องมีมากขึ้นแน่นอน
การใช้พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ของบ้านเราตอนนี้หนักไปทางระบบทำความเย็นครับโดยเฉพาะหน้าร้อนจะกินพลังงานมากๆ และระบบทำความเย็นที่ใกล้ตัวเราๆท่านๆมากที่สุด ณ เวลานี้ คือระบบปรับอากาศ พูดง่ายๆก็คือแอร์นี่เอง เจ้าแอร์นี่แหละคือตัวกินพลังงานหลักของประเทศและเงินในกระเป๋าของท่าน ฉลากเบอร์ 5 ที่ติดมากับแอร์ที่ท่านซื้อมันคำนวนเงินมาให้ท่านเสร็จสรรพ โดยคำนวนมาที่ท่านเปิดแอร์วันละ 8 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าเงินค่าไฟที่เขาคำนวนโดยเฉลี่ยมาให้นั้นมันหมายความว่าแอร์ของท่านจะต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดที่สุด เหมือนใหม่ที่สุด แต่ในความเป็นจริงเราๆท่านๆก็คงไม่ได้มีความรู้ในด้านนี้กันทุกคนนัก ซื้อมาแล้วก็ต้องใช้ให้เต็มที่เท่านั้น ไม่ได้มองไปถึงว่าจะต้องมาเช็คมาดูแลอะไรนักหนา จุดตรงนี้แหละที่ทำให้เราต้องเปลืองพลังงานมากไปเกินความจำเป็น ส่งผลถึงค่าการใช้พลังงานของชาติที่มากขึ้น และค่าไฟที่มากขึ้นของตัวท่านเองด้วย
ผมเองคงไม่ใช่ช่างแอร์ในตำนานที่จะรู้ไปกว่าใครๆนัก เพราะอาชีพหลักก็ไม่ใช่ช่างแอร์โดยตรง แต่ล้างแอร์เป็น คำนวนค่าไฟต่อหน่วยเป็น และเล็งเห็นถึงประโยชน์ตรงนี้ที่จะเกิดแก่เพื่อนสมาชิกทุกท่าน จึงได้นำมาบอกเล่าสู่กันฟังเผื่อมันจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย
ผมไปลองสุ่มตัวอย่างแอร์มา 1 ตัวครับ เป็นแอร์ยี่ห้อหนึ่งขนาด 12,xxx btu สังเกตมันดูว่า มันเย็นไม่เต็มประสิทธิภาพ และมันไม่นิ่ง มีอาการสั่นเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากฝุ่นและคราบเหนียวๆต่างๆเข้าไปเกาะบริเวณ คอยล์เย็น พัดลมแอร์ และคอยล์ร้อนบริเวณตู้วางคอมเพสเชอร์ อีกทั้งตะแกรงดักฝุ่นหรือฟิลเตอร์ที่ตัวเครื่องก็มีฝุ่นจับอีกด้วย ทดลองเปิดที่อุณหภูมิ 25 C ความแรงพัดลมที่ Auto ปรากฏว่าเปิดอยู่นานมากเป็นชั่วโมงคอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการตัดการทำงาน
วัดค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเท่ากับ 4.875 แอมแปร์ และค่ากำลังไฟฟ้ากินไฟ 1.1032 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ตามภาพ
เรามาลองคิดคำนวนค่าไฟแบบคร่าวๆดูครับสมมุติว่าเราเปิดเจ้าแอร์เครื่องนี้เป็นเวลา 8 ชั่วโมง/วัน สูตรการคำนวนง่ายๆครับ
จำนวนหน่วยที่ใช้ใน 1 วัน = กำลังไฟฟ้า(กิโลวัตต์) x จำนวน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการคำนวณ x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานในหนึ่งวัน
จำนวนหน่วยที่ใช้ใน 1 วัน = 1.1032 * 1 * 8 = 8.826 หน่วย/วัน จะจ่ายค่าไฟกี่บาทก็แล้วแต่พื้นที่ๆท่านอยู่ว่าเขาเก็บค่าไฟหน่วยละเท่าไหร่ครับ
คราวนี้เราลองมาทดลองล้างแอร์เจ้าเครื่องนี้กันดูครับ
เบื้องต้นก่อนจะถึงวิธีล้างแอร์ มาบอกในสิ่งที่หลายๆคนมองข้ามก่อน นั่นก็คือฟิลเตอร์ดักฝุ่นครับ เจ้าฟิลเตอร์ตัวนี้ถ้าไม่ล้างมันๆก็จะทำให้อากาศร้อนภายในห้องดูดผ่านครีบระบายความร้อนออกไปไม่ได้เหมือนกัน แง้มหน้ากากหน้ามันขึ้น แล้วดึงมันออกมาฉีดล้างให้สะอาดทุกๆอาทิตย์ครับ
คราวนี้มาเข้าวิธีล้างแอร์ช่วยชาติจริงๆแล้ว
1. เริ่มต้นจากสับเบรคเกอร์ลง เตรียมถอดหน้ากากออกก่อน มันจะมีที่ปิดหัวน็อตอยู่ที่ส่วนล่างของช่องลมแอร์ ให้เราใช้ไขควงเล็กๆงัดออก และใช้ไขควงแฉกขันน็อตออกทั้งสองข้างตามภาพ และใช้มือโยกหน้ากากแอร์ออกมา (แอร์บางรุ่นก็ไม่มีเจ้าน็อตยึดหน้ากากนี้เช่นแอร์ SAMSUNG บางรุ่น ใช้มือโยกหน้ากากออกได้เลย)
สังเกตสิ่งสกปรกที่อุดตันครีบระบายความร้อนหรือคอยล์เย็น และสังเกตุพักลมแอร์ที่อยู่ใต้ช่องแอร์ดูครับ มันจะมีคราบเหนียวๆ และฝุ่นจับอยู่เป็นจำนวนมาก ที่แหละคือสิ่งที่ทำให้แอร์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพและทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ที่เป็นตัวการในการกินไฟของคุณไม่ยอมตัดการทำงาน ทำให้แอร์ไม่เย็น เปลืองไฟ เปลืองเงินค่าไฟครับ
2. ใช้แปรงสีฟันชุบน้ำทำความสะอาดคราบไคลที่ติดอยู่กับครีบระบายความร้อนและพัดลมแอร์ให้สะอาดที่สุด และใช้น้ำจากสายยางหรือจากอะไรก็ได้ที่คุณมี ฉีดล้างฝุ่นและคราบเหนียวๆออกให้ได้มากที่สุด ตามภาพผมใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงในการล้างครับ ปรับน้ำให้มันแบนๆที่สุด แล้วฉีดไปตามครีบและพัดลมแอร์ (ในส่วนของพัดลมแอร์ตอนฉีดเราต้องเอามือล็อคไม่ให้ใบพัดหมุนด้วย ไม่เช่นนั้นกระแสไฟฟ้าจากการหมุนของใบพัดมันจะย้อนกับไปที่แผงคอนโทรลแอร์)
3. ไปที่คอยล์ร้อนที่อยู่ตรงตู้คอมเพรสเซอร์บ้างครับ ฉีดน้ำล้างเหมือนกันครับ ให้ครีบระบายความร้อนจากตู้คอมเพรสเซอร์ระบายความร้อนได้ง่ายที่สุด
4. เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จครับ ประกอบหน้ากากกลับคืนครับผม
คราวนี้เรามาทดสอบเปิดแอร์กันใหม่ที่อุณหภูมิเดิม ความแรงพัดลมแอร์เท่าเดิมได้ค่าดังนี้ครับผม > ค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลดลงเหลือเท่ากับ 4.380 แอมแปร์ และค่ากำลังไฟฟ้ากินไฟ 1.0265 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
ที่ค่าลดลงเนื่องจากมันระบายความร้อนได้ดีขึ้นครับ ลองนึกภาพเราเอามือบีบจมูกแล้วหายใจเราจะใช้แรงในการหายใจมากขึ้น แล้วเวลาเราเอามืออกเราก็จะใช้แรงไม่มากเพราะไม่มีอะไรมาบีบจมูกเราไว้
แต่ไฮไลท์ของการประหยัดพลังงานมันอยู่ตรงนี้ครับ หลังจากเปิดไปได้ประมาณ 15 นาที คอมเพรสเซอร์ก็ตัดการทำงานครับ ทำให้ค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลดลงเหลือเท่ากับ 0.310 แอมแปร์ และค่ากำลังไฟฟ้ากินไฟ 0.0648 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
ทดสอบเปิดดูเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ปรากฏว่าใน 1 ชั่วโมงการทำงานมีช่วงที่คอมเพรสเซอร์ทำงานประมาณ 35 นาที และช่วงที่คอมเพรสเซอร์หยุดทำงานประมาณ 25 นาที หลังจากที่ก่อนจะล้างแอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลามันไม่ยอมตัดเลย
มาคำนวนหน่วยที่ใช้ไฟคร่าวๆกันใน 1 วันกันใหม่ครับ คิดที่เปิดวันละ 8 ชั่วโมงเหมือนเดิม แต่คราวนี้เราต้องคิดที่ทั้งคอมเพรสเซอร์ทำงานและหยุดการทำงานมารวมกัน
จำนวนหน่วยที่ใช้ใน 1 วัน = (1.0265 * 1 * (35/60) *8) + (0.0648 * 1 * (25/60) *8) = 5.006 หน่วย/วัน
จำนวนหน่วยที่ลดลงในการใช้ไฟฟ้าก่อนล้างและหลังล้างที่เราจะประหยัดได้สำหรับแอร์ 1 เครื่องขนาด 12,xxx BTU เท่ากับ 8.826 - 5.006 = 3.82 หน่วยต่อวัน หรือประมาณ 114 หน่วยต่อเดือน(คิดจาก 30 วัน) หรือประมาณ 1394.3 หน่วยต่อปี นี่คือค่าที่ประเทศชาติรวมถึงตัวคุณเองได้ประหยัดการใช้พลังงานเป็นจำนวนหน่วย คิดเป็นจำนวนเงินที่คุณประหยัดได้เท่าไหร่ ต่อวัน ต่อเดือน หรือต่อปี คุณก็ลองเอาอัตราค่าไฟต่อหน่วยของคุณคูนเข้าไปดูครับ สมมุติว่าบ้านคุณเสียค่าไฟหน่วยละ 4 บาท คุณก็จะประหยัดเงินตรงนี้ไปแล้วประมาณ 456 บาท/เดือน หรือ 5,577 บาท ต่อปีต่อเครื่อง ซึ่งเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยครับ
หากล้างไม่เป็นก็ไปจ้างช่างมาล้างให้ทีละ 3-500 บาท ก็คุ้มค่ากับค่าไฟที่ลดลงครับ
อีกแนวทางหนึ่งเห็นวันก่อนรัฐบาลนำแนวทางพลังงานทางเลือกจากแผงโซล่าร์เซลล์มานำเสนอ ก็ตัดสินใจเอาครับ ผมคงไม่มีความรู้ความสามารถพอที่จะไปแย้งหรือขัดขวางใดๆได้ ข้อดีมันก็มี แต่ด้วยความเห็นส่วนตัวมันจะเหมาะกับพื้นที่ๆสายส่งเข้าไม่ถึงมากกว่า ที่บอกว่าเท่านั้นเท่านี้ปีจะคืนทุนและต่อไปก็เหมือนใช้ไฟฟรี ก็จงโปรดพิจารณาให้รอบด้านว่ากว่าจะถึงจุดคุ้มทุน แผงโซล่าร์เซลล์+ตัวเก็บประจุหรือแบตเตอรี่+อินเวอร์สเตอร์ท่านเสื่อมไปแล้วพร้อมๆกันไป ณ เวลานั้นหรือไม่ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่น้อยในการทำ Minor Inspection หรือ Major Overhaul แต่ละครั้งใช้เงินในการบำรุงรักษาจำนวนมาก
ไหนๆก็ไหนๆ นานๆได้ตั้งกระทู้ขอพล่ามต่ออีกนิดนึงเผื่อจะเป็นความรู้ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องโซลาร์เซลล์ การลงทุนทำไฟฟ้าเองตรงนี้ต้นทุนจะตกอยู่ประมาณขั้นต่ำ 25บาท/W สมมุติว่าบ้านหลังขนาดย่อมๆหลังหนึ่งมีแอร์ 2 ตัว ห้องโถงกับห้องนอนรวมกำลังไฟฟ้า 3,000 W เครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง 3,500 W เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆเช่น ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เตารีด พัดลม หลอดไฟ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ไมโครเวฟ ฯลฯ รวมกันประมาณ 4,000 W ท่านจะต้องใช้เงินลงทุนในการทำระบบโซลาร์เซลล์ขึ้นมาใช้ประมาณ (3000+3500+4000)*25 = 262,500 บาท ไม่ทราบว่าสูงไปหรือไม่สำหรับการลงทุน ในขณะที่การประจุไฟเอาแน่เอานอนไม่ได้ กลางคืนไม่มีแสง ฝนตกไม่มีแสง ความเชื่อมั่น-ความเสถียรในการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แบตเสื่อมง่าย(ลองนึกถึงโทรศัพท์มือถือท่านชาร์จๆหยุดๆเดี๋ยวแบตมันก็เสื่อม) และปัจจัยอื่นๆอีกมากมายตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ก็ไม่ทราบว่าจะคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับเอาเงินตรงนี้ไปจ่ายค่าไฟตามปกติ โดยยึดแนวทางปิดไฟตามท่านนายกฯและบำรุงรักษาระบบปรับอากาศตามแนวทางของผม ก็พิจารณาเอาครับ วันนี้เอาเรื่องราวมาเล่าให้เพื่อนๆฟังเท่านี้ก่อนก้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้เข้ามาอ่านครับ
The Mario 15 มีนาคม 2559
แนวทางประหยัดพลังงานช่วยชาติ เซฟเงินในกระเป๋าตัวเอง นอกเหนือจากการช่วยกันปิดไฟ 1 ดวงวันละ 1 ชม. (by The Mario)
เอาเป็นว่าผมลองมานำเสนอแนวคิด-ปฏิบัติ ในทางของผมมานำเสนอให้เพื่อนสมาชิกได้ลองพิจารณาดูว่ามันมีอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถทำให้ทุกท่านประหยัดเงินในกระเป๋าท่านลงได้ในสภาวะเศรษฐกิจห่วยๆแบบนี้ลงได้ อีกไม่นาน กฟผ. ก็จะขึ้นค่าไฟแล้ว และปัจจุบันอากาศเริ่มร้อนจัด ทำให้ความต้องการไฟฟ้าของประเทสต้องมีมากขึ้นแน่นอน
การใช้พลังงานไฟฟ้าส่วนใหญ่ของบ้านเราตอนนี้หนักไปทางระบบทำความเย็นครับโดยเฉพาะหน้าร้อนจะกินพลังงานมากๆ และระบบทำความเย็นที่ใกล้ตัวเราๆท่านๆมากที่สุด ณ เวลานี้ คือระบบปรับอากาศ พูดง่ายๆก็คือแอร์นี่เอง เจ้าแอร์นี่แหละคือตัวกินพลังงานหลักของประเทศและเงินในกระเป๋าของท่าน ฉลากเบอร์ 5 ที่ติดมากับแอร์ที่ท่านซื้อมันคำนวนเงินมาให้ท่านเสร็จสรรพ โดยคำนวนมาที่ท่านเปิดแอร์วันละ 8 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าเงินค่าไฟที่เขาคำนวนโดยเฉลี่ยมาให้นั้นมันหมายความว่าแอร์ของท่านจะต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดที่สุด เหมือนใหม่ที่สุด แต่ในความเป็นจริงเราๆท่านๆก็คงไม่ได้มีความรู้ในด้านนี้กันทุกคนนัก ซื้อมาแล้วก็ต้องใช้ให้เต็มที่เท่านั้น ไม่ได้มองไปถึงว่าจะต้องมาเช็คมาดูแลอะไรนักหนา จุดตรงนี้แหละที่ทำให้เราต้องเปลืองพลังงานมากไปเกินความจำเป็น ส่งผลถึงค่าการใช้พลังงานของชาติที่มากขึ้น และค่าไฟที่มากขึ้นของตัวท่านเองด้วย
ผมเองคงไม่ใช่ช่างแอร์ในตำนานที่จะรู้ไปกว่าใครๆนัก เพราะอาชีพหลักก็ไม่ใช่ช่างแอร์โดยตรง แต่ล้างแอร์เป็น คำนวนค่าไฟต่อหน่วยเป็น และเล็งเห็นถึงประโยชน์ตรงนี้ที่จะเกิดแก่เพื่อนสมาชิกทุกท่าน จึงได้นำมาบอกเล่าสู่กันฟังเผื่อมันจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย
ผมไปลองสุ่มตัวอย่างแอร์มา 1 ตัวครับ เป็นแอร์ยี่ห้อหนึ่งขนาด 12,xxx btu สังเกตมันดูว่า มันเย็นไม่เต็มประสิทธิภาพ และมันไม่นิ่ง มีอาการสั่นเล็กน้อย ซึ่งเกิดจากฝุ่นและคราบเหนียวๆต่างๆเข้าไปเกาะบริเวณ คอยล์เย็น พัดลมแอร์ และคอยล์ร้อนบริเวณตู้วางคอมเพสเชอร์ อีกทั้งตะแกรงดักฝุ่นหรือฟิลเตอร์ที่ตัวเครื่องก็มีฝุ่นจับอีกด้วย ทดลองเปิดที่อุณหภูมิ 25 C ความแรงพัดลมที่ Auto ปรากฏว่าเปิดอยู่นานมากเป็นชั่วโมงคอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่มีการตัดการทำงาน วัดค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเท่ากับ 4.875 แอมแปร์ และค่ากำลังไฟฟ้ากินไฟ 1.1032 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ตามภาพ
เรามาลองคิดคำนวนค่าไฟแบบคร่าวๆดูครับสมมุติว่าเราเปิดเจ้าแอร์เครื่องนี้เป็นเวลา 8 ชั่วโมง/วัน สูตรการคำนวนง่ายๆครับ
จำนวนหน่วยที่ใช้ใน 1 วัน = กำลังไฟฟ้า(กิโลวัตต์) x จำนวน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการคำนวณ x จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานในหนึ่งวัน
จำนวนหน่วยที่ใช้ใน 1 วัน = 1.1032 * 1 * 8 = 8.826 หน่วย/วัน จะจ่ายค่าไฟกี่บาทก็แล้วแต่พื้นที่ๆท่านอยู่ว่าเขาเก็บค่าไฟหน่วยละเท่าไหร่ครับ
คราวนี้เราลองมาทดลองล้างแอร์เจ้าเครื่องนี้กันดูครับ
เบื้องต้นก่อนจะถึงวิธีล้างแอร์ มาบอกในสิ่งที่หลายๆคนมองข้ามก่อน นั่นก็คือฟิลเตอร์ดักฝุ่นครับ เจ้าฟิลเตอร์ตัวนี้ถ้าไม่ล้างมันๆก็จะทำให้อากาศร้อนภายในห้องดูดผ่านครีบระบายความร้อนออกไปไม่ได้เหมือนกัน แง้มหน้ากากหน้ามันขึ้น แล้วดึงมันออกมาฉีดล้างให้สะอาดทุกๆอาทิตย์ครับ
คราวนี้มาเข้าวิธีล้างแอร์ช่วยชาติจริงๆแล้ว
1. เริ่มต้นจากสับเบรคเกอร์ลง เตรียมถอดหน้ากากออกก่อน มันจะมีที่ปิดหัวน็อตอยู่ที่ส่วนล่างของช่องลมแอร์ ให้เราใช้ไขควงเล็กๆงัดออก และใช้ไขควงแฉกขันน็อตออกทั้งสองข้างตามภาพ และใช้มือโยกหน้ากากแอร์ออกมา (แอร์บางรุ่นก็ไม่มีเจ้าน็อตยึดหน้ากากนี้เช่นแอร์ SAMSUNG บางรุ่น ใช้มือโยกหน้ากากออกได้เลย)
สังเกตสิ่งสกปรกที่อุดตันครีบระบายความร้อนหรือคอยล์เย็น และสังเกตุพักลมแอร์ที่อยู่ใต้ช่องแอร์ดูครับ มันจะมีคราบเหนียวๆ และฝุ่นจับอยู่เป็นจำนวนมาก ที่แหละคือสิ่งที่ทำให้แอร์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพและทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ที่เป็นตัวการในการกินไฟของคุณไม่ยอมตัดการทำงาน ทำให้แอร์ไม่เย็น เปลืองไฟ เปลืองเงินค่าไฟครับ
2. ใช้แปรงสีฟันชุบน้ำทำความสะอาดคราบไคลที่ติดอยู่กับครีบระบายความร้อนและพัดลมแอร์ให้สะอาดที่สุด และใช้น้ำจากสายยางหรือจากอะไรก็ได้ที่คุณมี ฉีดล้างฝุ่นและคราบเหนียวๆออกให้ได้มากที่สุด ตามภาพผมใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงในการล้างครับ ปรับน้ำให้มันแบนๆที่สุด แล้วฉีดไปตามครีบและพัดลมแอร์ (ในส่วนของพัดลมแอร์ตอนฉีดเราต้องเอามือล็อคไม่ให้ใบพัดหมุนด้วย ไม่เช่นนั้นกระแสไฟฟ้าจากการหมุนของใบพัดมันจะย้อนกับไปที่แผงคอนโทรลแอร์)
นี่คือสภาพสิ่งสกปรกที่ปนมากับน้ำที่เราล้าง
หลังจากล้างเสร็จก็สะอาดแล้วครับ
3. ไปที่คอยล์ร้อนที่อยู่ตรงตู้คอมเพรสเซอร์บ้างครับ ฉีดน้ำล้างเหมือนกันครับ ให้ครีบระบายความร้อนจากตู้คอมเพรสเซอร์ระบายความร้อนได้ง่ายที่สุด
4. เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จครับ ประกอบหน้ากากกลับคืนครับผม
คราวนี้เรามาทดสอบเปิดแอร์กันใหม่ที่อุณหภูมิเดิม ความแรงพัดลมแอร์เท่าเดิมได้ค่าดังนี้ครับผม > ค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลดลงเหลือเท่ากับ 4.380 แอมแปร์ และค่ากำลังไฟฟ้ากินไฟ 1.0265 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
ที่ค่าลดลงเนื่องจากมันระบายความร้อนได้ดีขึ้นครับ ลองนึกภาพเราเอามือบีบจมูกแล้วหายใจเราจะใช้แรงในการหายใจมากขึ้น แล้วเวลาเราเอามืออกเราก็จะใช้แรงไม่มากเพราะไม่มีอะไรมาบีบจมูกเราไว้
แต่ไฮไลท์ของการประหยัดพลังงานมันอยู่ตรงนี้ครับ หลังจากเปิดไปได้ประมาณ 15 นาที คอมเพรสเซอร์ก็ตัดการทำงานครับ ทำให้ค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านลดลงเหลือเท่ากับ 0.310 แอมแปร์ และค่ากำลังไฟฟ้ากินไฟ 0.0648 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
ทดสอบเปิดดูเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ปรากฏว่าใน 1 ชั่วโมงการทำงานมีช่วงที่คอมเพรสเซอร์ทำงานประมาณ 35 นาที และช่วงที่คอมเพรสเซอร์หยุดทำงานประมาณ 25 นาที หลังจากที่ก่อนจะล้างแอร์คอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลามันไม่ยอมตัดเลย
มาคำนวนหน่วยที่ใช้ไฟคร่าวๆกันใน 1 วันกันใหม่ครับ คิดที่เปิดวันละ 8 ชั่วโมงเหมือนเดิม แต่คราวนี้เราต้องคิดที่ทั้งคอมเพรสเซอร์ทำงานและหยุดการทำงานมารวมกัน
จำนวนหน่วยที่ใช้ใน 1 วัน = (1.0265 * 1 * (35/60) *8) + (0.0648 * 1 * (25/60) *8) = 5.006 หน่วย/วัน
จำนวนหน่วยที่ลดลงในการใช้ไฟฟ้าก่อนล้างและหลังล้างที่เราจะประหยัดได้สำหรับแอร์ 1 เครื่องขนาด 12,xxx BTU เท่ากับ 8.826 - 5.006 = 3.82 หน่วยต่อวัน หรือประมาณ 114 หน่วยต่อเดือน(คิดจาก 30 วัน) หรือประมาณ 1394.3 หน่วยต่อปี นี่คือค่าที่ประเทศชาติรวมถึงตัวคุณเองได้ประหยัดการใช้พลังงานเป็นจำนวนหน่วย คิดเป็นจำนวนเงินที่คุณประหยัดได้เท่าไหร่ ต่อวัน ต่อเดือน หรือต่อปี คุณก็ลองเอาอัตราค่าไฟต่อหน่วยของคุณคูนเข้าไปดูครับ สมมุติว่าบ้านคุณเสียค่าไฟหน่วยละ 4 บาท คุณก็จะประหยัดเงินตรงนี้ไปแล้วประมาณ 456 บาท/เดือน หรือ 5,577 บาท ต่อปีต่อเครื่อง ซึ่งเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยครับ
หากล้างไม่เป็นก็ไปจ้างช่างมาล้างให้ทีละ 3-500 บาท ก็คุ้มค่ากับค่าไฟที่ลดลงครับ
อีกแนวทางหนึ่งเห็นวันก่อนรัฐบาลนำแนวทางพลังงานทางเลือกจากแผงโซล่าร์เซลล์มานำเสนอ ก็ตัดสินใจเอาครับ ผมคงไม่มีความรู้ความสามารถพอที่จะไปแย้งหรือขัดขวางใดๆได้ ข้อดีมันก็มี แต่ด้วยความเห็นส่วนตัวมันจะเหมาะกับพื้นที่ๆสายส่งเข้าไม่ถึงมากกว่า ที่บอกว่าเท่านั้นเท่านี้ปีจะคืนทุนและต่อไปก็เหมือนใช้ไฟฟรี ก็จงโปรดพิจารณาให้รอบด้านว่ากว่าจะถึงจุดคุ้มทุน แผงโซล่าร์เซลล์+ตัวเก็บประจุหรือแบตเตอรี่+อินเวอร์สเตอร์ท่านเสื่อมไปแล้วพร้อมๆกันไป ณ เวลานั้นหรือไม่ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่น้อยในการทำ Minor Inspection หรือ Major Overhaul แต่ละครั้งใช้เงินในการบำรุงรักษาจำนวนมาก
ไหนๆก็ไหนๆ นานๆได้ตั้งกระทู้ขอพล่ามต่ออีกนิดนึงเผื่อจะเป็นความรู้ประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องโซลาร์เซลล์ การลงทุนทำไฟฟ้าเองตรงนี้ต้นทุนจะตกอยู่ประมาณขั้นต่ำ 25บาท/W สมมุติว่าบ้านหลังขนาดย่อมๆหลังหนึ่งมีแอร์ 2 ตัว ห้องโถงกับห้องนอนรวมกำลังไฟฟ้า 3,000 W เครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง 3,500 W เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆเช่น ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เตารีด พัดลม หลอดไฟ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ไมโครเวฟ ฯลฯ รวมกันประมาณ 4,000 W ท่านจะต้องใช้เงินลงทุนในการทำระบบโซลาร์เซลล์ขึ้นมาใช้ประมาณ (3000+3500+4000)*25 = 262,500 บาท ไม่ทราบว่าสูงไปหรือไม่สำหรับการลงทุน ในขณะที่การประจุไฟเอาแน่เอานอนไม่ได้ กลางคืนไม่มีแสง ฝนตกไม่มีแสง ความเชื่อมั่น-ความเสถียรในการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แบตเสื่อมง่าย(ลองนึกถึงโทรศัพท์มือถือท่านชาร์จๆหยุดๆเดี๋ยวแบตมันก็เสื่อม) และปัจจัยอื่นๆอีกมากมายตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ก็ไม่ทราบว่าจะคุ้มค่าหรือไม่เมื่อเทียบกับเอาเงินตรงนี้ไปจ่ายค่าไฟตามปกติ โดยยึดแนวทางปิดไฟตามท่านนายกฯและบำรุงรักษาระบบปรับอากาศตามแนวทางของผม ก็พิจารณาเอาครับ วันนี้เอาเรื่องราวมาเล่าให้เพื่อนๆฟังเท่านี้ก่อนก้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้เข้ามาอ่านครับ
The Mario 15 มีนาคม 2559