ธรรมาภิบาลของซีพี
เมื่อวันศุกร์ที่แล้วบริษัททรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล จำกัด ผู้ชนะการประมูล 4 จี คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ได้หอบเงินงวดแรก (รวมแวต) 8,602 ล้านบาท พร้อมหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน 73,036 ล้านบาท ไปชำระให้ กสทช. นับจากนี้สงครามแย่งชิงลูกค้าของค่ายมือถือจะเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการต่อสู้ระหว่างทรูที่ตอนนี้มีคลื่นในมือมากที่สุด กับเอไอเอสที่มีฐานลูกค้าเยอะที่สุด
ยิ่งแข่งขันกันเท่าไหร่ผู้บริโภคยิ่งได้ประโยชน์ ทั้งมีทางเลือกมากขึ้นและได้ใช้ของราคาถูกลง
ไหนๆเขียนถึงทรูแล้ว ก็ขอต่อไปถึงอาณาจักรซีพีเสียเลย ผมชื่นชมความสามารถในการทำธุรกิจของซีพี ซึ่งขยับขยายกิจการแตกสาขาธุรกิจมากมายครอบคลุมเกี่ยวพันกับชีวิตคนไทยมากที่สุด ถึงแม้ในระยะหลังการดำเนินกิจการของซีพีจะถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับ “ธรรมาภิบาล” หรือ “การกำกับดูแลกิจการที่ดี” (Corporate Governance) ในหลายกรณี
เริ่มจากกรณี เกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ที่ให้เกษตรกรร่วมผลิตพืช ผัก ปลา โดยต้องใช้เมล็ดพันธุ์และอุปกรณ์การผลิตของซีพี สัญญานี้วินวินทั้งสองฝ่าย แต่ซีพีได้ประโยชน์มากกว่า เกษตรกรแฮปปี้ที่มีรายได้แน่นอน ส่วนซีพีประหยัดต้นทุนได้มหาศาล เพราะหากซีพีปลูกพืชผักเลี้ยงปลาเอง จะต้องลงทุนในปัจจัยการผลิตทั้งหมด อาทิ ค่าที่ดิน ค่าน้ำ ค่าแรง ที่สำคัญในระยะยาวซีพียิ่งมีอำนาจต่อรองสูงกว่าเกษตรกรมากขึ้นเรื่อยๆ
หรือกรณีที่ เซเว่นอีเลฟเว่น ผลิต สินค้าซ้ำซ้อน มาขายแข่งกับสินค้าของคู่ค้าที่วางขายบนชั้นวางของเซเว่นฯเอง จนมีคนสร้างกระแสต่อต้าน หาว่าไม่แฟร์กับคู่ค้า แม้เซเว่นฯอ้างว่าสินค้าที่ทำซ้ำซ้อนออกมาจะมีความแตกต่างในด้านรสชาติและกระบวนการผลิต แต่คู่ค้าหลายรายก็ถอนสินค้าออกจากเซเว่นฯแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของผู้บริโภค เมื่อมีสินค้าให้เลือกหลายชนิดก็ย่อมดีกว่า ของแบบนี้อยู่ที่ความพึงพอใจของผู้บริโภค บางคนเน้นที่คุณภาพสินค้า บางคนดูราคาเป็นหลัก และผมขอแนะนำให้สังเกตดูร้านสะดวกซื้อแต่ละเจ้าขายสินค้าชนิดเดียวกันแต่ราคาต่างกัน มีของบางอย่างที่เซเว่นฯขายแพงกว่าเจ้าอื่น
มาดูกรณีของ ทรูวิชั่นส์ กันบ้าง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีคำสั่งทางปกครองให้ทรูวิชั่นส์เร่งดำเนินการตามหลักเกณฑ์การเรียงช่อง ไม่เช่นนั้นจะปรับวันละ 20,000 บาท ซึ่งทรูวิชั่นส์ก็เลือกที่จะยอมจ่ายค่าปรับแทนการปฏิบัติตามมติ กสท. ทำให้ กสท. ต้องขู่หนักขึ้นว่าจะทำหนังสือฟ้องไปยังตลาดหลักทรัพย์
หรือแม้กระทั่งกรณี ผู้บริหารของ บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) อาศัยข้อมูลภายในไปซื้อหุ้นของ บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) โดยอาศัยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น MAKRO ที่ยังไม่เปิดเผยต่อประชาชน ซึ่งต่อมาก็ถูก ก.ล.ต.ปรับเงิน 34 ล้านบาท
เรื่องนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในแวดวงนักเล่นหุ้นช่วงนั้นนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) ออกมาเป็นหัวหอกรณรงค์ไม่ซื้อหุ้นกลุ่มซีพี ขณะเดียวกันยังส่งผลให้ ก.ล.ต.ตื่นตัวเตรียมแก้ไขหลักเกณฑ์ให้มีการลงโทษรุนแรงมากกว่าแค่การเปรียบเทียบปรับ เพราะกระแสโลกยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลอย่างมาก
ที่ผมหยิบเรื่องราวมาขมวดให้อ่านวันนี้ก็ด้วยชื่นชมความสามารถในการพัฒนาธุรกิจของซีพี แต่จะดีกว่านี้ถ้าซีพีปรับในส่วนของธรรมาภิบาลเพื่อให้สังคมยอมรับได้เต็มร้อย.
ลมกรด
ที่มา:
http://www.thairath.co.th
ธรรมาภิบาลของซีพี
เมื่อวันศุกร์ที่แล้วบริษัททรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล จำกัด ผู้ชนะการประมูล 4 จี คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ได้หอบเงินงวดแรก (รวมแวต) 8,602 ล้านบาท พร้อมหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน 73,036 ล้านบาท ไปชำระให้ กสทช. นับจากนี้สงครามแย่งชิงลูกค้าของค่ายมือถือจะเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการต่อสู้ระหว่างทรูที่ตอนนี้มีคลื่นในมือมากที่สุด กับเอไอเอสที่มีฐานลูกค้าเยอะที่สุด
ยิ่งแข่งขันกันเท่าไหร่ผู้บริโภคยิ่งได้ประโยชน์ ทั้งมีทางเลือกมากขึ้นและได้ใช้ของราคาถูกลง
ไหนๆเขียนถึงทรูแล้ว ก็ขอต่อไปถึงอาณาจักรซีพีเสียเลย ผมชื่นชมความสามารถในการทำธุรกิจของซีพี ซึ่งขยับขยายกิจการแตกสาขาธุรกิจมากมายครอบคลุมเกี่ยวพันกับชีวิตคนไทยมากที่สุด ถึงแม้ในระยะหลังการดำเนินกิจการของซีพีจะถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับ “ธรรมาภิบาล” หรือ “การกำกับดูแลกิจการที่ดี” (Corporate Governance) ในหลายกรณี
เริ่มจากกรณี เกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ที่ให้เกษตรกรร่วมผลิตพืช ผัก ปลา โดยต้องใช้เมล็ดพันธุ์และอุปกรณ์การผลิตของซีพี สัญญานี้วินวินทั้งสองฝ่าย แต่ซีพีได้ประโยชน์มากกว่า เกษตรกรแฮปปี้ที่มีรายได้แน่นอน ส่วนซีพีประหยัดต้นทุนได้มหาศาล เพราะหากซีพีปลูกพืชผักเลี้ยงปลาเอง จะต้องลงทุนในปัจจัยการผลิตทั้งหมด อาทิ ค่าที่ดิน ค่าน้ำ ค่าแรง ที่สำคัญในระยะยาวซีพียิ่งมีอำนาจต่อรองสูงกว่าเกษตรกรมากขึ้นเรื่อยๆ
หรือกรณีที่ เซเว่นอีเลฟเว่น ผลิต สินค้าซ้ำซ้อน มาขายแข่งกับสินค้าของคู่ค้าที่วางขายบนชั้นวางของเซเว่นฯเอง จนมีคนสร้างกระแสต่อต้าน หาว่าไม่แฟร์กับคู่ค้า แม้เซเว่นฯอ้างว่าสินค้าที่ทำซ้ำซ้อนออกมาจะมีความแตกต่างในด้านรสชาติและกระบวนการผลิต แต่คู่ค้าหลายรายก็ถอนสินค้าออกจากเซเว่นฯแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในแง่ของผู้บริโภค เมื่อมีสินค้าให้เลือกหลายชนิดก็ย่อมดีกว่า ของแบบนี้อยู่ที่ความพึงพอใจของผู้บริโภค บางคนเน้นที่คุณภาพสินค้า บางคนดูราคาเป็นหลัก และผมขอแนะนำให้สังเกตดูร้านสะดวกซื้อแต่ละเจ้าขายสินค้าชนิดเดียวกันแต่ราคาต่างกัน มีของบางอย่างที่เซเว่นฯขายแพงกว่าเจ้าอื่น
มาดูกรณีของ ทรูวิชั่นส์ กันบ้าง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) มีคำสั่งทางปกครองให้ทรูวิชั่นส์เร่งดำเนินการตามหลักเกณฑ์การเรียงช่อง ไม่เช่นนั้นจะปรับวันละ 20,000 บาท ซึ่งทรูวิชั่นส์ก็เลือกที่จะยอมจ่ายค่าปรับแทนการปฏิบัติตามมติ กสท. ทำให้ กสท. ต้องขู่หนักขึ้นว่าจะทำหนังสือฟ้องไปยังตลาดหลักทรัพย์
หรือแม้กระทั่งกรณี ผู้บริหารของ บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) อาศัยข้อมูลภายในไปซื้อหุ้นของ บมจ.สยามแม็คโคร (MAKRO) โดยอาศัยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น MAKRO ที่ยังไม่เปิดเผยต่อประชาชน ซึ่งต่อมาก็ถูก ก.ล.ต.ปรับเงิน 34 ล้านบาท
เรื่องนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในแวดวงนักเล่นหุ้นช่วงนั้นนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) ออกมาเป็นหัวหอกรณรงค์ไม่ซื้อหุ้นกลุ่มซีพี ขณะเดียวกันยังส่งผลให้ ก.ล.ต.ตื่นตัวเตรียมแก้ไขหลักเกณฑ์ให้มีการลงโทษรุนแรงมากกว่าแค่การเปรียบเทียบปรับ เพราะกระแสโลกยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกับธรรมาภิบาลอย่างมาก
ที่ผมหยิบเรื่องราวมาขมวดให้อ่านวันนี้ก็ด้วยชื่นชมความสามารถในการพัฒนาธุรกิจของซีพี แต่จะดีกว่านี้ถ้าซีพีปรับในส่วนของธรรมาภิบาลเพื่อให้สังคมยอมรับได้เต็มร้อย.
ลมกรด
ที่มา: http://www.thairath.co.th