รอยยิ้มสดใสของเด็กๆที่นี่ เกิดจากการได้เติบโตมาในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพชีวิต ใบหน้าอิ่มสุขของพ่อแม่วัยหนุ่มที่ได้เห็นกิจการเล็กๆ ของพวกเขาค่อยๆ เติบโตขึ้น สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับครอบครัว ขณะคนรุ่นหนึ่งก็ค่อยๆ เกษียณตัวเองจากอาชีพเกษตร นั่งมองดูลูกหลานค่อยๆ เติบโตและมีชีวิตที่ดี บอกปริมาณ “ความสุข” ของผู้คนที่นี่ ที่ “หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร”
ที่นี่ไม่ใช่ชุมชนเก่าแก่ที่อยู่มาเป็นร้อยปี แต่คือชุมชนเกิดใหม่ซึ่งถือกำเนิดขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2522 ผลิตผลจาก “โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร” โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี (1 ใน 38 โครงการซีพี เพื่อความยั่งยืน) ที่ได้รวบรวมพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ บนพื้นที่ 2 ตำบล คือ ต.เทพนคร และ ต.คณฑี อ.เมือง จ.กำแพงเพชร แล้วแบ่งพื้นที่ให้เกษตรกรผู้ยากไร้ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 64 ครอบครัว เกษตรกรจะได้รับการจัดสรรที่ทำกินให้ครอบครัวละ 25 ไร่ ทั้งพื้นที่อยู่อาศัยและทำมาหาเลี้ยงชีพ พร้อมโรงเรือน แม่พันธุ์ พ่อพันธุ์สุกร อุปกรณ์การเลี้ยง อาหารสัตว์ วัคซีนป้องกันโรค และยารักษาโรค ขณะพื้นที่ส่วนหนึ่งก็แบ่งไปทำอาชีพเสริม เช่น ปลูกผัก เลี้ยงปลา เพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้คนที่นี่
นี่คือโมเดลแก้ปัญหาที่ไม่ใช่ “การให้เปล่า” แต่คือ การให้โอกาสที่เกษตรกรจะได้เข้าถึง ความรู้ เทคโนโลยี เครื่องมือ ผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญคือ“แหล่งเงินทุน” เพื่อให้พวกเขามีความเป็น “เจ้าของ” อย่างแท้จริง ในสินทรัพย์เหล่านี้ โดยเกษตรกรต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินมา เพื่อขยายโรงเรือน และซ่อมแซม บำรุงรักษาโรงเรือน โดยมี บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้เกษตรกร ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรใช้หลักทรัพย์ของตัวเองเช่น ที่ดิน,โรงเรือนสุกร ค้ำประกันวงเงินกู้ โดยความร่วมมือกับ ธนาคาร ที่เข้ามาสนับสนุนสินเชื่อ ส่วนราชการท้องถิ่น ในการสนับสนุนด้านสาธารณูปโภค ขณะซีพี โดยซีพีเอฟ ให้ความรู้ด้านวิชาการสมัยใหม่ในการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก ตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านการตลาด
“เราศึกษาว่าอะไรบ้าง ที่เป็นความเสี่ยงในอาชีพเกษตร ตัวหลักที่พบคือ การผันผวนด้านราคาสินค้าเกษตร เมื่อไรที่ผลิตออกมาเยอะ ราคาก็จะต่ำ พอต่ำ เกษตรกรเนื่องจากเขาไม่มีเงินทุนเยอะ ก็ขาดทุน ครั้งต่อไป ก็ไม่มีเงินทุนที่จะมาทำต่อ ขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่ยากจน เพราะฉะนั้นโอกาสจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนก็ลำบาก เราก็เข้ามาช่วยเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันการเงินที่จะปล่อยสินเชื่อ และสนับสนุนด้านการตลาด รายได้เขาก็มั่นคง ไม่มีความเสี่ยง ขึ้นกับความขยันของเขา”
สิ่งหนึ่งที่เป็นแนวทาง “ปลดล็อก” ชะตาชีวิตเกษตรกรไทย ก่อนสะท้อนความสำเร็จที่เริ่มตั้งแต่ การคัดเลือกตัวเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ นำไปฝึกงานเพื่อเตรียมความพร้อม และทักษะ มีการดูแลเรื่องรายได้ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพียงพอ โดยเริ่มต้นมีการประกันรายได้ขั้นต่ำให้ นอกจากนี้ยังมีความพยายามในการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร โดยการเพิ่มขนาดธุรกิจ คือ ขยายจำนวนสัตว์ที่เลี้ยงขึ้น ไม่ใช่การเพิ่มราคาสินค้า เพราะจะกระทบกับผู้บริโภคโดยรวม ตามนโนบาย “วิน-วิน”
“ผู้บริโภคก็ต้องวิน ผู้เลี้ยงก็ต้องวิน ฉะนั้นจะทำให้วินได้ ก็คือ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทำให้ต้นทุนต่ำลง รายได้เพิ่มขึ้น จากประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ราคาสินค้าก็สามารถขายถูกลงได้ เพราะสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่กระทบกับผู้บริโภค ผู้เลี้ยงอยู่ได้ และธุรกิจของเราก็จะโตตามไปได้ด้วย” เขาบอกสถานการณ์ “วิน-วิน” ที่เกิดขึ้น
โครงการที่เริ่มต้นมายาวนาน ทีมผู้บริหารโครงการย้ำกับเราว่า ต้องให้ชุมชนอยู่ด้วยตัวเองให้ได้ โดยเริ่มตั้งแต่การสนับสนุนให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มกัน ปกครองกันเอง ตั้งกฎ กติกา ดูแลกันเอง ขณะที่บริษัทต้อง “ค่อยๆ ถอย”
“ตอนเริ่มต้น เราจะดูแลเขาใกล้ชิด แต่พอ 10 ปี ให้หลัง ภาระต่างๆ ของเขาเริ่มเบาขึ้น เราก็เริ่มปล่อย เพื่อให้เขาได้มีคณะกรรมการหมู่บ้านปกครองกันเอง ดูแลกันเอง จนถึงปัจจุบันเราก็ถอยออกมาห่างแล้ว แต่คอยสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยี เรียกว่า ถอยออกมาเรื่อยๆ ขึ้นกับความพร้อมของเกษตรกร ซึ่งรุ่นหลังนี่ ผมเชื่อว่าเขาจะพัฒนาไปด้วยตัวเองสบายมาก เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ มีการศึกษาดี และมีประสบการณ์จากข้างนอกมาช่วยชุมชนของเขาได้”
การจัดตั้งตัวเองเป็นรูปบริษัท และปรับจากการประกันรายได้ ไปสู่ระบบประกันราคา คือ เป้าหมายต่อไปของคนที่นี่ โดยพิเชษฐ์ ใหญ่แก่นทราย ประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร บอกเราว่า นั่นจะทำให้พวกเขาเปลี่ยนสถานะจากผู้รับความช่วยเหลือ ไปสู่ “คู่ค้า” ได้อย่างสมบูรณ์
“บริษัทเลี้ยงเรามา 35 ปีแล้ว เขาช่วยเหลือเราดีมาก แต่นั่นก็ทำให้บางคนอาจยึดติดและไม่เข้าใจ ก็ต้องอธิบายให้เขารู้ว่า เราจะทำแบบเดิมไม่ได้ จะรอบริษัทมาป้อนทุกอย่าง มันจะกลายเป็นความเคยชิน แต่ต้องหัดยืนด้วยตัวเองให้ได้ อีกหน่อยปรับเป็นการประกันราคา บริษัทเขาไม่ได้ช่วย แต่จะเป็น “คู่ค้า” กับเรา และเมื่อจัดตั้งบริษัทของเราเองขึ้นมา ก็จะสามารถต่อรองกับซีพี ได้มากขึ้น นั่นคือ อนาคตที่เรามองไว้”
พวกเขาบอกเป้าหมาย “ยืนด้วยลำแข้ง” ที่จะสร้างอนาคตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงให้กับผู้คนที่นี่ แม้แต่ “อำนาจต่อรอง” ที่เกษตรกรอย่างพวกเขาจะมีต่อคู่ค้าได้มากขึ้น
ผลสำเร็จของโครงการ ถูกประเมินเป็นตัวเลขออกมาอย่างชัดเจน อย่าง รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้คนที่นี่อยู่ที่ 30,000-160,000 บาท ต่อครอบครัว มีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง มีกรรมสิทธิ์ในบ้านและทรัพย์สินต่าง ๆ เป็นของตนเอง ขณะลูกหลายก็ได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น สร้างชุมชนที่แข็งแกร่งจนได้ชื่อว่า “หมู่บ้านสามัคคี เทคโนโลยีทันสมัย”
ขณะชุมชนที่มีสมาชิกรวมนับ 400 ชีวิต ก็เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ พวกเขามีสหกรณ์ร้านค้าของตัวเอง ที่มีสินค้าราคาถูกและอาหารคุณภาพให้เข้าถึง มีห้องเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กๆ มีการผลิตน้ำดื่มของตัวเอง มีการผลิตก๊าซชีวภาพ ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เอง สามารถประหยัดค่าไฟได้ถึง 264,000 บาท ต่อเดือน อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี พร้อมหน้าสมาชิกในครอบครัว
ทายาทรุ่น 3 ของ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ยังอยู่ในวัยการศึกษา ขณะคนยุคบุกเบิก ทยอยผลัดใบไป จนเหลืออยู่เพียงไม่กี่ชีวิต หนึ่งในคนที่ยังอยู่ คือ คุณป้าสังเวียน แก้วจงกุล ผู้ที่เคยมีชีวิตยากลำบาก ยึดอาชีพรับจ้างได้รายได้รวมกันทั้งบ้าน แค่วันละ 7 บาท จนชีวิตเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเมื่อได้เข้ามาอยู่ที่นี่
“ตอนมาอยู่ที่นี่มีข้าวของติดตัวมาไม่เต็มเกวียนด้วยซ้ำ มีแค่เสื้อผ้าไม่กี่ตัว กับหม้อไหจานชาม เงินติดตัวก็แทบไม่มี เรียกว่าเป็นคนจนแท้ๆ จนตอนนี้ชีวิตเปลี่ยนไปมาก ลูกหลานก็ได้เรียนสูงๆ ตัวฉันเองจบแค่ ป.4 ก็ภูมิใจนะที่ลูกได้ดี ตอนนี้มารุ่นลูกแล้ว เขาก็ทำของเขาไป ส่วนตัวเองก็วางมือ เกษียณตัวเองจากอาชีพเกษตร”
อีกโมเดลต้นแบบของการทำ CSR ด้วยวิธีคิดใหม่ เพื่อการแก้ปัญหา และสร้างความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
เมื่อสังคมได้ ธุรกิจก็ได้ด้วย ไม่มีใครต้อง “ขาดทุน”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
ข้าวปลาปาล์ม ชุมชนยั่งยืน ณ กำแพงเพชร
รอยยิ้มสดใสของเด็กๆที่นี่ เกิดจากการได้เติบโตมาในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพชีวิต ใบหน้าอิ่มสุขของพ่อแม่วัยหนุ่มที่ได้เห็นกิจการเล็กๆ ของพวกเขาค่อยๆ เติบโตขึ้น สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับครอบครัว ขณะคนรุ่นหนึ่งก็ค่อยๆ เกษียณตัวเองจากอาชีพเกษตร นั่งมองดูลูกหลานค่อยๆ เติบโตและมีชีวิตที่ดี บอกปริมาณ “ความสุข” ของผู้คนที่นี่ ที่ “หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร”
ที่นี่ไม่ใช่ชุมชนเก่าแก่ที่อยู่มาเป็นร้อยปี แต่คือชุมชนเกิดใหม่ซึ่งถือกำเนิดขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2522 ผลิตผลจาก “โครงการหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร” โดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี (1 ใน 38 โครงการซีพี เพื่อความยั่งยืน) ที่ได้รวบรวมพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ บนพื้นที่ 2 ตำบล คือ ต.เทพนคร และ ต.คณฑี อ.เมือง จ.กำแพงเพชร แล้วแบ่งพื้นที่ให้เกษตรกรผู้ยากไร้ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 64 ครอบครัว เกษตรกรจะได้รับการจัดสรรที่ทำกินให้ครอบครัวละ 25 ไร่ ทั้งพื้นที่อยู่อาศัยและทำมาหาเลี้ยงชีพ พร้อมโรงเรือน แม่พันธุ์ พ่อพันธุ์สุกร อุปกรณ์การเลี้ยง อาหารสัตว์ วัคซีนป้องกันโรค และยารักษาโรค ขณะพื้นที่ส่วนหนึ่งก็แบ่งไปทำอาชีพเสริม เช่น ปลูกผัก เลี้ยงปลา เพิ่มพูนรายได้ให้กับผู้คนที่นี่
นี่คือโมเดลแก้ปัญหาที่ไม่ใช่ “การให้เปล่า” แต่คือ การให้โอกาสที่เกษตรกรจะได้เข้าถึง ความรู้ เทคโนโลยี เครื่องมือ ผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญคือ“แหล่งเงินทุน” เพื่อให้พวกเขามีความเป็น “เจ้าของ” อย่างแท้จริง ในสินทรัพย์เหล่านี้ โดยเกษตรกรต้องกู้เงินจากสถาบันการเงินมา เพื่อขยายโรงเรือน และซ่อมแซม บำรุงรักษาโรงเรือน โดยมี บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ให้เกษตรกร ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรใช้หลักทรัพย์ของตัวเองเช่น ที่ดิน,โรงเรือนสุกร ค้ำประกันวงเงินกู้ โดยความร่วมมือกับ ธนาคาร ที่เข้ามาสนับสนุนสินเชื่อ ส่วนราชการท้องถิ่น ในการสนับสนุนด้านสาธารณูปโภค ขณะซีพี โดยซีพีเอฟ ให้ความรู้ด้านวิชาการสมัยใหม่ในการเลี้ยงสัตว์ และการเพาะปลูก ตลอดจนให้ความช่วยเหลือด้านการตลาด
“เราศึกษาว่าอะไรบ้าง ที่เป็นความเสี่ยงในอาชีพเกษตร ตัวหลักที่พบคือ การผันผวนด้านราคาสินค้าเกษตร เมื่อไรที่ผลิตออกมาเยอะ ราคาก็จะต่ำ พอต่ำ เกษตรกรเนื่องจากเขาไม่มีเงินทุนเยอะ ก็ขาดทุน ครั้งต่อไป ก็ไม่มีเงินทุนที่จะมาทำต่อ ขณะที่เกษตรกรส่วนใหญ่ยากจน เพราะฉะนั้นโอกาสจะเข้าถึงแหล่งเงินทุนก็ลำบาก เราก็เข้ามาช่วยเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันการเงินที่จะปล่อยสินเชื่อ และสนับสนุนด้านการตลาด รายได้เขาก็มั่นคง ไม่มีความเสี่ยง ขึ้นกับความขยันของเขา”
สิ่งหนึ่งที่เป็นแนวทาง “ปลดล็อก” ชะตาชีวิตเกษตรกรไทย ก่อนสะท้อนความสำเร็จที่เริ่มตั้งแต่ การคัดเลือกตัวเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ นำไปฝึกงานเพื่อเตรียมความพร้อม และทักษะ มีการดูแลเรื่องรายได้ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เพียงพอ โดยเริ่มต้นมีการประกันรายได้ขั้นต่ำให้ นอกจากนี้ยังมีความพยายามในการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร โดยการเพิ่มขนาดธุรกิจ คือ ขยายจำนวนสัตว์ที่เลี้ยงขึ้น ไม่ใช่การเพิ่มราคาสินค้า เพราะจะกระทบกับผู้บริโภคโดยรวม ตามนโนบาย “วิน-วิน”
“ผู้บริโภคก็ต้องวิน ผู้เลี้ยงก็ต้องวิน ฉะนั้นจะทำให้วินได้ ก็คือ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทำให้ต้นทุนต่ำลง รายได้เพิ่มขึ้น จากประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ราคาสินค้าก็สามารถขายถูกลงได้ เพราะสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่กระทบกับผู้บริโภค ผู้เลี้ยงอยู่ได้ และธุรกิจของเราก็จะโตตามไปได้ด้วย” เขาบอกสถานการณ์ “วิน-วิน” ที่เกิดขึ้น
โครงการที่เริ่มต้นมายาวนาน ทีมผู้บริหารโครงการย้ำกับเราว่า ต้องให้ชุมชนอยู่ด้วยตัวเองให้ได้ โดยเริ่มตั้งแต่การสนับสนุนให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มกัน ปกครองกันเอง ตั้งกฎ กติกา ดูแลกันเอง ขณะที่บริษัทต้อง “ค่อยๆ ถอย”
“ตอนเริ่มต้น เราจะดูแลเขาใกล้ชิด แต่พอ 10 ปี ให้หลัง ภาระต่างๆ ของเขาเริ่มเบาขึ้น เราก็เริ่มปล่อย เพื่อให้เขาได้มีคณะกรรมการหมู่บ้านปกครองกันเอง ดูแลกันเอง จนถึงปัจจุบันเราก็ถอยออกมาห่างแล้ว แต่คอยสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยี เรียกว่า ถอยออกมาเรื่อยๆ ขึ้นกับความพร้อมของเกษตรกร ซึ่งรุ่นหลังนี่ ผมเชื่อว่าเขาจะพัฒนาไปด้วยตัวเองสบายมาก เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ มีการศึกษาดี และมีประสบการณ์จากข้างนอกมาช่วยชุมชนของเขาได้”
การจัดตั้งตัวเองเป็นรูปบริษัท และปรับจากการประกันรายได้ ไปสู่ระบบประกันราคา คือ เป้าหมายต่อไปของคนที่นี่ โดยพิเชษฐ์ ใหญ่แก่นทราย ประธานหมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร บอกเราว่า นั่นจะทำให้พวกเขาเปลี่ยนสถานะจากผู้รับความช่วยเหลือ ไปสู่ “คู่ค้า” ได้อย่างสมบูรณ์
“บริษัทเลี้ยงเรามา 35 ปีแล้ว เขาช่วยเหลือเราดีมาก แต่นั่นก็ทำให้บางคนอาจยึดติดและไม่เข้าใจ ก็ต้องอธิบายให้เขารู้ว่า เราจะทำแบบเดิมไม่ได้ จะรอบริษัทมาป้อนทุกอย่าง มันจะกลายเป็นความเคยชิน แต่ต้องหัดยืนด้วยตัวเองให้ได้ อีกหน่อยปรับเป็นการประกันราคา บริษัทเขาไม่ได้ช่วย แต่จะเป็น “คู่ค้า” กับเรา และเมื่อจัดตั้งบริษัทของเราเองขึ้นมา ก็จะสามารถต่อรองกับซีพี ได้มากขึ้น นั่นคือ อนาคตที่เรามองไว้”
พวกเขาบอกเป้าหมาย “ยืนด้วยลำแข้ง” ที่จะสร้างอนาคตที่ยั่งยืนอย่างแท้จริงให้กับผู้คนที่นี่ แม้แต่ “อำนาจต่อรอง” ที่เกษตรกรอย่างพวกเขาจะมีต่อคู่ค้าได้มากขึ้น
ผลสำเร็จของโครงการ ถูกประเมินเป็นตัวเลขออกมาอย่างชัดเจน อย่าง รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้คนที่นี่อยู่ที่ 30,000-160,000 บาท ต่อครอบครัว มีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง มีกรรมสิทธิ์ในบ้านและทรัพย์สินต่าง ๆ เป็นของตนเอง ขณะลูกหลายก็ได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น สร้างชุมชนที่แข็งแกร่งจนได้ชื่อว่า “หมู่บ้านสามัคคี เทคโนโลยีทันสมัย”
ขณะชุมชนที่มีสมาชิกรวมนับ 400 ชีวิต ก็เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ พวกเขามีสหกรณ์ร้านค้าของตัวเอง ที่มีสินค้าราคาถูกและอาหารคุณภาพให้เข้าถึง มีห้องเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กๆ มีการผลิตน้ำดื่มของตัวเอง มีการผลิตก๊าซชีวภาพ ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เอง สามารถประหยัดค่าไฟได้ถึง 264,000 บาท ต่อเดือน อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี พร้อมหน้าสมาชิกในครอบครัว
ทายาทรุ่น 3 ของ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ยังอยู่ในวัยการศึกษา ขณะคนยุคบุกเบิก ทยอยผลัดใบไป จนเหลืออยู่เพียงไม่กี่ชีวิต หนึ่งในคนที่ยังอยู่ คือ คุณป้าสังเวียน แก้วจงกุล ผู้ที่เคยมีชีวิตยากลำบาก ยึดอาชีพรับจ้างได้รายได้รวมกันทั้งบ้าน แค่วันละ 7 บาท จนชีวิตเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเมื่อได้เข้ามาอยู่ที่นี่
“ตอนมาอยู่ที่นี่มีข้าวของติดตัวมาไม่เต็มเกวียนด้วยซ้ำ มีแค่เสื้อผ้าไม่กี่ตัว กับหม้อไหจานชาม เงินติดตัวก็แทบไม่มี เรียกว่าเป็นคนจนแท้ๆ จนตอนนี้ชีวิตเปลี่ยนไปมาก ลูกหลานก็ได้เรียนสูงๆ ตัวฉันเองจบแค่ ป.4 ก็ภูมิใจนะที่ลูกได้ดี ตอนนี้มารุ่นลูกแล้ว เขาก็ทำของเขาไป ส่วนตัวเองก็วางมือ เกษียณตัวเองจากอาชีพเกษตร”
อีกโมเดลต้นแบบของการทำ CSR ด้วยวิธีคิดใหม่ เพื่อการแก้ปัญหา และสร้างความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
เมื่อสังคมได้ ธุรกิจก็ได้ด้วย ไม่มีใครต้อง “ขาดทุน”
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้