ประกาศแล้วรายชื่อบริษัทติดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์ ประจำปี 2560 หรือ DJSI 2017 ฮือฮา 4 บริษัทไทยแจ้งเกิดในกลุ่ม Emerging Markets หรือตลาดเกิดใหม่ ปรบมือรัว ๆ ให้
ซีพีออลล์,
อินโดรามา เวนเจอร์ส,
โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ และ
ทรู คอร์ปอเรชั่น ส่วน
ไทยเบฟเป็นหน้าใหม่ในกลุ่ม DJSI World
(World กับ Emerging แบ่งตามเกณฑ์ของมูลค่าหลักทรัพย์โดยรวมของบริษัท)
รายชื่อบริษัทไทยที่ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI ทั้งหมดในปีนี้ ประกอบด้วย
กลุ่มดัชนี DJSI World จำนวน 6 บริษัท ได้แก่
1. บมจ. ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
2. บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)
3. บมจ. ปตท. (PTT)
4.
บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ (THBEV)
5. บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)
6. บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCG)
กลุ่มดัชนี DJSI Emerging Markets จำนวน 17 บริษัท ได้แก่
1. บมจ. ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
2. บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT)
3. บมจ. บ้านปู (BANPU)
4. บมจ. ไออาร์พีซี (IRPC)
5. บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)
6. บมจ. ปตท. (PTT)
7. บมจ. ไทยออยล์ (TOP)
8.
บมจ. ซีพีออลล์ (CPALL)
9. บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)
10. บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ (THBEV)
11. บมจ. ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU)
12.
บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL)
13. บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)
14. บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา (CPN)
15.
บมจ. โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO)
16.
บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE)
17. บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT)
***************************
ข้อมูลเกี่ยวกับ DJSI
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้DJSI คืออะไร
DJSI หรือ Dow Jones Sustainability Indices คือ ดัชนีหลักทรัพย์ที่ใช้ประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท ดัชนีแรกของโลกที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งมีความเป็นอิสระ โปร่งใส และน่าเชื่อถือมาก เน้นหนักในการประเมินสามด้านที่เรียกว่า ESG ได้แก่
การรักษาสิ่งแวดล้อม (Environment)
การดูแลสังคม (Social) และ
การมีธรรมาภิบาลทางธุรกิจ (Governance)
DJSI สำคัญกับธุรกิจอย่างไร
ทำไมองค์กรธุรกิจไทยควรเข้าร่วมการประเมิน หรือการได้รับคัดเลือกจัดอันดับความยั่งยืนทางธุรกิจ DJSI จึงมีนัยสำคัญ
คำตอบแรกคือ ดัชนีนี้จะทำให้บริษัทที่เข้าร่วมรู้ตัวว่าจะสามารถปรับกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมองค์กรชั้นนำของโลกได้อย่างไร
อีกคำตอบหนึ่งที่สำคัญกว่าก็คือ เป็นทางเลือกในการลงทุนแก่นักลงทุนทั่วโลก เนื่องจากนักลงทุนหรือกองทุนต่าง ๆ จากทั่วโลกจะใช้ดัชนีนี้เป็นเกณฑ์สำคัญในการพิจารณา เพื่อเข้าไปลงทุนในบริษัท เพราะบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับ DJSI เป็นหลักประกันถึงศักยภาพการบริหารงานหรือการดำเนินธุรกิจ ว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนให้กับผู้ลงทุน
นอกจากนี้ การเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กรต่าง ๆ ในประเทศ จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของตลาดทุนไทยสู่การเป็นตลาดหลักทรัพย์เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Stock Exchange) ซึ่งเป็นส่วนที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและประเทศสู่การเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว องค์กรในประเทศดี ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศก็ดีตามไปด้วย เหมือนโดมิโน เมื่อกระทบจากตัวหนึ่งก็จะกระทบเป็นลูกโซ่ต่อ ๆ กันไป
DJSI ประเมินอย่างไร
ปัจจัยอะไรที่ทำให้มั่นใจได้ว่า บริษัทที่ติดอันดับ DJSI จะเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน คำตอบน่าจะสะท้อนมาจากการประเมินที่ถือว่าโหดไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะค่อนข้างละเอียด เน้นมากไม่เฉพาะในเรื่องความมั่นคงทางธุรกิจ แต่โยงใยไปถึงด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของความยั่งยืน โดยวัดกันใน 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ ความมั่นคงทางธุรกิจ การให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใส่ใจต่อสังคมและชุมชน ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ที่ติดอันดับนั่นหมายความว่า บริษัทเหล่านั้นได้ดำเนินการในเรื่องที่ถูกประเมินอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งย่อมหมายถึงการทำให้เกิดความยั่งยืนโดยปริยายนั่นเอง
สามด้านหลัก ๆ ที่ว่านั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากที่ครอบคลุมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
จรรยาบรรณทางธุรกิจ
การจัดการด้านธรรมาภิบาล (Good Governance)
การบริหารความเสี่ยง
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)
การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่แสดงถึงการลดมลภาวะ
การดูแลรักษาผลประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท
การดูแลพนักงานทั้งในด้านสภาพการทำงานและสวัสดิการ เป็นต้น
ซึ่งการประเมินทุกด้านยังนำไปอ้างอิงเปรียบเทียบกับบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ทั่วโลกอีกด้วย
ในแต่ละปีดาวน์โจนส์จะคัดเลือกบริษัทจากทั่วโลก เพื่อเข้าร่วมการประเมินด้านความยั่งยืนของธุรกิจ (Corporate Sustainability Assessment: CSA) โดยเฉลี่ยประมาณ 2,500 – 3,000 ราย โดยพิจารณาจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด และการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อนำมาคัดเลือกให้เหลือเฉพาะบริษัทที่มีความโดดเด่นในด้านการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อเข้าเป็นสมาชิกนกลุ่ม DJSI
บริษัทที่เข้าร่วมประเมินต้องตอบแบบสอบถามในด้านต่าง ๆ ที่จะแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายและการวางแผนระยะยาวของบริษัทต่อการสร้างความเข้มแข็งในด้านผลประกอบการทางธุรกิจ การให้ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนช่วยเหลือสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
DJSI ใช้ตัววัดความยั่งยืนของบริษัทแตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรมหรือรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันแบ่งเป็น 58 ประเภทอุตสาหกรรม แยกออกไปตามภูมิภาคหรือภูมิศาสตร์โลก เช่น ดัชนีสำหรับยุโรป อเมริกา เอเชียแปซิฟิก กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจ และระดับประเทศ เป็นต้น โดยมีดัชนีกลางหรือ DJSI World เป็นดัชนีกลุ่มสูงสุด ซึ่งบริษัทในประเทศไทยหลายแห่งได้เข้าไปอยู่ในกลุ่มนี้ เช่น ปตท. และ SCG
นอกจากนั้น DJSI ยังพิจารณาจากข่าวสารทางสื่อมวลชน เสียงสะท้อนจากผู้ถือหุ้น ตลอดจนปัจจัยที่สร้างผลกระทบในทางลบแก่บริษัทที่เข้าประเมินด้วย
DJSI สำคัญกับคนทั่วไป เช่น ผู้บริโภคและเกษตรกร อย่างไร
ที่กล่าวมาข้างต้นก็ยังนับว่ายังไกลตัวผู้บริโภคระดับชาวบ้าน ๆ อยู่ดี จึงยังคงหลงเหลือคำถามที่ว่า การจัดอันดับนี้ดีต่อชาวบ้าน ผู้บริโภค หรือเกษตรกรอย่างไรบ้าง
ว่ากันแบบง่าย ๆ เลยก็คือ ชาวบ้านหรือผู้บริโภคก็มั่นใจได้ว่า สินค้าหรือบริการจากบริษัทต่าง ๆ ที่ได้รับการคัดเลือกเหล่านี้เป็นของดีมีคุณภาพทั้งนั้น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ใช้แล้วสบายใจได้
ส่วนเกษตรกรที่ต้องเกี่ยวข้องกับบริษัทเหล่านี้ก็มีโอกาสมากขึ้น ในการนำสินค้าออกไปสู่ตลาดได้มากขึ้น กว้างขวางขึ้น และมีโอกาสได้ราคาที่สูงขึ้นด้วย เพราะของดีใคร ๆ ที่ไหนก็อยากได้อยากซื้อ เป็นต้น
ดังนั้นก็พอจะสรุปได้คร่าว ๆ อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่า ผลสะท้อนต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่
ภาพสะท้อนเอกชนไทย
บริษัทไทยทั้งหมดที่ได้รับการจัดอันดับ DJSI ในปีนี้ ไม่เพียงนำความภาคภูมิใจมาสู่ประเทศไทยในฐานะที่ได้รับการยอมรับในเวทีระดับโลกเท่านั้น แต่เป็นการแสดงให้เห็นว่าบริษัทของไทยไม่ได้มุ่งแต่สร้างผลประโยชน์ในรูปเงินทอง กำไร หรือเน้นความมั่นคงทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นภาพสะท้อนกระบวนการบริหารจัดการของบริษัทต่าง ๆ ของไทยที่ให้ความสำคัญต่อชุมน สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เราต้องอาศัยอยู่และใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรโลกไปสู่ความยั่งยืนอีกด้วย
---------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ประชาชาติธุรกิจ, MGR Online, Blogger
ขอบคุณภาพจาก เครดิตอยู่ในภาพ
ทรู, โฮมโปร, อินโดรามา, ซีพีออลล์ เข้าวินตลาดเกิดใหม่ DJSI 2017
ประกาศแล้วรายชื่อบริษัทติดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวน์โจนส์ ประจำปี 2560 หรือ DJSI 2017 ฮือฮา 4 บริษัทไทยแจ้งเกิดในกลุ่ม Emerging Markets หรือตลาดเกิดใหม่ ปรบมือรัว ๆ ให้ ซีพีออลล์, อินโดรามา เวนเจอร์ส, โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ และ ทรู คอร์ปอเรชั่น ส่วนไทยเบฟเป็นหน้าใหม่ในกลุ่ม DJSI World (World กับ Emerging แบ่งตามเกณฑ์ของมูลค่าหลักทรัพย์โดยรวมของบริษัท)
รายชื่อบริษัทไทยที่ได้รับคัดเลือกเป็นสมาชิก DJSI ทั้งหมดในปีนี้ ประกอบด้วย
กลุ่มดัชนี DJSI World จำนวน 6 บริษัท ได้แก่
1. บมจ. ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
2. บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)
3. บมจ. ปตท. (PTT)
4. บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ (THBEV)
5. บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)
6. บมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCG)
กลุ่มดัชนี DJSI Emerging Markets จำนวน 17 บริษัท ได้แก่
1. บมจ. ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
2. บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT)
3. บมจ. บ้านปู (BANPU)
4. บมจ. ไออาร์พีซี (IRPC)
5. บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)
6. บมจ. ปตท. (PTT)
7. บมจ. ไทยออยล์ (TOP)
8. บมจ. ซีพีออลล์ (CPALL)
9. บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)
10. บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ (THBEV)
11. บมจ. ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU)
12. บมจ. อินโดรามา เวนเจอร์ส (IVL)
13. บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)
14. บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา (CPN)
15. บมจ. โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO)
16. บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE)
17. บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT)
***************************
ข้อมูลเกี่ยวกับ DJSI
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้