โป๊ะ ตามท่าเรือ ไม่สามารถรับน้ำหนักของคนที่ยืนบนโป๊ะ หรือ ?

วันนี้ ผม มาค้นเรื่อง ท่าเรือ ท่าช้าง
แล้วพบกระทู้นี้   http://ppantip.com/topic/34694338

ในกระทู้ ก็ คุยกันถึงเรื่องการควบคุมจำนวนคนบนโป๊ะ
มีตัวเลข จำกัดจำนวนคน   ไม่เกิน 40 คนบ้าง  60 คนบ้าง
แต่ จขกท นั้น คาดว่าจำนวนคนที่อยู่บนโป๊ะ เกินกว่า 60 คน   ซึ่งเกินจำนวนที่กำหนด

เกิดคำถามว่า
1)  ทำไม จึงจำกัดจำนวนคนบนโป๊ะ  ไว้น้อยกว่าพื้นที่บนโป๊ะ
2)  ทำไม  จนท  จึงไม่สามารถ ควบคุมให้เป็นไปตามกำหนดได้
ฯลฯ
ทำไม จึงต้องมีการควบคุม จำนวนคน

ในทางวิศวกรรม  เราสามารถสร้างโป๊ะ ให้รับน้ำหนักมากขึ้นได้
ถ้าอยากให้ มีคนบนโป๊ะ  ไม่เกิน 40 คน    ก็สร้างพื้นที่ ที่ยืนได้ ไม่ให้เกิน 40 คน   
และสร้าง โป๊ะ ให้รับน้ำหนัก (คิดจากเกณฑ์ คนที่หนักมากหน่อย เช่น 90 กก ต่อคน)
ให้รับจำนวนคนได้สัก 80 คน  ( เผื่อไว้เท่าตัว )
เพียงเท่านี้  ก็จะไม่มีจำนวนคนเกินกว่าการรับน้ำหนักแล้ว

ไม่ทราบว่า  กรมเจ้าท่า  มีแนวความคิดแบบนี้หรือไม่
หรือว่า ติดขัดเรื่องงบประมาณ จากรัฐ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ขอวิเคราะห์จากโป๊ะท่าช้างที่ยกตัวอย่างมาละกันครับ



ผมไม่รู้ว่า ความสูงของโป๊ะ มีขนาดเท่าไหร่ แต่ ขอสมมติไว้ 2 m ละกัน

โป๊ะมีพื้นที่ 9 x 4 เมตร  ถ้าอัดคนลงไป 90 คน  ก็ตกความหนาแน่น 2.5 คน ต่อ ตร.ม.  


คำนวณเสถียรภาพ ด้วย Excel เร็วๆ พบว่า ไม่มีปัญหา ต่อให้ ยัดคนลงไปถึง 90 คน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

พื้นโป๊ะสูงจากน้ำ พอสมควร
มีแรงต้านการพลิกคว่ำพอสมควร
ดังนั้น ไม่มีปัญหาเรื่องเสถียรภาพแน่ๆ ถ้าโป๊ะไม่ทะลุ น้ำเข้าหนัก  หรือมีการต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น ติดหลังคา

เกิดคำถามว่า
1)  ทำไม จึงจำกัดจำนวนคนบนโป๊ะ  ไว้น้อยกว่าพื้นที่บนโป๊ะ

ตอบ คิดว่า คงเป็นแง่มุมอื่น เช่น ความหนาแน่นของผู้คน ที่จะทยอยเดิน กันได้อย่างปลอดภัย (Crowd Density)

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ถ้าสมมติที่ 2 คนต่อ ตร.ม.  นั่นก็คือ 2 x (9 x 4) = 72 คน  แต่เนื่องจาก ต้องเว้นที่ให้คนขึ้นจากเรือ สวนขึ้นมา นอกจากนี้ จะมีขอบฝั่งที่เทียบเรือ ห้ามให้คนไปยืนรอบนนั้น เพราะไม่มีราวกันตก

ถ้าเผื่อไว้ สัก 1 เมตร ดังนั้น ต้องคำนวณใหม่ เป็น 2 x (9 x 3) = 54 คน
ดังนั้นตั้งเผื่อหน่อย เป็น 40 คน  อันนี้ จึงจะ Make Sense  

2)  ทำไม  จนท  จึงไม่สามารถ ควบคุมให้เป็นไปตามกำหนดได้
ตอบ อันนั้นเป็นประสิทธิผลของ การบริหารจัดการ  แต่ในแง่วิศวกรรม เราต้องคำนึงถึงสถานการณ์เลวร้ายที่สุด  เช่นกรณี คนไปยืนออกันที่ฝั่งเดียว หรือแม้แต่โป๊ะแตกรั่ว ทำให้กั้นห้องน้ำท่วมเข้าไป 1-2 ห้อง

ในทางวิศวกรรม  เราสามารถสร้างโป๊ะ ให้มีความจุคนมากขึ้นได้เสมอ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการออกแบบตั้งแต่แรก
ผมไม่แน่ใจว่า โป๊ะนี้ออกแบบโดย บ.เรือด่วนเจ้าพระยา หรือ กรมเจ้าท่า  แต่น่าจะเป็นอย่างแรก
ซึ่งตั้งแต่แรก เขาก็ต้องมีสมมติฐานในการออกแบบของเขา มันก็เลยออกมาประมาณแบบนี้

ซึ่งมันก็กลับไปที่เรื่องเดิม คือ ต่อให้โป๊ะ จะแข็งแรง ทรงตัวดีเพียงใด  แต่ผู้ใช้งาน ก็ไม่สามารถเบียดเสียด ขี่คอกันยืน กันเดินได้อยู่ดี
สุดท้ายเงื่อนไขที่กำหนดในการออกแบบกลับเป็น ขนาดพื้นที่ใช้สอย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่