การค้นหาสิ่งมีชิวิตบนดาวอังคารยังคงเป็นปัญหาที่วงการวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจอย่างมาก เพื่อที่จะศึกษาความเป็นไปได้นี้ องค์การอวกาศยุโรป ( European Space agency, ESA) จึงจัดตั้งโครงการเอกซ์โซมาร์สขึ้น ซึ่งได้ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน
ภารกิจเอกซ์โซมาร์ส 2016 (Exomars 2016) เป็นภารกิจที่จะทำการศึกษา การมีอยู่ของแก็สมีเทนที่ตรวจพบในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร และ ทำการทดสอบระบบลงจอดสู่พื้นผิวดาวอังคาร (Entry, Decent and Landing, EDL)
และ ภารกิจเอกซ์โซมาร์ส 2018 (Exomars 2018) จะเป็นการส่งหุ่นยนต์ลงไปสำรวจบนพื้นผิวดาวอังคาร
ภารกิจนี้จะแตกต่างจากภารกิจค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารที่ผ่านมาของนาซ่าตรงที่ว่า นาซ่าจะเน้นการหาน้ำและคิดว่าหากมีน้ำที่ไหน ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตที่นั่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นในอดีต หรือปัจจุบัน และหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคารทั้งสามตัวก็ล้วนแต่เน้นการเดินตามทางที่คาดว่าน่าจะเป็นแม่น้ำมาก่อนในอดีต
แต่ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร พบว่ามีแก๊สมีเทนอยู่ด้วย แม้เป็นจำนวนที่น้อยมาก แต่ว่าตามธรรมชาติแล้วแก๊สมีเทนเป็นแก็สที่จะสลายตัวได้ค่อนข้างรวดเร็ว การที่เราสามารถตรวจพบแก๊สนี้ได้ แสดงว่าต้องมีกระบวนการอะไรซักอย่างที่ผลิตแก๊สนี้ขึ้นมาในปัจจุบัน ซึ่งอาจเกิดจากสิ่งมีชีวิต หรือปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา ก็เป็นได้ ทางองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ร่วมกับองค์การอวกาศรัสเซีย (ROSCOSMOS) จึงร่วมมือกันส่ง Trace Gas Orbiter (TGO) ซึ่งมีเครื่องมือตรวจจับแก๊สที่มีความละเอียดสูงกว่าอุปกรณ์ที่เคยส่งไปยังดาวอังคารก่อนหน้านี้ถึงสามเท่า และยังมีกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง CaSSIS ที่สามารถถ่ายภาพสามมิติได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งกล้องของ NASA ไม่สามารถทำได้
ภารกิจเอกซ์โซมาร์ส 2016 ประกอบด้วยสองส่วน ส่วนยานอวกาศ และ ส่วนลงจอด ซึ่งมีชื่อว่า เทรสแก็สออร์บิทเทอร์ (Trace Gas Orbiter) และ สเคียพาร์เรลลี่ (Schiaparelli) ตามลำดับ
ส่วนลงจอดจะเกาะติดไปกับตัวยานสำรวจอวกาศเป็นเวลาประมาณ 7 เดือน สามวันก่อนที่จะเข้าใกล้ชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ส่วนลงจอดเชียพาร์เรลี่ ก็จะถูกปล่อยลงไปยังพื้นผิวดาวอังคารพร้อมกับอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และส่วนตัวยานสำรวจอวกาศก็จะทำการวิเคราะห์แก๊สต่างๆที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศด้วยความละเอียดสูงกว่าที่อุกรณ์ใดๆที่เคยถูกส่งไปยังดาวอังคาร และทำการถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารด้วยกล้องถ่ายภาพสีความละเอียดสูง เพื่อทำศึกษาทางธรณีวิทยาและเพื่อค้นหาและศึกษาตำแหน่งลงจอดเพื่อภารกิจ Exomars 2018 ต่อไป
ในส่วนของการถ่ายภาพ บนตัวยานอวกาศเทรสแก๊สออร์บิทเทอร์ มีกล้องถ่ายภาพ คาสสิส ( Colour and Stereo Surface Imaging System, CaSSIS) ซึ่งมีความละเอียด 4.6 เมตรต่อพิกเซลเมื่อโคจรอยู่ที่ความสูง 400 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดาวอังคารซึ่งเป็นความละเอียดที่สูงที่สุดหลังจากกล้อง HiRise ขององค์การอวกาศนาซ่า แต่คาสสิสก็ยังมีความโดดเด่นที่ความสามารถในการถ่ายภาพสามมิติได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งไม่มีกล้องตัวไหนสามารถทำได้ ความสามารถนี้ประกอบกับการเลือกวงโคจรของยานอวกาศที่แตกต่างออกไปจากยานอวกาศอื่นที่โคจรอยู่รอบดาวอังคารในขณะนี้ ทำให้เราสามารถตรวจพบความเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวดาวอังคารได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
CaSSIS stereo image acquisition principle. Credit: University of Bern ,
รูปกล้องจริง
Credit: Nicolas Thomas, University of Bern
ภารกิจ Exomars 2016 มีกำหนดปล่อยขึ้นสู่วงโคจร วันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 16:00 ตามเวลาประเทศไทยนะครับ สามารถติดตามการถ่ายทอดสดได้ที่
http://www.esa.int/Our_Activities/Space_Science/ExoMars/Watch_ExoMars_launch
กระทู้ของผมก่อนหน้านี้ที่พูดถึงการประกอบกล้องนี้เข้าด้วยกัน
http://ppantip.com/topic/34437947
Exomars 2016 ภารกิจสำรวจดาวอังคารขององค์การอวกาศยุโรป กำหนดปล่อยขึ้นสู่วงโคจร วันที่ 14 มีนาคม เวลา 16:00
ภารกิจเอกซ์โซมาร์ส 2016 (Exomars 2016) เป็นภารกิจที่จะทำการศึกษา การมีอยู่ของแก็สมีเทนที่ตรวจพบในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร และ ทำการทดสอบระบบลงจอดสู่พื้นผิวดาวอังคาร (Entry, Decent and Landing, EDL)
และ ภารกิจเอกซ์โซมาร์ส 2018 (Exomars 2018) จะเป็นการส่งหุ่นยนต์ลงไปสำรวจบนพื้นผิวดาวอังคาร
ภารกิจนี้จะแตกต่างจากภารกิจค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารที่ผ่านมาของนาซ่าตรงที่ว่า นาซ่าจะเน้นการหาน้ำและคิดว่าหากมีน้ำที่ไหน ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตที่นั่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นในอดีต หรือปัจจุบัน และหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคารทั้งสามตัวก็ล้วนแต่เน้นการเดินตามทางที่คาดว่าน่าจะเป็นแม่น้ำมาก่อนในอดีต
แต่ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร พบว่ามีแก๊สมีเทนอยู่ด้วย แม้เป็นจำนวนที่น้อยมาก แต่ว่าตามธรรมชาติแล้วแก๊สมีเทนเป็นแก็สที่จะสลายตัวได้ค่อนข้างรวดเร็ว การที่เราสามารถตรวจพบแก๊สนี้ได้ แสดงว่าต้องมีกระบวนการอะไรซักอย่างที่ผลิตแก๊สนี้ขึ้นมาในปัจจุบัน ซึ่งอาจเกิดจากสิ่งมีชีวิต หรือปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา ก็เป็นได้ ทางองค์การอวกาศยุโรป (ESA) ร่วมกับองค์การอวกาศรัสเซีย (ROSCOSMOS) จึงร่วมมือกันส่ง Trace Gas Orbiter (TGO) ซึ่งมีเครื่องมือตรวจจับแก๊สที่มีความละเอียดสูงกว่าอุปกรณ์ที่เคยส่งไปยังดาวอังคารก่อนหน้านี้ถึงสามเท่า และยังมีกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง CaSSIS ที่สามารถถ่ายภาพสามมิติได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งกล้องของ NASA ไม่สามารถทำได้
ภารกิจเอกซ์โซมาร์ส 2016 ประกอบด้วยสองส่วน ส่วนยานอวกาศ และ ส่วนลงจอด ซึ่งมีชื่อว่า เทรสแก็สออร์บิทเทอร์ (Trace Gas Orbiter) และ สเคียพาร์เรลลี่ (Schiaparelli) ตามลำดับ
ส่วนลงจอดจะเกาะติดไปกับตัวยานสำรวจอวกาศเป็นเวลาประมาณ 7 เดือน สามวันก่อนที่จะเข้าใกล้ชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ส่วนลงจอดเชียพาร์เรลี่ ก็จะถูกปล่อยลงไปยังพื้นผิวดาวอังคารพร้อมกับอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และส่วนตัวยานสำรวจอวกาศก็จะทำการวิเคราะห์แก๊สต่างๆที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศด้วยความละเอียดสูงกว่าที่อุกรณ์ใดๆที่เคยถูกส่งไปยังดาวอังคาร และทำการถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารด้วยกล้องถ่ายภาพสีความละเอียดสูง เพื่อทำศึกษาทางธรณีวิทยาและเพื่อค้นหาและศึกษาตำแหน่งลงจอดเพื่อภารกิจ Exomars 2018 ต่อไป
ในส่วนของการถ่ายภาพ บนตัวยานอวกาศเทรสแก๊สออร์บิทเทอร์ มีกล้องถ่ายภาพ คาสสิส ( Colour and Stereo Surface Imaging System, CaSSIS) ซึ่งมีความละเอียด 4.6 เมตรต่อพิกเซลเมื่อโคจรอยู่ที่ความสูง 400 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดาวอังคารซึ่งเป็นความละเอียดที่สูงที่สุดหลังจากกล้อง HiRise ขององค์การอวกาศนาซ่า แต่คาสสิสก็ยังมีความโดดเด่นที่ความสามารถในการถ่ายภาพสามมิติได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งไม่มีกล้องตัวไหนสามารถทำได้ ความสามารถนี้ประกอบกับการเลือกวงโคจรของยานอวกาศที่แตกต่างออกไปจากยานอวกาศอื่นที่โคจรอยู่รอบดาวอังคารในขณะนี้ ทำให้เราสามารถตรวจพบความเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวดาวอังคารได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
รูปกล้องจริง
ภารกิจ Exomars 2016 มีกำหนดปล่อยขึ้นสู่วงโคจร วันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 16:00 ตามเวลาประเทศไทยนะครับ สามารถติดตามการถ่ายทอดสดได้ที่
http://www.esa.int/Our_Activities/Space_Science/ExoMars/Watch_ExoMars_launch
กระทู้ของผมก่อนหน้านี้ที่พูดถึงการประกอบกล้องนี้เข้าด้วยกัน
http://ppantip.com/topic/34437947