อดีตนักบินอวกาศอพอลโลชี้ ส่งมนุษย์ไปดาวอังคารเป็นเรื่องไร้สาระ

วันที่ 26 ธ.ค. 2561 เวลา 16:49 น.

อดีตนักบินอวกาศในโครงการอพอลโล คิดว่าภารกิจส่งมนุษย์ไปสำรวจดาวอังคาร เป็นไอเดียที่ไร้สาระ


แม้หลายครั้งที่ผ่านมา ทั้งนาซาและองค์การอวกาศหลายแห่ง จะมุ่งความสนใจในการสำรวจบนดาวอังคารซึ่งเป็นดาวในระบบสุริยะที่อยู่ใกล้โลกที่สุด ด้วยการส่งยานสำรวจไปยังพื้นผิวดาวอังคาร รวมถึงส่งดาวเทียมไปโคจรโดยรอบดาวอังคารแล้วหลายลำ

ความทะยานสูงสุดนั้นคือการส่งมนุษย์ลงไปเหยียบบนผิวดาวอังคารเพื่อทำการวิจัย ศึกษาบนดาวว่าเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ใดๆต่อมนุษยชาติบนโลกหรือไม่


ภาพถ่ายผิวดาวอังคารจากยานอินไซต์

แต่สำหรับนาย บิล วิลเลียม แอนเดอร์ อดีตนักบินอวกาศของนาซา วัย 85 ปี ผู้เคยร่วมปฎิบัติภารกิจในโครงการอพอลโล 8 นั้น กลับมองว่าการส่งมนุษย์ไปเหยียบบนดาวเคราะห์สีแดงนั้นเป็นเรื่องที่เกือบจะไร้สาระที่สุด

นายแอนเดอร์ได้เปิดเผยในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับทางสถานีวิทยุบีบีซี เรดิโอ 5 ของอังกฤาระบุว่า โดยส่วนตัวของเขานั้นสนับสนุนภารกิจสำรวจอวกาศรูปแบบ"ไร้คนขับ" มากกว่า เพราะส่วนใหญ่จะมีราคาถูกกว่าการส่งคนขึ้นไปสำรวจกว่ามาก


บิล แอนเดอร์ (ซ้าย) แฟรงค์ บอร์แมน กลาง และ จอห์น วีลเลอร์ ภาพ : Classic Chicago Magazine

"มีความจำเป็นอะไรจะต้องผลักดันการสำรวจไปที่ดาวอังคาร ผมไม่คิดว่าสาธารณชนจะให้ความสนใจหรอก" นายแอนเดอร์กล่าว

ทั้งนี้ การให้สัมภาษณ์ของเขาร่วมกับ Frank Borman อดีตผู้บัญชาการของยานอพอลโล 8 ซึ่งถูกส่งขึ้นไปยังเพื่อโคจรรอบดวงจันทร์นั้นมีขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปีของโครงการสำรวจดวงจันทร์ของนาซา

สำหรับนายแอนเดอร์นั้นเคยเป็นอดีตนักบินในภารกิจอพอลโล 8 ที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบดาวจันทร์เมื่อปี 1968 และเขาได้สร้างผลงานอันน่าถึงด้วยภาพถ่ายระยะไกลของโลกซึ่งถูกถ่ายขณะกำลังโคจรรอบดวงจันทร์และมีการตั้งชื่อภาพดังกล่าวว่า "Earthrise"



ภาพ Earthrise ที่ถ่ายโดยบิล แอนเดอร์ ในวันที่ 24 ธ.ค. 1968
โพสต์ทูเดย์
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ไม่ได้อ่านต้นฉบับนะเจ้าคะ แต่ฟังๆเหมือนว่าสื่อน่าจะแปลคำพูดผิด
คือแกน่าจะหมายถึงว่า ส่งยานไร้มนุษย์ไปสำรวจก่อนก็เพียงพอแล้ว
คงยังไม่ต้องถึงขั้นส่งมนุษย์ไปด้วยจริงๆ เพราะมันยากกว่าหลายสิบเท่า
แล้วยานสมัยใหม่ทุกวันนี้เทคโนโลยีก้าวไกล ทำงานจากระยะไกลได้แทบทุกอย่างที่ต้องการ
ไม่ต้องเอาชีวิตคนไปเสี่ยง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่