BBC News บีบีซีไทย นาวิเกชัน
3 มกราคม 2019
ยานสำรวจ “ฉางเอ๋อ-4” ของจีนลงจอดบนด้านมืดของดวงจันทร์ได้สำเร็จ
จีนประกาศความสำเร็จหลังยานสำรวจ "ฉางเอ๋อ-4" ลงจอดบนพื้นผิว "ด้านมืด"หรือฝั่งที่หันไปทิศตรงข้ามกับโลกของดวงจันทร์ได้ เมื่อเวลา 10.26 น. ตามเวลาในกรุงปักกิ่ง หรือ 9.26 น. ตามเวลาไทย
ยานสำรวจได้ขนอุปกรณ์เพื่อการศึกษาทางธรณีวิทยาในพื้นที่ที่ไม่เคยถูกสำรวจมาก่อน และเตรียมทำการทดลองในเชิงชีววิทยาอีกด้วย
AFP/Getty Images
ความสำเร็จในครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นหมุดหมายสำคัญในการสำรวจทางอวกาศเนื่องจากหลายปีที่ผ่านมามีภารกิจสำรวจดวงจันทร์หลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่เป็นแค่การโคจรรอบ หรือบินผ่านดวงจันทร์เฉย โดยครั้งสุดท้ายที่มียานสำรวจที่เดินทางไปดวงจันทร์โดยมีนักบินอวกาศไปด้วยคือ ยานอพอลโล 17 เมื่อปี 1972
ดวงจันทร์ฝั่งใกล้และไกล
การสำรวจครั้งนี้สำคัญอย่างไร
ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ในครั้งก่อน ๆ เป็นการลงจอดยังฝั่งของดวงจันทร์ที่หันหน้าเข้าโลกเท่านั้น และนี้เป็นครั้งแรกที่ยานสำรวจลงจอดบริเวณที่มีพื้นผิวขรุขระของดวงจันทร์ "ฝั่งไกล" หรือฝั่งที่หันไปทิศตรงข้ามกับโลก ที่ยังไม่เคยมีใครสำรวจมาก่อน
ยานสำรวจฉางเอ๋อ-4 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศจากฐานปล่อยดาวเทียมซีชาง (Xichang Satellite Launch Centre) เมื่อ 7 ธ.ค. และถึงวงโคจรดวงจันทร์เมื่อ 12 ธ.ค.
ภารกิจในครั้งนี้มีเป้าหมายสำรวจแอ่งที่ชื่อว่า Von Kármán ซึ่งตั้งอยู่ในแอ่งแอตเคนขั้วใต้ (South Pole-Aitken (SPA) Basin) ซึ่งเชื่อกันว่าถูกก่อตัวจากการถูกพุ่งชนของวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าในช่วงต้นของการก่อตัวของดวงจันทร์
แอนดรูว์ โคทส์ ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์จากห้องปฏิบัติการอวกาศมุลลาร์ด จากยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) บอกว่า แอ่งแอตเคนขั้วใต้ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,500 กม. และลึก 13 กม. และเป็นแอ่งที่เกิดจากการถูกพุ่งชนที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นแอ่งที่ใหญ่ ลึก และเก่าที่สุดบนดวงจันทร์
เชื่อกันว่า เหตุที่ทำให้เกิดเป็นแอ่งแอตเคนขั้วใต้ เกิดขึ้นด้วยความรุนแรงมากจนทะลุเปลือก (crust) ของดวงจันทร์ไปจนถึงชั้นที่เป็นเนื้อภายใน (mantle) นักวิจัยจีนต้องการจะใช้เครื่องมือสำรวจหินของชั้นเนื้อภายในที่ถูกเปิดออกจากเหตุในครั้งนั้น
นอกจากนี้ ทีมวิจัยหวังว่าจะได้ศึกษาชั้นแผ่นที่เกิดจากหินที่ละลายและปกคลุมพื้นผิวของแอ่งแอตเคนขั้วใต้
อีกจุดมุ่งหมายหนึ่งคือการศึกษาพื้นผิวที่เต็มไปด้วยหินและฝุ่นของดวงจันทร์ฝั่งไกลนี้ ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจการก่อตัวของดวงจันทร์
EPA/CNSA
ฉางเอ๋อ-4 ได้ส่งภาพถ่ายชุดแรกกลับมาแล้วให้สื่อของรัฐเผยแพร่
เราจะได้เรียนรู้อะไรอีก
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดวงจันทร์ฝั่งไกลนี้เป็นที่ที่เหมาะเจาะที่จะทำการทดลองด้านดาราศาสตร์วิทยุ หรือการตรวจจับคลื่นวิทยุจากอวกาศ เนื่องจากเป็นฝั่งที่ไม่มีคลื่นวิทยุรบกวนจากโลก
นอกจากนี้ ยานสำรวจยังได้นำเมล็ดพันธุ์มันฝรั่งและอะราบิดอพซิส (Arabidopsis) และไข่ของหนอนไหม ไปด้วยเพื่อทดลองทางชีววิทยา
ดวงจันทร์มี "ด้านมืด"ด้วยหรือ
ที่เรียกกันว่า "ด้านมืด" ของดวงจันทร์นั้นหมายความว่า "ด้านที่มองไม่เห็น" มากกว่า เราเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเนื่องจากดวงจันทร์ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองนานเท่ากับโลก เปลือกของดวงจันทร์ "ฝั่งไกล" มีความหนาและเก่ากว่า และมีหลุมแอ่งมากกว่า
EPA/CNSA
ที่เรียกกันว่า "ด้านมืด" ของดวงจันทร์นั้นหมายความว่า "ด้านที่มองไม่เห็น" มากกว่า เราเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเนื่องจากดวงจันทร์ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองนานเท่ากับโลก
จีนมีแผนการสำรวจทางอวกาศอะไรบ้าง?
จีนอยากจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการสำรวจอวกาศ เคียงข้างสหรัฐฯ และรัสเซีย เมื่อปี 2017 จีนได้ประกาศแผนเตรียมส่งนักบินอวกาศขึ้นไปบนดวงจันทร์ นอกจากนี้ยังได้เตรียมสร้างสถานีอวกาศของตัวเองปีหน้า และหวังว่าจะเริ่มปฏิบัติงานได้ภายในปี 2022
จอห์น ซัดเวิร์ธ ผู้สื่อข่าวบีบีซีในกรุงปักกิ่ง บอกว่าการจัดการควบคุมสื่ออย่างระมัดระวังเกินไปส่งผลกระทบต่อความพยายามโฆษณาชวนเชื่อให้นานาชาติเห็นความก้าวหน้าทางการสำรวจทางอวกาศของจีน เพราะ มีข่าวเกี่ยวกับการสำรวจครั้งนี้น้อยมากก่อนที่ทางการจะออกมาประกาศความสำเร็จในเวลาต่อมา
Getty Images
แบบจำลองยานสำรวจฉางเอ๋อ-4
จีนเป็นชาติที่เพิ่งเริ่มโครงการสำรวจทางอวกาศ โดยเมื่อปี 2003 ได้ส่งนักบินอวกาศสู่วงโคจรอวกาศได้สำเร็จ นับเป็นชาติที่ 3 ตามหลังสหภาพโซเวียตและสหรัฐฯ
ผู้เชี่ยวชาญที่องค์การนาซาของสหรัฐฯ บอกว่าการลงจอดที่ดวงจันทร์ฝั่งไกลในครั้งนี้เป็น "ครั้งแรกของมนุษยชาติและเป็นความสำเร็จที่น่าทึ่ง"
ฉางเอ๋อ-4 กับภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของจีนที่ต่างจากอดีต
3 มกราคม 2019
ยานสำรวจ “ฉางเอ๋อ-4” ของจีนลงจอดบนด้านมืดของดวงจันทร์ได้สำเร็จ
จีนประกาศความสำเร็จหลังยานสำรวจ "ฉางเอ๋อ-4" ลงจอดบนพื้นผิว "ด้านมืด"หรือฝั่งที่หันไปทิศตรงข้ามกับโลกของดวงจันทร์ได้ เมื่อเวลา 10.26 น. ตามเวลาในกรุงปักกิ่ง หรือ 9.26 น. ตามเวลาไทย
ยานสำรวจได้ขนอุปกรณ์เพื่อการศึกษาทางธรณีวิทยาในพื้นที่ที่ไม่เคยถูกสำรวจมาก่อน และเตรียมทำการทดลองในเชิงชีววิทยาอีกด้วย
AFP/Getty Images
ความสำเร็จในครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นหมุดหมายสำคัญในการสำรวจทางอวกาศเนื่องจากหลายปีที่ผ่านมามีภารกิจสำรวจดวงจันทร์หลายครั้ง แต่ส่วนใหญ่เป็นแค่การโคจรรอบ หรือบินผ่านดวงจันทร์เฉย โดยครั้งสุดท้ายที่มียานสำรวจที่เดินทางไปดวงจันทร์โดยมีนักบินอวกาศไปด้วยคือ ยานอพอลโล 17 เมื่อปี 1972
ดวงจันทร์ฝั่งใกล้และไกล
การสำรวจครั้งนี้สำคัญอย่างไร
ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ในครั้งก่อน ๆ เป็นการลงจอดยังฝั่งของดวงจันทร์ที่หันหน้าเข้าโลกเท่านั้น และนี้เป็นครั้งแรกที่ยานสำรวจลงจอดบริเวณที่มีพื้นผิวขรุขระของดวงจันทร์ "ฝั่งไกล" หรือฝั่งที่หันไปทิศตรงข้ามกับโลก ที่ยังไม่เคยมีใครสำรวจมาก่อน
ยานสำรวจฉางเอ๋อ-4 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศจากฐานปล่อยดาวเทียมซีชาง (Xichang Satellite Launch Centre) เมื่อ 7 ธ.ค. และถึงวงโคจรดวงจันทร์เมื่อ 12 ธ.ค.
ภารกิจในครั้งนี้มีเป้าหมายสำรวจแอ่งที่ชื่อว่า Von Kármán ซึ่งตั้งอยู่ในแอ่งแอตเคนขั้วใต้ (South Pole-Aitken (SPA) Basin) ซึ่งเชื่อกันว่าถูกก่อตัวจากการถูกพุ่งชนของวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่าในช่วงต้นของการก่อตัวของดวงจันทร์
แอนดรูว์ โคทส์ ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์จากห้องปฏิบัติการอวกาศมุลลาร์ด จากยูนิเวอร์ซิตี คอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) บอกว่า แอ่งแอตเคนขั้วใต้ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,500 กม. และลึก 13 กม. และเป็นแอ่งที่เกิดจากการถูกพุ่งชนที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นแอ่งที่ใหญ่ ลึก และเก่าที่สุดบนดวงจันทร์
เชื่อกันว่า เหตุที่ทำให้เกิดเป็นแอ่งแอตเคนขั้วใต้ เกิดขึ้นด้วยความรุนแรงมากจนทะลุเปลือก (crust) ของดวงจันทร์ไปจนถึงชั้นที่เป็นเนื้อภายใน (mantle) นักวิจัยจีนต้องการจะใช้เครื่องมือสำรวจหินของชั้นเนื้อภายในที่ถูกเปิดออกจากเหตุในครั้งนั้น
นอกจากนี้ ทีมวิจัยหวังว่าจะได้ศึกษาชั้นแผ่นที่เกิดจากหินที่ละลายและปกคลุมพื้นผิวของแอ่งแอตเคนขั้วใต้
อีกจุดมุ่งหมายหนึ่งคือการศึกษาพื้นผิวที่เต็มไปด้วยหินและฝุ่นของดวงจันทร์ฝั่งไกลนี้ ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจการก่อตัวของดวงจันทร์
EPA/CNSA
ฉางเอ๋อ-4 ได้ส่งภาพถ่ายชุดแรกกลับมาแล้วให้สื่อของรัฐเผยแพร่
เราจะได้เรียนรู้อะไรอีก
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดวงจันทร์ฝั่งไกลนี้เป็นที่ที่เหมาะเจาะที่จะทำการทดลองด้านดาราศาสตร์วิทยุ หรือการตรวจจับคลื่นวิทยุจากอวกาศ เนื่องจากเป็นฝั่งที่ไม่มีคลื่นวิทยุรบกวนจากโลก
นอกจากนี้ ยานสำรวจยังได้นำเมล็ดพันธุ์มันฝรั่งและอะราบิดอพซิส (Arabidopsis) และไข่ของหนอนไหม ไปด้วยเพื่อทดลองทางชีววิทยา
ดวงจันทร์มี "ด้านมืด"ด้วยหรือ
ที่เรียกกันว่า "ด้านมืด" ของดวงจันทร์นั้นหมายความว่า "ด้านที่มองไม่เห็น" มากกว่า เราเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเนื่องจากดวงจันทร์ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองนานเท่ากับโลก เปลือกของดวงจันทร์ "ฝั่งไกล" มีความหนาและเก่ากว่า และมีหลุมแอ่งมากกว่า
EPA/CNSA
ที่เรียกกันว่า "ด้านมืด" ของดวงจันทร์นั้นหมายความว่า "ด้านที่มองไม่เห็น" มากกว่า เราเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียวเนื่องจากดวงจันทร์ใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเองนานเท่ากับโลก
จีนมีแผนการสำรวจทางอวกาศอะไรบ้าง?
จีนอยากจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการสำรวจอวกาศ เคียงข้างสหรัฐฯ และรัสเซีย เมื่อปี 2017 จีนได้ประกาศแผนเตรียมส่งนักบินอวกาศขึ้นไปบนดวงจันทร์ นอกจากนี้ยังได้เตรียมสร้างสถานีอวกาศของตัวเองปีหน้า และหวังว่าจะเริ่มปฏิบัติงานได้ภายในปี 2022
จอห์น ซัดเวิร์ธ ผู้สื่อข่าวบีบีซีในกรุงปักกิ่ง บอกว่าการจัดการควบคุมสื่ออย่างระมัดระวังเกินไปส่งผลกระทบต่อความพยายามโฆษณาชวนเชื่อให้นานาชาติเห็นความก้าวหน้าทางการสำรวจทางอวกาศของจีน เพราะ มีข่าวเกี่ยวกับการสำรวจครั้งนี้น้อยมากก่อนที่ทางการจะออกมาประกาศความสำเร็จในเวลาต่อมา
Getty Images
แบบจำลองยานสำรวจฉางเอ๋อ-4
จีนเป็นชาติที่เพิ่งเริ่มโครงการสำรวจทางอวกาศ โดยเมื่อปี 2003 ได้ส่งนักบินอวกาศสู่วงโคจรอวกาศได้สำเร็จ นับเป็นชาติที่ 3 ตามหลังสหภาพโซเวียตและสหรัฐฯ
ผู้เชี่ยวชาญที่องค์การนาซาของสหรัฐฯ บอกว่าการลงจอดที่ดวงจันทร์ฝั่งไกลในครั้งนี้เป็น "ครั้งแรกของมนุษยชาติและเป็นความสำเร็จที่น่าทึ่ง"