หลังจากที่พบปัญหาในตัวเซนเซอร์วัดความดันที่ติดตั้งอยู่ในส่วนลงจอด ESA เลยต้องเลื่อนเวลาปล่อยจรวดออกไป 3 เดือนจากเดิมเป็นเดือนมกราคม เป็นเดือนมีนาคมปีหน้าแทน แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดซึ่งเหมาะแก่การปล่อยจรวดในภารกิจนี้ครับ
ยานอวกาศสำรวจดาวอังคารปี 2016 เอ็กโซมาร์สเทรสแก็สออบิทเทอร์ และ เชียพาเรลลี่ (EXOMARS TRACE GAS ORBITER AND SCHIAPARELLI ) จะเป็นภารกิจแรกในโปรแกรม เอ็กโซมาร์ส (Exomars) ขององค์การอวกาศยุโรปที่รวมมือกับรอสคอสมอส (ROSCOSMOS) องค์การอวกาศรัสเซีย ภารกิจนี้มีเป้าหมายหลักคือตรวจหาการมีอยู่ของแก็สมีเทนและแก็สอื่นๆที่อยู๋ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ที่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิต หรือกระบวนการทางธรณีวิทยาในปัจจุบัน เพราะแก็สพวกนี้จะสลายตัวได้เร็ว การที่ตรวจพบได้แสดงว่าต้องมีกระบวนการที่ทำให้เกิดแก็สเหล่านี้ได้ในช่วงเวลาไม่นานนี้ และอีกเป้าหมายนึงของภารกิจนี้ก็คือการทดสอบระบบควบคุมการลงจอดบนดาวอังคารและการสื่อสาร ที่จะเป็นส่วนสำคัญในภารกิจขั้นต่อไปของ เอ็กโซมาร์สปี 2018ที่จะส่งยานสำรวจลงไปยังดาวอังคาร
จะเห็นว่าจะมีสองส่วนแยกกันได้ ส่วนยานอวกาศ กับส่วนลงจอด
ทั้งตัวยานและส่วนลงจอดจะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในเดือนมีนาคมปี 2016 และใช้เวลาประมาณ 7เดือนในการเดินทางสู่ดาวอังคารโดยจรวดโปรตอนขององค์การอวกาศรัสเซีย ก่อนที่จะถึงชั้นบรรยากาศของดาวอังคารประมาณ 3 วัน เชียพาเรลลี่ก็จะถูกแยกตัวออกมาจากตัวยาน เทรสแก็สออร์บิทเทอร์และเริ่มการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโดยใช้วิธีการลดความเร็วด้วยวิธีลดความเร็วจากแรงเสียดสีกับชั้นบรรยากาศ หลังจากนั้นก็ใช้ร่มชูชีพ และทำการเบรกและลงจอดสู่พื้นผิวขั้นสุดท้ายด้วยไอพ่น เมื่อถึงพื้นแล้วอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ภายในเชียพาเรลลี่ก็จะทำการตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ต่างๆมากมาย รวมไปถึงข้อมูลและรูปภาพขณะทำการลงจอดครั้งสุดท้าย เพราะข้อมูลเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างมากให้การปรับปรุงการลงจอดจริงที่จะมาถึงในอีกสองปีข้างหน้า เนื่องจากเชียพาเรลลี่ไม่มีแหล่งพลังงานจากภายนอก มันจึงจะทำงานได้เพียงแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้นก่อนที่พลังงานจากแบตเตอรี่จะหมดไป
อันนี้เป็นรูปเครื่องมือที่จะลงไปจอดบนดาวอังคาร
เครื่องมือในส่วนลงจอดผมว่าไม่ค่อยน่าสนใจ เดี้ยวตอนต่อไปผมจะเอารูปกล้องโทรทรรศน์ที่ติดอยู่ในส่วนของยานอวกาศเอาไว้ถ่ายรูปพื้นผิวดาวอังคารมาให้ชมกันครับ
Credit :
http://exploration.esa.int/mars/56505-exomars-2016-targets-march-launch-window/
http://exploration.esa.int/mars/56534-dreams-flight-model/
ภารกิจลงจอดบนดาวอังคารครั้งถัดไปกำลังจะเริ่มต้นแล้วนะครับ ESA EXOMARS 2016
ยานอวกาศสำรวจดาวอังคารปี 2016 เอ็กโซมาร์สเทรสแก็สออบิทเทอร์ และ เชียพาเรลลี่ (EXOMARS TRACE GAS ORBITER AND SCHIAPARELLI ) จะเป็นภารกิจแรกในโปรแกรม เอ็กโซมาร์ส (Exomars) ขององค์การอวกาศยุโรปที่รวมมือกับรอสคอสมอส (ROSCOSMOS) องค์การอวกาศรัสเซีย ภารกิจนี้มีเป้าหมายหลักคือตรวจหาการมีอยู่ของแก็สมีเทนและแก็สอื่นๆที่อยู๋ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ที่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิต หรือกระบวนการทางธรณีวิทยาในปัจจุบัน เพราะแก็สพวกนี้จะสลายตัวได้เร็ว การที่ตรวจพบได้แสดงว่าต้องมีกระบวนการที่ทำให้เกิดแก็สเหล่านี้ได้ในช่วงเวลาไม่นานนี้ และอีกเป้าหมายนึงของภารกิจนี้ก็คือการทดสอบระบบควบคุมการลงจอดบนดาวอังคารและการสื่อสาร ที่จะเป็นส่วนสำคัญในภารกิจขั้นต่อไปของ เอ็กโซมาร์สปี 2018ที่จะส่งยานสำรวจลงไปยังดาวอังคาร
จะเห็นว่าจะมีสองส่วนแยกกันได้ ส่วนยานอวกาศ กับส่วนลงจอด
ทั้งตัวยานและส่วนลงจอดจะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในเดือนมีนาคมปี 2016 และใช้เวลาประมาณ 7เดือนในการเดินทางสู่ดาวอังคารโดยจรวดโปรตอนขององค์การอวกาศรัสเซีย ก่อนที่จะถึงชั้นบรรยากาศของดาวอังคารประมาณ 3 วัน เชียพาเรลลี่ก็จะถูกแยกตัวออกมาจากตัวยาน เทรสแก็สออร์บิทเทอร์และเริ่มการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโดยใช้วิธีการลดความเร็วด้วยวิธีลดความเร็วจากแรงเสียดสีกับชั้นบรรยากาศ หลังจากนั้นก็ใช้ร่มชูชีพ และทำการเบรกและลงจอดสู่พื้นผิวขั้นสุดท้ายด้วยไอพ่น เมื่อถึงพื้นแล้วอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ภายในเชียพาเรลลี่ก็จะทำการตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์ต่างๆมากมาย รวมไปถึงข้อมูลและรูปภาพขณะทำการลงจอดครั้งสุดท้าย เพราะข้อมูลเหล่านี้มีความจำเป็นอย่างมากให้การปรับปรุงการลงจอดจริงที่จะมาถึงในอีกสองปีข้างหน้า เนื่องจากเชียพาเรลลี่ไม่มีแหล่งพลังงานจากภายนอก มันจึงจะทำงานได้เพียงแค่ช่วงหนึ่งเท่านั้นก่อนที่พลังงานจากแบตเตอรี่จะหมดไป
อันนี้เป็นรูปเครื่องมือที่จะลงไปจอดบนดาวอังคาร
เครื่องมือในส่วนลงจอดผมว่าไม่ค่อยน่าสนใจ เดี้ยวตอนต่อไปผมจะเอารูปกล้องโทรทรรศน์ที่ติดอยู่ในส่วนของยานอวกาศเอาไว้ถ่ายรูปพื้นผิวดาวอังคารมาให้ชมกันครับ
Credit :
http://exploration.esa.int/mars/56505-exomars-2016-targets-march-launch-window/
http://exploration.esa.int/mars/56534-dreams-flight-model/