หากแปลหรือเรียบเรียงผิดพลาดขออภัย
เมื่อปีที่ผ่านมา (2015) วงการฟุตบอลเวียดนามต้องพบวิกฤตศรัทธา
เนื่องจากผลงานความพ่ายแพ้ต่อไทยอย่างต่อเนื่อง ถึงกับมีการทำรายงานข่าวตลอดทั้งวัน
มีการแสดงบทวิเคราะห์กันตามสื่ออย่างแพร่หลาย ว่าเพราะเหตุใดเวียดนามถึงสู้ไทยไม่ได้
โดยมีการย้อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยเวียดนามรุ่งเรืองเหนือไทย คือ ช่วงที่ได้แชมป์รายการ AFF 2008 (เหมือนเดิม)
แต่ต่อมาไม่นานกลับเป็นไทยที่สร้างผลงานดีกว่าได้อย่างต่อเนื่องจนช่วงหลังก็ได้แชมป์เกือบทุกรายการ
*ปี 2008 เวียดนามเข้ารอบสุดท้ายเยอะกว่าไทย, ปี 2009-2011 เวียดนามเข้าถึงรอบรองสุดท้ายในขณะที่ไทยตกรอบแรกๆ
*ปี 2012-2013 เวียดนามตกรอบแรกๆ ในขณะที่ไทยเข้าถึงรอบรองสุดท้ายและรอบชิง,
ปี 2014-2015 เวียดนามมาถึงรอบรองสุดท้ายในขณะที่ไทยเข้ารอบสุดท้ายและได้แชมป์
การนำเสนอข่าว
ข่าวเกี่ยวกับฟุตบอลไทยของเวียดนามคงจะวนเวียนอยู่แค่นี้
ถ้าทางสมาคมฟุตบอลเวียดนามไม่ได้สร้างความแปลกใจถึงขั้นที่วงการฟุตบอลเวียดนามตะลึงอีกครั้ง
โดยการ "ทำสัญญาใช้ลูกฟุตบอล Grand Sport ของไทย มาแทนที่ Dong Luc ของเวียดนาม" ในการแข่งขัน V-League 2016
*ซ้าย Dong Luc, ขวา Grand Sport
สำหรับท่านที่ติดตามวงการกีฬาของไทยมานาน และบางท่านอาจเริ่ม "สังเกต" ได้ว่า
นอกจากการที่ไทยประสบความสำเร็จและสร้างมาตรฐานระดับสูงในเรื่องกีฬาในแถบภูมิภาค SEA นี้แล้ว
ผลพลอยได้จากการเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนของ Brand ไทยอย่างเช่น Grand Sport, FBT และ Warrix นั้นก็ได้รับประโยชน์ด้วย
โดยเริ่มจากทีมชาติของเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม กัมพูชา และ ลาว ได้ใช้อุปกรณ์กีฬาของไทยกันมากขึ้นเรื่อยๆ
จนกระทั่งเริ่มแพร่หลายไปถึงระดับสโมสรของประเทศนั้น
ทีนี้ประเด็นของเวียดนามก็มีอยู่ว่า ประเทศเวียดนามเองนั้นเป็น "ฐานการผลิต" สินค้า Brand ระดับโลกมากมาย
และเขาก็มั่นใจว่า Brand Local ของเขาเองนั้นก็มีคุณภาพดีพอ (อย่างน้อยก็ในประเทศตนเอง)
แต่ทำไมทางสมาคมฯ เวียดนามจึงเลือกที่จะใช้สินค้าจาก Brand ต่างประเทศ เช่น Grand Sport ของไทย
โดยเฉพาะปี 2016 นี้ที่ทางสมาคมฯ เวียดนามได้ทำสัญญาใช้ลูกฟุตบอลของ Grand Sport ของไทยในการแข่ง V-League
แทนที่จากเดิมนั้นใช้ Brand Local อย่าง Dong Luc
จากการให้สัมภาษณ์ของทางสมาคมฯ เวียดนามได้กล่าวว่า
"เราต้องขอยืนยันว่ายังคงสนับสนุนฟุตบอลเวียดนามและ Brand ของคนเวียดนาม
สำหรับ V-League นั้นมีผู้สนับสนุนอย่าง Toyota, Hino และก็กลุ่มคู่ค้าที่เป็นของเวียดนามเอง เช่น
FLC, Becamex IDC, Đồng Tâm, Bảo Hiểm Hùng Vương, Tân Hiệp Phát (Number One), Thái Sơn Nam
ซึ่งเรายังคงให้ความสำคัญกับคู่ค้าในประเทศอย่าง Dong Luc
สำหรับการการเปลี่ยนแปลงในปี 2016 นี้มาจากหลายเหตุผล
บางอย่างเราไม่ได้พูดในเชิงลึกเพราะเราเคารพคู่ค้าของเรา......
สัญญาระหว่าง VFF (สมาคมฯ) กับ Dong Luc ได้หมดลงในปี 2015 หลังจบฤดูกาล
พวกเราได้ติดต่อกับ Dong Luc หลายครั้งเพื่อวางแผนทำงานร่วมกัน
แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจทำการเจรจาต่อรองกับคู่ค้ารายอื่น เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้
จนกระทั่งมาพบกับ Grand Sport โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เปิดฤดูกาลปี 2016 ตั้งแต่วันที่ 15/02/2016
และจนถึงวันที่ 18/02/2016 นี้ก็สามารถส่งมอบลูกฟุตบอลให้กับสโมสรต่างๆ จนครบหมด 100% แล้ว
ทางเราต้องขอขอบคุณผู้สนับสนุนและสโมสรต่างๆ ที่ให้ความร่วมมือ"
ที่มา
http://www.vnleague.com/tin-tuc/viet-nam/6562-Ong-Cao-Van-Chong-Tong-giam-doc-VPF-Chu-truong-cua-VPF-ung-ho-hang-Viet-Nam.html
หลังจากมีการลงนามทำข้อตกลงในสัญญากันแล้ว
ทางสื่อของเวียดนามก็เริ่มลงข่าวและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลูกฟุตบอล Grand Sport
โดยบอกว่าตั้งแต่ปี 2016 จะเริ่มใช้ลูกฟุตบอลของ Grand Sport จากประเทศไทยจนถึงปี 2017
จากข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากนาย Cao Van Chóng ที่เป็น CEO VPF
"ในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อเริ่ม V-League 2016 เหล่าผู้เล่นจะได้ใช้ลูกฟุตบอลจาก Grand Sport แทนที่ Dong Luc
โดย Grand Sport ได้ผ่านการรับรองจาก FIFA ทางด้านคุณภาพระดับสูง....." นาย Cao Van Chóng กล่าว
ที่มา
http://bongdaplus.vn/tin-bai/3/144932/v-league-2016-se-su-dung-bong-thi-dau-cua-thai-lan.bdplus
เป็นที่แน่นอนว่าประเด็นนี้ก็ได้รับความสนใจจากสื่อหลายแห่งของเวียดนาม
ความคิดเห็นของการใช้ลูกฟุตบอล Grand Sport
คนเวียดนามต่างแปลกใจที่ Grand Sport มาแทนที่ Dong Luc
ทั้งที่ Dong Luc นั้นทำงานกับวงการกีฬาเวียดนามมาอย่างยาวนาน
หลังจากมีการส่งมอบและเริ่มใช้ลูกฟุตบอลของ Grand Sport ลงแข่งขัน
ก็มีการทำบทสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเหล่าผู้เล่นใน V-League
จากการแข่งขันระหว่าง B.Bình Dương และ XSKT
มาดูสภาพการแข่งขันของการใช้ลูกฟุตบอลของ Grand Sport กัน
โดยผู้เล่นชาวไนจีเรียมีความเห็นที่ว่า "ลูกฟุตบอลใหม่ควบคุมลำบาก"
และมีผู้เล่นหลายคนต้องล้มลงในสนามเหตุเพราะปัญหาการคลึงลูกบอล
โค้ช Vũ Quang Bảo ของสโมสร XSKT ถึงกับกล่าวว่า
"ถ้าปัญหานี้มันเกิดจากผู้เล่นไม่เคยใช้ลูกบอลแบบนี้มาก่อนก็พอเข้าใจได้ แต่นี่มันเล่นลำบากกันทั้งสนาม"
โค้ช Nguyễn Thanh Sơn ของสโมสร B.BD กล่าวว่า
"ลูกฟุตบอลแบบนี้มันไม่กระชับเมื่อต้องเล่นในสนาม ผู้เล่นคงต้องใช้เวลาปรับตัว"
ซึ่งนั่นอาจเป็นปัญหาที่ผู้เล่นรู้สึก "เบื่อ"
แม้แต่ Lê Công Vinh จากสโมสร B.BD ก็ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
"ไม่สามารถควบคุมลูกฟุตบอลได้ ไม่รู้ว่ามันจะควบคุมยังไง"
จนตอนนี้ก็กลายเป็นประเด็นถึงเรื่อง "สัญญาที่อาจมีปัญหา"
ตั้งแต่ V-League เริ่มมากว่า 15 ปี ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ Dong Luc ผู้สนับสนุนลูกฟุตบอลของเวียดนาม
ถูกเปลี่ยนแทนที่ไปเป็นของ Grand Sport จากประเทศไทย อาจเป็นประเด็นร้อนของทางสมาคมฯ เวียดนาม
ที่ต้องถูกแสดงความคิดเห็น โดยทาง Dong Luc ได้กล่าวว่า
"ตัวองค์กร VPF มีสิทธิ์ที่จะเลือกใช้ลูกฟุตบอล แต่ด้วยวิธีการทำงานที่ไม่ยุติธรรม
พวกเราที่เป็นผู้สนับสนุนฟุตบอลเวียดนามต้องทำงานยากขึ้น
ในขณะที่มีการเจรจา พวกเราก็ได้รับทราบว่ามีการตกลงเลือกใช้ลูกฟุตบอลจากประเทศไทยแล้ว"
ในขณะที่ทาง VPF ได้ตอบโต้ทาง Dong Luc ว่า
"ทางคณะผู้บริหารได้ดำเนินการและเจรจากับทาง Dong Luc เกี่ยวกับปี 2016
ซึ่งสัญญาเก่าของทาง Dong Luc ได้ลงทุนไป 2.2 Billion VND. และผู้สนับสนุนรายอื่นอีก 3.054 Billion VND.
แต่เงินเหล่านั้นยังไม่ได้ส่งให้ VPF ทำให้ต้องใช้อุปกรณ์กีฬาต่างๆ ที่เป็นของเก่า....
ทาง VPF จึงยังไม่ได้ลงนามสัญญาใหม่ และได้ส่งข้อความถึง Dong Luc กว่า 8 ครั้งแล้วตั้งแต่ 2014-2015
เพื่อให้ทบทวนเรื่องสัญญาและทำการแก้ไข แต่ทาง Dong Luc ก็ไม่ได้ตอบกลับมาแต่อย่างใด
และไม่ได้ดำเนินการรับผิดชอบในสิ่งที่ตกลงกันไว้.......
โดยเหลืออีกไม่กี่วันสัญญาก็จะหมดอายุลง ทาง Dong Luc ก็ยังไม่ยอมรับข้อเสนอของทาง VPF
ทำให้ต้องเปิดการเจรจากับคู่ค้ารายใหม่ และได้ตกลงทำสัญญาลงนามกับ Grand Sport
เพื่อให้ V-League สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด"
จากนั้นก็มีประเด็นเรื่องของคุณภาพของลูกฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจาก FIFA
ทั้งนี้ ประเด็นข้อโต้แย้งต่างๆ ของทั้ง 2 ฝ่ายมันก็ไม่ได้มีอะไรสำคัญ
เพราะสัญญาที่ทาง VPF ทำกับทาง Grand Sport นั้นเป็นเพียงการซื้อขายลูกฟุตบอลที่จะใช้ในปี 2016
ดังนั้น ข้อตกลงอื่นๆ ยังเปิดกว้างสำหรับ Brand ต่างๆ ในปี 2017 รวมถึง Dong Luc ด้วย
อย่างไรก็ตาม, ด้วยคำกล่าวของโค้ช Duc Thang ของสโมสร Hanoi ได้กล่าวถึงลูกฟุตบอลของ Dong Luc ว่า
"ทาง Dong Luc ต้องพยายามอย่างมากหากจะสู้กับ Brand ต่างประเทศ ทั้งทางด้านนวัตกรรมและการออกแบบ"
ที่มา
http://bongdaplus.vn/tin-bai/3/145410/v-league-cau-thu-ngan-quy-dao-bay-cua-bong-moi-grand-sport.bdplus,
http://4231.vn/2016/02/27/dong-luc-vs-grand-sport-nhung-lum-xum-quanh-trai-bong-cua-v-league-2016.html
ทีนี้เรามาลองดูการให้ใบรับรองของลูกฟุตบอลจาก FIFA กัน
โดยที่ใช้ใน V-League คือ Grand Sport รุ่น Primero One+ (ใบรับรอง 24/8/2015 - 23/11/2019)
Made in Pakistan ราคา 2,450฿
ในขณะที่ Dong Luc จะใช้รุ่น UHV 2.07 (ใบรับรอง 14/1/2013 - 13/04/2017)
Made in Vietnam ราคา 1,340฿
ที่มา
http://quality.fifa.com/en/Footballs/Footballs/#/index
หลังจากมีการพูดถึงประเด็นเปรียบเทียบในแง่ของคุณภาพลูกฟุตบอลแล้ว
ก็มีบางสื่อได้รายงานถึงประเด็น "การตลาด" ของไทยด้วย
ระดับของความต่างชั้นนั้นดูได้จากลูกฟุตบอล
โดยดูการทำตลาดของ Grand Sport
List of Grand Sport sponsorships
Grand Sport products have been accepted by recognized organization such as Football Association of Singapore,
Oman Football Association, Qatar Football Association, Kuwait Football Association, Uzbekistan Football Federation,
Football Federation of Kyrgyz Republic, and Qatar, Oman, Vietnam Olympic Committee.
Grand Sport also provides various clubs with kits, such as Dhofar in Oman, and previously Qatar S.C. in Qatar. Now Grand Sport provides for Thailand Football Association and the Sri Lanka Referees Association.
ที่มา
https://en.wikipedia.org/wiki/Grand_Sport_Group
สำหรับการตลาดที่ทาง Grand Sport ทำนั้นหากมองดูจะเห็นทั้งในทีมชาติไทยและสโมสรไทย
โดยช่วงนี้มันเริ่ม "ส่งผลกระทบอย่างแรง" เมื่อผลงานของฟุตบอลไทยนั้นดีขึ้นในระดับ SEA
และประเทศในแถบนี้ก็ยอมรับ "นักกีฬาไทย" และนักกีฬาไทยที่ทำผลงานดีเหล่านั้นก็ใช้ "Brand ไทย"
จึงเป็นเรื่องของ "การตลาด" ที่มันส่งเสริมกันเอง ยังไม่นับเรื่อง "การยอมรับ" สินค้าไทยที่ประเทศแถบนี้มีอยู่แล้ว
จากที่เคยติดตามคุณภาพของสินค้าไทยกับเวียดนามก็เคยได้ยินเรื่องของ Dong Luc
ที่สนับสนุนกีฬาในประเทศเวียดนามมาอย่างยาวนาน อันที่จริงแล้วการบุกตลาดของ Grand Sport เข้าสู่เวียดนาม
มันเริ่มส่งสัญญาณถึง Dong Luc มาตั้งแต่ปี 2014 แล้ว เมื่อชุดทีมชาติเวียดนามใช้ Grand Sport
แทนที่จะเป็น Brand Local อย่าง Dong Luc
สำหรับคุณภาพของสินค้า Dong Luc ในอดีตที่ผ่านมาสู้สินค้าจากไทยไม่ค่อยได้
ถึงแม้ตอนนี้อาจจะพัฒนามาใกล้เคียงบ้างแล้วก็ตาม แต่อาจยังตามไม่ทันกระแสของไทย
ที่มีพร้อมทั้ง "คุณภาพ" และ "การตลาด" เรียบร้อยแล้ว
"เวียดนามตะลึง" นักบอลสู้ไทยไม่ได้ยังไม่พอ ลูกบอลเวียดนามก็สู้ไทยไม่ได้อีก
เมื่อปีที่ผ่านมา (2015) วงการฟุตบอลเวียดนามต้องพบวิกฤตศรัทธา
เนื่องจากผลงานความพ่ายแพ้ต่อไทยอย่างต่อเนื่อง ถึงกับมีการทำรายงานข่าวตลอดทั้งวัน
มีการแสดงบทวิเคราะห์กันตามสื่ออย่างแพร่หลาย ว่าเพราะเหตุใดเวียดนามถึงสู้ไทยไม่ได้
โดยมีการย้อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยเวียดนามรุ่งเรืองเหนือไทย คือ ช่วงที่ได้แชมป์รายการ AFF 2008 (เหมือนเดิม)
แต่ต่อมาไม่นานกลับเป็นไทยที่สร้างผลงานดีกว่าได้อย่างต่อเนื่องจนช่วงหลังก็ได้แชมป์เกือบทุกรายการ
*ปี 2008 เวียดนามเข้ารอบสุดท้ายเยอะกว่าไทย, ปี 2009-2011 เวียดนามเข้าถึงรอบรองสุดท้ายในขณะที่ไทยตกรอบแรกๆ
*ปี 2012-2013 เวียดนามตกรอบแรกๆ ในขณะที่ไทยเข้าถึงรอบรองสุดท้ายและรอบชิง,
ปี 2014-2015 เวียดนามมาถึงรอบรองสุดท้ายในขณะที่ไทยเข้ารอบสุดท้ายและได้แชมป์
การนำเสนอข่าว
ข่าวเกี่ยวกับฟุตบอลไทยของเวียดนามคงจะวนเวียนอยู่แค่นี้
ถ้าทางสมาคมฟุตบอลเวียดนามไม่ได้สร้างความแปลกใจถึงขั้นที่วงการฟุตบอลเวียดนามตะลึงอีกครั้ง
โดยการ "ทำสัญญาใช้ลูกฟุตบอล Grand Sport ของไทย มาแทนที่ Dong Luc ของเวียดนาม" ในการแข่งขัน V-League 2016
*ซ้าย Dong Luc, ขวา Grand Sport
สำหรับท่านที่ติดตามวงการกีฬาของไทยมานาน และบางท่านอาจเริ่ม "สังเกต" ได้ว่า
นอกจากการที่ไทยประสบความสำเร็จและสร้างมาตรฐานระดับสูงในเรื่องกีฬาในแถบภูมิภาค SEA นี้แล้ว
ผลพลอยได้จากการเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนของ Brand ไทยอย่างเช่น Grand Sport, FBT และ Warrix นั้นก็ได้รับประโยชน์ด้วย
โดยเริ่มจากทีมชาติของเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม กัมพูชา และ ลาว ได้ใช้อุปกรณ์กีฬาของไทยกันมากขึ้นเรื่อยๆ
จนกระทั่งเริ่มแพร่หลายไปถึงระดับสโมสรของประเทศนั้น
ทีนี้ประเด็นของเวียดนามก็มีอยู่ว่า ประเทศเวียดนามเองนั้นเป็น "ฐานการผลิต" สินค้า Brand ระดับโลกมากมาย
และเขาก็มั่นใจว่า Brand Local ของเขาเองนั้นก็มีคุณภาพดีพอ (อย่างน้อยก็ในประเทศตนเอง)
แต่ทำไมทางสมาคมฯ เวียดนามจึงเลือกที่จะใช้สินค้าจาก Brand ต่างประเทศ เช่น Grand Sport ของไทย
โดยเฉพาะปี 2016 นี้ที่ทางสมาคมฯ เวียดนามได้ทำสัญญาใช้ลูกฟุตบอลของ Grand Sport ของไทยในการแข่ง V-League
แทนที่จากเดิมนั้นใช้ Brand Local อย่าง Dong Luc
จากการให้สัมภาษณ์ของทางสมาคมฯ เวียดนามได้กล่าวว่า
"เราต้องขอยืนยันว่ายังคงสนับสนุนฟุตบอลเวียดนามและ Brand ของคนเวียดนาม
สำหรับ V-League นั้นมีผู้สนับสนุนอย่าง Toyota, Hino และก็กลุ่มคู่ค้าที่เป็นของเวียดนามเอง เช่น
FLC, Becamex IDC, Đồng Tâm, Bảo Hiểm Hùng Vương, Tân Hiệp Phát (Number One), Thái Sơn Nam
ซึ่งเรายังคงให้ความสำคัญกับคู่ค้าในประเทศอย่าง Dong Luc
สำหรับการการเปลี่ยนแปลงในปี 2016 นี้มาจากหลายเหตุผล
บางอย่างเราไม่ได้พูดในเชิงลึกเพราะเราเคารพคู่ค้าของเรา......
สัญญาระหว่าง VFF (สมาคมฯ) กับ Dong Luc ได้หมดลงในปี 2015 หลังจบฤดูกาล
พวกเราได้ติดต่อกับ Dong Luc หลายครั้งเพื่อวางแผนทำงานร่วมกัน
แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจทำการเจรจาต่อรองกับคู่ค้ารายอื่น เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้
จนกระทั่งมาพบกับ Grand Sport โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เปิดฤดูกาลปี 2016 ตั้งแต่วันที่ 15/02/2016
และจนถึงวันที่ 18/02/2016 นี้ก็สามารถส่งมอบลูกฟุตบอลให้กับสโมสรต่างๆ จนครบหมด 100% แล้ว
ทางเราต้องขอขอบคุณผู้สนับสนุนและสโมสรต่างๆ ที่ให้ความร่วมมือ"
ที่มา http://www.vnleague.com/tin-tuc/viet-nam/6562-Ong-Cao-Van-Chong-Tong-giam-doc-VPF-Chu-truong-cua-VPF-ung-ho-hang-Viet-Nam.html
หลังจากมีการลงนามทำข้อตกลงในสัญญากันแล้ว
ทางสื่อของเวียดนามก็เริ่มลงข่าวและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับลูกฟุตบอล Grand Sport
โดยบอกว่าตั้งแต่ปี 2016 จะเริ่มใช้ลูกฟุตบอลของ Grand Sport จากประเทศไทยจนถึงปี 2017
จากข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากนาย Cao Van Chóng ที่เป็น CEO VPF
"ในอนาคตอันใกล้นี้ เมื่อเริ่ม V-League 2016 เหล่าผู้เล่นจะได้ใช้ลูกฟุตบอลจาก Grand Sport แทนที่ Dong Luc
โดย Grand Sport ได้ผ่านการรับรองจาก FIFA ทางด้านคุณภาพระดับสูง....." นาย Cao Van Chóng กล่าว
ที่มา http://bongdaplus.vn/tin-bai/3/144932/v-league-2016-se-su-dung-bong-thi-dau-cua-thai-lan.bdplus
เป็นที่แน่นอนว่าประเด็นนี้ก็ได้รับความสนใจจากสื่อหลายแห่งของเวียดนาม
ความคิดเห็นของการใช้ลูกฟุตบอล Grand Sport
คนเวียดนามต่างแปลกใจที่ Grand Sport มาแทนที่ Dong Luc
ทั้งที่ Dong Luc นั้นทำงานกับวงการกีฬาเวียดนามมาอย่างยาวนาน
หลังจากมีการส่งมอบและเริ่มใช้ลูกฟุตบอลของ Grand Sport ลงแข่งขัน
ก็มีการทำบทสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเหล่าผู้เล่นใน V-League
จากการแข่งขันระหว่าง B.Bình Dương และ XSKT
มาดูสภาพการแข่งขันของการใช้ลูกฟุตบอลของ Grand Sport กัน
โดยผู้เล่นชาวไนจีเรียมีความเห็นที่ว่า "ลูกฟุตบอลใหม่ควบคุมลำบาก"
และมีผู้เล่นหลายคนต้องล้มลงในสนามเหตุเพราะปัญหาการคลึงลูกบอล
โค้ช Vũ Quang Bảo ของสโมสร XSKT ถึงกับกล่าวว่า
"ถ้าปัญหานี้มันเกิดจากผู้เล่นไม่เคยใช้ลูกบอลแบบนี้มาก่อนก็พอเข้าใจได้ แต่นี่มันเล่นลำบากกันทั้งสนาม"
โค้ช Nguyễn Thanh Sơn ของสโมสร B.BD กล่าวว่า
"ลูกฟุตบอลแบบนี้มันไม่กระชับเมื่อต้องเล่นในสนาม ผู้เล่นคงต้องใช้เวลาปรับตัว"
ซึ่งนั่นอาจเป็นปัญหาที่ผู้เล่นรู้สึก "เบื่อ"
แม้แต่ Lê Công Vinh จากสโมสร B.BD ก็ได้ให้สัมภาษณ์ว่า
"ไม่สามารถควบคุมลูกฟุตบอลได้ ไม่รู้ว่ามันจะควบคุมยังไง"
จนตอนนี้ก็กลายเป็นประเด็นถึงเรื่อง "สัญญาที่อาจมีปัญหา"
ตั้งแต่ V-League เริ่มมากว่า 15 ปี ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ Dong Luc ผู้สนับสนุนลูกฟุตบอลของเวียดนาม
ถูกเปลี่ยนแทนที่ไปเป็นของ Grand Sport จากประเทศไทย อาจเป็นประเด็นร้อนของทางสมาคมฯ เวียดนาม
ที่ต้องถูกแสดงความคิดเห็น โดยทาง Dong Luc ได้กล่าวว่า
"ตัวองค์กร VPF มีสิทธิ์ที่จะเลือกใช้ลูกฟุตบอล แต่ด้วยวิธีการทำงานที่ไม่ยุติธรรม
พวกเราที่เป็นผู้สนับสนุนฟุตบอลเวียดนามต้องทำงานยากขึ้น
ในขณะที่มีการเจรจา พวกเราก็ได้รับทราบว่ามีการตกลงเลือกใช้ลูกฟุตบอลจากประเทศไทยแล้ว"
ในขณะที่ทาง VPF ได้ตอบโต้ทาง Dong Luc ว่า
"ทางคณะผู้บริหารได้ดำเนินการและเจรจากับทาง Dong Luc เกี่ยวกับปี 2016
ซึ่งสัญญาเก่าของทาง Dong Luc ได้ลงทุนไป 2.2 Billion VND. และผู้สนับสนุนรายอื่นอีก 3.054 Billion VND.
แต่เงินเหล่านั้นยังไม่ได้ส่งให้ VPF ทำให้ต้องใช้อุปกรณ์กีฬาต่างๆ ที่เป็นของเก่า....
ทาง VPF จึงยังไม่ได้ลงนามสัญญาใหม่ และได้ส่งข้อความถึง Dong Luc กว่า 8 ครั้งแล้วตั้งแต่ 2014-2015
เพื่อให้ทบทวนเรื่องสัญญาและทำการแก้ไข แต่ทาง Dong Luc ก็ไม่ได้ตอบกลับมาแต่อย่างใด
และไม่ได้ดำเนินการรับผิดชอบในสิ่งที่ตกลงกันไว้.......
โดยเหลืออีกไม่กี่วันสัญญาก็จะหมดอายุลง ทาง Dong Luc ก็ยังไม่ยอมรับข้อเสนอของทาง VPF
ทำให้ต้องเปิดการเจรจากับคู่ค้ารายใหม่ และได้ตกลงทำสัญญาลงนามกับ Grand Sport
เพื่อให้ V-League สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด"
จากนั้นก็มีประเด็นเรื่องของคุณภาพของลูกฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจาก FIFA
ทั้งนี้ ประเด็นข้อโต้แย้งต่างๆ ของทั้ง 2 ฝ่ายมันก็ไม่ได้มีอะไรสำคัญ
เพราะสัญญาที่ทาง VPF ทำกับทาง Grand Sport นั้นเป็นเพียงการซื้อขายลูกฟุตบอลที่จะใช้ในปี 2016
ดังนั้น ข้อตกลงอื่นๆ ยังเปิดกว้างสำหรับ Brand ต่างๆ ในปี 2017 รวมถึง Dong Luc ด้วย
อย่างไรก็ตาม, ด้วยคำกล่าวของโค้ช Duc Thang ของสโมสร Hanoi ได้กล่าวถึงลูกฟุตบอลของ Dong Luc ว่า
"ทาง Dong Luc ต้องพยายามอย่างมากหากจะสู้กับ Brand ต่างประเทศ ทั้งทางด้านนวัตกรรมและการออกแบบ"
ที่มา http://bongdaplus.vn/tin-bai/3/145410/v-league-cau-thu-ngan-quy-dao-bay-cua-bong-moi-grand-sport.bdplus,
http://4231.vn/2016/02/27/dong-luc-vs-grand-sport-nhung-lum-xum-quanh-trai-bong-cua-v-league-2016.html
ทีนี้เรามาลองดูการให้ใบรับรองของลูกฟุตบอลจาก FIFA กัน
โดยที่ใช้ใน V-League คือ Grand Sport รุ่น Primero One+ (ใบรับรอง 24/8/2015 - 23/11/2019)
Made in Pakistan ราคา 2,450฿
ในขณะที่ Dong Luc จะใช้รุ่น UHV 2.07 (ใบรับรอง 14/1/2013 - 13/04/2017)
Made in Vietnam ราคา 1,340฿
ที่มา http://quality.fifa.com/en/Footballs/Footballs/#/index
หลังจากมีการพูดถึงประเด็นเปรียบเทียบในแง่ของคุณภาพลูกฟุตบอลแล้ว
ก็มีบางสื่อได้รายงานถึงประเด็น "การตลาด" ของไทยด้วย
ระดับของความต่างชั้นนั้นดูได้จากลูกฟุตบอล
โดยดูการทำตลาดของ Grand Sport
List of Grand Sport sponsorships
Grand Sport products have been accepted by recognized organization such as Football Association of Singapore,
Oman Football Association, Qatar Football Association, Kuwait Football Association, Uzbekistan Football Federation,
Football Federation of Kyrgyz Republic, and Qatar, Oman, Vietnam Olympic Committee.
Grand Sport also provides various clubs with kits, such as Dhofar in Oman, and previously Qatar S.C. in Qatar. Now Grand Sport provides for Thailand Football Association and the Sri Lanka Referees Association.
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Grand_Sport_Group
สำหรับการตลาดที่ทาง Grand Sport ทำนั้นหากมองดูจะเห็นทั้งในทีมชาติไทยและสโมสรไทย
โดยช่วงนี้มันเริ่ม "ส่งผลกระทบอย่างแรง" เมื่อผลงานของฟุตบอลไทยนั้นดีขึ้นในระดับ SEA
และประเทศในแถบนี้ก็ยอมรับ "นักกีฬาไทย" และนักกีฬาไทยที่ทำผลงานดีเหล่านั้นก็ใช้ "Brand ไทย"
จึงเป็นเรื่องของ "การตลาด" ที่มันส่งเสริมกันเอง ยังไม่นับเรื่อง "การยอมรับ" สินค้าไทยที่ประเทศแถบนี้มีอยู่แล้ว
จากที่เคยติดตามคุณภาพของสินค้าไทยกับเวียดนามก็เคยได้ยินเรื่องของ Dong Luc
ที่สนับสนุนกีฬาในประเทศเวียดนามมาอย่างยาวนาน อันที่จริงแล้วการบุกตลาดของ Grand Sport เข้าสู่เวียดนาม
มันเริ่มส่งสัญญาณถึง Dong Luc มาตั้งแต่ปี 2014 แล้ว เมื่อชุดทีมชาติเวียดนามใช้ Grand Sport
แทนที่จะเป็น Brand Local อย่าง Dong Luc
สำหรับคุณภาพของสินค้า Dong Luc ในอดีตที่ผ่านมาสู้สินค้าจากไทยไม่ค่อยได้
ถึงแม้ตอนนี้อาจจะพัฒนามาใกล้เคียงบ้างแล้วก็ตาม แต่อาจยังตามไม่ทันกระแสของไทย
ที่มีพร้อมทั้ง "คุณภาพ" และ "การตลาด" เรียบร้อยแล้ว