นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การระบาดของโรคเอดส์เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีจำนวนผู้ป่วยอยู่ไม่น้อย ผู้ป่วยเอดส์มีแนวโน้มเสียชีวิต หรือทุพพลภาพค่อนข้างสูงเพราะภูมิคุ้มกันมีต่ำ และสามารถติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่าย โดยเฉพาะวัณโรค ที่เป็นเชื้อฉวยโอกาสอันดับ 1 สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ในไทย
ผู้ป่วยที่มีอาการซ้ำซ้อนจำเป็นต้องได้รับทั้งยาต้านไวรัส และยารักษาวัณโรคที่สม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสม แต่เป็นที่น่าแปลกใจเพราะในกลุ่มคนไข้ที่ติดเชื้อเหมือนกัน ได้รับยาสม่ำเสมอแบบเดียวกันกลับมีผลการรักษาที่แตกต่างกัน บางคนอาการดีขึ้นจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เช่นเดียวกับคนปกติ แต่บางคนกลับมีอาการที่แย่ลงเรื่อยๆ จึงเป็นที่มาในการศึกษาเชิงลึกว่า เพราะเหตุใดคนไข้ที่รักษาตัวดี ได้รับยาสม่ำเสมอถึงยังล้มเหลวในการรักษา เพื่อหาต้นตอของเหตุปัจจัยที่จะนำไปสู่การหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องในคนไข้แต่ละราย
“ผมประจำอยู่ที่โรงพยาบาลบำราศนราดูรครับ ทำงานคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วยเอดส์ตลอด ทำให้ทราบถึงปัญหาของผู้ป่วยเอดส์ค่อนข้างดี ผู้ป่วยเอดส์ในไทยมักจะติดเชื้อวัณโรคมากที่สุด เพราะผู้ป่วยเอดส์ภูมิคุ้มกันของพวกเขาจะลดลง ทำให้ร่างกายพร้อมที่จะรับโรคต่างๆเข้ามา โดยเฉพาะวัณโรคที่อาจจะได้รับเชื้อมาตั้งแต่สมัยยังแข็งแรงแต่เมื่อภูมิคุ้มกันหายไปโรคก็กลับเข้ามาโจมตี หรือได้รับโรคเข้ามาภายหลังต่างก็ติดเชื้อได้เช่นกัน โดยปัญหาระหว่าง 2 โรคนี้อยู่ที่ยารักษาของแต่ละโรค จะทำปฏิกริยาซึ่งกันและกัน ยารักษาวัณโรคที่ชื่อว่า “ไรแฟมปิซิน”จะไปกดฤทธิ์การรักษายาต้านไวรัสเอชไอวี “อีฟาไวเรนว์” ตัวยาหลักที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยที่ติดโรคและได้รับยาทั้งสองชนิดพร้อมกัน มีโอกาสล้มเหลวในการรักษามากกว่าผู้ที่ไม่ติดวัณโรคร่วมด้วย” นพ.วีรวัฒน์ เผย
โครงการ “มาช่วยกันลดโอกาสการเสียชีวิตในผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้ายที่ป่วยเป็นวัณโรค” จึงเกิดขึ้นที่ นพ.วีรวัฒน์ ระบุว่ามีการศึกษาด้วยกันหลายส่วน ได้แก่ การศึกษาเชิงลึกถึงปัจจัยในร่างกาย ที่เป็นการศึกษาลักษณะบ่งชี้ทางเภสัชพันธุศาสตร์ เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน ที่กำหนดการทำหน้าที่ของเอนไซม์ในตับที่ทำการย่อยสลายยาต้านเอดส์ เพื่อตรวจยีน (CYP26B) ผ่านการเจาะเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีการติดเชื้อวัณโรคร่วมด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ASTV
Report : LIV APCO
แก้ปัญหายาเอดส์-วัณโรคตีกัน ยืดอายุผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยที่มีอาการซ้ำซ้อนจำเป็นต้องได้รับทั้งยาต้านไวรัส และยารักษาวัณโรคที่สม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสม แต่เป็นที่น่าแปลกใจเพราะในกลุ่มคนไข้ที่ติดเชื้อเหมือนกัน ได้รับยาสม่ำเสมอแบบเดียวกันกลับมีผลการรักษาที่แตกต่างกัน บางคนอาการดีขึ้นจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้เช่นเดียวกับคนปกติ แต่บางคนกลับมีอาการที่แย่ลงเรื่อยๆ จึงเป็นที่มาในการศึกษาเชิงลึกว่า เพราะเหตุใดคนไข้ที่รักษาตัวดี ได้รับยาสม่ำเสมอถึงยังล้มเหลวในการรักษา เพื่อหาต้นตอของเหตุปัจจัยที่จะนำไปสู่การหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องในคนไข้แต่ละราย
“ผมประจำอยู่ที่โรงพยาบาลบำราศนราดูรครับ ทำงานคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วยเอดส์ตลอด ทำให้ทราบถึงปัญหาของผู้ป่วยเอดส์ค่อนข้างดี ผู้ป่วยเอดส์ในไทยมักจะติดเชื้อวัณโรคมากที่สุด เพราะผู้ป่วยเอดส์ภูมิคุ้มกันของพวกเขาจะลดลง ทำให้ร่างกายพร้อมที่จะรับโรคต่างๆเข้ามา โดยเฉพาะวัณโรคที่อาจจะได้รับเชื้อมาตั้งแต่สมัยยังแข็งแรงแต่เมื่อภูมิคุ้มกันหายไปโรคก็กลับเข้ามาโจมตี หรือได้รับโรคเข้ามาภายหลังต่างก็ติดเชื้อได้เช่นกัน โดยปัญหาระหว่าง 2 โรคนี้อยู่ที่ยารักษาของแต่ละโรค จะทำปฏิกริยาซึ่งกันและกัน ยารักษาวัณโรคที่ชื่อว่า “ไรแฟมปิซิน”จะไปกดฤทธิ์การรักษายาต้านไวรัสเอชไอวี “อีฟาไวเรนว์” ตัวยาหลักที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบัน ทำให้ผู้ป่วยที่ติดโรคและได้รับยาทั้งสองชนิดพร้อมกัน มีโอกาสล้มเหลวในการรักษามากกว่าผู้ที่ไม่ติดวัณโรคร่วมด้วย” นพ.วีรวัฒน์ เผย
โครงการ “มาช่วยกันลดโอกาสการเสียชีวิตในผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้ายที่ป่วยเป็นวัณโรค” จึงเกิดขึ้นที่ นพ.วีรวัฒน์ ระบุว่ามีการศึกษาด้วยกันหลายส่วน ได้แก่ การศึกษาเชิงลึกถึงปัจจัยในร่างกาย ที่เป็นการศึกษาลักษณะบ่งชี้ทางเภสัชพันธุศาสตร์ เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน ที่กำหนดการทำหน้าที่ของเอนไซม์ในตับที่ทำการย่อยสลายยาต้านเอดส์ เพื่อตรวจยีน (CYP26B) ผ่านการเจาะเลือดในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มีการติดเชื้อวัณโรคร่วมด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ASTV
Report : LIV APCO