การศึกษาการต้านไวรัสเอดส์และวัณโรค
โดย นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และคณะ
“เป็นการศึกษาวิจัยครั้งแรกในโลกที่ทำการศึกษาแบบเปรียบเทียบยาสองชนิดอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาสูตรยาและขนาดของยาต้านไวรัสที่เหมาะสมที่สุด ในกรณีที่ต้องทำการรักษาโรคเอดส์และวัณโรคควบคู่กัน เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ลดภาระให้กับครอบครัวและสังคม รวมทั้งลดโอกาสเกิดภาวะล้มเหลวของการรักษาจากการเกิดการดื้อยาต้านไวรัส ที่สำคัญสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายได้มาก”
ผลการวิจัยพบว่าการใช้สูตรยาต้านไวรัสที่มียาอีฟาไวเรนซ์เป็นส่วนประกอบนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าสูตรยาที่มีเนวิราพีนเป็นส่วนประกอบเมื่อต้องใช้ร่วมกับยารักษาวัณโรค โดยประเมินและเปรียบเทียบจากสัดส่วนผู้ที่มีความเข้มข้นของยาต้านไวรัสในร่างกายที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้และผลการรักษาที่ 1 ปีผ่านไป ซึ่งพิสูจน์จากสัดส่วนผู้ป่วยที่มีความเข้มข้นของยาต้านไวรัสในร่างกายที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับในกลุ่มผู้ที่ได้รับยาเนวิราพีน มีมากกว่าในกลุ่มผู้ที่ได้รับยาอีฟาไวเรนซ์ และพบว่าปัจจัยนี้ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การเกิดภาวะล้มเหลวของการรักษาเอชไอวีภายหลัง 1 ปี โดยพบว่าผู้ที่ได้รับยาอีฟาไวเรนซ์มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะล้มเหลวของการรักษาน้อยกว่าผู้ที่ได้รับยาเนวิราพีน 3.6 เท่าดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกใช้สูตรยาต้านไวรัสที่มียาอีฟาไวเรนซ์เป็นส่วนประกอบเป็นทางเลือกแรกให้กับผู้ป่วย และยังพบอีกว่าควรมีการปรับเพิ่มขนาดยาอีฟาไวเรนซ์จากปกติที่ขนาด 600 มก.ต่อวัน เป็นขนาด 800 มก.ต่อวัน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวมากกว่า 60 กิโลกรัม เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากยารักษาวัณโรคและน้ำหนักตัวที่มาก อย่างไรก็ตามสูตรยาที่มียาเนวิราพีนเป็นส่วนประกอบยังเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ไม่สามารถทนต่อยาต้านไวรัสที่มียาอีฟาไวเรนซ์ได้ การติดตามการรักษาและการรับประทานยาที่สม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเน้นย้ำให้กับผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยสูตรใดก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการล้มเหลวในการรักษาและนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไปในอนาคต
ผลงานวิจัยที่เกิดจากโครงการนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการชั้นนำระดับนานาชาติหลายฉบับ โดยเฉพาะวารสารการแพทย์ระดับนานาชาติทางด้านโรคติดเชื้อที่มีค่าผลกระทบสูงที่สุด และได้รับแจ้งจากทางบรรณาธิการว่าบทความหลักที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Infectious Diseases เป็นบทความที่ได้ถูกอ้างอิงสูงสุดบทความหนึ่งในรอบหนึ่งปีของวารสารอีกด้วย นอกจากนี้ผลการวิจัยยังได้ถูกนำไปอ้างอิงในแนวทางการรักษาผู้ป่วยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติปี 2553 ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับอีก 3 องค์กร ได้แก่ สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เอกสารนี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทั้งแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์และต่อผู้ป่วยโดยตรง
Report : LIV Capsule
การศึกษาการต้านไวรัสเอดส์และวัณโรค
โดย นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และคณะ
“เป็นการศึกษาวิจัยครั้งแรกในโลกที่ทำการศึกษาแบบเปรียบเทียบยาสองชนิดอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาสูตรยาและขนาดของยาต้านไวรัสที่เหมาะสมที่สุด ในกรณีที่ต้องทำการรักษาโรคเอดส์และวัณโรคควบคู่กัน เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ลดภาระให้กับครอบครัวและสังคม รวมทั้งลดโอกาสเกิดภาวะล้มเหลวของการรักษาจากการเกิดการดื้อยาต้านไวรัส ที่สำคัญสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายได้มาก”
ผลการวิจัยพบว่าการใช้สูตรยาต้านไวรัสที่มียาอีฟาไวเรนซ์เป็นส่วนประกอบนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าสูตรยาที่มีเนวิราพีนเป็นส่วนประกอบเมื่อต้องใช้ร่วมกับยารักษาวัณโรค โดยประเมินและเปรียบเทียบจากสัดส่วนผู้ที่มีความเข้มข้นของยาต้านไวรัสในร่างกายที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้และผลการรักษาที่ 1 ปีผ่านไป ซึ่งพิสูจน์จากสัดส่วนผู้ป่วยที่มีความเข้มข้นของยาต้านไวรัสในร่างกายที่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับในกลุ่มผู้ที่ได้รับยาเนวิราพีน มีมากกว่าในกลุ่มผู้ที่ได้รับยาอีฟาไวเรนซ์ และพบว่าปัจจัยนี้ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การเกิดภาวะล้มเหลวของการรักษาเอชไอวีภายหลัง 1 ปี โดยพบว่าผู้ที่ได้รับยาอีฟาไวเรนซ์มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะล้มเหลวของการรักษาน้อยกว่าผู้ที่ได้รับยาเนวิราพีน 3.6 เท่าดังนั้นจึงแนะนำให้เลือกใช้สูตรยาต้านไวรัสที่มียาอีฟาไวเรนซ์เป็นส่วนประกอบเป็นทางเลือกแรกให้กับผู้ป่วย และยังพบอีกว่าควรมีการปรับเพิ่มขนาดยาอีฟาไวเรนซ์จากปกติที่ขนาด 600 มก.ต่อวัน เป็นขนาด 800 มก.ต่อวัน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวมากกว่า 60 กิโลกรัม เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากยารักษาวัณโรคและน้ำหนักตัวที่มาก อย่างไรก็ตามสูตรยาที่มียาเนวิราพีนเป็นส่วนประกอบยังเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ไม่สามารถทนต่อยาต้านไวรัสที่มียาอีฟาไวเรนซ์ได้ การติดตามการรักษาและการรับประทานยาที่สม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเน้นย้ำให้กับผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยสูตรใดก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการล้มเหลวในการรักษาและนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไปในอนาคต
ผลงานวิจัยที่เกิดจากโครงการนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการชั้นนำระดับนานาชาติหลายฉบับ โดยเฉพาะวารสารการแพทย์ระดับนานาชาติทางด้านโรคติดเชื้อที่มีค่าผลกระทบสูงที่สุด และได้รับแจ้งจากทางบรรณาธิการว่าบทความหลักที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Infectious Diseases เป็นบทความที่ได้ถูกอ้างอิงสูงสุดบทความหนึ่งในรอบหนึ่งปีของวารสารอีกด้วย นอกจากนี้ผลการวิจัยยังได้ถูกนำไปอ้างอิงในแนวทางการรักษาผู้ป่วยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติปี 2553 ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับอีก 3 องค์กร ได้แก่ สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เอกสารนี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อทั้งแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์และต่อผู้ป่วยโดยตรง
Report : LIV Capsule