แนะ กสทช.ลงดาบ AIS ทิ้งลูกค้าปล่อยซิมดับ
สยามรัฐ ฉบับวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559
"ลูกค้าคลื่น 900 AIS" ผวาซิมดับ !หลังกสทช.เดดไลน์เตือน บ.สัมปทานจ่ายเงินภายในกำหนดเที่ยงคืน 14 มี.ค.นี้ ด้าน "ทรู" อัดยับใจดำ-ทิ้งลูกค้าอย่างเลือดเย็นแนะ "กสทช." แสดงสปิริตรีบโดดอุ้มผู้บริโภคไม่ให้เดือดร้อน พร้อมกระตุ้นรบ. งัดยาแรงม.44 จัดการบริษัทข้ามชาติทำร้ายคนไทย
เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 59 แหล่งข่าวระดับสูง บ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น 1 ในผู้ประมูลคลื่น 900 MHz กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนเริ่มมีความวิตกกังวลหลังจากเที่ยงคืนของวันที่ 14 มี.ค.นี้เป็นต้นไป ผู้ใช้บริการโทรศัพท์คลื่น 900 MHz ของ บ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS อาจต้องเจอปัญหาซิมดับเพราะก่อนหน้านี้ พ.อ.เศรษฐพงค์มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. และ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์เลขาธิการ กสทช. ประกาศชัดเจนว่าหากผู้ที่ประมูลคลื่น 900 MHz ไม่นำเงินที่ประมูลความคลื่นความถี่ไปได้มาชำระ จะส่งผลให้ซิมดับทันที อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ทาง บ.ทรู ได้คำนึงถึงปัญหาซิมดับที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในช่วงเปลี่ยนผ่าน ของวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคม จากระบบสัมปทานมาเป็นใบอนุญาต จึงมีข้อเสนอแนะให้กสทช.ผู้ทำหน้าที่ควบคุมกฎ ระเบียบต้องกระโดดลงมาช่วยเหลือผู้บริโภคไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน
แหล่งข่าวคนเดิมกล่าวต่อว่า ในช่วง 3 เดือนแรก กสทช.ต้องเข้ามาดูแลผู้บริโภคดำเนินการทุกอย่างไม่ให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน ด้วยการออกกฎระเบียบข้อบังคับให้ AIS เป็นผู้บริหารคลื่นไปตามเดิมภายใน 3 เดือนแต่รายได้ให้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ1.ให้ AIS เป็นค่าบริหารจัดการ 2.แบ่งให้ TOT ในฐานะเจ้าของอุปกรณ์โครงข่ายและ 3. แบ่งให้ทรู 450 ล้านบาท ตามราคาต้น ทุนซึ่งเป็นราคาคลื่นที่ทรูประมูลได้ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทรูได้พยายามคำนึงถึงปัญหาซิมดับที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในช่วงเปลี่ยนผ่าน และได้พยา ยามหาทางออกเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค ทั้ง การเร่งรัดย้ายค่ายให้ผู้บริโภค และขอเช่าอุปกรณ์โครงข่ายจาก TOT แต่ในทางตรงข้ามบ. AIS กลับเพิกเฉยไม่สนใจ และต้องการปล่อยให้ซิมดับ โดยอ้างว่าลูกค้าที่ใช้และมาโรมมิ่งโครงข่าย 2G 900 MHz เหลือเพียง 400,000 รายนั้น ซึ่งเป็นความใจดำของ AIS ที่ไม่ต้องการแสดงความรับผิดชอบและต้องการทิ้งลูกค้าที่อยู่ในมืออย่างเลือดเย็น โดย AIS ได้ไปขอโรมมิ่งกับ Dtac 1800 MHz และไปจูนคลื่นบนอุปกรณ์ของ TOT ให้ไปใช้คลื่น 2G 900 จนพร้อมใช้ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ทำไม AIS ไม่หันกลับมาบริหารคลื่น 900 MHZ ซึ่งเป็นคลื่นเดิมของตัวเอง เพื่อทำหน้าที่ดูแลลูกค้าที่อยู่ในมือให้ดีที่สุด
"ถึงเวลาหรือยัง กสทช.ผู้กำกับดูแลการใช้คลื่น การจัดประมูลคลื่นจะแสดงความรับผิดชอบเรื่องนี้ อย่างไร เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน หรือท้ายที่สุด รัฐบาลต้องใช้ยาแรง ม.44 จัดการลงดาบเชือดAIS บริษัทข้ามชาตี่ขาดธรรมาภิบาลทำร้ายคนไทยได้รับบทเรียนอย่างสาสม เพราะหาก AIS เพิกเฉยปัญหาความเดือดร้อนก็คงหนีไม่พ้นผู้บริโภคประชาชนคนไทยทั้งประเทศ"
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 14)
หมายเหตุ : แก้ไขหัวข้อกระทู้
'TRUE' อัด 'AIS' ใจดำ ไร้ธรรมาภิบาล-ทิ้งลูกค้าอย่างเลือดเย็นจี้ "กสทช." ลงดาบบริษัทข้ามชาติทำร้ายคนไทย
แนะ กสทช.ลงดาบ AIS ทิ้งลูกค้าปล่อยซิมดับ
สยามรัฐ ฉบับวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559
"ลูกค้าคลื่น 900 AIS" ผวาซิมดับ !หลังกสทช.เดดไลน์เตือน บ.สัมปทานจ่ายเงินภายในกำหนดเที่ยงคืน 14 มี.ค.นี้ ด้าน "ทรู" อัดยับใจดำ-ทิ้งลูกค้าอย่างเลือดเย็นแนะ "กสทช." แสดงสปิริตรีบโดดอุ้มผู้บริโภคไม่ให้เดือดร้อน พร้อมกระตุ้นรบ. งัดยาแรงม.44 จัดการบริษัทข้ามชาติทำร้ายคนไทย
เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 59 แหล่งข่าวระดับสูง บ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น 1 ในผู้ประมูลคลื่น 900 MHz กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนเริ่มมีความวิตกกังวลหลังจากเที่ยงคืนของวันที่ 14 มี.ค.นี้เป็นต้นไป ผู้ใช้บริการโทรศัพท์คลื่น 900 MHz ของ บ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS อาจต้องเจอปัญหาซิมดับเพราะก่อนหน้านี้ พ.อ.เศรษฐพงค์มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. และ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์เลขาธิการ กสทช. ประกาศชัดเจนว่าหากผู้ที่ประมูลคลื่น 900 MHz ไม่นำเงินที่ประมูลความคลื่นความถี่ไปได้มาชำระ จะส่งผลให้ซิมดับทันที อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้ทาง บ.ทรู ได้คำนึงถึงปัญหาซิมดับที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในช่วงเปลี่ยนผ่าน ของวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคม จากระบบสัมปทานมาเป็นใบอนุญาต จึงมีข้อเสนอแนะให้กสทช.ผู้ทำหน้าที่ควบคุมกฎ ระเบียบต้องกระโดดลงมาช่วยเหลือผู้บริโภคไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน
แหล่งข่าวคนเดิมกล่าวต่อว่า ในช่วง 3 เดือนแรก กสทช.ต้องเข้ามาดูแลผู้บริโภคดำเนินการทุกอย่างไม่ให้ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน ด้วยการออกกฎระเบียบข้อบังคับให้ AIS เป็นผู้บริหารคลื่นไปตามเดิมภายใน 3 เดือนแต่รายได้ให้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ1.ให้ AIS เป็นค่าบริหารจัดการ 2.แบ่งให้ TOT ในฐานะเจ้าของอุปกรณ์โครงข่ายและ 3. แบ่งให้ทรู 450 ล้านบาท ตามราคาต้น ทุนซึ่งเป็นราคาคลื่นที่ทรูประมูลได้ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาทรูได้พยายามคำนึงถึงปัญหาซิมดับที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในช่วงเปลี่ยนผ่าน และได้พยา ยามหาทางออกเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค ทั้ง การเร่งรัดย้ายค่ายให้ผู้บริโภค และขอเช่าอุปกรณ์โครงข่ายจาก TOT แต่ในทางตรงข้ามบ. AIS กลับเพิกเฉยไม่สนใจ และต้องการปล่อยให้ซิมดับ โดยอ้างว่าลูกค้าที่ใช้และมาโรมมิ่งโครงข่าย 2G 900 MHz เหลือเพียง 400,000 รายนั้น ซึ่งเป็นความใจดำของ AIS ที่ไม่ต้องการแสดงความรับผิดชอบและต้องการทิ้งลูกค้าที่อยู่ในมืออย่างเลือดเย็น โดย AIS ได้ไปขอโรมมิ่งกับ Dtac 1800 MHz และไปจูนคลื่นบนอุปกรณ์ของ TOT ให้ไปใช้คลื่น 2G 900 จนพร้อมใช้ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ทำไม AIS ไม่หันกลับมาบริหารคลื่น 900 MHZ ซึ่งเป็นคลื่นเดิมของตัวเอง เพื่อทำหน้าที่ดูแลลูกค้าที่อยู่ในมือให้ดีที่สุด
"ถึงเวลาหรือยัง กสทช.ผู้กำกับดูแลการใช้คลื่น การจัดประมูลคลื่นจะแสดงความรับผิดชอบเรื่องนี้ อย่างไร เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน หรือท้ายที่สุด รัฐบาลต้องใช้ยาแรง ม.44 จัดการลงดาบเชือดAIS บริษัทข้ามชาตี่ขาดธรรมาภิบาลทำร้ายคนไทยได้รับบทเรียนอย่างสาสม เพราะหาก AIS เพิกเฉยปัญหาความเดือดร้อนก็คงหนีไม่พ้นผู้บริโภคประชาชนคนไทยทั้งประเทศ"
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 14)
หมายเหตุ : แก้ไขหัวข้อกระทู้