14 เมษา ลุ้นซิมดับไม่ดับ กสทช. เผยรอคำสั่งศาล พร้อมเคาะวันประมูลคลื่น 900 รอบใหม่ 27 พฤษภาคมนี้

กระทู้ข่าว


จะเข้าสงกรานต์แล้ว แต่สงครามค่ายมือถือก็ยังไม่หยุด ต้องมาลุ้นกันต่อกับคลื่น 900 MHz ที่กำลังเป็นปัญหาว่าซิมจะดับหรือไม่ดับในวันที่ 14 เมษายนนี้ ซึ่งทางฝ่าย AIS ก็ประโคมข่าวกันสุดฤทธิ์ให้ไปเปลียนเครื่องกันได้แล้ว บริการให้ถึงระดับ อบต. ผู้ใหญ่บ้าน แล้วซิมคุณก็จะไม่ดับ ส่วนทาง Truemove H เองก็ออกมาขู่ฟ่อๆ ว่าดับแน่ ดับแน่ เสนอให้ย้ายค่ายผ่าน 7-11 ซึ่งล่าสุดมีข่าวว่า "ซิมอาจจะไม่ดับ" หรือจะเลื่อนเวลาดับออกไปถึง 30 มิถุนายนแทน เพื่อให้มีการประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ก่อน

14 เมษายนนี้ ซิมดับหรือไม่ดับ?
เมื่อวันที่ 11 เมษายนที่ผ่านมา กสทช. ได้เข้าชี้แจงกับศาลปกครองในเรื่องการคุ้มครองซิมดับของ AIS ว่าจะมีผลกระทบและความเสียหายเกิดขึ้นหรือไม่ หากมีการยืดระยะเวลาการคุ้มครอง หรือไม่ยืดระยะเวลาการคุ้มครอง ซึ่งในเบื้องต้นหากจะมีการยืดระยะเวลาการคุ้มครองออกไป ก็น่าจะไปสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายนแทน (เพื่อรอให้การประมูลรอบใหม่จบลง) ทั้งนี้ต้องรอคำสั่งศาลปกครอง ซึ่งน่าจะประกาศก่อนวันที่ 14 เมษายนนี้
ส่วนการยืดระยะเวลาซิมดับออกไปนั้นจะมีปัญหาการฟ้องร้องจากคู่กรณีในคราวที่แล้วคือ Truemove H หรือไม่ ทาง กสทช และ คสช นั้นกำลังพิจารณาทำข้อตกลงร่วมกัน (MOU) เพื่อไม่ให้เกิดกรณีฟ้องร้องกันอีก หากมีการขยายระยะเวลาซิมดับออกไป

ประมูลคลื่น 900 MHz เริ่มเมื่อไหร่?
จากตอนแรกที่ทาง กสทช. ได้กำหนดวันประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ เป็นวันที่ 22 พฤษภาคม แต่หลังจากพิจารณาแล้วผู้ร่วมประมูลอาจจะยังไม่สามารถสรุปแผนธุรกิจกับบอร์ดบริหารและออกหนังสือค้ประกัน (3,783 ล้านบาท) จากธนาคารได้ทัน จึงได้พิจารณาเลื่อนวันประมูลออกไปเป็น 27 พฤษภาคมแทน

ซึ่งในการประมูลครั้งนี้จะใช้ราคาตั้งต้นที่ JAS ประมูลเป็นราคาสุดท้าย นั่นคือ 75,654 ล้านบาท ส่วนผู้ที่สามารถเข้าร่วมประมูลได้นั้นแน่นอนว่า JAS คงหมดสิทธ์ไปแล้ว ด้าน AIS , dtac และ Truemove H นั้นน่าจะต้องรอดูท่าทีว่าสุดท้ายแล้วจะเหลือใครสนใจเข้ามาร่วมประมูลบ้าง และตามกฏหมาย Truemove H ซึ่งชนะไปในคราวที่แล้วจะยังสามารถกลับเข้ามาประมูลได้หรือไม่
ถ้าหาก Truemove H มีสิทธิ์และเลือกที่จะเข้าร่วมการประมูลในครั้งนี้เพื่อชิงสิทธิ์ในการผูกขาดคลื่น 900 MHz แต่เพียงผู้เดียวแล้วละก็ การประมูลน่าจะดุเดือดอีกแน่ แต่นั่นก็ต้องพิจารณาตามหลักกฏหมายการถือครองคลื่นความถี่ด้วยเช่นกัน ว่าสามารถทำได้หรือไม่

ที่มา http://droidsans.com/ais-truemoveh-14apr-cut
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่