หากเราเห็นร้านค้าติดป้ายว่า ลดกระหน่ำต่ำกว่าทุน
เราก็อนุมานด้วยสามัญสำนึกได้เลยว่า เจ้าของร้านนี้กำลังผ่องถ่ายเงินสดเข้ากระเป๋าตัวเอง
ด้วยการเปลี่ยนสินทรัพย์ในร้านเป็นเงินสด แล้วนำเงินไปทำอะไรบางอย่าง เช่น ฝากธนาคาร หรือไปลงทุนทำธุรกิจอื่น
สถานะการณ์ข้างต้นกำลังเกิดกับ JAS นั่นคือ ปัจจุบัน JAS กำลังใช้ทุกวิถีทางผ่องถ่ายเงินสดจากบริษัทไปสู่ผู้ถือหุ้นบางคน
เพราะหลังจากชนะประมูล 4G เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดกับJAS
เช่น การปันผลถี่ยิบ ใช้เงินของบริษัทไปซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้น
ล้วนมีจุดร่วมเดียวกันคือ ถ่ายเงินสดของJASไปสู่กระเป๋าผู้ถือหุ้น
แม้กระทั่งเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ราคาหุ้นJASกระฉูด ก็ยังเป็นคุณกับผู้ถือหุ้นที่เก็บมาราคาต่ำๆ
เพราะขายได้กำไร เงินสดในมือเพิ่มขึ้น ซึ่งใครถือหุ้นมากเงินสดก็ไหลเข้ามาก
ส่วนใครจะได้เงินมากที่สุด ผมคิดว่าทุกท่านคงเดาได้ไม่ยาก
.
.
.
คำถามคือ JAS ทำแบบนี้ทำไม คำตอบคือ ผมเชื่อว่า ผู้ถือหุ้นบางท่านกำลังระดมทุน
เพื่อไปชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนของ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด (JMBB)ให้เรียบร้อย
เพราะเป็นเงื่อนไขของธนาคารที่ยื่นคำขาดว่า หากต้องการให้แบงค์ออกแบงค์การันตีให้ ก็ต้องเพิ่มทุนให้เสร็จสรรพ
โดยการเพิ่มทุนนี้ ผมเชื่อว่าJASตั้งใจจะเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นใหญ่
แต่จะถือหุ้นไม่เกิน 50% ของทุนจดทะเบียนที่เพิ่มแล้วของ JMBB
เพราะหากถือหุ้นเกิน 50% JMBBจะกลายเป็นบริษัทย่อยของJAS
ทำให้ต้องรวมผลกำไรขาดทุนของJMBBเข้าในงบกำไรขาดทุนของJAS ด้วย ส่งผลให้งบการเงินของJASขี้เหร่อย่างมาก
**หุ้นเพิ่มทุนที่รอเงินสดมาซื้อของ JMBB** (ภาพจาก FB: wattana stock page)
เพราะหากJMBB เข้าสู่ธุรกิจมือถือจริง ต้องลงทุนครั้งมโหฬารกับค่าเสาสัญญาณ ค่าเครือข่าย ค่าดำเนินการ
เกิดค่าเสื่อมราคามหาศาล ประกอบกับธุรกิจมือถือแข่งขันเข้มข้นรุนแรง จึงมีโอกาสสูงมากที่1-3ปีแรก JMBBจะขาดทุน
และไม่ใช่ขาดทุนน้อยๆ เพราะธุรกิจมือถือมีเสกลใหญ่มาก ถ้ากำไรก็รวยเป็นหมื่นล้าน แต่ถ้าขาดทุน ก็ขาดทุนเป็นพันๆล้านเช่นกัน
หากรวมงบกันจริง สิ่งแรกที่เกิดขึ้นกับ JAS คือ ค่า D/E จะพุ่งสูง
เพราะผลขาดทุนของ JMBB จะฉุดส่วนของผู้ถือหุ้น(E)ของ JAS ให้ต่ำลง
เมื่อค่าD/Eสูง บริษัทจะกู้เงินจากธนาคารยากขึ้นหรือต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่ม
สองคือ กำไรสะสมจะลดลงอยากหนัก โดยปี2557 JASมีกำไรที่สะสมที่ไม่ได้จัดสรรประมาณ 7พันล้าน
ซึ่งถือว่าไม่มากในเสกลของธุรกิจมือถือ หาก JASขาดทุนระดับพันล้าน(อันเนื่องจากรวมผลขาดทุนของ JMBBด้วย) สัก3 ปี
ก็มีโอกาสที่ JAS จะจ่ายปันผลไม่ได้อีก
และในกรณีเลวร้ายสุดๆ JMBBทำธุรกิจแล้วล้มเหลว รายได้ไม่พอรายจ่าย
เกิดขาดทุนมหาศาลและต่อเนื่อง จะทำให้งบการเงินของให้ JAS พังพินาศไปด้วย
.
.
.
บทเรียนสำคัญของการรวมงบการเงินแล้วก่อให้เกิดหายนะคือ SSI
เมื่อก่อน SSIคือบริษัทเหล็กชั้นเยี่ยม งบหล่อ กำไรสวย ปันผลต่อเนื่อง
แต่SSIคิดการใหญ่เกินตัว ไปซื้อโรงถลุงเหล็กในอังกฤษ แล้วผนวกผลกำไรขาดทุนของโรงถลุงเหล็กเข้ากับงบตัวเอง
เมื่อราคาเหล็กโลกดิ่งเหว โรงถลุงเหล็กจึงขาดทุนบักโกรก เลยฉุดงบการเงินของ SSI พังพินาศย่อยยับไปด้วย
จนในที่สุด จากบริษัทที่งบการเงินสวยหรู กลายเป็นบริษัทที่ขาดทุนป่นปี้ ราคาหุ้นดิ่งนรก
ก็มีสาเหตุจากการรวบงบกำไรขาดทุนเข้าด้วยกันนี่เอง
ซึ่ง JAS ย่อมไม่อยากเป็น SSI รายที่สอง จึงพยายามเพิ่มทุน JMBBในลักษณะที่ไม่ต้องรวมงบการเงินเข้าด้วยกัน
-------
หมายเหตุ: ท่าน Kitty63 ติงว่า "งบสวย กำไรสวย ปันผลต่อเนื่อง" เป็นข้อมูลผิดพลาด
ผมตรวจสอบแล้ว ที่ว่า SSI ปันผลต่อเนื่อง เป็นข้อมูลผิดพลาด จึงกราบขออภัยทุกท่าน ณ ที่นี้ด้วยครับ
โดยเบื้องต้นผมขอแก้ไขเป็นคำว่า "งบหล่อ กำไรสวย ปันผลมี" ครับ
--------
อย่างไรก็ตาม การที่ JAS ถือหุ้น JMBB ไม่ถึง 50% ก็มีข้อเสีย คือ JASยังควบคุม JMBB ไม่ได้แบบเบ็ดเสร็จ
เพราะกฏหมายกำหนดว่า ผู้ถือหุ้นเกิน 50% จึงจะมีอำนาจแต่งตั้งหรือปลด กรรมการหรือผู้บริหาร ได้ตามใจชอบ
ดังนั้น JAS จึงต้องให้ผู้ถือหุ้นบางท่านซึ่งมีความสัมพันธ์กับ JAS อย่างแนบแน่น
ไปซื้อหุ้นของ JMBBสัก 10-15% เพื่อ JASจะได้ควบคุมบริหาร JMBBแบบเบ็ดเสร็จ
การซื้อหุ้นต้องใช้เงินสด นี้เองจึงเป็นเหตุผลให้ต้องมีการผ่องถ่ายเงินสดจาก JAS ไปสู่ผู้ถือหุ้น
เพื่อให้ผู้ถือหุ้นบางท่าน มีเงินมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ JMBB นั่นเอง
การผ่องถ่ายเงินสดยังมีข้อดีอีกอย่างคือ ถ้าJASเข้าสู่ธุรกิจมือถือไม่ได้ เกิดการฟ้องร้องวุ่นวาย บริษัทประสบปัญหาธุรกิจอย่างหนัก
การกระทำดังกล่าวก็ดีกว่าอยู่เฉยๆอยู่ดี เพราะผู้ถือหุ้นได้เงินสดเข้ากระเป๋าไปแล้ว มีเงินทุนจะไปทำอย่างอื่น
เป็นการล้มบนฟูกแบบเนียนๆ ดีกว่าปล่อยให้เงินแช่อยู่ในบริษัทฯเป็นไหนๆ
.
.
.
**ปัญหาและสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป**
แม้หลักการเพิ่มทุนโดยแยกงบการเงินของ JAS จะดี
แต่ผมวิเคราะห์ว่า JAS ยังมีปัญหาในการจะปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
ปัญหาแรกคือ เงินทุนของJAS ปัญหาสองคือ เส้นตายที่ใกล้เข้ามา
ปัญหาแรก JAS ต้องหาเงินสดประมาณ 16,000 ล้านบาทมาใช้จ่าย
โดยแบ่งเป็นซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ JMBB ประมาณ 40% คือ 8,000 ล้านบาทและค่าใบอนุญาต 4G งวดแรกอีก 8,000 ล้านบาท
เมื่อดูงบการเงินล่าสุดของ JAS มีเงินสดแค่ 8,000 ล้านเท่านั้น ซึ่งไม่พอ
ทำให้ผมเชื่อว่า JAS น่าจะมีการเพิ่มทุนแบบ PP อย่างน้อย1 ครั้ง เพราะระดมเงินทุนเร็วกว่าการเพิ่มทุนแบบธรรมดาที่ดูจะช้าเกินไปแล้ว
ปัญหาสอง JAS ต้องยื่นแบงค์การันตีและชำระค่าใบอนุญาตงวดแรกในวันที่ 21 มี.ค
ซึ่งถ้านับจากปัจจุบัน (10/3/58) จะเหลืออีกแค่ 10 วันก็ถึงเส้นตาย
JASอาจดำเนินการทุกอย่างไม่ทันเพราะเวลาเหลือน้อยมาก
จึงต้องลุ้นว่า หากJASยื่นหลักฐานไม่ทันจริงๆ กสทชจะมีนโยบายอย่างไร
หรือ JASจะใช้เทคติคขอเลื่อนเวลายื่นเอกสารเหมือนที่ Trueทำ ก็เป็นไปได้
เพราะตอนประมูลคลื่น 1800 Trueเคยอ้างเหตุผลข้างๆคูๆว่า
รอฤกษ์ยามก่อนจึงจะส่งแบงค์การันตีได้ แล้วกสทชก็บ้าจี้อนุมัติเลื่อนเวลาส่งเอกสารจริงๆ
จึงต้องลุ้นกันว่า กสทช จะทดเวลาบาดเจ็บให้ JAS เพื่อเปิดโอกาสให้หาเอกสารจบครบหรือไม่
จากข้อมูลทั้งหมด ผมมีความเห็นว่า นับจากปัจจุบันจนถึง 21/3/58 JASจะมีเหตุการณ์มาเซอร์ไพล์นักลงทุนอีกแน่นอน
ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ในกรอบแนวทางว่า เป็นการดิ้นรนสุดชีวิตของJASเพื่อเข้าสู่ธุรกิจมือถือให้ได้
เพราะที่ผ่านมา ทุกอย่างที่JASทำไม่ใช่การยกธงขาวยอมแพ้แต่อย่างใด
แต่เป็นมองข้ามซ็อตแล้วว่า หากJASเข้าไปสู่ธุรกิจมือถือแล้ว จะมีการบริหารความเสี่ยงในเรื่องงบการเงินอย่างไร
ซึ่งก็ต้องลุ้นกันว่า สุดท้าย JAS จะเข้ามาเป็นผู้ให้บริการมือถือรายที่ 4 ได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม บทความข้างต้นเป็นความเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้น
การลงทุนมีความเสี่ยง ก่อนซื้อหุ้น นักลงทุนควรมีจุดตัดขาดทุนทุกครั้งและทำตามอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการสูญเสียเงินต้นมากเกินไป
ขอบคุณครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พูดคุยกับผมได้ที่
https://www.facebook.com/stockforlife/
นักเก็งกำไรด้วยปัจจัยพื้นฐาน
บทความ : JAS กำลังระดมทุนเพื่อเข้าสู่ธุรกิจมือถือ
หากเราเห็นร้านค้าติดป้ายว่า ลดกระหน่ำต่ำกว่าทุน
เราก็อนุมานด้วยสามัญสำนึกได้เลยว่า เจ้าของร้านนี้กำลังผ่องถ่ายเงินสดเข้ากระเป๋าตัวเอง
ด้วยการเปลี่ยนสินทรัพย์ในร้านเป็นเงินสด แล้วนำเงินไปทำอะไรบางอย่าง เช่น ฝากธนาคาร หรือไปลงทุนทำธุรกิจอื่น
สถานะการณ์ข้างต้นกำลังเกิดกับ JAS นั่นคือ ปัจจุบัน JAS กำลังใช้ทุกวิถีทางผ่องถ่ายเงินสดจากบริษัทไปสู่ผู้ถือหุ้นบางคน
เพราะหลังจากชนะประมูล 4G เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดกับJAS
เช่น การปันผลถี่ยิบ ใช้เงินของบริษัทไปซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้น
ล้วนมีจุดร่วมเดียวกันคือ ถ่ายเงินสดของJASไปสู่กระเป๋าผู้ถือหุ้น
แม้กระทั่งเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ราคาหุ้นJASกระฉูด ก็ยังเป็นคุณกับผู้ถือหุ้นที่เก็บมาราคาต่ำๆ
เพราะขายได้กำไร เงินสดในมือเพิ่มขึ้น ซึ่งใครถือหุ้นมากเงินสดก็ไหลเข้ามาก
ส่วนใครจะได้เงินมากที่สุด ผมคิดว่าทุกท่านคงเดาได้ไม่ยาก
.
.
.
คำถามคือ JAS ทำแบบนี้ทำไม คำตอบคือ ผมเชื่อว่า ผู้ถือหุ้นบางท่านกำลังระดมทุน
เพื่อไปชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนของ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด (JMBB)ให้เรียบร้อย
เพราะเป็นเงื่อนไขของธนาคารที่ยื่นคำขาดว่า หากต้องการให้แบงค์ออกแบงค์การันตีให้ ก็ต้องเพิ่มทุนให้เสร็จสรรพ
โดยการเพิ่มทุนนี้ ผมเชื่อว่าJASตั้งใจจะเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นใหญ่
แต่จะถือหุ้นไม่เกิน 50% ของทุนจดทะเบียนที่เพิ่มแล้วของ JMBB
เพราะหากถือหุ้นเกิน 50% JMBBจะกลายเป็นบริษัทย่อยของJAS
ทำให้ต้องรวมผลกำไรขาดทุนของJMBBเข้าในงบกำไรขาดทุนของJAS ด้วย ส่งผลให้งบการเงินของJASขี้เหร่อย่างมาก
**หุ้นเพิ่มทุนที่รอเงินสดมาซื้อของ JMBB** (ภาพจาก FB: wattana stock page)
เพราะหากJMBB เข้าสู่ธุรกิจมือถือจริง ต้องลงทุนครั้งมโหฬารกับค่าเสาสัญญาณ ค่าเครือข่าย ค่าดำเนินการ
เกิดค่าเสื่อมราคามหาศาล ประกอบกับธุรกิจมือถือแข่งขันเข้มข้นรุนแรง จึงมีโอกาสสูงมากที่1-3ปีแรก JMBBจะขาดทุน
และไม่ใช่ขาดทุนน้อยๆ เพราะธุรกิจมือถือมีเสกลใหญ่มาก ถ้ากำไรก็รวยเป็นหมื่นล้าน แต่ถ้าขาดทุน ก็ขาดทุนเป็นพันๆล้านเช่นกัน
หากรวมงบกันจริง สิ่งแรกที่เกิดขึ้นกับ JAS คือ ค่า D/E จะพุ่งสูง
เพราะผลขาดทุนของ JMBB จะฉุดส่วนของผู้ถือหุ้น(E)ของ JAS ให้ต่ำลง
เมื่อค่าD/Eสูง บริษัทจะกู้เงินจากธนาคารยากขึ้นหรือต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่ม
สองคือ กำไรสะสมจะลดลงอยากหนัก โดยปี2557 JASมีกำไรที่สะสมที่ไม่ได้จัดสรรประมาณ 7พันล้าน
ซึ่งถือว่าไม่มากในเสกลของธุรกิจมือถือ หาก JASขาดทุนระดับพันล้าน(อันเนื่องจากรวมผลขาดทุนของ JMBBด้วย) สัก3 ปี
ก็มีโอกาสที่ JAS จะจ่ายปันผลไม่ได้อีก
และในกรณีเลวร้ายสุดๆ JMBBทำธุรกิจแล้วล้มเหลว รายได้ไม่พอรายจ่าย
เกิดขาดทุนมหาศาลและต่อเนื่อง จะทำให้งบการเงินของให้ JAS พังพินาศไปด้วย
.
.
.
บทเรียนสำคัญของการรวมงบการเงินแล้วก่อให้เกิดหายนะคือ SSI
เมื่อก่อน SSIคือบริษัทเหล็กชั้นเยี่ยม งบหล่อ กำไรสวย ปันผลต่อเนื่อง
แต่SSIคิดการใหญ่เกินตัว ไปซื้อโรงถลุงเหล็กในอังกฤษ แล้วผนวกผลกำไรขาดทุนของโรงถลุงเหล็กเข้ากับงบตัวเอง
เมื่อราคาเหล็กโลกดิ่งเหว โรงถลุงเหล็กจึงขาดทุนบักโกรก เลยฉุดงบการเงินของ SSI พังพินาศย่อยยับไปด้วย
จนในที่สุด จากบริษัทที่งบการเงินสวยหรู กลายเป็นบริษัทที่ขาดทุนป่นปี้ ราคาหุ้นดิ่งนรก
ก็มีสาเหตุจากการรวบงบกำไรขาดทุนเข้าด้วยกันนี่เอง
ซึ่ง JAS ย่อมไม่อยากเป็น SSI รายที่สอง จึงพยายามเพิ่มทุน JMBBในลักษณะที่ไม่ต้องรวมงบการเงินเข้าด้วยกัน
-------
หมายเหตุ: ท่าน Kitty63 ติงว่า "งบสวย กำไรสวย ปันผลต่อเนื่อง" เป็นข้อมูลผิดพลาด
ผมตรวจสอบแล้ว ที่ว่า SSI ปันผลต่อเนื่อง เป็นข้อมูลผิดพลาด จึงกราบขออภัยทุกท่าน ณ ที่นี้ด้วยครับ
โดยเบื้องต้นผมขอแก้ไขเป็นคำว่า "งบหล่อ กำไรสวย ปันผลมี" ครับ
--------
อย่างไรก็ตาม การที่ JAS ถือหุ้น JMBB ไม่ถึง 50% ก็มีข้อเสีย คือ JASยังควบคุม JMBB ไม่ได้แบบเบ็ดเสร็จ
เพราะกฏหมายกำหนดว่า ผู้ถือหุ้นเกิน 50% จึงจะมีอำนาจแต่งตั้งหรือปลด กรรมการหรือผู้บริหาร ได้ตามใจชอบ
ดังนั้น JAS จึงต้องให้ผู้ถือหุ้นบางท่านซึ่งมีความสัมพันธ์กับ JAS อย่างแนบแน่น
ไปซื้อหุ้นของ JMBBสัก 10-15% เพื่อ JASจะได้ควบคุมบริหาร JMBBแบบเบ็ดเสร็จ
การซื้อหุ้นต้องใช้เงินสด นี้เองจึงเป็นเหตุผลให้ต้องมีการผ่องถ่ายเงินสดจาก JAS ไปสู่ผู้ถือหุ้น
เพื่อให้ผู้ถือหุ้นบางท่าน มีเงินมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ JMBB นั่นเอง
การผ่องถ่ายเงินสดยังมีข้อดีอีกอย่างคือ ถ้าJASเข้าสู่ธุรกิจมือถือไม่ได้ เกิดการฟ้องร้องวุ่นวาย บริษัทประสบปัญหาธุรกิจอย่างหนัก
การกระทำดังกล่าวก็ดีกว่าอยู่เฉยๆอยู่ดี เพราะผู้ถือหุ้นได้เงินสดเข้ากระเป๋าไปแล้ว มีเงินทุนจะไปทำอย่างอื่น
เป็นการล้มบนฟูกแบบเนียนๆ ดีกว่าปล่อยให้เงินแช่อยู่ในบริษัทฯเป็นไหนๆ
.
.
.
**ปัญหาและสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป**
แม้หลักการเพิ่มทุนโดยแยกงบการเงินของ JAS จะดี
แต่ผมวิเคราะห์ว่า JAS ยังมีปัญหาในการจะปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
ปัญหาแรกคือ เงินทุนของJAS ปัญหาสองคือ เส้นตายที่ใกล้เข้ามา
ปัญหาแรก JAS ต้องหาเงินสดประมาณ 16,000 ล้านบาทมาใช้จ่าย
โดยแบ่งเป็นซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ JMBB ประมาณ 40% คือ 8,000 ล้านบาทและค่าใบอนุญาต 4G งวดแรกอีก 8,000 ล้านบาท
เมื่อดูงบการเงินล่าสุดของ JAS มีเงินสดแค่ 8,000 ล้านเท่านั้น ซึ่งไม่พอ
ทำให้ผมเชื่อว่า JAS น่าจะมีการเพิ่มทุนแบบ PP อย่างน้อย1 ครั้ง เพราะระดมเงินทุนเร็วกว่าการเพิ่มทุนแบบธรรมดาที่ดูจะช้าเกินไปแล้ว
ปัญหาสอง JAS ต้องยื่นแบงค์การันตีและชำระค่าใบอนุญาตงวดแรกในวันที่ 21 มี.ค
ซึ่งถ้านับจากปัจจุบัน (10/3/58) จะเหลืออีกแค่ 10 วันก็ถึงเส้นตาย
JASอาจดำเนินการทุกอย่างไม่ทันเพราะเวลาเหลือน้อยมาก
จึงต้องลุ้นว่า หากJASยื่นหลักฐานไม่ทันจริงๆ กสทชจะมีนโยบายอย่างไร
หรือ JASจะใช้เทคติคขอเลื่อนเวลายื่นเอกสารเหมือนที่ Trueทำ ก็เป็นไปได้
เพราะตอนประมูลคลื่น 1800 Trueเคยอ้างเหตุผลข้างๆคูๆว่า
รอฤกษ์ยามก่อนจึงจะส่งแบงค์การันตีได้ แล้วกสทชก็บ้าจี้อนุมัติเลื่อนเวลาส่งเอกสารจริงๆ
จึงต้องลุ้นกันว่า กสทช จะทดเวลาบาดเจ็บให้ JAS เพื่อเปิดโอกาสให้หาเอกสารจบครบหรือไม่
จากข้อมูลทั้งหมด ผมมีความเห็นว่า นับจากปัจจุบันจนถึง 21/3/58 JASจะมีเหตุการณ์มาเซอร์ไพล์นักลงทุนอีกแน่นอน
ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ในกรอบแนวทางว่า เป็นการดิ้นรนสุดชีวิตของJASเพื่อเข้าสู่ธุรกิจมือถือให้ได้
เพราะที่ผ่านมา ทุกอย่างที่JASทำไม่ใช่การยกธงขาวยอมแพ้แต่อย่างใด
แต่เป็นมองข้ามซ็อตแล้วว่า หากJASเข้าไปสู่ธุรกิจมือถือแล้ว จะมีการบริหารความเสี่ยงในเรื่องงบการเงินอย่างไร
ซึ่งก็ต้องลุ้นกันว่า สุดท้าย JAS จะเข้ามาเป็นผู้ให้บริการมือถือรายที่ 4 ได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม บทความข้างต้นเป็นความเห็นส่วนตัวของผมเท่านั้น
การลงทุนมีความเสี่ยง ก่อนซื้อหุ้น นักลงทุนควรมีจุดตัดขาดทุนทุกครั้งและทำตามอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการสูญเสียเงินต้นมากเกินไป
ขอบคุณครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้