เร่งเดินหน้ารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ติดเครื่องอ่านสมาร์ทการ์ดทั่วปท. เปิด BIZPortal
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559
เดินหน้ายกเครื่อง e-Government ปักธง 3 ปีใช้สมาร์ทการ์ดใบเดียว-ไม่ง้อ กระดาษ "มหาดไทย" นำร่องของบฯซื้อเครื่องอ่านชิป 2 แสนเครื่อง ผุด BIZ Portal อำนวยความสะดวกภาคธุรกิจ มิ.ย.นี้ ชง "ครม." ห้ามหน่วยงานรัฐสร้าง "ดาต้าเซ็นเตอร์-ซื้อซอฟต์แวร์เอง" ฟาก "สปช." เตรียมยกร่างพ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัลหนุนตั้งหน่วยงานขับเคลื่อนครบวงจร
นายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. เปิดเผยว่า ภายในเดือน มี.ค.นี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะนำร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (2559-2561) เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมร่างแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
"ที่ผ่านมา ประเทศไทยตกอันดับเรื่องการอำนวยความสะดวกในการตั้งธุรกิจมาหลายปีติดต่อกัน จากเคยได้อันดับที่ 18 ปัจจุบันอยู่อันดับที่ 49 ของโลก กระทบศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ"
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล มีเป้าหมายยกระดับบริการภาครัฐ ลดความซ้ำซ้อน ลดการใช้กระดาษและเวลาติดต่อราชการ ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ทั้งภาครัฐจะใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3 ปีลดการใช้กระดาษเหลือ 0
"ปีแรกที่จะได้เห็นคือ 1.ยกระดับการใช้งาน ของบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดให้เป็นสมาร์ทจริง ๆ ทยอยยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประชาชนกับสำเนาทะเบียนบ้าน ในการติดต่อราชการ ด้วยการเชื่อมโยง ข้อมูลของหน่วยงานรัฐ ซึ่งต้องแก้ไขกฎหมายให้แต่ละหน่วยงานแชร์ข้อมูลระหว่างกันได้ 2.ลดขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจ ที่ปัจจุบันแต่ละธุรกิจต้องยื่นขออนุญาตจาก หน่วยงานรัฐกว่า 40 แห่ง"
โดยกระทรวงมหาดไทยได้ตั้งงบประมาณ ในปี 2560 ขอจัดซื้ออุปกรณ์เครื่อง อ่านบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดราว 2 แสนเครื่อง ซึ่งราคากลางที่กระทรวง ไอซีทีตั้งไว้อยู่ที่ 900 บาท/เครื่อง กระจายให้ 40 หน่วยงานทั่วประเทศ และตั้งเป้าให้ภายใน 3 ปี บัตรสมาร์ทการ์ดใบเดียวใช้แทนได้ทั้งหมด ลดการใช้กระดาษให้เป็นศูนย์ เหลือแค่บางธุรกรรมที่จำเป็น
สำหรับภาคธุรกิจ ภายใน มิ.ย.นี้ จะเปิดระบบ BIZ Portal อำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนการค้า ขอตั้งบริษัท ตั้งโรงงาน และการขออนุญาตอื่น ๆ เกี่ยวข้องทั้งภาษี แรงงานและสาธารณูปโภค ให้แบบฟอร์มคำขอทั้งหลายเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านช่องทาง biz.govchannel.go.th ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลา ภายใน ปี 2561 จะเห็นการบูรณาการเรื่องการ นำเข้าส่งออกแบบครบวงจร การรักษาความปลอดภัยสาธารณะในเชิงรุกโดยใช้ เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก
อัพเกรดดาต้าเซ็นเตอร์ภาครัฐ
พร้อมเดินหน้าตั้งดาต้าเซ็นเตอร์กลางภาครัฐ สำหรับจัดเก็บและเป็นระบบสำรองข้อมูลภาครัฐที่ต้องการระบบรักษาความปลอดภัยในระดับสูง ซึ่งมีราว 60% ของข้อมูลทั้งหมดในระบบ ส่วนที่เหลือจะผลักดันให้หน่วยงานรัฐเจ้าของข้อมูลเช่าใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์จากเอกชนที่ผ่านมาตรฐานกลาง
"ปัจจุบันมีดาต้าเซ็นเตอร์ของหน่วยงานรัฐราว 300 แห่ง แต่ละปีใช้งบประมาณในการบำรุงรักษากว่า 1 หมื่นล้านบาท แต่ปัญหาคือ มีเพียง 10% ที่ได้มาตรฐาน จากปัญหาขาดคนและงบประมาณพัฒนาให้ทันเทคโนโลยี ทั้งยังมีกว่า 170 แห่งที่ใช้งานเกิน 7 ปีแล้ว ซึ่งถือว่าเริ่มล้าสมัย"
จึงเตรียมขอมติที่ประชุม ครม. ห้าม ไม่ให้หน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานด้านความมั่นคง และมีข้อมูลที่ต้องการ ซีเคียวริตี้สูงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง แต่ให้ไปเช่าใช้เอกชนผู้ให้บริการที่ได้มาตรฐาน ซึ่งประหยัดงบประมาณรัฐหลายพันล้านบาทแล้วระบบยังเสถียรกว่า
สิ่งที่ต้องเร่งทำคือ 1.วางแผนอัพเกรดดาต้าเซ็นเตอร์เดิมเพื่อประเมินว่าจะต้องสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ภาครัฐใหม่กี่แห่งให้พอรองรับทั้งในระบบหลักและระบบสำรอง เบื้องต้นอาจราว 3 แห่ง ซึ่งอาจต้องใช้เงินประมูล 4G คาดว่าอีก 3 เดือนจะชัดเจน แต่จะใช้เวลาสร้างและไมเกรตของเดิมราว 3 ปี 2.สรอ.จะยกร่างมาตรฐานบริการดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ สำหรับหน่วยงานรัฐ
"แม้โครงการดาต้าเซ็นเตอร์ภาครัฐจะเปลี่ยนรูปแบบ แต่ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ยังแข่งเดือด ปีนี้ยักษ์ใหญ่อย่าง อเมซอนก็เตรียมเข้ามาในไทย จากการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นมากตามนโยบายดิจิทัล อีโคโนมี การเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางการลงทุนจาก BOI และทำเลที่ตั้งของไทยที่เป็นศูนย์กลาง AEC ภาครัฐจึงไม่จำเป็นต้อง ลงทุนเอง ยกเว้นส่วนที่ต้องการซีเคียวริตี้สูง ขอแค่สนับสนุนการสร้างอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ที่มีคุณภาพมีค่าบริการเหมาะสม รวมถึงการระบบไฟฟ้าที่มีความเสถียร"
ชงใช้ไลเซนส์ซอฟต์แวร์กลาง
นอกจากนั้น สรอ.ยังเตรียมเจรจาขอซื้อสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ในรูปแบบของไลเซนส์กลาง แทนการให้แต่ละหน่วยงานรัฐซื้อไลเซนส์เอง ซึ่งแต่ละปีใช้งบประมาณรวมกันหลายพันล้านบาท โดยเตรียมขอมติ ครม. เพื่อให้ห้ามหน่วยงานรัฐซื้อสิทธิ์เอง
"ถ้ามีมติ ครม.ห้ามจะมีดีมานด์มากพอที่จะไปเจรจากับบริษัทซอฟต์แวร์ให้ค่าไลเซนส์ถูกลงได้อีก ตอนนี้เริ่มคุยกับไมโครซอฟท์ เพื่อขอซื้อสิทธิ์ ออฟฟิศ 365 แล้ว ก่อนหน้านี้เคยเสนอแนวคิดนี้กับหลายรัฐบาล แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน โครงการจึงพับไป แต่รัฐบาลนี้ในเบื้องต้นที่หารือเห็นด้วยเต็มที่ เพราะนอกจากประหยัดแล้วยังประกาศได้ว่าหน่วยงานรัฐทั้งหมดไม่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน เป็นผลดีกับการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย ในกลางปีนี้น่าจะชัดเจนมากขึ้น และเริ่มสำรวจความต้องการใช้ซอฟต์แวร์อื่นนอกจากออฟฟิศ 365"
ยกร่าง กม.รัฐบาลดิจิทัล
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กำลังหารือในคณะกรรมาธิการ เพื่อยกร่าง พ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้มีหน่วยงานหลักที่จะประสานงานและ ตรวจสอบให้เป็นไปตามเป้าหมาย
"หน่วยงานเดิมอย่าง สรอ. และ สพธอ.เล็กเกินกว่าจะดูแลการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานทั่วประเทศ ที่ผ่านมา เวลากระทรวงไอซีทีวางกรอบมาตรฐานกลางในการจัดซื้อจัดจ้างด้านไอซีทีไว้ ก็ไม่มี ผู้ตรวจสอบว่า มีการปฏิบัติจริงหรือไม่ กลายเป็นการเปิดช่องให้มีการยกร่าง TOR ในการจัดซื้อจัดจ้างที่เอื้อประโยชน์ เมื่อรัฐบาล จะผลักดันดิจิทัลอีโคโนมีอย่างเต็มรูปแบบก็ควรมีหน่วยงานรับผิดชอบให้ชัดเจน"
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 32, 28)
เร่งเดินหน้ารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ติดเครื่องอ่านสมาร์ทการ์ดทั่วปท. เปิด BIZPortal
เร่งเดินหน้ารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ติดเครื่องอ่านสมาร์ทการ์ดทั่วปท. เปิด BIZPortal
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559
เดินหน้ายกเครื่อง e-Government ปักธง 3 ปีใช้สมาร์ทการ์ดใบเดียว-ไม่ง้อ กระดาษ "มหาดไทย" นำร่องของบฯซื้อเครื่องอ่านชิป 2 แสนเครื่อง ผุด BIZ Portal อำนวยความสะดวกภาคธุรกิจ มิ.ย.นี้ ชง "ครม." ห้ามหน่วยงานรัฐสร้าง "ดาต้าเซ็นเตอร์-ซื้อซอฟต์แวร์เอง" ฟาก "สปช." เตรียมยกร่างพ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัลหนุนตั้งหน่วยงานขับเคลื่อนครบวงจร
นายศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. เปิดเผยว่า ภายในเดือน มี.ค.นี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะนำร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (2559-2561) เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมร่างแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
"ที่ผ่านมา ประเทศไทยตกอันดับเรื่องการอำนวยความสะดวกในการตั้งธุรกิจมาหลายปีติดต่อกัน จากเคยได้อันดับที่ 18 ปัจจุบันอยู่อันดับที่ 49 ของโลก กระทบศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ"
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล มีเป้าหมายยกระดับบริการภาครัฐ ลดความซ้ำซ้อน ลดการใช้กระดาษและเวลาติดต่อราชการ ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ทั้งภาครัฐจะใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3 ปีลดการใช้กระดาษเหลือ 0
"ปีแรกที่จะได้เห็นคือ 1.ยกระดับการใช้งาน ของบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดให้เป็นสมาร์ทจริง ๆ ทยอยยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประชาชนกับสำเนาทะเบียนบ้าน ในการติดต่อราชการ ด้วยการเชื่อมโยง ข้อมูลของหน่วยงานรัฐ ซึ่งต้องแก้ไขกฎหมายให้แต่ละหน่วยงานแชร์ข้อมูลระหว่างกันได้ 2.ลดขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจ ที่ปัจจุบันแต่ละธุรกิจต้องยื่นขออนุญาตจาก หน่วยงานรัฐกว่า 40 แห่ง"
โดยกระทรวงมหาดไทยได้ตั้งงบประมาณ ในปี 2560 ขอจัดซื้ออุปกรณ์เครื่อง อ่านบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดราว 2 แสนเครื่อง ซึ่งราคากลางที่กระทรวง ไอซีทีตั้งไว้อยู่ที่ 900 บาท/เครื่อง กระจายให้ 40 หน่วยงานทั่วประเทศ และตั้งเป้าให้ภายใน 3 ปี บัตรสมาร์ทการ์ดใบเดียวใช้แทนได้ทั้งหมด ลดการใช้กระดาษให้เป็นศูนย์ เหลือแค่บางธุรกรรมที่จำเป็น
สำหรับภาคธุรกิจ ภายใน มิ.ย.นี้ จะเปิดระบบ BIZ Portal อำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนการค้า ขอตั้งบริษัท ตั้งโรงงาน และการขออนุญาตอื่น ๆ เกี่ยวข้องทั้งภาษี แรงงานและสาธารณูปโภค ให้แบบฟอร์มคำขอทั้งหลายเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านช่องทาง biz.govchannel.go.th ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลา ภายใน ปี 2561 จะเห็นการบูรณาการเรื่องการ นำเข้าส่งออกแบบครบวงจร การรักษาความปลอดภัยสาธารณะในเชิงรุกโดยใช้ เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก
อัพเกรดดาต้าเซ็นเตอร์ภาครัฐ
พร้อมเดินหน้าตั้งดาต้าเซ็นเตอร์กลางภาครัฐ สำหรับจัดเก็บและเป็นระบบสำรองข้อมูลภาครัฐที่ต้องการระบบรักษาความปลอดภัยในระดับสูง ซึ่งมีราว 60% ของข้อมูลทั้งหมดในระบบ ส่วนที่เหลือจะผลักดันให้หน่วยงานรัฐเจ้าของข้อมูลเช่าใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์จากเอกชนที่ผ่านมาตรฐานกลาง
"ปัจจุบันมีดาต้าเซ็นเตอร์ของหน่วยงานรัฐราว 300 แห่ง แต่ละปีใช้งบประมาณในการบำรุงรักษากว่า 1 หมื่นล้านบาท แต่ปัญหาคือ มีเพียง 10% ที่ได้มาตรฐาน จากปัญหาขาดคนและงบประมาณพัฒนาให้ทันเทคโนโลยี ทั้งยังมีกว่า 170 แห่งที่ใช้งานเกิน 7 ปีแล้ว ซึ่งถือว่าเริ่มล้าสมัย"
จึงเตรียมขอมติที่ประชุม ครม. ห้าม ไม่ให้หน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานด้านความมั่นคง และมีข้อมูลที่ต้องการ ซีเคียวริตี้สูงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ของตนเอง แต่ให้ไปเช่าใช้เอกชนผู้ให้บริการที่ได้มาตรฐาน ซึ่งประหยัดงบประมาณรัฐหลายพันล้านบาทแล้วระบบยังเสถียรกว่า
สิ่งที่ต้องเร่งทำคือ 1.วางแผนอัพเกรดดาต้าเซ็นเตอร์เดิมเพื่อประเมินว่าจะต้องสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ภาครัฐใหม่กี่แห่งให้พอรองรับทั้งในระบบหลักและระบบสำรอง เบื้องต้นอาจราว 3 แห่ง ซึ่งอาจต้องใช้เงินประมูล 4G คาดว่าอีก 3 เดือนจะชัดเจน แต่จะใช้เวลาสร้างและไมเกรตของเดิมราว 3 ปี 2.สรอ.จะยกร่างมาตรฐานบริการดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ สำหรับหน่วยงานรัฐ
"แม้โครงการดาต้าเซ็นเตอร์ภาครัฐจะเปลี่ยนรูปแบบ แต่ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์ยังแข่งเดือด ปีนี้ยักษ์ใหญ่อย่าง อเมซอนก็เตรียมเข้ามาในไทย จากการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นมากตามนโยบายดิจิทัล อีโคโนมี การเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางการลงทุนจาก BOI และทำเลที่ตั้งของไทยที่เป็นศูนย์กลาง AEC ภาครัฐจึงไม่จำเป็นต้อง ลงทุนเอง ยกเว้นส่วนที่ต้องการซีเคียวริตี้สูง ขอแค่สนับสนุนการสร้างอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ที่มีคุณภาพมีค่าบริการเหมาะสม รวมถึงการระบบไฟฟ้าที่มีความเสถียร"
ชงใช้ไลเซนส์ซอฟต์แวร์กลาง
นอกจากนั้น สรอ.ยังเตรียมเจรจาขอซื้อสิทธิ์การใช้งานซอฟต์แวร์ในรูปแบบของไลเซนส์กลาง แทนการให้แต่ละหน่วยงานรัฐซื้อไลเซนส์เอง ซึ่งแต่ละปีใช้งบประมาณรวมกันหลายพันล้านบาท โดยเตรียมขอมติ ครม. เพื่อให้ห้ามหน่วยงานรัฐซื้อสิทธิ์เอง
"ถ้ามีมติ ครม.ห้ามจะมีดีมานด์มากพอที่จะไปเจรจากับบริษัทซอฟต์แวร์ให้ค่าไลเซนส์ถูกลงได้อีก ตอนนี้เริ่มคุยกับไมโครซอฟท์ เพื่อขอซื้อสิทธิ์ ออฟฟิศ 365 แล้ว ก่อนหน้านี้เคยเสนอแนวคิดนี้กับหลายรัฐบาล แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน โครงการจึงพับไป แต่รัฐบาลนี้ในเบื้องต้นที่หารือเห็นด้วยเต็มที่ เพราะนอกจากประหยัดแล้วยังประกาศได้ว่าหน่วยงานรัฐทั้งหมดไม่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน เป็นผลดีกับการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย ในกลางปีนี้น่าจะชัดเจนมากขึ้น และเริ่มสำรวจความต้องการใช้ซอฟต์แวร์อื่นนอกจากออฟฟิศ 365"
ยกร่าง กม.รัฐบาลดิจิทัล
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงไอซีที เปิดเผยว่า สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กำลังหารือในคณะกรรมาธิการ เพื่อยกร่าง พ.ร.บ.รัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้มีหน่วยงานหลักที่จะประสานงานและ ตรวจสอบให้เป็นไปตามเป้าหมาย
"หน่วยงานเดิมอย่าง สรอ. และ สพธอ.เล็กเกินกว่าจะดูแลการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานทั่วประเทศ ที่ผ่านมา เวลากระทรวงไอซีทีวางกรอบมาตรฐานกลางในการจัดซื้อจัดจ้างด้านไอซีทีไว้ ก็ไม่มี ผู้ตรวจสอบว่า มีการปฏิบัติจริงหรือไม่ กลายเป็นการเปิดช่องให้มีการยกร่าง TOR ในการจัดซื้อจัดจ้างที่เอื้อประโยชน์ เมื่อรัฐบาล จะผลักดันดิจิทัลอีโคโนมีอย่างเต็มรูปแบบก็ควรมีหน่วยงานรับผิดชอบให้ชัดเจน"
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 32, 28)