บริษัทกูเกิล อิงค์ (Google) ประกาศเตรียมลงทุนครั้งใหญ่มูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ (กว่า 7.3 หมื่นล้านบาท) ในประเทศมาเลเซีย เพื่อลงทุนสร้าง "ดาต้าเซ็นเตอร์" และ "คลาวด์ รีเจียน" ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศนี้ รวมถึงสนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากรในด้านปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)
รธู โพรัธ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) ของบริษัท อัลฟาเบท อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลระบุว่า การประกาศดังกล่าวนับเป็นมูลค่าการลงทุนที่สูงที่สุดของกูเกิลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กูเกิลจะสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์ รีเจียนในอุทธยานธุรกิจเอลมินา ของกลุ่มธุรกิจไซม์ดาร์บี ในรัฐสลังงอร์ โดยดาต้าเซ็นเตอร์แห่งนี้จะรองรับบริการต่างๆ ของกูเกิล อาทิ เสิร์ชเอนจิ้น เวิร์กสเปซ กูเกิลแมป รวมถึงบริการด้านเอไอ ในขณะที่คลาวด์ รีเจียนจะรองรับบริการคลาวด์ให้กับทั้งบริษัทเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ
ความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นในขณะที่บรรดาบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกต่างมุ่งหน้าการลงทุนมายังอาเซียน โดยซีอีโอของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ทั้ง ไมโครซอฟท์ คอร์ป (Microsoft) อินวิเดีย คอร์ป (Nvidia) และแอปเปิ้ล อิงค์ (Apple) เพิ่งเดินทางเยือนหลายประเทศในอาเซียน พร้อมประกาศแผนการลงทุนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ทำไม 'มาเลเซีย' ถึงดึงดูดยักษ์ไอทีทั่วโลก
มาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถดึงดูดการลงทุนได้จากบรรดาเทคคอมพานีระดับโลกที่เดินทางเยือนอาเซียนตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อาทิ "ไมโครซอฟท์" ที่ประกาศแผนลงทุน 2,200 ล้านดอลลาร์ (กว่า 8 หมื่นล้านบาท) เพื่อสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ พัฒนาโครงสร้างเอไอ และคลาวด์คอมพิวติ้ง และฝึกอบรมบุคลากร ขณะที่ "อินวิเดีย" ประกาศความร่วมมือมูลค่า 4,300 ล้านดอลลาร์ (เกือบ 1.6 แสนล้านบาท) ร่วมกับกลุ่มบริษัท YTL Power International ในมาเลเซีย เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเอไอ
ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่ามาเลเซียเป็น "ฐานการผลิตชิป" ที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน และเป็นรายใหญ่ในด้านการประกอบชิป โดยครองสัดส่วนการประกอบชิปที่ 13% ของทั้งโลก และเป็นผู้ส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก มีการลงทุนจากบริษัทชิปรายใหญ่ตั้งแต่ อินเทล (Intel) ไปจนถึง ฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) ผู้ผลิตชิปยักษ์ใหญ่จากไต้หวัน
อย่างไรก็ตาม มาเลเซียไม่ได้หยุดแค่เป้าหมายการเป็นฮับระดับภูมิภาค
ล่าสุดเมื่อต้นสัปดาห์นี้ นายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม ได้ประกาศยุทธศาสตร์ใหญ่เพื่อมุ่งปั้นมาเลเซียเป็น "ศูนย์กลางผลิตชิประดับโลก" ด้วยการทุ่มเงินเฉียด 2 แสนล้านบาท เพื่อฝึกอบรมวิศวกรทักษะสูงจำนวน 60,000 คน พร้อมตั้งเป้าดึงดูดการลงทุนเกือบ 4 ล้านล้านบาทภายใน 10 ปี
ภายใต้ยุทธศาสตร์เซมิคอนดักเตอร์แห่งชาตินี้ รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณอย่างน้อย 25,000 ล้านริงกิต (ประมาณ 1.9 แสนล้านบาท) ในช่วง 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า เพื่อส่งเสริมบุคลากร และพัฒนาบริษัทท้องถิ่น โดยเงินทุนจะมาจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของมาเลเซียอย่าง คาซานาห์ เนชั่นแนล (Khazanah Nasional)
ยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายในการฝึกอบรมบุคลากรคนจำนวน 60,000 คนในด้านต่างๆ ของการผลิตชิป ตั้งแต่การออกแบบ การบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการทดสอบ โดยโปรแกรมฝึกอบรมจะมีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและบริษัทต่างๆ
นอกจากนี้ มาเลเซียยังต้องการจัดตั้งบริษัทท้องถิ่นอย่างน้อย 10 แห่งในด้านการออกแบบ และบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงสำหรับชิปเซมิคอนดักเตอร์ โดยมีรายได้ระหว่าง 210 ล้านถึง 1 พันล้านดอลลาร์
ตามยุทธศาสตร์นี้ รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะดึงดูดการลงทุนจำนวน 500,000 ล้านริงกิต (เกือบ 4 ล้านล้านบาท) ผ่านการลงทุนโดยตรงในประเทศ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
ข่าวดี้ดี 4.0 มาเลเซีย ปลื้ม Google ประกาศลงทุน 'มาเลเซีย' 7 หมื่นล้าน เม็ดเงินสูงที่สุดในอาเซียน
บริษัทกูเกิล อิงค์ (Google) ประกาศเตรียมลงทุนครั้งใหญ่มูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ (กว่า 7.3 หมื่นล้านบาท) ในประเทศมาเลเซีย เพื่อลงทุนสร้าง "ดาต้าเซ็นเตอร์" และ "คลาวด์ รีเจียน" ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศนี้ รวมถึงสนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากรในด้านปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)
รธู โพรัธ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) ของบริษัท อัลฟาเบท อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลระบุว่า การประกาศดังกล่าวนับเป็นมูลค่าการลงทุนที่สูงที่สุดของกูเกิลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กูเกิลจะสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์ รีเจียนในอุทธยานธุรกิจเอลมินา ของกลุ่มธุรกิจไซม์ดาร์บี ในรัฐสลังงอร์ โดยดาต้าเซ็นเตอร์แห่งนี้จะรองรับบริการต่างๆ ของกูเกิล อาทิ เสิร์ชเอนจิ้น เวิร์กสเปซ กูเกิลแมป รวมถึงบริการด้านเอไอ ในขณะที่คลาวด์ รีเจียนจะรองรับบริการคลาวด์ให้กับทั้งบริษัทเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ
ความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นในขณะที่บรรดาบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกต่างมุ่งหน้าการลงทุนมายังอาเซียน โดยซีอีโอของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ทั้ง ไมโครซอฟท์ คอร์ป (Microsoft) อินวิเดีย คอร์ป (Nvidia) และแอปเปิ้ล อิงค์ (Apple) เพิ่งเดินทางเยือนหลายประเทศในอาเซียน พร้อมประกาศแผนการลงทุนมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
ทำไม 'มาเลเซีย' ถึงดึงดูดยักษ์ไอทีทั่วโลก
มาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถดึงดูดการลงทุนได้จากบรรดาเทคคอมพานีระดับโลกที่เดินทางเยือนอาเซียนตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อาทิ "ไมโครซอฟท์" ที่ประกาศแผนลงทุน 2,200 ล้านดอลลาร์ (กว่า 8 หมื่นล้านบาท) เพื่อสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ พัฒนาโครงสร้างเอไอ และคลาวด์คอมพิวติ้ง และฝึกอบรมบุคลากร ขณะที่ "อินวิเดีย" ประกาศความร่วมมือมูลค่า 4,300 ล้านดอลลาร์ (เกือบ 1.6 แสนล้านบาท) ร่วมกับกลุ่มบริษัท YTL Power International ในมาเลเซีย เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเอไอ
ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่ามาเลเซียเป็น "ฐานการผลิตชิป" ที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน และเป็นรายใหญ่ในด้านการประกอบชิป โดยครองสัดส่วนการประกอบชิปที่ 13% ของทั้งโลก และเป็นผู้ส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก มีการลงทุนจากบริษัทชิปรายใหญ่ตั้งแต่ อินเทล (Intel) ไปจนถึง ฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) ผู้ผลิตชิปยักษ์ใหญ่จากไต้หวัน
อย่างไรก็ตาม มาเลเซียไม่ได้หยุดแค่เป้าหมายการเป็นฮับระดับภูมิภาค
ล่าสุดเมื่อต้นสัปดาห์นี้ นายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม ได้ประกาศยุทธศาสตร์ใหญ่เพื่อมุ่งปั้นมาเลเซียเป็น "ศูนย์กลางผลิตชิประดับโลก" ด้วยการทุ่มเงินเฉียด 2 แสนล้านบาท เพื่อฝึกอบรมวิศวกรทักษะสูงจำนวน 60,000 คน พร้อมตั้งเป้าดึงดูดการลงทุนเกือบ 4 ล้านล้านบาทภายใน 10 ปี
ภายใต้ยุทธศาสตร์เซมิคอนดักเตอร์แห่งชาตินี้ รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณอย่างน้อย 25,000 ล้านริงกิต (ประมาณ 1.9 แสนล้านบาท) ในช่วง 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า เพื่อส่งเสริมบุคลากร และพัฒนาบริษัทท้องถิ่น โดยเงินทุนจะมาจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของมาเลเซียอย่าง คาซานาห์ เนชั่นแนล (Khazanah Nasional)
ยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายในการฝึกอบรมบุคลากรคนจำนวน 60,000 คนในด้านต่างๆ ของการผลิตชิป ตั้งแต่การออกแบบ การบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการทดสอบ โดยโปรแกรมฝึกอบรมจะมีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและบริษัทต่างๆ
นอกจากนี้ มาเลเซียยังต้องการจัดตั้งบริษัทท้องถิ่นอย่างน้อย 10 แห่งในด้านการออกแบบ และบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงสำหรับชิปเซมิคอนดักเตอร์ โดยมีรายได้ระหว่าง 210 ล้านถึง 1 พันล้านดอลลาร์
ตามยุทธศาสตร์นี้ รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะดึงดูดการลงทุนจำนวน 500,000 ล้านริงกิต (เกือบ 4 ล้านล้านบาท) ผ่านการลงทุนโดยตรงในประเทศ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ