เมือวันที่ 2 มีนาคม น.ส.สุกัญญา อ่อนจันทร์ อายุ 30 ปี ราษฎร หมู่ 3 ต.วังแดง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า เปิดร้านจำหน่ายอาหารตามสั่ง ประเภทลาบ ลู่ ยำ และอีกหลายอย่างในหมู่บ้านมานานแล้ว แม้จะเปิดร้านเล็กๆ ช่วงแรกของการเปิดร้านยอดการขายสูงถึงวันละ 2,000-3,000 บาท ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็เป็นประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะชาวนาที่มาสั่งอาหารไปรับประทานที่บ้านช่วงค่ำ และลูกค้าที่เป็นขาจรที่เดินทางสัญจรไปมาถนนสายผ่านหน้าร้าน รายได้ถือว่าสามารถพอเลี้ยงครอบครัวได้ ที่เหลือก็ยังพอนำไปเก็บสะสมไว้เป็นทุนค้าขายต่อไป และส่งลูกเรียนหนังสือในเมือง
“แต่ระยะช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หรือช่วงที่เกิดปัญหาภัยแล้งมาเยือน ตอนแรกคิดว่าอาชีพจำหน่ายอาหารตามสั่งจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก แต่ไม่น่าเชื่อว่ายอดขายอาหารได้เพียงหลักร้อยและนับวันจะน้อยลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุที่ขายน้อยไม่ใช่เพราะไม่อร่อยหรือคนเบื่อรสชาติ แต่เป็นเพราะชาวนาเจอภัยแล้งทำนาได้เพียงปีละครั้ง บางพื้นที่ไม่สามารถทำนาได้ จึงไม่มีเงินมาซื้ออาหารไปรับประทานที่บ้าน เช่นเดียวกับเพื่อนหลายคนที่ขายเสื้อผ้าเร่ตามงานต่างๆ มีแต่คนเดินแต่ไม่มีคนซื้อ ทำให้ย่ำแย่เช่นเดียวกัน” น.ส.สุกัญญากล่าว
JJNY : ศก.อุตรดิตถ์สะเทือนจากภัยแล้ง ชาวนาทำนาขาดเงิน ร้านอาหารขาดรายได้
“แต่ระยะช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หรือช่วงที่เกิดปัญหาภัยแล้งมาเยือน ตอนแรกคิดว่าอาชีพจำหน่ายอาหารตามสั่งจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนัก แต่ไม่น่าเชื่อว่ายอดขายอาหารได้เพียงหลักร้อยและนับวันจะน้อยลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุที่ขายน้อยไม่ใช่เพราะไม่อร่อยหรือคนเบื่อรสชาติ แต่เป็นเพราะชาวนาเจอภัยแล้งทำนาได้เพียงปีละครั้ง บางพื้นที่ไม่สามารถทำนาได้ จึงไม่มีเงินมาซื้ออาหารไปรับประทานที่บ้าน เช่นเดียวกับเพื่อนหลายคนที่ขายเสื้อผ้าเร่ตามงานต่างๆ มีแต่คนเดินแต่ไม่มีคนซื้อ ทำให้ย่ำแย่เช่นเดียวกัน” น.ส.สุกัญญากล่าว