ถ้าเอสเจกลับไทยคงติดเชื้อตาย
THAI LAWYERS FOR HUMAN RIGHTS รายงาน
นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ฟ้องคดี ฟ้องมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพื่อขอเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ ณ ศาลปกครองกลาง ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดีที่ 8
องค์คณะตุลาการศาลปกครองกลางขึ้นนั่งพิจารณาคดีทั้งหมด 5 ท่านคือ 1.นายจำกัด ชุมพลวงศ์ ( ตุลาการเจ้าของสำนวน ) 2.นายวุฒิ มีช่วย ( ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ) 3.นายสุรัตน์ พุ่มพวง 4.นายศรศักดิ์ นิยมธรรม และ 5.นายอาจินต์ ฟักทองธรรม (ตุลาการองค์คณะ) โดยมีนายวิจิตต์ รักถิ่น เป็นตุลาการผู้แถลงคดี นางสาวภาวิณี ชุมศรี ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้ฟ้องคดี และนายขจรเกียรติ เฉลิมไทย ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มาศาล ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้รับหมายเรียกแล้ว แต่ไม่มาศาล
เมื่อเริ่มพิจารณา ตุลาการเจ้าของสำนวนอ่านสรุปข้อเท็จจริง นางสาวภาวิณี ชุมศรี ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้ฟ้องคดี ยื่นคำร้องเป็นหนังสือและแถลงด้วยวาจาสรุปประเด็นแห่งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่อหน้าองค์คณะตุลาการ และอนุญาตให้คู่กรณีที่มาศาลและบุคคลอื่นอยู่ร่วมฟังได้ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่ประสงค์จะแถลงด้วยวาจา
ตุลาการผู้แถลงคดีอ่านความเห็น โดยสรุปได้ว่า มีประเด็นที่ต้องพิจารณาประเด็นแรก คือ การกระทำของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้ฟ้องคดี เป็นการกระทำที่ผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ และประเด็นที่สอง คำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ 356/2558 คำสั่งที่ ศธ. 0592(3)1.9/6266 ออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ตุลาการผู้แถลงคดี มีความเห็นให้เพิกถอนคำสั่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ไล่ออกผู้ฟ้องคดีจากราชการ โดยให้เหตุผลว่า ผู้ฟ้องคดีมีเหตุอันตรายถึงแก่ชีวิตและเสรีภาพ จนต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ เมื่อมีคำสั่งเรียกกลับมาสอน ผู้ฟ้องได้ยื่นหนังสือลาออกจากราชการทันที ไม่ได้ยื่นล่วงหน้าตามประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการการลาออกจากตําแหน่งบริหาร แต่ถือได้ว่ามีเหตุผลจำเป็นพิเศษแล้ว
นอกจากนี้ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ยัง ได้อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีลาไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการในต่างประเทศ ในความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดี เห็นว่าในทางปฏิบัติผู้ฟ้องคดีได้ลงไปเพิ่มพูนความรู้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีจงใจละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ราชการติดต่อกันในคราวเดียวเป็นเวลา 15 วัน โดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ คำสั่งไล่ออกจากราชการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ 356/2558 คำสั่งที่ ศธ. 0592(3)1.9/6266 จึงเป็นการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นควรให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
จากนั้น ตุลาการเจ้าของสำนวน ได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งนี้ศาลได้กำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 8 มี.ค. 2559 เวลา 9.30 น ห้องพิจารณาคดี 8 ชั้น 3 ณ ศาลปกครองกลาง
ทั้งนี้ น.ส.ภาวิณี ชุมศรี ทนายความผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้ฟ้องคดีเห็นว่า แถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดีดังกล่าวเป็นไปตามข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟ้องคดีอย่างยิ่ง แม้ว่าความเห็นดังกล่าวจะไม่ผูกพันองค์คณะเจ้าของสำนวนในการทำคำพิพากษาก็ตาม
ตุลาการเห็นควรเพิกถอนคำสั่งไล่สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ออกจากราชการ
THAI LAWYERS FOR HUMAN RIGHTS รายงาน
นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ฟ้องคดี ฟ้องมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพื่อขอเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ออกจากราชการ ณ ศาลปกครองกลาง ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดีที่ 8
องค์คณะตุลาการศาลปกครองกลางขึ้นนั่งพิจารณาคดีทั้งหมด 5 ท่านคือ 1.นายจำกัด ชุมพลวงศ์ ( ตุลาการเจ้าของสำนวน ) 2.นายวุฒิ มีช่วย ( ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ) 3.นายสุรัตน์ พุ่มพวง 4.นายศรศักดิ์ นิยมธรรม และ 5.นายอาจินต์ ฟักทองธรรม (ตุลาการองค์คณะ) โดยมีนายวิจิตต์ รักถิ่น เป็นตุลาการผู้แถลงคดี นางสาวภาวิณี ชุมศรี ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้ฟ้องคดี และนายขจรเกียรติ เฉลิมไทย ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มาศาล ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้รับหมายเรียกแล้ว แต่ไม่มาศาล
เมื่อเริ่มพิจารณา ตุลาการเจ้าของสำนวนอ่านสรุปข้อเท็จจริง นางสาวภาวิณี ชุมศรี ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้ฟ้องคดี ยื่นคำร้องเป็นหนังสือและแถลงด้วยวาจาสรุปประเด็นแห่งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่อหน้าองค์คณะตุลาการ และอนุญาตให้คู่กรณีที่มาศาลและบุคคลอื่นอยู่ร่วมฟังได้ ส่วนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่ประสงค์จะแถลงด้วยวาจา
ตุลาการผู้แถลงคดีอ่านความเห็น โดยสรุปได้ว่า มีประเด็นที่ต้องพิจารณาประเด็นแรก คือ การกระทำของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้ฟ้องคดี เป็นการกระทำที่ผิดวินัยร้ายแรงหรือไม่ และประเด็นที่สอง คำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ 356/2558 คำสั่งที่ ศธ. 0592(3)1.9/6266 ออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ตุลาการผู้แถลงคดี มีความเห็นให้เพิกถอนคำสั่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ไล่ออกผู้ฟ้องคดีจากราชการ โดยให้เหตุผลว่า ผู้ฟ้องคดีมีเหตุอันตรายถึงแก่ชีวิตและเสรีภาพ จนต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ เมื่อมีคำสั่งเรียกกลับมาสอน ผู้ฟ้องได้ยื่นหนังสือลาออกจากราชการทันที ไม่ได้ยื่นล่วงหน้าตามประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการการลาออกจากตําแหน่งบริหาร แต่ถือได้ว่ามีเหตุผลจำเป็นพิเศษแล้ว
นอกจากนี้ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ยัง ได้อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีลาไปเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการในต่างประเทศ ในความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดี เห็นว่าในทางปฏิบัติผู้ฟ้องคดีได้ลงไปเพิ่มพูนความรู้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีจงใจละทิ้งการปฏิบัติหน้าที่ราชการติดต่อกันในคราวเดียวเป็นเวลา 15 วัน โดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ คำสั่งไล่ออกจากราชการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ 356/2558 คำสั่งที่ ศธ. 0592(3)1.9/6266 จึงเป็นการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นควรให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
จากนั้น ตุลาการเจ้าของสำนวน ได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณา ทั้งนี้ศาลได้กำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 8 มี.ค. 2559 เวลา 9.30 น ห้องพิจารณาคดี 8 ชั้น 3 ณ ศาลปกครองกลาง
ทั้งนี้ น.ส.ภาวิณี ชุมศรี ทนายความผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้ฟ้องคดีเห็นว่า แถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดีดังกล่าวเป็นไปตามข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟ้องคดีอย่างยิ่ง แม้ว่าความเห็นดังกล่าวจะไม่ผูกพันองค์คณะเจ้าของสำนวนในการทำคำพิพากษาก็ตาม