อุบายแห่งวิปัสสนา
อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส
( พ ร ะ อ า จ า ร ย์ มั่ น ภู ริ ทั ต ต เ ถ ร )
ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี อุปมาดังดอกปทุม ชาติอันสวยๆ งามๆ ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรกปฏิกูลน่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งที่สะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา-อุปราช-อำมาตย์ และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้น ก็มิกลับคืนไป ยังโคลนตมอีกเลย ข้อนี้เปรียบเหมือนพระโยคาวจรเจ้าผู้ประพฤติพากเพียรประโยคพยายามย่อมพิจารณาซึ่งสิ่ง
สกปรกน่าเกลียด จิตจึงพ้นสิ่งสกปรกน่าเกลียดได้ สิ่งสกปรกน่าเกลียดนั้นคือตัวเรานี้เอง ร่างกายนี้เป็นที่ประชุมแห่งของโสโครก คือ อุจาระ
ปัสสาวะ ( มูตร คูถ ทั้งปวง ) สิ่งที่ออกจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็เรียกว่าขี้ทั้งหมด เช่น ขี้หัว ขี้เล็บ ขี้ฟัน ขี้ไคล เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นลงสู่อาหาร มีแกง กับเป็นต้น ก็รังเกียจ ต้องเททิ้งกินไม่ได้และร่างกายนี้ต้องชำระอยู่เสมอ จึงพอเป็นของดูได้ ถ้าหากไม่ชำระขัดสิ่งก็จะมีกลิ่นเหม็นสาบ เข้าใกล้ใครก็ไม่ได้ของทั้งปวงมีผ้าแพร เครื่องใช้ต่างๆ เมื่ออยู่นอกกายของเราก็เป็นของสะอาดน่าดู แต่เมื่อมาถึงกายนี้แล้วก็เป็นของสกปรกไป เมื่อปล่อยไว้นานๆ เข้าไม่ซักฟอก ก็จะเข้าใกล้ใครไม่ได้เลย เพราะเหม็นสาบ ดังนี้ จึงได้ความว่าร่างกายของเรานี้เป็นเรือนของมูตร เรือนคูถ เป็นอสุภะของไม่งาม ปฏิกูลน่าเกลียด เมื่อยังมีชีวิต
อยู่ก็เป็นถึงปานนี้เมื่อชีวิตหาไม่แล้วยิ่งจะสกปรกหาอะไรเปรียบเทียบมิได้เลย เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย จึงพิจารณาร่างกายอันนี้ให้ชำนิชำนาญด้วยโยนิโสมนสิการ ตั้งแต่ต้นมาทีเดียว คือขณะเมื่อยังเห็นไม่ทันชัดเจน ก็พิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งกาย อันเป็นที่สบายแก่จริต จนกระทั่วปรากฏเป็นอุคคหนิมิต คือปรากฏส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วก็กำหนดส่วนนั้นให้มาก เจริญให้มาก ทำให้มาก การเจริญทำให้มากนั้น พึงทราบอย่างนี้ อันชาวนาเขาทำนา เขาก็ทำที่แผ่นดิน ไถที่แผ่นดิน ดำลงไปในดินปีต่อไปเขาก็ทำที่ดินอีกเช่นเคย เขาไม่ได้ทำในอากาศ กลางหาว คงทำแต่ที่ดินอย่างเดียว ข้าวเขาก็ได้เต็มยุ้งเต็มฉางเอง เมื่อทำให้มากในที่ดินนั้นแล้ว ไม่ต้องเรียกว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงมาเต็มยุ้งเน้อ ข้าวก็จะหลั่งไหลมาเอง และจะห้ามว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงอย่ามาเต็มยุ้งเต็มฉางเราเน้อ ถ้าทำนาในที่ดินนั่นเองจนสำเร็จแล้วข้าวก็จะมาเต็มยุ้งเต็มฉางฉันใดก็ดี พระโยคาวจรเจ้าก็ฉันนั้น คงพิจารณากายในที่เคยพิจารณาอันถูกนิสัย หรือที่ปรากฏมาให้เห็นครั้งแรก อย่าละทิ้งเลยเป็นอันขาด การทำให้มากนั้นมิใช่หมายแต่การเดินจงกรมเท่านั้น ให้มีสติหรือพิจารณาในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ คิด พูด ก็ให้มีสติ รอบคอบ ในกายอยู่เสมอ จึงจะชื่อว่าทำให้มาก เมื่อพิจารณาในร่างกายนั้นจนชัดเจนแล้วให้พิจารณาแบ่งส่วนแยกส่วนออกเป็นส่วนๆ ตามโยนิโสมนสิการ ตลอดจนกระจายออกเป็นธาตุดิน ธาตุนํ้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และพิจารณาให้เห็นไปตามนั้นจริงๆ อุบายตอนนี้ตามแต่ตนจะใคร่ครวญออกอุบายตามที่ถูกจริตนิสัยของตน แต่อย่าละทิ้งหลักเดิมที่ตนได้รู้ครั้งแรกนั่นเทียว พระโยคาวจรเจ้าเมื่อพิจารณาในที่นี้พึงเจริญให้มาก ทำให้มาก อย่าพิจารณาอย่างเดียว แล้วปล่อยทิ้งตั้งครึ่งเดือน ตั้งเดือน ให้พิจารณาก้าวเข้าไป ถอยออกมาเป็นอนุโลมปฏิโลมคือเข้าไปสงบในจิต แล้วถอยออกมาพิจารณากาย อย่าพิจารณากายอย่างเดียว หรือสงบ ที่จิตแต่อย่างเดียว พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาอย่างนี้ชำนาญแล้ว หรือชำนาญอย่างยิ่งแล้ว คราวนี้แลเป็นส่วนที่จะเป็นเองคือ จิตย่อมจะรวมใหญ่ เมื่อเราพึบลงย่อมปรากฏว่าทุกสิ่งรวมลงเป็นอันเดียวกัน คือหมดทั้งโลก ย่อมเป็นธาตุทั้งสิ้น นิมิต จะปรากฏขึ้นพร้อมกันว่า โลกนี้ ราบเหมือนหน้ากลอง เพราะมีสภาพเป็นอันเดียวกันไม่ว่า ป่าไม้ ภูเขา มนุษย์ สัตว์ แม้ที่สุดตัวของเราก็ต้องลบราบเป็นที่สุดอย่างเดียวกัน พร้อมกับ “ญาณสัมปยุต คือรู้ขึ้นมาพร้อมกัน” ในที่นี้ ตัดความสนเท่ห์ในใจได้เลย จึงชื่อว่า “ยถาภูต
ญาณทัสสนวิปัสสนา คือทั้งเห็นทั้งรู้ตามความเป็นจริง” ข้อนี้เป็นเบื้องต้นในอันที่จะดำเนินต่อไปไม่ใช่ที่สุด อันพระโยคาวจรเจ้า จะพึงเจริญให้มาก ทำให้มาก จึงจะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งอีกจนรอบจนชำนาญ เห็นแจ้งชัดว่า สังขารความปรุงแต่งอันเป็นความสมมติว่า โน่นเป็นของเรา นั่นเป็นของเรา เป็นความไม่เที่ยง อาศัยอุปาทานความยึดถือ จึงเป็นทุกข์ก็แลธาตุทั้งหลายต่างหาก หากมีความเป็นอยู่อย่างนี้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา เกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย เกิดขึ้นเสื่อมไปอยู่อย่างนี้ อาศัยอาการของจิต คือขันธ์ ๔ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไปปรุงแต่ง สำคัญมั่นหมายทุกภพทุกชาติ นับเป็นอเนกชาติเหลือประมาณ มาจนถึงปัจจุบันชาติ จึงทำให้จิตหลงอยู่ตามสมมติไม่ใช่สมมติมาติดเอาเรา เพราะธรรมชาติทั้งหลายทั้งหมดในโลกนี้ จะเป็นของมีวิญญาณหรือไม่ก็ตาม เมื่อว่าตามความจริงแล้ว เขาหากมีหากเป็นเกิดขึ้นเสื่อมไป มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว โดยไม่ต้องสงสัยเลย เกิดขึ้นเสื่อมไป มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว โดยไม่ต้องสงสัยเลย จึงรู้ขึ้นว่า ปุพฺเพสุ อนนุสฺ สุเตสุ ธมฺเมสุ ธรรมดาเหล่านี้หากมีมาแต่ก่อน ถึงว่าจะไม่ได้ฟังจากใคร ก็มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว ฉะนั้นในความข้อนี้ พระพุทธองค์เจ้าจึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่า เราไม่ได้ฟังมาแต่ใคร มิได้เรียนมาแต่ใคร เพราะของเหล่านี้มีอยู่มีมาแต่ก่อนพระองค์ ดังนี้ได้ความว่าธรรมดาธาตุทั้งหลายย่อมเป็นย่อมมีอยู่อย่างนั้นอาศัยอาการของจิตเข้าไปยึดถือเอาสิ่งทั้งปวงเหล่านั้นมาหลายภพหลายชาติจึงเป็นเหตุให้เป็นไปตามสมมตินั้น เป็นเหตุให้อนุสัยครอบงำจิตจนหลงเชื่อไปตาม จึงเป็นเหตุให้ก่อภพก่อชาติ ด้วยอาการของจิตเข้าไปยึด ฉะนั้น พระโยคาวจร
เจ้าจึงมาพิจารณาโดยแยบคาย ลงไปตามสภาพว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารความเข้าไปปรุงแต่ง คืออาการของจิตนั่นแลไม่เที่ยง สัตว์โลกเขาหากมีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น ให้พิจารณาอริยสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นเครื่องแก้อาการของจิตให้เห็นแน่แท้โดยปัจจักขสิทธิว่า ตัวอาการของจิตนี้เองมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงหลงตามสังขาร เมื่อเห็นจริงลงไปแล้วก็เป็นเครื่องแก้อาการของจิต จึงปรากฏขึ้นว่า สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ สังขารทั้งหลายที่เที่ยงแท้ไม่มีสังขารเป็นอาการของจิตต่างหาก เปรียบเหมือนพยับแดด ส่วนสัตว์เขาก็อยู่ประจำโลกแต่ไหนแต่ไรมา เมื่อรู้โดยเงื่อน ๒ ประการ คือรู้ว่าสัตว์ก็มีอยู่อย่างนั้น สังขารก็เป็นอาการของจิตเข้าไปสมมติเขาเท่านั้น ฐีติภูตํ จิตดั้งเดิมไม่มีอาการเป็นผู้หลุดพ้น ธรรมดาหรือธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน จะใช่ตนอย่างไร ของเขาหากเกิดมีอย่างนั้น ท่านจึงว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน ให้พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์ตามนี้ จนทำให้รวมพึบลงไปให้เห็นจริงแจ้งชัดตามนั้น โดยปัจจักขสิทธิ พร้อมกับญาณสัมปยุตปรากฏขึ้นมาพร้อมกัน จึงชื่อว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา ทำในที่นี้จนชำนาญเห็นจริงแจ้งประจักษ์ พร้อมกับการรวมใหญ่ และญาณสัมปยุตรวมทวนกระแสแก้อนุสัยสมมติเป็นวิมุตติ หรือรวมลงฐีติจิตอันเป็นอยู่มีอยู่อย่างนั้น จนแจ้งประจักษ์ในที่นั้น ด้วยญาณสัมปยุตว่า ขีณา ชาติ ญาณํ โหติ ดังนี้ ในที่นี้ ไม่ใช่สมมติ ไม่ใช่ของแต่งเอา เดาเอา ไม่ใช่ของอันบุคคลพึงปรารถนาเอาได้ เป็นของที่เกิดเอง เป็นเอง รู้เอง โดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะด้วยการปฏิบัติอันเข้มแข็งไม่ท้อถอย พิจารณาโดยแยบคายด้วยตนเอง จึงจะเป็นขึ้นมาเอง ท่านเปรียบเหมือนต้นไม้ต่างๆ มีต้นข้าวเป็นต้น เมื่อบำรุงรักษาต้นมันให้ดีแล้ว ผลคือ รวงข้าวไม่ใช่สิ่งอันบุคคลพึงปรารถนาเอาเลย เป็นขึ้นมาเอง ถ้าแลบุคคลมาปรารถนาเอาแต่รวงข้าว แต่หาได้รักษาต้นข้าวไม่ เป็นผู้เกียจคร้าน จะปรารถนาจนวันตายรวงข้าวก็ไม่มีขึ้นมาให้ฉันใด วิมุตติธรรม ก็ฉันนั้นแล มิใช่สิ่งอันบุคคลพึงปรารถนาเอาได้ คนผู้ปรารถนาวิมุตติธรรม แต่ปฏิบัติไม่ถูก หรือไม่ปฏิบัติมัวเกียจคร้านจน
วันตาย จะประสบวิมุตติธรรมไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้
คัดลอกจาก หนังสือ
ธรรมะทรงคุณค่า
ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา
พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) : ถาม
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ : ตอบ
ที่มา : ...
http://www.trilakbooks.com/product/237666/หนังสือธรรมะทรงคุณค่า-ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา.html
อุบายแห่งวิปัสสนา อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส ( พ ร ะ อ า จ า ร ย์ มั่ น ภู ริ ทั ต ต เ ถ ร )
อันเป็นเครื่องถ่ายถอนกิเลส
( พ ร ะ อ า จ า ร ย์ มั่ น ภู ริ ทั ต ต เ ถ ร )
ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี อุปมาดังดอกปทุม ชาติอันสวยๆ งามๆ ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรกปฏิกูลน่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้น เมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งที่สะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา-อุปราช-อำมาตย์ และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้น ก็มิกลับคืนไป ยังโคลนตมอีกเลย ข้อนี้เปรียบเหมือนพระโยคาวจรเจ้าผู้ประพฤติพากเพียรประโยคพยายามย่อมพิจารณาซึ่งสิ่ง
สกปรกน่าเกลียด จิตจึงพ้นสิ่งสกปรกน่าเกลียดได้ สิ่งสกปรกน่าเกลียดนั้นคือตัวเรานี้เอง ร่างกายนี้เป็นที่ประชุมแห่งของโสโครก คือ อุจาระ
ปัสสาวะ ( มูตร คูถ ทั้งปวง ) สิ่งที่ออกจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็เรียกว่าขี้ทั้งหมด เช่น ขี้หัว ขี้เล็บ ขี้ฟัน ขี้ไคล เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นลงสู่อาหาร มีแกง กับเป็นต้น ก็รังเกียจ ต้องเททิ้งกินไม่ได้และร่างกายนี้ต้องชำระอยู่เสมอ จึงพอเป็นของดูได้ ถ้าหากไม่ชำระขัดสิ่งก็จะมีกลิ่นเหม็นสาบ เข้าใกล้ใครก็ไม่ได้ของทั้งปวงมีผ้าแพร เครื่องใช้ต่างๆ เมื่ออยู่นอกกายของเราก็เป็นของสะอาดน่าดู แต่เมื่อมาถึงกายนี้แล้วก็เป็นของสกปรกไป เมื่อปล่อยไว้นานๆ เข้าไม่ซักฟอก ก็จะเข้าใกล้ใครไม่ได้เลย เพราะเหม็นสาบ ดังนี้ จึงได้ความว่าร่างกายของเรานี้เป็นเรือนของมูตร เรือนคูถ เป็นอสุภะของไม่งาม ปฏิกูลน่าเกลียด เมื่อยังมีชีวิต
อยู่ก็เป็นถึงปานนี้เมื่อชีวิตหาไม่แล้วยิ่งจะสกปรกหาอะไรเปรียบเทียบมิได้เลย เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย จึงพิจารณาร่างกายอันนี้ให้ชำนิชำนาญด้วยโยนิโสมนสิการ ตั้งแต่ต้นมาทีเดียว คือขณะเมื่อยังเห็นไม่ทันชัดเจน ก็พิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งกาย อันเป็นที่สบายแก่จริต จนกระทั่วปรากฏเป็นอุคคหนิมิต คือปรากฏส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วก็กำหนดส่วนนั้นให้มาก เจริญให้มาก ทำให้มาก การเจริญทำให้มากนั้น พึงทราบอย่างนี้ อันชาวนาเขาทำนา เขาก็ทำที่แผ่นดิน ไถที่แผ่นดิน ดำลงไปในดินปีต่อไปเขาก็ทำที่ดินอีกเช่นเคย เขาไม่ได้ทำในอากาศ กลางหาว คงทำแต่ที่ดินอย่างเดียว ข้าวเขาก็ได้เต็มยุ้งเต็มฉางเอง เมื่อทำให้มากในที่ดินนั้นแล้ว ไม่ต้องเรียกว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงมาเต็มยุ้งเน้อ ข้าวก็จะหลั่งไหลมาเอง และจะห้ามว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงอย่ามาเต็มยุ้งเต็มฉางเราเน้อ ถ้าทำนาในที่ดินนั่นเองจนสำเร็จแล้วข้าวก็จะมาเต็มยุ้งเต็มฉางฉันใดก็ดี พระโยคาวจรเจ้าก็ฉันนั้น คงพิจารณากายในที่เคยพิจารณาอันถูกนิสัย หรือที่ปรากฏมาให้เห็นครั้งแรก อย่าละทิ้งเลยเป็นอันขาด การทำให้มากนั้นมิใช่หมายแต่การเดินจงกรมเท่านั้น ให้มีสติหรือพิจารณาในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ คิด พูด ก็ให้มีสติ รอบคอบ ในกายอยู่เสมอ จึงจะชื่อว่าทำให้มาก เมื่อพิจารณาในร่างกายนั้นจนชัดเจนแล้วให้พิจารณาแบ่งส่วนแยกส่วนออกเป็นส่วนๆ ตามโยนิโสมนสิการ ตลอดจนกระจายออกเป็นธาตุดิน ธาตุนํ้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม และพิจารณาให้เห็นไปตามนั้นจริงๆ อุบายตอนนี้ตามแต่ตนจะใคร่ครวญออกอุบายตามที่ถูกจริตนิสัยของตน แต่อย่าละทิ้งหลักเดิมที่ตนได้รู้ครั้งแรกนั่นเทียว พระโยคาวจรเจ้าเมื่อพิจารณาในที่นี้พึงเจริญให้มาก ทำให้มาก อย่าพิจารณาอย่างเดียว แล้วปล่อยทิ้งตั้งครึ่งเดือน ตั้งเดือน ให้พิจารณาก้าวเข้าไป ถอยออกมาเป็นอนุโลมปฏิโลมคือเข้าไปสงบในจิต แล้วถอยออกมาพิจารณากาย อย่าพิจารณากายอย่างเดียว หรือสงบ ที่จิตแต่อย่างเดียว พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาอย่างนี้ชำนาญแล้ว หรือชำนาญอย่างยิ่งแล้ว คราวนี้แลเป็นส่วนที่จะเป็นเองคือ จิตย่อมจะรวมใหญ่ เมื่อเราพึบลงย่อมปรากฏว่าทุกสิ่งรวมลงเป็นอันเดียวกัน คือหมดทั้งโลก ย่อมเป็นธาตุทั้งสิ้น นิมิต จะปรากฏขึ้นพร้อมกันว่า โลกนี้ ราบเหมือนหน้ากลอง เพราะมีสภาพเป็นอันเดียวกันไม่ว่า ป่าไม้ ภูเขา มนุษย์ สัตว์ แม้ที่สุดตัวของเราก็ต้องลบราบเป็นที่สุดอย่างเดียวกัน พร้อมกับ “ญาณสัมปยุต คือรู้ขึ้นมาพร้อมกัน” ในที่นี้ ตัดความสนเท่ห์ในใจได้เลย จึงชื่อว่า “ยถาภูต
ญาณทัสสนวิปัสสนา คือทั้งเห็นทั้งรู้ตามความเป็นจริง” ข้อนี้เป็นเบื้องต้นในอันที่จะดำเนินต่อไปไม่ใช่ที่สุด อันพระโยคาวจรเจ้า จะพึงเจริญให้มาก ทำให้มาก จึงจะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งอีกจนรอบจนชำนาญ เห็นแจ้งชัดว่า สังขารความปรุงแต่งอันเป็นความสมมติว่า โน่นเป็นของเรา นั่นเป็นของเรา เป็นความไม่เที่ยง อาศัยอุปาทานความยึดถือ จึงเป็นทุกข์ก็แลธาตุทั้งหลายต่างหาก หากมีความเป็นอยู่อย่างนี้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา เกิด - แก่ - เจ็บ - ตาย เกิดขึ้นเสื่อมไปอยู่อย่างนี้ อาศัยอาการของจิต คือขันธ์ ๔ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไปปรุงแต่ง สำคัญมั่นหมายทุกภพทุกชาติ นับเป็นอเนกชาติเหลือประมาณ มาจนถึงปัจจุบันชาติ จึงทำให้จิตหลงอยู่ตามสมมติไม่ใช่สมมติมาติดเอาเรา เพราะธรรมชาติทั้งหลายทั้งหมดในโลกนี้ จะเป็นของมีวิญญาณหรือไม่ก็ตาม เมื่อว่าตามความจริงแล้ว เขาหากมีหากเป็นเกิดขึ้นเสื่อมไป มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว โดยไม่ต้องสงสัยเลย เกิดขึ้นเสื่อมไป มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว โดยไม่ต้องสงสัยเลย จึงรู้ขึ้นว่า ปุพฺเพสุ อนนุสฺ สุเตสุ ธมฺเมสุ ธรรมดาเหล่านี้หากมีมาแต่ก่อน ถึงว่าจะไม่ได้ฟังจากใคร ก็มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว ฉะนั้นในความข้อนี้ พระพุทธองค์เจ้าจึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่า เราไม่ได้ฟังมาแต่ใคร มิได้เรียนมาแต่ใคร เพราะของเหล่านี้มีอยู่มีมาแต่ก่อนพระองค์ ดังนี้ได้ความว่าธรรมดาธาตุทั้งหลายย่อมเป็นย่อมมีอยู่อย่างนั้นอาศัยอาการของจิตเข้าไปยึดถือเอาสิ่งทั้งปวงเหล่านั้นมาหลายภพหลายชาติจึงเป็นเหตุให้เป็นไปตามสมมตินั้น เป็นเหตุให้อนุสัยครอบงำจิตจนหลงเชื่อไปตาม จึงเป็นเหตุให้ก่อภพก่อชาติ ด้วยอาการของจิตเข้าไปยึด ฉะนั้น พระโยคาวจร
เจ้าจึงมาพิจารณาโดยแยบคาย ลงไปตามสภาพว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารความเข้าไปปรุงแต่ง คืออาการของจิตนั่นแลไม่เที่ยง สัตว์โลกเขาหากมีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น ให้พิจารณาอริยสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นเครื่องแก้อาการของจิตให้เห็นแน่แท้โดยปัจจักขสิทธิว่า ตัวอาการของจิตนี้เองมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงหลงตามสังขาร เมื่อเห็นจริงลงไปแล้วก็เป็นเครื่องแก้อาการของจิต จึงปรากฏขึ้นว่า สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ สังขารทั้งหลายที่เที่ยงแท้ไม่มีสังขารเป็นอาการของจิตต่างหาก เปรียบเหมือนพยับแดด ส่วนสัตว์เขาก็อยู่ประจำโลกแต่ไหนแต่ไรมา เมื่อรู้โดยเงื่อน ๒ ประการ คือรู้ว่าสัตว์ก็มีอยู่อย่างนั้น สังขารก็เป็นอาการของจิตเข้าไปสมมติเขาเท่านั้น ฐีติภูตํ จิตดั้งเดิมไม่มีอาการเป็นผู้หลุดพ้น ธรรมดาหรือธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน จะใช่ตนอย่างไร ของเขาหากเกิดมีอย่างนั้น ท่านจึงว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน ให้พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาให้เห็นแจ้งประจักษ์ตามนี้ จนทำให้รวมพึบลงไปให้เห็นจริงแจ้งชัดตามนั้น โดยปัจจักขสิทธิ พร้อมกับญาณสัมปยุตปรากฏขึ้นมาพร้อมกัน จึงชื่อว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา ทำในที่นี้จนชำนาญเห็นจริงแจ้งประจักษ์ พร้อมกับการรวมใหญ่ และญาณสัมปยุตรวมทวนกระแสแก้อนุสัยสมมติเป็นวิมุตติ หรือรวมลงฐีติจิตอันเป็นอยู่มีอยู่อย่างนั้น จนแจ้งประจักษ์ในที่นั้น ด้วยญาณสัมปยุตว่า ขีณา ชาติ ญาณํ โหติ ดังนี้ ในที่นี้ ไม่ใช่สมมติ ไม่ใช่ของแต่งเอา เดาเอา ไม่ใช่ของอันบุคคลพึงปรารถนาเอาได้ เป็นของที่เกิดเอง เป็นเอง รู้เอง โดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะด้วยการปฏิบัติอันเข้มแข็งไม่ท้อถอย พิจารณาโดยแยบคายด้วยตนเอง จึงจะเป็นขึ้นมาเอง ท่านเปรียบเหมือนต้นไม้ต่างๆ มีต้นข้าวเป็นต้น เมื่อบำรุงรักษาต้นมันให้ดีแล้ว ผลคือ รวงข้าวไม่ใช่สิ่งอันบุคคลพึงปรารถนาเอาเลย เป็นขึ้นมาเอง ถ้าแลบุคคลมาปรารถนาเอาแต่รวงข้าว แต่หาได้รักษาต้นข้าวไม่ เป็นผู้เกียจคร้าน จะปรารถนาจนวันตายรวงข้าวก็ไม่มีขึ้นมาให้ฉันใด วิมุตติธรรม ก็ฉันนั้นแล มิใช่สิ่งอันบุคคลพึงปรารถนาเอาได้ คนผู้ปรารถนาวิมุตติธรรม แต่ปฏิบัติไม่ถูก หรือไม่ปฏิบัติมัวเกียจคร้านจน
วันตาย จะประสบวิมุตติธรรมไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้
คัดลอกจาก หนังสือ
ธรรมะทรงคุณค่า
ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา
พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) : ถาม
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ : ตอบ
ที่มา : ...
http://www.trilakbooks.com/product/237666/หนังสือธรรมะทรงคุณค่า-ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา.html