Spcg อดีต ปัจจุบัน อนาคต

Spcg มีโรงไฟฟ้า พลังแสงอาทิตย์ ในไทย 36 แห่ง รวม 260 mw กำลังผลิตเฉลี่ยแห่งละ 7.2 mw ได้ adder หน่วยละ 8 บาท ขายไฟได้หน่วยละประมาณ 10 บาท โครงการแรกเริ่มขายไฟ ( cod ) ในปี 2553 แห่งล่าสุดเริ่ม cod ปี 2557 ี
      โครงการแรกจะหมด adder ปี 2563 คือในอีก 5 ปี คือโคราช1  ส่วนแห่งที่ 2- 5 จะหมด adder ในปี 2564 คืออีก 6 ปี โดย spcg ถือหุ้น ประมาณ 50-60 % ในโครงการแรกๆ 5 โครงการแรกมีกำลังผลิต 6.123 mw ( spcg ร่วมลงทุนกับ บ.อื่นในโรงไฟฟ้าที่สร้างในช่วงแรกๆ จนถึงโรงที่ 9 หลังจากนั้นลงทุนด้วยเงินบริษัท 100%ไปจนถึงแห่งที่ 30 หลังจากนั้นก็เป็นร่วมทุนอีกครั้งจนครบ36 แห่ง ) ในส่วนที่ adder หายไปคือ ครึ่งนึงของสัดส่วนเงินลงทุน แห่งละ 3mw เท่านั้น แล้วยังขายไฟต่อไปตามปกติ
         สมมุติว่าจนถึงปี 2564 ถ้า บ.ไม่สร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม จะหมด adder จำนวน 5 โครงการ คิดคร่าวๆแห่งละ 6 mw ทั้งหมด 30 mw แต่สัดส่วนที่ลดลงจริง 15 mw จากสัดส่วนเงินลงทุน
        ความคืบหน้าคือ โรงไฟฟ้าที่เริ่มสร้างในญี่ปุ่น 30 mw ปลายปีที่แล้ว กับที่ผู้บริหารคาดว่าจะได้ทำสัญญาอีกไม่ต่ำกว่า 100 mw ช่วงกลางปี รวมกันเป็น130 mwในญี่ปุ่น   โดยร่วมทุนกับ kyocera และ century tokyo leasing  สัดส่วน เท่าๆกัน ก็คิดเป็นรายได้ที่เป็นส่วนของ spcg จำนวน 43 mw  cod ปี 2560-2561 ได้หน่วยละ 36 เยน หรือประมาณ 11 บาท   ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผนจะเห็นว่ากำลังผลิตไฟฟ้ามีจำนวน mw มากกว่า และได้มาก่อนที่โครงการแรกในไทยจะหมด adder ในปี 63-64
       บริษัท.kyocera เป็นผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์รายใหญ่ และเป็นผู้ สร้างโรงไฟฟ้าในญี่ปุ่นหลายโครงการ ในขนาดโครงการใหญ่ๆ คือเป็นโครงการ mega solar ทั้งบนบก และแบบลอยน้ำ ที่ใช้ในเขื่อน และทะเล สาเหตุที่ kyocera ดึง spcg เข้ามาร่วมทำโรงไฟฟ้าด้วย ทั้งที่มีเงินทุนและทรัพยากรทุกอย่างสร้างได้เองอยู่แล้ว น่าจะเป็นการตอบแทนกันทางธุรกิจ ที่ได้ใช้แผงของ kyocera ในโครงการ solar farm ทุกโครงการที่ผ่านมา  นำเข้ามาจำหน่ายเพื่อติดตั้ง solar rooftop ผ่าน homepro  และใช้ติดตั้งลูกค้าโรงงาน และโครงการบ้าน ล่าสุดทำ mou กับ  บริษัท ธนาพัฒน์ พร็อพเพอร์ตี้  นำมาติดบ้านโครงการใหม ่4 โครงการ จำนวนประมาณ 1,000 หลัง โดยเริ่มที่โครงการ เจด พระราม 3 และโครงการใหม่เป็น ทาวน์โฮมย่านลาดพร้าว สุขสวัสดิ์ ศาลายา และบ้านเดี่ยวย่านลาดพร้าว เพื่อสร้างจุดขายให้เป็นบ้านประหยัดพลังงาน และสร้างมูลค่าให้แก่บ้าน โดยไม่บวกเพิ่มราคาบ้าน  ได้มีการปรับปรุงอาคารเล้าเป้งง้วนให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน ติดตั้งระบบแผงโซล่าเซลล์บนหลังคา  ที่ผ่านมาถึงตอนนี้ spcg ร่วมกับ Q house  โดย ดร.ชัชชาติ ในลักษณะนี้คือติดตั้งพร้อมตัวบ้านในโครงการใหม่ และเสนอขายให้ลูกค้าโครงการเดิมมาก่อนแล้ว    ซึ่งทุกโครงการใช้แผงเซลล์ของ kyocera ทั้งหมด  
            อีกทั้งจะเห็นว่า เมื่อ ดร.วันดี ซึ่งได้รับรางวัลด้านการลดโลกร้อน  ผู้บุกเบิกพลังงานทดแทนของอาเซี่ยน จาก UNิ และ ดร.วันดี เป็นต้นเหตุให้เกิดกองทุนพลังงานสะอาด (  CTF ) จากที่ไม่มีมาก่อน  เมื่อตอนที่ไปขอเงินสนับสนุนจาก world bank เพื่อใช้สร้างโครงการแรก ทำให้เกิดกองทุนนี้ขึ้นและให้ใช้ประเทศไทยเป็นต้นแบบ โดยให้ ดร.วันดี เป็นคล้ายๆฑูตพลังงานทดแทน  เป็นผู้เผยแพร่ต่างๆ่ เมื่อไปกล่าวในเวทีระดับโลกก็จะกล่าวทิ้งท้ายถึงแผงเซลล์ kyocera บ่อยๆ  อีกทั้ง kyocera จะมี spcg เป็นสะพานเข้าไปในอาเซี่ยน โดยเริ่มเข้าไปในพม่า และฟิลิปินส์ ์ ซึ่งกำลังจะได้ข้อสรุป ิ 100 mw โดย spcg ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 50 % โดยตั้งโรงงานผลิตแผงของ kyocera ในไทย กำลังผลิตเริ่มที่ 100 mw โดย spcg ถือหุ้น 50 % น่าจะเพื่อส่งออกในอาเซี่ยน
ซึ่งจะเห็นว่าหลังจากนี้ kyocera  จะให้ประโยชน์ spcg  ในการทำ mega solar ในญี่ปุ่นด้วย ตามกำลังทุน ของ spcg
       ปล.ผมมีหุ้นครับ แต่ก็เป็นตัวหนึ่งในอีกหลายๆแหละครับ ประเด็นลงทุนหลักๆตัวนี้ก็คือ บางคนบอกว่า ให้มองอนาคตรายได้เดิมที่ทำไว้มาดีมันเป็นอดีตมันจะหมดลง อนาคตรายได้กำลังจะหายไป แต่ส่วนตัวผมคิดว่ามองแบบนั้นแหละคือการมองแบบไม่ให้เห็นอนาคต ผมคิดว่าธุรกิจที่ดีไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ หรือติดลบ สามารถต่อยอดไปได้ถ้าไม่หยุดอยู่กับที่
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่