หวั่นคำสั่งศาลส่อปัญหาโกลาหล ทีวีดิจิตอลคืนใบอนุญาต/PPTVทุ่มอีก 1.5 พันล.ลุยต่อ
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
"เขมทัตต์" อุปนายกสมาคมวิชาชีพวิทยุฯ หวั่นศาลคุ้มครองก่อนหรือหลังชำระค่าประมูลงวด 3 ส่อปัญหาโกลาหลทยอยคืนใบอนุญาต ล่าสุดธุรกิจพีพีทีวีใจป้ำเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3 พันล้านลุยทีวีดิจิตอลต่อ
นายเขมทัตต์ พลเดช อุปนายกสมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กรณีที่มีผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลยื่นฟ้องศาลปกครอง เพื่อขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จากนี้คงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะไม่ว่าคำสั่งของศาลจะออกมาก่อนหรือหลังการชำระค่าประมูลงวดที่ 3 อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ทั้งหมด ซึ่งหากศาลมีคำสั่งคุ้มครองก่อนชำระค่าประมูลอาจจะทำให้มีผู้ประกอบการบางรายเตรียมคืนใบอนุญาต หรือหากคำสั่งออกมาหลังการชำระค่าประมูลก็อาจจะมีผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถชำระเงินได้
"หากคำสั่งศาลออกมาก่อนการชำระประมูลงวดที่ 3 ไม่ว่าจะเป็นกรณีของบริษัท ไทยทีวี จำกัด หรือ 5 ช่องทีวีดิจิตอลที่เคยยื่นฟ้องศาล นั่นแสดงว่า ศาลพิจารณาเห็นความบกพร่องบางอย่างจากกสทช. ซึ่งอาจจะส่งผลให้มีผู้ประกอบการบางรายขอคืนใบอนุญาต และอาจจะทำให้อุตสาหกรรมเกิดความวุ่นวายได้ แต่หากมีคำสั่งออกมาหลังการชำระค่าประมูลงวดที่ 3 ก็อาจจะมีผู้ประกอบการบางรายได้รับบาดเจ็บจากการชำระครั้งนี้เช่นกัน"
ด้านภาพรวมของอุตสาหกรรมที่ผ่านมาของทุกสถานี ค่อนข้างเติบโตได้ช้าและเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิตอลทีวีด้วยความลำบาก เนื่องจากปัจจัย 2 ส่วน คือ 1.ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การกำกับดูแลของหน่วยงาน ที่ไม่ยอมเข้าใจและมองคนละด้านกับผู้ประกอบการ จนส่งผลให้ผู้บริโภคที่ควรจะได้รับประโยชน์จากรายการคุณภาพของช่องทีวีดิจิตอลที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่สามารถรับชมและเข้าถึงได้เท่าที่ควร 2. สภาวะเศรษฐกิจของโลกและภายในประเทศที่ยังคงทรงตัว ในขณะที่ระบบเรตติ้งยังคงกระจุกตัวกับสถานีเดิมๆ ที่เน้นการวัดไปที่กลุ่มคนชั้นกลาง และรากหญ้าลงไป ทำให้คุณภาพรายการโดยรวมของสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง ต้องดิ้นรนในการทำรายการที่ดูสนุก จนสัดส่วนของรายการที่เป็นสาระน้อยกว่าบันเทิง มากจนเกินไป
ขณะที่ธุรกิจพีพีทีวี เอชดี ในปี 2559 บริษัทได้เตรียมเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1.5 พันล้านบาท เป็น 3 พันล้านบาท เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานและธุรกิจแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น พร้อมขยายงานด้าน NON Broadcast วางนโยบายและปรับยุทธศาสตร์เพิ่มเติมโดยเน้น Partnership & Engagement หรือการหาพันธมิตรรายการ พันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อการจับมือในระยะยาว ขณะที่สัดส่วนผังรายการในปัจจุบันมีรายการประเภทข่าว 28% เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเพิ่ม Breaking News เป็น 8 ช่วงต่อวัน และรายการรอบวันทันโลก ช่วงเวลา 23.45 น.ทุกวัน เพิ่มรายการสารคดีข่าวอาเซียน และส่งทีมข่าวเจาะลงพื้นที่ในกลุ่มประเทศอาเซียนทุกเดือน
อีกทั้งยังรวมถึงการเน้นด้านโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะแอพพลิเคชันไลน์ (Line) โดยปีนี้บริษัทได้ร่วมมือกับไลน์ทีวีนำละคร 10 เรื่องเข้าไปอยู่ในไลน์ทีวี ซึ่งบริษัทมั่นใจว่า หลังจากที่ได้ร่วมมือกับไลน์ทีวี จะมีคนรู้จักชื่อของ PPTV มากขึ้นและเร็วกว่าระบบเรตติ้งที่ใช้อยู่
นอกจากนี้บริษัทมองว่า การเข้ามาของ 4G มีทั้งข้อดีและไม่ดีสำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ถ้าหากมองในด้านผู้ประกอบการถือเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่สามารถใส่รายการได้ แต่ประเด็น คือ รายการจะเป็นที่รู้จักในวงกว้าง 10-20 ล้านคน แต่อาจจะไม่มีรายได้กลับเข้ามา แต่หากใช้ระบบ 4G ให้เป็นประโยชน์ อาจจะมีรายได้กลับมาก็ได้ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าได้จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมหาศาลมาก แต่หากมองในแง่ลบ 4G ก็จะมาครองตลาดแทนกล่องทีวีดิจิตอล ซึ่งเทคโนโลยีขยายเครือข่ายได้ไวกว่าทีวีดิจิตอลขณะที่โครงข่ายทีวีดิจิตอลยังไม่สมบูรณ์
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า 20)
หวั่นคำสั่งศาลส่อปัญหาโกลาหล ทีวีดิจิตอลคืนใบอนุญาต/PPTV ทุ่มอีก 1.5 พันล.ลุยต่อ
หวั่นคำสั่งศาลส่อปัญหาโกลาหล ทีวีดิจิตอลคืนใบอนุญาต/PPTVทุ่มอีก 1.5 พันล.ลุยต่อ
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
"เขมทัตต์" อุปนายกสมาคมวิชาชีพวิทยุฯ หวั่นศาลคุ้มครองก่อนหรือหลังชำระค่าประมูลงวด 3 ส่อปัญหาโกลาหลทยอยคืนใบอนุญาต ล่าสุดธุรกิจพีพีทีวีใจป้ำเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 3 พันล้านลุยทีวีดิจิตอลต่อ
นายเขมทัตต์ พลเดช อุปนายกสมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์พีพีทีวี เอชดี เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กรณีที่มีผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลยื่นฟ้องศาลปกครอง เพื่อขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จากนี้คงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะไม่ว่าคำสั่งของศาลจะออกมาก่อนหรือหลังการชำระค่าประมูลงวดที่ 3 อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ทั้งหมด ซึ่งหากศาลมีคำสั่งคุ้มครองก่อนชำระค่าประมูลอาจจะทำให้มีผู้ประกอบการบางรายเตรียมคืนใบอนุญาต หรือหากคำสั่งออกมาหลังการชำระค่าประมูลก็อาจจะมีผู้ประกอบการบางรายไม่สามารถชำระเงินได้
"หากคำสั่งศาลออกมาก่อนการชำระประมูลงวดที่ 3 ไม่ว่าจะเป็นกรณีของบริษัท ไทยทีวี จำกัด หรือ 5 ช่องทีวีดิจิตอลที่เคยยื่นฟ้องศาล นั่นแสดงว่า ศาลพิจารณาเห็นความบกพร่องบางอย่างจากกสทช. ซึ่งอาจจะส่งผลให้มีผู้ประกอบการบางรายขอคืนใบอนุญาต และอาจจะทำให้อุตสาหกรรมเกิดความวุ่นวายได้ แต่หากมีคำสั่งออกมาหลังการชำระค่าประมูลงวดที่ 3 ก็อาจจะมีผู้ประกอบการบางรายได้รับบาดเจ็บจากการชำระครั้งนี้เช่นกัน"
ด้านภาพรวมของอุตสาหกรรมที่ผ่านมาของทุกสถานี ค่อนข้างเติบโตได้ช้าและเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิตอลทีวีด้วยความลำบาก เนื่องจากปัจจัย 2 ส่วน คือ 1.ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การกำกับดูแลของหน่วยงาน ที่ไม่ยอมเข้าใจและมองคนละด้านกับผู้ประกอบการ จนส่งผลให้ผู้บริโภคที่ควรจะได้รับประโยชน์จากรายการคุณภาพของช่องทีวีดิจิตอลที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่สามารถรับชมและเข้าถึงได้เท่าที่ควร 2. สภาวะเศรษฐกิจของโลกและภายในประเทศที่ยังคงทรงตัว ในขณะที่ระบบเรตติ้งยังคงกระจุกตัวกับสถานีเดิมๆ ที่เน้นการวัดไปที่กลุ่มคนชั้นกลาง และรากหญ้าลงไป ทำให้คุณภาพรายการโดยรวมของสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง ต้องดิ้นรนในการทำรายการที่ดูสนุก จนสัดส่วนของรายการที่เป็นสาระน้อยกว่าบันเทิง มากจนเกินไป
ขณะที่ธุรกิจพีพีทีวี เอชดี ในปี 2559 บริษัทได้เตรียมเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 1.5 พันล้านบาท เป็น 3 พันล้านบาท เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานและธุรกิจแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น พร้อมขยายงานด้าน NON Broadcast วางนโยบายและปรับยุทธศาสตร์เพิ่มเติมโดยเน้น Partnership & Engagement หรือการหาพันธมิตรรายการ พันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อการจับมือในระยะยาว ขณะที่สัดส่วนผังรายการในปัจจุบันมีรายการประเภทข่าว 28% เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเพิ่ม Breaking News เป็น 8 ช่วงต่อวัน และรายการรอบวันทันโลก ช่วงเวลา 23.45 น.ทุกวัน เพิ่มรายการสารคดีข่าวอาเซียน และส่งทีมข่าวเจาะลงพื้นที่ในกลุ่มประเทศอาเซียนทุกเดือน
อีกทั้งยังรวมถึงการเน้นด้านโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะแอพพลิเคชันไลน์ (Line) โดยปีนี้บริษัทได้ร่วมมือกับไลน์ทีวีนำละคร 10 เรื่องเข้าไปอยู่ในไลน์ทีวี ซึ่งบริษัทมั่นใจว่า หลังจากที่ได้ร่วมมือกับไลน์ทีวี จะมีคนรู้จักชื่อของ PPTV มากขึ้นและเร็วกว่าระบบเรตติ้งที่ใช้อยู่
นอกจากนี้บริษัทมองว่า การเข้ามาของ 4G มีทั้งข้อดีและไม่ดีสำหรับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ถ้าหากมองในด้านผู้ประกอบการถือเป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่สามารถใส่รายการได้ แต่ประเด็น คือ รายการจะเป็นที่รู้จักในวงกว้าง 10-20 ล้านคน แต่อาจจะไม่มีรายได้กลับเข้ามา แต่หากใช้ระบบ 4G ให้เป็นประโยชน์ อาจจะมีรายได้กลับมาก็ได้ เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าได้จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมหาศาลมาก แต่หากมองในแง่ลบ 4G ก็จะมาครองตลาดแทนกล่องทีวีดิจิตอล ซึ่งเทคโนโลยีขยายเครือข่ายได้ไวกว่าทีวีดิจิตอลขณะที่โครงข่ายทีวีดิจิตอลยังไม่สมบูรณ์
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า 20)