ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ.นี้ สายการบินนกแอร์จะยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมด 20 เที่ยวบิน รวม 10 เส้นทาง เนื่องจากอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างองค์กร ทำให้ยังต้องใช้สายการบินพันธมิตรทำการบินแทนจนถึง 28 ก.พ.นี้
เส้นทางที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ เส้นทางจากดอนเมือง มุ่งหน้าสู่หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง พิษณุโลก เชียงราย อุดรธานี อุบลราชธานี สกลนคร และขอนแก่น แบ่งเป็นเส้นทางละ 2 เที่ยวบิน คือ ทั้งไปและกลับ โดยมีกำหนดยกเลิกจนถึงวันที่ 28 ก.พ.นี้ เนื่องจากอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างองค์กร และนักบินไม่เพียงพอ
การยกเลิกเที่ยวบินดังกล่าว ทำให้ประชาชนใช้บริการสายการบินลดลง โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานตรัง ปกติมี 6 เที่ยวบิน ลดเหลือ 4 เที่ยวบินต่อวัน โดยยกเลิกการบินไป-กลับ ช่วงเวลา 11.15 น. กรุงเทพฯ-ตรัง และเวลา 11.45 น. ตรัง-กรุงเทพฯ ทำให้ผู้โดยสารส่วนหนึ่ง หันไปใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชียแทน
ด้าน นายวรเนติ หล้าพระบาง รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยสมายล์ ในฐานะสายการบินพันธมิตรของนกแอร์ กล่าวว่า ไทยสมายล์ ได้เข้าไปช่วยทำการบิน 4 เที่ยว ในรูปแบบเที่ยวบินเช่าเหมาลำ หรือ ชาร์เตอร์ไฟล์ท มาตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รวมทั้ง การบินไทย และ ไทยไลอ้อนแอร์ ช่วยทำการบิน โดยแต่ละสายการบินจะยึดตารางสายการบินของตนเองเป็นหลักก่อนว่า มีตารางว่างหรือไม่ หากว่างก็จะเข้าไปช่วยบินตามความเหมาะสม ซึ่งจะประเมินสถานการณ์เป็นรายวัน
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. ยืนยัน นกแอร์ ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมายครบถ้วน โดยแจ้งผู้โดยสารล่วงหน้า และให้ผู้โดยสารเลือกใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องการคุ้มครองผู้โดยสารในการคืนตั๋ว เปลี่ยนเที่ยวบิน หรือจัดหาสายการบินอื่นให้เดินทางแทน
ทั้งนี้ ในการประชุม ครม. วันที่ 23 ก.พ.นี้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอแผนการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยด้านการบินทั้งระบบ ซึ่งครอบคลุมการแก้ไขข้อบกพร่องที่เป็นนัยยะสำคัญต่อความปลอดภัย หรือ เอสเอสซี การเพิ่มบุคลากรเพื่อออกใบอนุญาตให้สายการบินใหม่ หรือ AOC (เอโอซี)
รวมทั้งการตรวจสอบชั่วโมงบินของนักบินนกแอร์ หลัง กพท. ส่งเจ้าหน้าเข้าตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
http://news.sanook.com/1953402
นกแอร์ ใช้ชาร์เตอร์ไฟล์ททำการบินถึง 28 ก.พ.นี้
เส้นทางที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ เส้นทางจากดอนเมือง มุ่งหน้าสู่หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง พิษณุโลก เชียงราย อุดรธานี อุบลราชธานี สกลนคร และขอนแก่น แบ่งเป็นเส้นทางละ 2 เที่ยวบิน คือ ทั้งไปและกลับ โดยมีกำหนดยกเลิกจนถึงวันที่ 28 ก.พ.นี้ เนื่องจากอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างองค์กร และนักบินไม่เพียงพอ
การยกเลิกเที่ยวบินดังกล่าว ทำให้ประชาชนใช้บริการสายการบินลดลง โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานตรัง ปกติมี 6 เที่ยวบิน ลดเหลือ 4 เที่ยวบินต่อวัน โดยยกเลิกการบินไป-กลับ ช่วงเวลา 11.15 น. กรุงเทพฯ-ตรัง และเวลา 11.45 น. ตรัง-กรุงเทพฯ ทำให้ผู้โดยสารส่วนหนึ่ง หันไปใช้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชียแทน
ด้าน นายวรเนติ หล้าพระบาง รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายการบินไทยสมายล์ ในฐานะสายการบินพันธมิตรของนกแอร์ กล่าวว่า ไทยสมายล์ ได้เข้าไปช่วยทำการบิน 4 เที่ยว ในรูปแบบเที่ยวบินเช่าเหมาลำ หรือ ชาร์เตอร์ไฟล์ท มาตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รวมทั้ง การบินไทย และ ไทยไลอ้อนแอร์ ช่วยทำการบิน โดยแต่ละสายการบินจะยึดตารางสายการบินของตนเองเป็นหลักก่อนว่า มีตารางว่างหรือไม่ หากว่างก็จะเข้าไปช่วยบินตามความเหมาะสม ซึ่งจะประเมินสถานการณ์เป็นรายวัน
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. ยืนยัน นกแอร์ ปฏิบัติตามขั้นตอนตามกฎหมายครบถ้วน โดยแจ้งผู้โดยสารล่วงหน้า และให้ผู้โดยสารเลือกใช้สิทธิตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องการคุ้มครองผู้โดยสารในการคืนตั๋ว เปลี่ยนเที่ยวบิน หรือจัดหาสายการบินอื่นให้เดินทางแทน
ทั้งนี้ ในการประชุม ครม. วันที่ 23 ก.พ.นี้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอแผนการแก้ไขปัญหาความปลอดภัยด้านการบินทั้งระบบ ซึ่งครอบคลุมการแก้ไขข้อบกพร่องที่เป็นนัยยะสำคัญต่อความปลอดภัย หรือ เอสเอสซี การเพิ่มบุคลากรเพื่อออกใบอนุญาตให้สายการบินใหม่ หรือ AOC (เอโอซี)
รวมทั้งการตรวจสอบชั่วโมงบินของนักบินนกแอร์ หลัง กพท. ส่งเจ้าหน้าเข้าตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
http://news.sanook.com/1953402