กสทฯ คว้า 'บรอดแบนด์หมู่บ้าน' 1.5หมื่นล้าน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
กสทฯแบ่งพื้นที่โครงการวางโครงข่ายบรอดแบนด์ 3 หมื่นหมู่บ้านตามแผนยุทธศาสตร์ดีอี ได้สิทธิโซนเหนือ-อีสาน มูลค่า 1.5 หมื่นล้าน ทั้งบริการใช้ฟรี-คิดราคาย่อมเยา "ไอซีที" สั่งเดินหน้า หลังอนุมัติงบ แบ่ง 2 เฟส พร้อมจ่ายทันทีและเบิกจ่ายเดือน ก.ย.นี้
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าภายใต้การดำเนินโครงการยกระดับโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ มูลค่า 20,000 ล้านบาท ในส่วนการดำเนินการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ไปยัง 30,000 หมู่บ้าน ภายใต้งบประมาณทั้งสิ้น 15,000 ล้านบาทของงบประมาณรวมของโครงการดังกล่าว เพื่อให้โครงข่ายบรอดแบนด์เข้าถึงครบทุกหมู่บ้านในประเทศ หรือ 70,000 หมู่บ้าน ล่าสุดกระทรวงไอซีทีได้มอบหมายให้กสทฯและบมจ.ทีโอที เป็นผู้รับผิดชอบ กสทฯ รับผิดชอบพื้นที่ ภาคเหนือและภาคอีสาน คิดเป็นสัดส่วน 45% ส่วนทีโอทีรับผิดชอบโซนที่เหลือสัดส่วน 55%
ทั้งนี้ งบประมาณดำเนินการได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา ในการจัดทำเป็น พ.ร.บ.งบประประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม พ.ศ.2559 โดยตามที่รับแจ้งเมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว จะได้งบประมาณทั้งหมดเข้ามาทันที และนำเสนอต่อยัง 2 หน่วยงาน เพื่อให้จัดซื้อ อุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินงานคาดเริ่มดำเนินงานได้ภายในเดือนมี.ค.นี้ ทั้งนี้โครงการมีกำหนดระยะเวลา 12 เดือนในการดำเนินงานให้แล้วเสร็จ
พ.อ.สรรพชัย กล่าวว่า รายละเอียดของโครงการจะมีทั้งการพาดสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออพติก) และคลื่นความถี่ ไปยัง พื้นที่เป้าหมายเพื่อใช้งานเป็นการพาด สายไฟเบอร์ออพติกแต่เพียงวิธีเดียวเป็นหลัก เนื่องจากเบื้องต้นเห็นว่า การพาดสายไปยัง พื้นที่ดำเนินการได้ในทุกพื้นที่ แต่หากพื้นที่ใดดำเนินการลำบาก จะปรับเปลี่ยนเป็นการใช้งานด้วยคลื่นความถี่ส่งสัญญาณใช้งานอินเทอร์เน็ตไปยังเสารับ แล้วจึงแปลงสัญญาณเป็นสาย เพื่อลากเข้าบ้านเรือนประชาชน ให้ใช้งาน ในพื้นที่ โดยจะมีจุดให้บริการฟรีไวไฟ 1 จุดทุกจังหวัด ที่เหลือจะให้บริการแบบคิดเงินในราคาย่อมเยา
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวเสริมว่าโครงการบรอดแบนด์ 30,000 หมู่บ้าน เป็นโครงการสำคัญเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานประเทศ แนวทางจัดทำงบประมาณจะเป็นยุทธศาสตร์ 6 ด้านระยะ 20 ปี แบ่งเป็น แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ แผนปฏิรูป นโยบายรัฐบาล นโยบายความมั่นคง และแผนหลักอื่นๆ จะมีการแบ่งเป็นภารกิจพื้นฐาน และภารกิจยุทธศาสตร์ นโยบายเร่งด่วน แนวทางปฏิรูป และงบประมาณบูรณาการ โครงการบรอดแบนด์หมู่บ้านจะอยู่ในภารกิจยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งถือเป็นงานหลักที่ทีโอทีและกสทฯจะต้องดำเนินการ ให้สำเร็จ
ส่วนเรื่องระบบตรวจสอบการทำงานในโครงการนี้ อยู่ระหว่างการเลือกระบบ (โปรเจก แมนเนจเม้นท์ ออฟฟิศ) หรือ พีเอ็มโอ เพื่อนำมาตรวจสอบในการทำงาน ต้องมีตัวแทนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการ และร่วมรับผิดชอบ ทั้งระดับผู้บริหาร รวมถึง กระทรวงในฐานะเป็นเจ้าของโครงการด้วย ซึ่งภายใต้งบ 15,000 ล้านบาท จะเบิกจ่ายให้ ทีโอทีและกสทฯงวดแรกทันทีที่เริ่มดำเนินงาน และงวดที่ 2 ดือนก.ย.นี้ ซึ่งหลังจาก 2 หน่วยงาน ได้รับงบประมาณ ก็จะเริ่มโครงการในทันทีกำหนดแล้วเสร็จใน 12 เดือน
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า 5)
กสทฯ คว้า 'บรอดแบนด์หมู่บ้าน' เหนือ อีสาน 1.5 หมื่นล้าน
กสทฯ คว้า 'บรอดแบนด์หมู่บ้าน' 1.5หมื่นล้าน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
กสทฯแบ่งพื้นที่โครงการวางโครงข่ายบรอดแบนด์ 3 หมื่นหมู่บ้านตามแผนยุทธศาสตร์ดีอี ได้สิทธิโซนเหนือ-อีสาน มูลค่า 1.5 หมื่นล้าน ทั้งบริการใช้ฟรี-คิดราคาย่อมเยา "ไอซีที" สั่งเดินหน้า หลังอนุมัติงบ แบ่ง 2 เฟส พร้อมจ่ายทันทีและเบิกจ่ายเดือน ก.ย.นี้
พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าภายใต้การดำเนินโครงการยกระดับโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ มูลค่า 20,000 ล้านบาท ในส่วนการดำเนินการวางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ไปยัง 30,000 หมู่บ้าน ภายใต้งบประมาณทั้งสิ้น 15,000 ล้านบาทของงบประมาณรวมของโครงการดังกล่าว เพื่อให้โครงข่ายบรอดแบนด์เข้าถึงครบทุกหมู่บ้านในประเทศ หรือ 70,000 หมู่บ้าน ล่าสุดกระทรวงไอซีทีได้มอบหมายให้กสทฯและบมจ.ทีโอที เป็นผู้รับผิดชอบ กสทฯ รับผิดชอบพื้นที่ ภาคเหนือและภาคอีสาน คิดเป็นสัดส่วน 45% ส่วนทีโอทีรับผิดชอบโซนที่เหลือสัดส่วน 55%
ทั้งนี้ งบประมาณดำเนินการได้ผ่านการพิจารณาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา ในการจัดทำเป็น พ.ร.บ.งบประประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม พ.ศ.2559 โดยตามที่รับแจ้งเมื่อผ่านความเห็นชอบแล้ว จะได้งบประมาณทั้งหมดเข้ามาทันที และนำเสนอต่อยัง 2 หน่วยงาน เพื่อให้จัดซื้อ อุปกรณ์ต่างๆ ในการดำเนินงานคาดเริ่มดำเนินงานได้ภายในเดือนมี.ค.นี้ ทั้งนี้โครงการมีกำหนดระยะเวลา 12 เดือนในการดำเนินงานให้แล้วเสร็จ
พ.อ.สรรพชัย กล่าวว่า รายละเอียดของโครงการจะมีทั้งการพาดสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออพติก) และคลื่นความถี่ ไปยัง พื้นที่เป้าหมายเพื่อใช้งานเป็นการพาด สายไฟเบอร์ออพติกแต่เพียงวิธีเดียวเป็นหลัก เนื่องจากเบื้องต้นเห็นว่า การพาดสายไปยัง พื้นที่ดำเนินการได้ในทุกพื้นที่ แต่หากพื้นที่ใดดำเนินการลำบาก จะปรับเปลี่ยนเป็นการใช้งานด้วยคลื่นความถี่ส่งสัญญาณใช้งานอินเทอร์เน็ตไปยังเสารับ แล้วจึงแปลงสัญญาณเป็นสาย เพื่อลากเข้าบ้านเรือนประชาชน ให้ใช้งาน ในพื้นที่ โดยจะมีจุดให้บริการฟรีไวไฟ 1 จุดทุกจังหวัด ที่เหลือจะให้บริการแบบคิดเงินในราคาย่อมเยา
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที กล่าวเสริมว่าโครงการบรอดแบนด์ 30,000 หมู่บ้าน เป็นโครงการสำคัญเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานประเทศ แนวทางจัดทำงบประมาณจะเป็นยุทธศาสตร์ 6 ด้านระยะ 20 ปี แบ่งเป็น แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ แผนปฏิรูป นโยบายรัฐบาล นโยบายความมั่นคง และแผนหลักอื่นๆ จะมีการแบ่งเป็นภารกิจพื้นฐาน และภารกิจยุทธศาสตร์ นโยบายเร่งด่วน แนวทางปฏิรูป และงบประมาณบูรณาการ โครงการบรอดแบนด์หมู่บ้านจะอยู่ในภารกิจยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งถือเป็นงานหลักที่ทีโอทีและกสทฯจะต้องดำเนินการ ให้สำเร็จ
ส่วนเรื่องระบบตรวจสอบการทำงานในโครงการนี้ อยู่ระหว่างการเลือกระบบ (โปรเจก แมนเนจเม้นท์ ออฟฟิศ) หรือ พีเอ็มโอ เพื่อนำมาตรวจสอบในการทำงาน ต้องมีตัวแทนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการ และร่วมรับผิดชอบ ทั้งระดับผู้บริหาร รวมถึง กระทรวงในฐานะเป็นเจ้าของโครงการด้วย ซึ่งภายใต้งบ 15,000 ล้านบาท จะเบิกจ่ายให้ ทีโอทีและกสทฯงวดแรกทันทีที่เริ่มดำเนินงาน และงวดที่ 2 ดือนก.ย.นี้ ซึ่งหลังจาก 2 หน่วยงาน ได้รับงบประมาณ ก็จะเริ่มโครงการในทันทีกำหนดแล้วเสร็จใน 12 เดือน
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 (หน้า 5)