คึกคัก AIS TOT TRUE 3BB LOXLEY แห่งร่วม!! กสทช.เปิดยื่นซองพัฒนาNETเร็วสูงและโทรพื้นฐานจังหวัดพิษณุโลก มูลค่า 283.33 ล้านบาท และที่หนองคาย มูลค่า 122.99 ล้านบาท
ประเด็นหลัก
รายละเอียดของโครงการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะในพิษณุโลก ต้องติดตั้งในหมู่บ้านที่ขาดแคลนบริการตามที่ กสทช.กำหนด 51 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 เลขหมายพร้อมบำรุงรักษาให้ใช้งานได้ตลอด 5 ปี ส่วนที่หนองคายต้องติดตั้ง 6 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 เลขหมาย
ขณะที่ โครงการติดตั้งและให้บริการอินเทอร์เน็ต แบ่งพื้นที่เป็น 3 โซน ได้แก่ พื้นที่โซน C1 คือ พื้นที่ที่มีโครงข่ายใยแก้ว นําแสง (OFC) พาดผ่าน แต่ไม่มีบริการอินเทอร์เน็ต พื้นที่โซน C2 คือ พื้นที่ขาดแคลนบริการแต่ไม่มีอุปสรรคในการติดตั้ง และพื้นที่โซน C3 คือ พื้นที่ขาดแคลนและมีอุปสรรคในการติดตั้งโดยผู้ชนะนอกจากต้องติดตั้งโครงข่าย แล้ว ยังต้องอุดหนุนค่าบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นเวลา 3 ปี (โซน C1 สปีด30/5 Mbps โซน C2 สปีด 2/1 Mbps) และค่าใช้จ่ายของศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนในโซน C2 และ C3 เป็นเวลา 3 ปี ได้แก่ ค่าตอบแทนผู้จัดการ 15,000 บาท/เดือน และค่าสาธารณูปโภค 2,500 บาท/เดือนโดยโครงการในพิษณุโลกต้องติดตั้งและบริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ โซน C1 จำนวน 107 โรงเรียน 37 โรงพยาบาล 6 อบต. พื้นที่โซน C2 44 โรงเรียน 13 โรงพยาบาล 4 อบต. และ 10 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน พื้นที่โซน C3 มี 13 โรงเรียน 4 โรงพยาบาล 3 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน ส่วนในหนองคายต้องติดตั้งและบริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่โซน C1 จำนวน 35 โรงเรียน 4 โรงพยาบาล 4 อบต. โซน C2 23 โรงเรียน 6 โรงพยาบาล 5 อบต. 4 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน และพื้นที่ C3 มี 9 โรงเรียน 3 โรงพยาบาล 2 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน
______________________________________
USOนำร่อง441ล้านเนื้อหอม ลุ้นบิ๊กสื่อสารยื่นซอง26มี.ค.นี้
บริษัท สื่อสารแห่ซื้อซองประกวดราคาโปรเจ็กต์ USO มูลค่า 441 ล้านบาท ของ กสทช.สุดคึกคัก มากันครบทั้ง "ทีโอที-เอไอเอส-ทรู-ทริปเปิลที-ล็อกซเล่ย์" รวมเบ็ดเสร็จถึง 9 บริษัท นับถอยหลังลุ้นยื่นซอง "26 มี.ค." นี้
พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้ดูแลโครงการขยายการให้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังเปิดขายซองประกวดราคาโครงการจัดให้มีบริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต อย่างทั่วถึง ด้วยวิธีประกวดราคา 2 จังหวัดนำร่อง (พิษณุโลก, หนองคาย) เมื่อเดือนที่ผ่านมา มีผู้สนใจซื้อซองทั้งหมด 9 บริษัท
โครงการที่ ได้รับความสนใจคือ การติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในจังหวัดพิษณุโลก มูลค่า 283.33 ล้านบาท และที่หนองคาย มูลค่า 122.99 ล้านบาท มีผู้ซื้อซองถึง 8 บริษัท ได้แก่ บมจ.ทีโอที, บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด (ในเครือเอไอเอส), บมจ.ทริปเปิลทีบรอดแบนด์, บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด, บริษัท ไฟเบอร์นาโนจำกัด, บริษัท กลิสเทน อินเตอร์เทรด จำกัด, บริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวร์เลส จำกัด และบริษัท แอมเน็กซ์ จำกัด
ขณะที่โครงการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะที่หนองคาย มูลค่า 3.73 ล้านบาท มีซื้อซอง 6 บริษัท ได้แก่ บมจ.ทีโอที, บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด, บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์, บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด, บริษัท ไฟเบอร์นาโน และบริษัท กลิสเทน อินเตอร์เทรด ซึ่งทั้งหมดซื้อซองประกวดราคาโครงการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะที่พิษณุโลก มูลค่า 31.73 ล้านบาทด้วย
รวมถึงบริษัท ไอพีเอ็ม อินดัสเทรียล จำกัด โดยในวันที่ 26 มี.ค.นี้จะเปิดให้ยื่นซองทั้งหมดแต่ยังไม่ได้กำหนดวันเปิดซอง
"การหาผู้ชนะจะดูจากวงเงินที่จะให้ กสทช.อุดหนุนต่ำที่สุดในแต่ละโครงการ จากจำนวนผู้ซื้อซองอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ น่าจะช่วยประหยัดงบประมาณจากเพดานราคาที่ตั้งไว้ได้พอสมควร"
รายละเอียดของโครงการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะในพิษณุโลก ต้องติดตั้งในหมู่บ้านที่ขาดแคลนบริการตามที่ กสทช.กำหนด 51 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 เลขหมายพร้อมบำรุงรักษาให้ใช้งานได้ตลอด 5 ปี ส่วนที่หนองคายต้องติดตั้ง 6 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 เลขหมาย
ขณะที่ โครงการติดตั้งและให้บริการอินเทอร์เน็ต แบ่งพื้นที่เป็น 3 โซน ได้แก่ พื้นที่โซน C1 คือ พื้นที่ที่มีโครงข่ายใยแก้ว นําแสง (OFC) พาดผ่าน แต่ไม่มีบริการอินเทอร์เน็ต พื้นที่โซน C2 คือ พื้นที่ขาดแคลนบริการแต่ไม่มีอุปสรรคในการติดตั้ง และพื้นที่โซน C3 คือ พื้นที่ขาดแคลนและมีอุปสรรคในการติดตั้งโดยผู้ชนะนอกจากต้องติดตั้งโครงข่าย แล้ว ยังต้องอุดหนุนค่าบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นเวลา 3 ปี (โซน C1 สปีด30/5 Mbps โซน C2 สปีด 2/1 Mbps) และค่าใช้จ่ายของศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนในโซน C2 และ C3 เป็นเวลา 3 ปี ได้แก่ ค่าตอบแทนผู้จัดการ 15,000 บาท/เดือน และค่าสาธารณูปโภค 2,500 บาท/เดือนโดยโครงการในพิษณุโลกต้องติดตั้งและบริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ โซน C1 จำนวน 107 โรงเรียน 37 โรงพยาบาล 6 อบต. พื้นที่โซน C2 44 โรงเรียน 13 โรงพยาบาล 4 อบต. และ 10 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน พื้นที่โซน C3 มี 13 โรงเรียน 4 โรงพยาบาล 3 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน ส่วนในหนองคายต้องติดตั้งและบริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่โซน C1 จำนวน 35 โรงเรียน 4 โรงพยาบาล 4 อบต. โซน C2 23 โรงเรียน 6 โรงพยาบาล 5 อบต. 4 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน และพื้นที่ C3 มี 9 โรงเรียน 3 โรงพยาบาล 2 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395123760
คึกคัก AIS TOT TRUE 3BB LOXLEY แห่งร่วม!! กสทช.เปิดยื่นซองพัฒนาNETเร็วสูงและโทรพื้นฐานพิษณุโลก283.33ลบ.หนองคาย122.99ลบ.
ประเด็นหลัก
รายละเอียดของโครงการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะในพิษณุโลก ต้องติดตั้งในหมู่บ้านที่ขาดแคลนบริการตามที่ กสทช.กำหนด 51 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 เลขหมายพร้อมบำรุงรักษาให้ใช้งานได้ตลอด 5 ปี ส่วนที่หนองคายต้องติดตั้ง 6 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 เลขหมาย
ขณะที่ โครงการติดตั้งและให้บริการอินเทอร์เน็ต แบ่งพื้นที่เป็น 3 โซน ได้แก่ พื้นที่โซน C1 คือ พื้นที่ที่มีโครงข่ายใยแก้ว นําแสง (OFC) พาดผ่าน แต่ไม่มีบริการอินเทอร์เน็ต พื้นที่โซน C2 คือ พื้นที่ขาดแคลนบริการแต่ไม่มีอุปสรรคในการติดตั้ง และพื้นที่โซน C3 คือ พื้นที่ขาดแคลนและมีอุปสรรคในการติดตั้งโดยผู้ชนะนอกจากต้องติดตั้งโครงข่าย แล้ว ยังต้องอุดหนุนค่าบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นเวลา 3 ปี (โซน C1 สปีด30/5 Mbps โซน C2 สปีด 2/1 Mbps) และค่าใช้จ่ายของศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนในโซน C2 และ C3 เป็นเวลา 3 ปี ได้แก่ ค่าตอบแทนผู้จัดการ 15,000 บาท/เดือน และค่าสาธารณูปโภค 2,500 บาท/เดือนโดยโครงการในพิษณุโลกต้องติดตั้งและบริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ โซน C1 จำนวน 107 โรงเรียน 37 โรงพยาบาล 6 อบต. พื้นที่โซน C2 44 โรงเรียน 13 โรงพยาบาล 4 อบต. และ 10 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน พื้นที่โซน C3 มี 13 โรงเรียน 4 โรงพยาบาล 3 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน ส่วนในหนองคายต้องติดตั้งและบริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่โซน C1 จำนวน 35 โรงเรียน 4 โรงพยาบาล 4 อบต. โซน C2 23 โรงเรียน 6 โรงพยาบาล 5 อบต. 4 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน และพื้นที่ C3 มี 9 โรงเรียน 3 โรงพยาบาล 2 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน
______________________________________
USOนำร่อง441ล้านเนื้อหอม ลุ้นบิ๊กสื่อสารยื่นซอง26มี.ค.นี้
บริษัท สื่อสารแห่ซื้อซองประกวดราคาโปรเจ็กต์ USO มูลค่า 441 ล้านบาท ของ กสทช.สุดคึกคัก มากันครบทั้ง "ทีโอที-เอไอเอส-ทรู-ทริปเปิลที-ล็อกซเล่ย์" รวมเบ็ดเสร็จถึง 9 บริษัท นับถอยหลังลุ้นยื่นซอง "26 มี.ค." นี้
พลเอกสุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้ดูแลโครงการขยายการให้บริการโทรคมนาคมอย่างทั่วถึง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังเปิดขายซองประกวดราคาโครงการจัดให้มีบริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต อย่างทั่วถึง ด้วยวิธีประกวดราคา 2 จังหวัดนำร่อง (พิษณุโลก, หนองคาย) เมื่อเดือนที่ผ่านมา มีผู้สนใจซื้อซองทั้งหมด 9 บริษัท
โครงการที่ ได้รับความสนใจคือ การติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในจังหวัดพิษณุโลก มูลค่า 283.33 ล้านบาท และที่หนองคาย มูลค่า 122.99 ล้านบาท มีผู้ซื้อซองถึง 8 บริษัท ได้แก่ บมจ.ทีโอที, บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด (ในเครือเอไอเอส), บมจ.ทริปเปิลทีบรอดแบนด์, บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด, บริษัท ไฟเบอร์นาโนจำกัด, บริษัท กลิสเทน อินเตอร์เทรด จำกัด, บริษัท ล็อกซเล่ย์ ไวร์เลส จำกัด และบริษัท แอมเน็กซ์ จำกัด
ขณะที่โครงการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะที่หนองคาย มูลค่า 3.73 ล้านบาท มีซื้อซอง 6 บริษัท ได้แก่ บมจ.ทีโอที, บริษัท ซุปเปอร์ บรอดแบนด์ เน็ทเวอร์ค จำกัด, บมจ.ทริปเปิลที บรอดแบนด์, บริษัท ทรู ยูนิเวอร์แซล คอนเวอร์เจ้นซ์ จำกัด, บริษัท ไฟเบอร์นาโน และบริษัท กลิสเทน อินเตอร์เทรด ซึ่งทั้งหมดซื้อซองประกวดราคาโครงการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะที่พิษณุโลก มูลค่า 31.73 ล้านบาทด้วย
รวมถึงบริษัท ไอพีเอ็ม อินดัสเทรียล จำกัด โดยในวันที่ 26 มี.ค.นี้จะเปิดให้ยื่นซองทั้งหมดแต่ยังไม่ได้กำหนดวันเปิดซอง
"การหาผู้ชนะจะดูจากวงเงินที่จะให้ กสทช.อุดหนุนต่ำที่สุดในแต่ละโครงการ จากจำนวนผู้ซื้อซองอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ น่าจะช่วยประหยัดงบประมาณจากเพดานราคาที่ตั้งไว้ได้พอสมควร"
รายละเอียดของโครงการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะในพิษณุโลก ต้องติดตั้งในหมู่บ้านที่ขาดแคลนบริการตามที่ กสทช.กำหนด 51 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 เลขหมายพร้อมบำรุงรักษาให้ใช้งานได้ตลอด 5 ปี ส่วนที่หนองคายต้องติดตั้ง 6 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 2 เลขหมาย
ขณะที่ โครงการติดตั้งและให้บริการอินเทอร์เน็ต แบ่งพื้นที่เป็น 3 โซน ได้แก่ พื้นที่โซน C1 คือ พื้นที่ที่มีโครงข่ายใยแก้ว นําแสง (OFC) พาดผ่าน แต่ไม่มีบริการอินเทอร์เน็ต พื้นที่โซน C2 คือ พื้นที่ขาดแคลนบริการแต่ไม่มีอุปสรรคในการติดตั้ง และพื้นที่โซน C3 คือ พื้นที่ขาดแคลนและมีอุปสรรคในการติดตั้งโดยผู้ชนะนอกจากต้องติดตั้งโครงข่าย แล้ว ยังต้องอุดหนุนค่าบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นเวลา 3 ปี (โซน C1 สปีด30/5 Mbps โซน C2 สปีด 2/1 Mbps) และค่าใช้จ่ายของศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชนในโซน C2 และ C3 เป็นเวลา 3 ปี ได้แก่ ค่าตอบแทนผู้จัดการ 15,000 บาท/เดือน และค่าสาธารณูปโภค 2,500 บาท/เดือนโดยโครงการในพิษณุโลกต้องติดตั้งและบริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ โซน C1 จำนวน 107 โรงเรียน 37 โรงพยาบาล 6 อบต. พื้นที่โซน C2 44 โรงเรียน 13 โรงพยาบาล 4 อบต. และ 10 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน พื้นที่โซน C3 มี 13 โรงเรียน 4 โรงพยาบาล 3 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน ส่วนในหนองคายต้องติดตั้งและบริการอินเทอร์เน็ตในพื้นที่โซน C1 จำนวน 35 โรงเรียน 4 โรงพยาบาล 4 อบต. โซน C2 23 โรงเรียน 6 โรงพยาบาล 5 อบต. 4 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน และพื้นที่ C3 มี 9 โรงเรียน 3 โรงพยาบาล 2 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1395123760