สปสช. จับมือ “สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย – สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร - สมาคมอาคารชุดไทย” เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพใน “หมู่บ้านจัดสรร-อาคารสูง” หลังพบที่ผ่านมายังมี ปชช.เข้าไม่ถึงบริการ เตรียมทำความเข้าใจนิติบุคคล-ร่วมหาบริการที่เหมาะสม
รศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวภายในงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 46 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีความร่วมมือในการเพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของผู้พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรร และที่พักอาคารสูง เนื่องจากที่ผ่านมามีข้อสังเกตเรื่องการเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เฉพาะ เช่น หมู่บ้านจัดสรร และอาคารสูง เพราะจากการสำรวจในบางพื้นที่ พบว่าหลายแห่งมีผู้สูงอายุ หรือกลุ่มเปราะบางอาศัยอยู่คนเดียว สปสช. จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้บริการด้านสุขภาพครอบคลุม
ดังนั้น สปสช. จึงมีการทำความร่วมมือกับสมาคมอสังหาริมทรัพย์ สมาคมสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอาคารชุด ที่มีเครือข่ายทั้งหมู่บ้านจัดสรร และอาคารสูงเป็นสมาชิก โดยใช้เครือข่ายของผู้ประกอบการเป็นประตูในการขยายบริการ และให้หน่วยบริการที่อยู่ในพื้นที่ หรือพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาให้บริการกับประชาชน ทั้งการดูแลรักษาและการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
รศ.ภญ.ดร.ยุพดี กล่าวต่อไปว่า นอกจาก สปสช. จะทำงานร่วมกับภาคเอกชน ยังมีการทำงานร่วมกับภาครัฐ เช่น สปคม. ที่มีต้นแบบการบริการชุมชนในเขตเมือง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ที่จะเข้าไปสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอีกด้วย
“การทำงานร่วมกับทั้ง 3 สมาคมก็จะทำให้เกิดการรับรู้ และเมื่อรับรู้แล้วก็จะมีโอกาสในการเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย ในอนาคตเชื่อว่าการที่เข้ามาร่วมมือกันจะเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นการร่วมมือในชุมชน สุดท้ายเราเชื่อว่าการตอบโจทย์ในเรื่องของการเข้าไม่ถึงบริการ ก็จะต้องนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
รศ.ภญ.ดร.ยุพดี กล่าวต่อด้วยว่า สปสช. มีหน่วยบริการนวัตกรรม 7 ประเภท ได้แก่ ร้านยาคุณภาพ คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น คลินิกเทคนิคการแพทย์ชุมชนอบอุ่น คลินิกกายภาพบำบัดชุมชนอบอุ่น คลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น และคลินิกทันตกรรมชุมชนอบอุ่น ให้บริการตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ให้บริการอยู่แล้ว
ทั้งนี้ หากในหมู่บ้าน หรืออาคารสูงที่มีการให้บริการประเภทใดประเภทหนึ่งเหมือนกับคลินิกเอกชนเหล่านี้ และได้มีการพูดคุยกันแล้วว่าต้องการเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรม สปสช. ก็จะสนับสนุนเรื่องการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) เพื่อให้ประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อต้องรับบริการ
ด้าน นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือว่าเป็นการดำเนินการครั้งแรกระหว่างภาครัฐ และเอกชนในการดูแลสุขภาพประชาชน เพราะที่ผ่านมาในฝั่งของผู้ประกอบการยังไม่ค่อยทราบถึงบริการ โดยเฉพาะบริการเชิงรุกจากภาครัฐที่เข้าถึงประชาชนถึงที่อยู่อาศัย ซึ่งในฐานะของผู้ประกอบการมองความร่วมมือในครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการดูแลสุขภาพของประชาชน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการในโครงการนี้ เบื้องต้นคงจะต้องมีการพูดคุยกับนิติบุคคลของทั้งในหมู่บ้านจัดสรร และอาคารสูงให้ทราบถึงบริการที่เกิดขึ้น เพราะอาจจะมีบางส่วนที่ต้องการบริการ แต่ไม่ทราบว่าตนเองมีสิทธิที่จะได้รับบริการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งอาจมีการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ซึ่งขณะนี้ก็ได้มีการพยายามเชิญชวนสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารนิติบุคคลเข้ามาร่วมกันดำเนินการด้วย
นอกจากนี้ จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีชุมชนอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่บางแห่ง มีการเตรียมพื้นที่เพื่อทำคลินิกสุขภาพ แต่ด้วยปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ทำให้ปัจจุบันพื้นที่แห่งนั้นกลายเป็นพื้นที่รกร้าง แต่ในขณะเดียวกันก็ประชาชนก็ยังต้องการบริการด้านสุขภาพ ซึ่งตอนนี้ก็กำลังดูความเป็นไปได้ว่าจะสามารถใช้คลินิกที่อยู่ในเครือข่ายของ สปสช. ลงไปดำเนินการได้หรือไม่
“สปสช. เองก็มีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อคัดกรองโรคก่อนที่คนจะป่วย แต่ก็ต้องมาดูว่าจะมีการออกแบบกิจกรรมให้ตอบรับ และเหมาะสมกับประชาชนได้อย่างไร เพราะบางพื้นที่ก็อาจจะไม่มีคนอยู่ในวันธรรมดา หากมีการให้บริการเขาก็อาจไม่ได้ใช้งาน” นายพรนริศ กล่าว
ขณะที่ นางนิติรัตน์ พูลสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กล่าวว่า สปคม. เป็นหน่วนงานพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพในพื้นที่เฉพาะ เช่น หมู่บ้านจัดสรร และอาคารสูงในพื้นที่เขตเมือง ผ่านมาตรฐานหมู่บ้านปลอดภัย ประกอบด้วย โครงสร้างปลอดภัย ระบบสาธารณสุข หรือระบบดูแลสุขภาพ ความเข้าใจในโรคภัยสุขภาพของนิติบุคคล และระบบการจัดการโรค ฯลฯ
สำหรับการดำเนินงานในครั้งนี้จะเป็นการทำงานในระยะที่ 2 (2567-2567) หลังจากเริ่มนำร่องในพื้นที่ต่างๆ ทุกเขตสุขภาพมาแล้วเมื่อปี 2563 มากไปกว่านั้นยังเป็นปีแรกที่จะเข้ามาดำเนินการดูแลสุขภาพของประชาชนในทั้งในหมู่บ้านจัดสรร และตึกสูงร่วมกับ สปสช. จากเดิมที่ดูแลเพียงแค่หมู่บ้านจัดสรรเท่านั้น
“ปีนี้เป็นปีที่พิเศษที่เราจะร่วมมือกับ สปสช. ทั้ง 13 เขต ที่จะร่วมมือกันผลิตรูปแบบการดูแลสุขภาพ เพราะ สปสช. มีเครือข่ายหน่วยบริการนวัตกรรมที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” นางนิติรัตน์ กล่าว
อนึ่ง วันเดียวกันนี้ ยังมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของผู้พักอาศัยในกลุ่มหมู่บ้านจัดสรร และอาคารสูง โดยมีผู้แทนชุมชน บ้านจัดสรร และอาคารสูงเข้าร่วมการประชุมในรูปแบบออนไซต์ และออนไลน์ พร้อมทั้งยังมีการจัดนิทรรศการให้ข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ และเชิญชวนคลินิกเอกชนให้เข้ามาร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรม ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่อีกด้วย
https://www.hfocus.org/content/2024/11/32118
ภาครัฐร่วมเอกชน เดินหน้าขยายบริการสุขภาพสู่ ‘หมู่บ้านจัดสรร-อาคารสูง’
รศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวภายในงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 46 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีความร่วมมือในการเพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของผู้พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรร และที่พักอาคารสูง เนื่องจากที่ผ่านมามีข้อสังเกตเรื่องการเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เฉพาะ เช่น หมู่บ้านจัดสรร และอาคารสูง เพราะจากการสำรวจในบางพื้นที่ พบว่าหลายแห่งมีผู้สูงอายุ หรือกลุ่มเปราะบางอาศัยอยู่คนเดียว สปสช. จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้บริการด้านสุขภาพครอบคลุม
ดังนั้น สปสช. จึงมีการทำความร่วมมือกับสมาคมอสังหาริมทรัพย์ สมาคมสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอาคารชุด ที่มีเครือข่ายทั้งหมู่บ้านจัดสรร และอาคารสูงเป็นสมาชิก โดยใช้เครือข่ายของผู้ประกอบการเป็นประตูในการขยายบริการ และให้หน่วยบริการที่อยู่ในพื้นที่ หรือพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาให้บริการกับประชาชน ทั้งการดูแลรักษาและการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
รศ.ภญ.ดร.ยุพดี กล่าวต่อไปว่า นอกจาก สปสช. จะทำงานร่วมกับภาคเอกชน ยังมีการทำงานร่วมกับภาครัฐ เช่น สปคม. ที่มีต้นแบบการบริการชุมชนในเขตเมือง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ที่จะเข้าไปสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอีกด้วย
“การทำงานร่วมกับทั้ง 3 สมาคมก็จะทำให้เกิดการรับรู้ และเมื่อรับรู้แล้วก็จะมีโอกาสในการเข้าถึงบริการเพิ่มมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย ในอนาคตเชื่อว่าการที่เข้ามาร่วมมือกันจะเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นการร่วมมือในชุมชน สุดท้ายเราเชื่อว่าการตอบโจทย์ในเรื่องของการเข้าไม่ถึงบริการ ก็จะต้องนำไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชน” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
รศ.ภญ.ดร.ยุพดี กล่าวต่อด้วยว่า สปสช. มีหน่วยบริการนวัตกรรม 7 ประเภท ได้แก่ ร้านยาคุณภาพ คลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น คลินิกเทคนิคการแพทย์ชุมชนอบอุ่น คลินิกกายภาพบำบัดชุมชนอบอุ่น คลินิกแพทย์แผนไทยชุมชนอบอุ่น และคลินิกทันตกรรมชุมชนอบอุ่น ให้บริการตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ให้บริการอยู่แล้ว
ทั้งนี้ หากในหมู่บ้าน หรืออาคารสูงที่มีการให้บริการประเภทใดประเภทหนึ่งเหมือนกับคลินิกเอกชนเหล่านี้ และได้มีการพูดคุยกันแล้วว่าต้องการเข้าร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรม สปสช. ก็จะสนับสนุนเรื่องการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) เพื่อให้ประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อต้องรับบริการ
ด้าน นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือว่าเป็นการดำเนินการครั้งแรกระหว่างภาครัฐ และเอกชนในการดูแลสุขภาพประชาชน เพราะที่ผ่านมาในฝั่งของผู้ประกอบการยังไม่ค่อยทราบถึงบริการ โดยเฉพาะบริการเชิงรุกจากภาครัฐที่เข้าถึงประชาชนถึงที่อยู่อาศัย ซึ่งในฐานะของผู้ประกอบการมองความร่วมมือในครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการดูแลสุขภาพของประชาชน
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการในโครงการนี้ เบื้องต้นคงจะต้องมีการพูดคุยกับนิติบุคคลของทั้งในหมู่บ้านจัดสรร และอาคารสูงให้ทราบถึงบริการที่เกิดขึ้น เพราะอาจจะมีบางส่วนที่ต้องการบริการ แต่ไม่ทราบว่าตนเองมีสิทธิที่จะได้รับบริการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งอาจมีการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ซึ่งขณะนี้ก็ได้มีการพยายามเชิญชวนสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารนิติบุคคลเข้ามาร่วมกันดำเนินการด้วย
นอกจากนี้ จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีชุมชนอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่บางแห่ง มีการเตรียมพื้นที่เพื่อทำคลินิกสุขภาพ แต่ด้วยปัจจัยบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ทำให้ปัจจุบันพื้นที่แห่งนั้นกลายเป็นพื้นที่รกร้าง แต่ในขณะเดียวกันก็ประชาชนก็ยังต้องการบริการด้านสุขภาพ ซึ่งตอนนี้ก็กำลังดูความเป็นไปได้ว่าจะสามารถใช้คลินิกที่อยู่ในเครือข่ายของ สปสช. ลงไปดำเนินการได้หรือไม่
“สปสช. เองก็มีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อคัดกรองโรคก่อนที่คนจะป่วย แต่ก็ต้องมาดูว่าจะมีการออกแบบกิจกรรมให้ตอบรับ และเหมาะสมกับประชาชนได้อย่างไร เพราะบางพื้นที่ก็อาจจะไม่มีคนอยู่ในวันธรรมดา หากมีการให้บริการเขาก็อาจไม่ได้ใช้งาน” นายพรนริศ กล่าว
ขณะที่ นางนิติรัตน์ พูลสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กล่าวว่า สปคม. เป็นหน่วนงานพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพในพื้นที่เฉพาะ เช่น หมู่บ้านจัดสรร และอาคารสูงในพื้นที่เขตเมือง ผ่านมาตรฐานหมู่บ้านปลอดภัย ประกอบด้วย โครงสร้างปลอดภัย ระบบสาธารณสุข หรือระบบดูแลสุขภาพ ความเข้าใจในโรคภัยสุขภาพของนิติบุคคล และระบบการจัดการโรค ฯลฯ
สำหรับการดำเนินงานในครั้งนี้จะเป็นการทำงานในระยะที่ 2 (2567-2567) หลังจากเริ่มนำร่องในพื้นที่ต่างๆ ทุกเขตสุขภาพมาแล้วเมื่อปี 2563 มากไปกว่านั้นยังเป็นปีแรกที่จะเข้ามาดำเนินการดูแลสุขภาพของประชาชนในทั้งในหมู่บ้านจัดสรร และตึกสูงร่วมกับ สปสช. จากเดิมที่ดูแลเพียงแค่หมู่บ้านจัดสรรเท่านั้น
“ปีนี้เป็นปีที่พิเศษที่เราจะร่วมมือกับ สปสช. ทั้ง 13 เขต ที่จะร่วมมือกันผลิตรูปแบบการดูแลสุขภาพ เพราะ สปสช. มีเครือข่ายหน่วยบริการนวัตกรรมที่ประชาชนสามารถเข้าไปใช้บริการได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” นางนิติรัตน์ กล่าว
อนึ่ง วันเดียวกันนี้ ยังมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของผู้พักอาศัยในกลุ่มหมู่บ้านจัดสรร และอาคารสูง โดยมีผู้แทนชุมชน บ้านจัดสรร และอาคารสูงเข้าร่วมการประชุมในรูปแบบออนไซต์ และออนไลน์ พร้อมทั้งยังมีการจัดนิทรรศการให้ข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์ และเชิญชวนคลินิกเอกชนให้เข้ามาร่วมเป็นหน่วยบริการนวัตกรรม ตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่อีกด้วย
https://www.hfocus.org/content/2024/11/32118