เมื่อศาลฎีกาอ่านพิพากษาแล้ว สามรถยื่นแถลง ยื่นขอได้หรือไม่

สวัสดีค่ะ ดิฉันมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการจัดตั้งผู้จัดการมรดก ขอเริ่มเรื่องเลยนะคะ
                นับตั้งแต่วันที่พ่อซึ่งเป็นเจ้าของมรดกเสียชีวิต ไม่มีการเปืดพินัยกรรมใดๆทั้งสิ้น ต่อมาลูกเมียที่ 1 ทั้ง 6 คนพร้อมใจให้นายเอ ยื่นเป็นผู้จัดการมรดก ยกเว้นนางดีไม่เห็นด้วยเพราะกลัวโดนโกง (นางดีพูดเอง)
                นายเอ ยื่นจัดการมรดกต่อศาล แต่มีนางบี นางซี(ลูกเมียที่ 2) ยื่นขอค้านจัดการมรดกและแนบพินัยกรรมต่อศาลชั้นต้น โดยระบุว่านางบีและซีได้มรดกทั้งหมด ศาลตัดสินให้นางบีและซีเป็นผู้จัดการมรดก

ศาลอุทธรณ์ นางดี (ลูกเมียที่ 1) ยื่นเป็นผู้คัดค้านที่ 3 ขอเป็นผู้จัดการมรดกร่วม ศาลให้เป็นร่วม เนื่องจากนางดีฟ้องนางบีว่าทรัพย์มรดกเป็นของนางดีครึ่งนึง โดยอ้างว่าทำร่วมมากับพ่อ

ศาลฎีกา ประมาณกลางปี 58 ศาลนัดฟังคำพิพากษา แต่นางดีได้ถอนทนาย ศาลจึงเลื่อนฟังวันนัด เป็นเดือนก.พ. 59 เมื่อศาลอ่านคำพิพากษายืนตามชั้นอุทธรณ์ นางดียื่นขอแถลง ขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดกร่วม และได้ทำบันทึกข้อตกลงกับนางบีและซี โดยมีเนื้อหาว่า ยกที่ 2 ไร่ ให้นางดีพร้อมเงิน 2.5 ล้านบาท และให้ดูแลพื้นที่ให้เช่าทั้งหมด โดยใน 2 ปีแรก ไม่เก็บค่าเช่า พร้อมทำสัญญา 10 ปี ศาลนัดไต่สวนอีกครั้งในเดือนมีนาคมนี้

คำถามคือ 1. นางบี นางซีและนางดีสามารถตกลงกันแบบนี้ได้หรือไม่
              2. เรื่องทรัพย์มรดก มีการฟ้องร้องระหว่างลูกเมียที่ 1 กับ ผู้รับมรดก(ลูกเมียที่2) ยังอยู่ระหว่างฎีกาและมีคำสั่งคุ้มครองให้ลูกเมียที่ 1 ดูแลจนกว่าคดีจะถึงที่สุด แล้วคำสั่งผู้จัดการมรดกจะใช้ได้เลยหรือไม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
คำถามคือ

1. นางบี นางซีและนางดีสามารถตกลงกันแบบนี้ได้หรือไม่
--- ข้อตกลงนี้ทายาททุกคนให้การยินยอมหรือเปล่า
              
2. เรื่องทรัพย์มรดก มีการฟ้องร้องระหว่างลูกเมียที่ 1 กับ ผู้รับมรดก(ลูกเมียที่2) ยังอยู่ระหว่างฎีกาและมีคำสั่งคุ้มครองให้ลูกเมียที่ 1 ดูแลจนกว่าคดีจะถึงที่สุด แล้วคำสั่งผู้จัดการมรดกจะใช้ได้เลยหรือไม่

---การฟ้องร้อง  เรืองทรัพย์มรดกนั้น เป็นลักษณะใด  ศาลคุ้มครองเรื่องอะไร ก็เป็นไป ตามมาตรา 264

งง เรื่อง ลูกเมียที่1 กับ ผู้รับมรดก ลูกเมียที่ 2   แสดงว่าลูกเมียที่ 1 ไม่ได้รับมรดก หรืออย่างไร
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่