ช่วยหาswotของ ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ขออภัยถ้าแท็กห้องผิด

กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ๑. สภาวะแวดล้อมของการพัฒนา
การพัฒนาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้ส่งผลให้ประเทศไทยมีระดับของการพัฒนาที่สูงข้ึนตามลาดับ โดยถูก จัดอยู่ในกลุ่มประเทศระดับรายได้ปานกลางมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ และได้ขยับสูงขึ้นมาอยู่ในกลุ่มบนของกลุ่ม ประเทศระดับรายได้ปานกลางตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ โดยมีรายได้ประชาชาติต่อหัวเท่ากับ ๔,๓๒๐ ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี และล่าสุดในปี ๒๕๕๗ รายได้ประชาชาติต่อหัวเพ่ิมข้ึนเป็น ๕,๗๓๙๑ ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี โดยที่ฐานการผลิตมีความหลากหลายมากขึ้น มีลักษณะโครงสร้างของประเทศก่ึงอุตสาหกรรม ฐานการส่งออก ใหญ่ข้ึนตามลาดับ หลายสาขาการผลิตและบริการมีขีดความสามารถในการแข่งขันและส่วนแบ่งในตลาดโลก มากขึ้น อาทิ กลุ่มยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟูา อุตสาหกรรมอาหารสินค้าเกษตร การท่องเที่ยว และบริการด้านสุขภาพ ในขณะท่ีความร่วมมือระหว่างประเทศของไทยท้ังในรูปของทวิภาคีและพหุพาคี มีความคืบหน้าไปมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้กรอบแผนงานความร่วมมือIMT-GT GMS และASEAN ในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเชื่อมโยง (Connectivity) และการผลักดันให้เกิดเป็นการ พัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจร่วมกันที่มีความคืบหน้าเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ฐานเศรษฐกิจที่พัฒนากว้างขวางหลากหลายมากข้ึนส่งผลให้ประชากรวัยแรงงานมีงานทาเป็นจานวน เพิ่มขึ้นตามลาดับ โดยในปัจจุบันมีจานวนการจ้างงานรวม ๓๘.๑ ล้านคน จากประชากรวัยแรงงานทั้งหมด ๓๘.๖ ล้านคน และการว่างงานมีอัตราเฉล่ียไม่ถึงร้อยละ ๑ ปัญหาความยากจนลดลงตามลาดับ จากร้อยละ ๒๐.๐ในปี๒๕๕๐เป็นร้อยละ๑๐.๙ในปี๒๕๕๖ คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกระดับ โดยที่โอกาสการได้รับ การศึกษา บริการสาธารณสุข บริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และการคุ้มครองทางสังคมอื่น ๆ รวมถึงการเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ มีความครอบคลุมมากข้ึนและคุณภาพดีข้ึนตามลาดับ
นอกจากนั้น ประสบการณ์ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินในปี ๒๕๔๐ – ๒๕๔๑ ได้ส่งผลให้ภาครัฐ และภาคเอกชนมีการปรับตัวในการบริหารความเส่ียงและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้นบนหลักการของการบริหาร จัดการที่ดี โดยการดาเนินการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส รับผิดรับชอบและตรวจสอบได้อย่างเป็นระบบดีข้ึน ในขณะท่ีการบริหารเศรษฐกิจมหภาคของประเทศก็มีการปรับเปล่ียนไปในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบนโยบายการเงินท่ีมีการปรับให้สอดคล้องกับลักษณะโครงสร้างและพฤติกรรม ทางเศรษฐกิจมากข้ึน มีการกากับดูแลวินัยทางการเงินการคลังดีขึ้น ฐานะการคลังมีความมั่นคงมากขึ้น และ ฐานะเงินสารองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงท่ีเอ้ืออานวยต่อการบริหารความเสี่ยงได้คล่องตัวขึ้นและ การดาเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนมีความยืดหยุ่นได้มากข้ึน
แม้ว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความมั่นคง และการต่างประเทศ รวมท้ังกฎระเบียบ ต่าง ๆ ของประเทศไทยมีความก้าวหน้าและเป็นท่ียอมรับและเชื่อมั่นในระดับนานาชาติมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันผลของการพัฒนาที่ผ่านมาได้ส่งผลให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองยังมี ความอ่อนแอในหลายด้านที่เป็นความเสี่ยงต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาว ในด้านเศรษฐกิจ โครงสร้าง ทางเศรษฐกิจได้ปรับเปล่ียนจากฐานเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรมและบริการท่ีเน้นการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยมีการลงทุนจากต่างประเทศเป็นปัจจัยสาคัญ การขยายฐานอุตสาหกรรมและ
๑ ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูล GNI per Capita (GDP per Capita อยู่ท่ี ๖,๐๔๑ ดอลลาร์ สรอ. ต่อหวั ต่อปี) โดย สศช. สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(ร่าง ๘ ก.ค. ๒๕๕๘)

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วในอดีตที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบันอาศัยความได้เปรี ยบด้านแรงงาน ค่าแรงต่าความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากร และความหละหลวมด้านกฎระเบียบ และมาตรฐานต่าง ๆ เป็นปัจจัยหลักในสนับสนุนการผลิตและการบริการต้นทุนต่า และอาศัยการแข่งขันด้านราคาในตลาดโลก เพื่อมุ่งสร้างรายได้จากการส่งออกในตลาดโลกเป็นหลัก ดังน้ัน ประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงที่จะสูญเสีย ขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกภายใต้สถานการณ์และแนวโน้มท่ีการแข่งขันในตลาดโลก มีความเข้มข้นมากขึ้นและต้นทุนการผลิตในประเทศไทยสูงข้ึนตามต้นทุนค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นเพราะขาดแคลน แรงงาน เช่นเดียวกับต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนด้านบริหารจัดการและโลจิสติกส์ที่สูงข้ึน เน่ืองจากการประกอบ ธุรกิจ การค้าและการพัฒนาความเป็นอยู่โดยใช้ทรัพยากรเป็นหลักทาให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถูกใช้และทาลายร่อยหรอและเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วโดยที่การฟื้นฟูและทดแทนมีความล่าช้าไม่เท่าทัน ในขณะที่การลงทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพ้ืนฐานและระบบโลจิสติกส์ต่าง ๆ ยังไม่เพียงพอและขาดคุณภาพ ในหลายด้านและในหลายพ้ืนที่ทาให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์สูงข้ึน
นอกจากน้ัน การลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่จะนาไปสู่ การพัฒนานวัตกรรมมีน้อยทาให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง ในตลาดโลกซึ่งความต้องการสินค้ากลุ่มคุณภาพและรูปแบบจูงใจเพ่ิมขึ้นเร็วกว่า และหลายกลุ่มประเทศมี ความสามารถในการเข้ามาแข่งขันในตลาดกลางและล่างมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์และอิทธิพลทาง การเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการผลักดันนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อเฉพาะกลุ่ม และ การแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างไม่ได้รับความสาคัญเท่าท่ีควร การแก้ปัญหาภาคเกษตรมักดาเนินการด้วย มาตรการระยะสั้น ในขณะท่ีผลิตภาพการผลิตต่าและพัฒนาได้ช้า การนาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยใน ภาคการเกษตรเป็นไปเพียงช้า ๆ การขยายตัวด้านการเกษตรมักจะขึ้นอยู่กับสภาพดินฟูาอากาศเป็นหลัก ดังนั้น ภายใต้ความเสี่ยงจากการเปล่ียนแปลงสภาวะภูมิอากาศที่ผันผวนและข้อจากัดด้านการบริหารจัดการน้า ภายในประเทศ ประเทศไทยจึงเผชิญกับความท้าทายมากข้ึนในการที่จะสร้างความมั่นคงด้านอาหารท่ีนอกจาก จะหมายถึงการมีปริมาณท่ีเพียงพอแล้วยังหมายรวมถึงการมีระดับราคาที่สามารถเข้าถึงได้สาหรับประชาชน ทุกกลุ่ม
สถานการณ์ดังกล่าวนอกจากจะสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจแล้วยังสะท้อนปั ญหา เชิงโครงสร้างด้านสังคมและการเมืองด้วยเช่นกัน นั่นคือ การพัฒนาในหลายทศวรรษท่ีผ่านมามุ่งขยาย ฐานกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในภาพรวมของประเทศ โดยที่การพัฒนาทางสังคมมีความล่าช้ากว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านคุณภาพการศึกษา บริการสาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐานท่ีขาดความครอบคลุม ท้ังในด้านปริมาณและคุณภาพ จึงส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ไม่ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพ อย่างเท่าเทียมกันในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนั้น การผลักดันขับเคลื่อนนโยบายเพ่ือเกิดการกระจายรายได้และโอกาส ทางเศรษฐกิจโดยมุ่งเน้นการใช้มาตรการด้านอื่น ๆ จึงมิได้สัมฤทธ์ิผล โอกาสทางเศรษฐกิจท่ีเกิดข้ึน ในภาคอุตสาหกรรมและบริการที่ต้องอาศัยพื้นฐานของการใช้ความรู้และทักษะในระดับสูงจึงกระจุกตัวอยู่ใน เฉพาะเพียงบางกลุ่ม ประกอบกับอุตสาหกรรมและบริการที่อาศัยการใช้แรงงานระดับทักษะต่าที่เข้มข้นมี สัดส่วนสูง และราคาและปริมาณผลผลิตทางการเกษตรมีความผันผวน ดังนั้น ผลตอบแทนของกลุ่มแรงงาน ทักษะต่าและเกษตรกรจึงต่ากว่ากลุ่มอื่น ๆ มาก นอกจากน้ัน ระบบเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจภาคนอก ทางการ (informal sector) มากกว่าคร่ึงหนึ่ง และการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดย่อมยังขาดการบูรณาการเป็นระบบ ทาให้การผลักดันขับเคลื่อนการเพิ่มผลิตภาพ การผลิตและการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการวิจัยและการพัฒนาเพ่ือการพัฒนานวัตกรรมยังกระจุกตัวในกลุ่ม ของผู้ประกอบการรายใหญ่ในภาคทางการเป็นสาคัญ

สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แรงกดดันด้านเศรษฐกิจและการสร้างรายได้ได้ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยที่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ต้องดิ้นรนทามาหาเล้ียงชีพ เกิดการย้ายถิ่นกันเข้ามาทางานในเมืองใหญ่ส่งผลให้สถาบันครอบครัวแตกแยก และชุมชนอ่อนแอจานวนมาก เกิดเป็นปัญหาความยากจนในเมือง และที่สาคัญได้นาไปสู่การเกิดปัญหาวิกฤต ของสังคมที่คนส่วนใหญ่มีค่านิยมท่ียึดถืออานาจจากความร่ารวย วัตถุนิยม บริโภคนิยม ขาดความตระหนัก และสานึกถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมและสังคม รากฐานทางสังคมและวัฒนธรรมท่ีดีงามของไทยจึงอ่อนแอ ลง เกิดความรุนแรงในสังคมบ่อยคร้ังและการใช้สันติวิธีไม่ได้ผล ในขณะท่ีสถาบันทางสังคมทั้งบ้าน วัด และ โรงเรียนมบีทบาทที่อ่อนด้อยลง
ในอนาคตข้างหน้า การพัฒนาประเทศไทยเพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นประเทศที่มีความมั่นคงในทุกด้าน ประชาชนมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และการพัฒนาประเทศย่ังยืนในทุกมิติ จะเผชิญกลางความเสี่ยงและ ความท้าทายหลายประการทั้งจากเงื่อนไขภายในและภายนอกประเทศที่สาคัญ ดังนี้
ปัจจัยและเงื่อนไขภายในประเทศ ได้แก่ (๑) การเปล่ียนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างสมบูรณ์ในระยะเวลา๑๕–๒๐ ปีต่อจากนี้ไปจะมีนัยยะที่สาคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศกาลังคน ในวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ย่อมส่งผลต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจของ ประเทศ รูปแบบการใช้จ่าย การลงทุนและการออม ตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ความมั่นคงทางสังคมและ คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (๒) ข้อจากัดด้านทรัพยากร ทั้งด้านแรงงานและทรัพยากรธรรมชาติที่มีนัยยะต่อต้นทุน การผลิตและสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของประชาชน (๓) ปัญหาความเหลื่อมล้าในมิติต่าง ๆ ท่ีมีนัยยะต่อ การสร้างความสามัคคีสมานฉันท์ในสังคม ความจาเป็นในการลงทุนเพ่ือยกระดับบริการทางสังคมและ โครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพอย่างท่ัวถึง และการปฏิรูปกฎระเบียบและกฎหมายที่ทาให้เกิดความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้า และ (๔) ความอ่อนแอของการบริหารราชการแผ่นดิน ท่ีมีนัยยะต่อความจาเป็นในการ ปฏิรูประบบราชการและการเมืองเพื่อให้เกิดการบริหารราชการที่ดี
สาหรับเง่ือนไขภายนอกที่สาคัญและท้าทายต่ออนาคตของประเทศไทย ในระยะ ๒๐ ปีข้างหน้า ที่สาคัญๆได้แก่(๑) กระแสโลกาภิวัตน์ท่ีเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความเสี่ยงและท้าทายมากขึ้นจาก การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีและรวดเร็วของผู้คน เงินทุน ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้และเทคโนโลยี และสินค้าและ บริการ(๒) การรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคนาไปสู่ความเชื่อมโยงทุกระบบในขณะท่ีศูนย์รวมอานาจทาง เศรษฐกิจโลกเคลื่อนย้ายมาสู่เอเชีย (๓) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของโลกส่งผลให้เกิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ แต่มีความเสี่ยงให้เกิดการแย่งชิงแรงงานและเงินทุน (๔) เทคโนโลยีท่ีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruptive technology) จะกระทบกับธุรกิจและการดารงชีวิตของคน (๕) ภาวะโลกร้อนก่อให้เกิด ภัยธรรมชาติท่ีทวีความรุนแรงเพิ่มมากข้ึน (๖) น้ามันมีปริมาณลดลง ราคาแพงขึ้น และการผลิตพืชพลังงาน ทดแทนจะส่งผลกระทบต่อความม่ันคงทางอาหารของโลก (๗) ความเป็นเมืองท่ีเติบโตอย่างต่อเนื่อง และ (๘) การยึดถอื หลักการบริหารจัดการท่ีดีและระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนท่ีมีความเข้มข้นมากขึ้น
จากสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของประเทศทั้งที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน บริบทและเงื่อนไข การพัฒนาท้ังภายในประเทศและภายนอกดังกล่าว การพัฒนาประเทศสู่เปูาหมายความม่ันคง ม่ังค่ัง และยั่งยืน จาเป็นจะต้องกาหนดเปูาหมายและยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว เพ่ือถ่ายทอดสู่การปฏิบัติในแต่ละช่วงเวลา อย่างบูรณาการ และสร้างความเข้าใจและร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งประชาชน เอกชน ประชาสังคม ให้ร่วมกันเดินไปสู่เปูาหมายของชาติในระยะยาว

สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

๒. ยุทธศาสตร์ชาติ
ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง ย่ังยืน” ที่ต้องการให้ประเทศมีขีดความสามารถ ในการแข่งขัน คนไทยมีความสุข อยู่ดี กินดี สังคมมีความม่ันคง เสมอภาคและเป็นธรรม ประกอบด้วย ๕ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (๒) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (๓) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม (๔) ยุทธศาสตร์ด้านการเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ (๕) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่