.
เหาะเหินเกินลงกา เป็นสำนวนไทย ที่มาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ที่เปรียบเปรยถึงการกระทำที่เกินความจำเป็น ดั่งที่ท้องเรื่องกล่าวถึง เมื่อพระรามเดินทัพวานรจากเมืองขีดขินของสุครีพ เพื่อติดตามหานางสีดาที่ทศกัณฐ์เจ้ากรุงลงกาลักพาไป แล้วกองทัพพระรามเดินทางมาถึงตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่ริมฝั่งมหาสมุทร แต่ยังหาทางไปไม่ได้เพราะลงกาเป็นเกาะที่อยู่กลางมหาสมุทร ห่างจากแผ่นดินมากไกลมาก พระรามจึงสั่งให้ทหารเอก ไปสืบดูให้แน่ว่าเกาะลงกาตั้งอยู่ยังทิศทางใด
โดยบัญชาให้ องคต ชมพูพาน และหนุมาน เป็นผู้รับหน้าที่นี้ ทั้ง 3 พญาวานรได้พบพญานกสัมพาทีที่ภูเขาเหมติรัน พญานกสัมพาทีพา 3 วานรบินเร่ร่อนไปในมหาสมุทร
ครั้นถึงเขาคันธสิงขร.......ก็ราร่อนชี้บอกราชฐาน
โน่นแน่ลงกากรุงมาร.......เป็นประธานในกลางสมุทรไท
ดังหนึ่งจอกน้อยลอยอยู่ .......แลหาดูใคร่เห็นไม่
ท่ามกลางนิเวศเวียงชัย .......มีเขาหนึ่งใหญ่มหึมา
"เป็นหลักลงกาทวีปอสุรินทร์ .......ชื่อนิลกาลาภูผา
ท่านจงสำคัญให้มั่นตา.......นั่นคือ "ลงกา" ธานี
เมื่อกำหนดทิศทางเมืองลงกาแน่นอนแล้ว พญานกสัมพาทีก็พา 3 วานรกลับมาส่งที่ภูเขาเหิมติรันบนฝั่งแผ่นดินใหญ่ตามเดิม จากนี้หนุมานก็ทิ้งองคตกับชมพูพานไว้ที่นั่น ตัวเองเหาะไปลงกาแต่ลำพัง ปรากฏว่า ไปผิดทางจนไปพบพระนารทฤๅษีซึ่งตั้งสำนักอยู่ที่เขาโสฬส จนพระฤาษีต้องชี้ทางให้ย้อนกลับ เพราะหนุมานเหินหาวมาไกลเกินกรุงลงกามาก
กว่าจะสำเร็จดังหมาย ต้องเสียเวลาและกำลังมากมาย คำว่าเหาะเหินเกินลงกา จึงเป็นสำนวนเปรียบเทียบถึง คนที่ทำอะไรเกินพอดี
หนุมาน เป็นพญาวานรที่คะนองในฤทธาของตนเอง หลงคะนองจนเกือบเสียการใหญ่หลายครั้งหลายหน แต่นั้นก็เป็นแค่เรื่องในวรรณคดีที่อ่านแล้วแค่จดจำไว้สอนใจเท่านั้น แต่คนบางคนคงไม่เคยอ่าน หรือเคยอ่านแต่ไม่คิด จึงพยายามได้ปั้นแต่งให้ ศาล รัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระเฉพาะกาล มีอำนาจล้นฟ้า ยิ่งใหญ่คับระอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ไม่จำเป็นต้องสนโลกสากล เพราะเราเป็นคนไทย ที่อยู่กันแบบไทยๆ
การถือกำเนิด ขององค์กรอิสระที่ชื่อ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่จำเป็นต้องยึดถือประเทศต้นแบบที่เราไปลอกเขามาอย่าง เยอรมัน หน้าที่ของ องกรอิสระแห่งนี้ จึงผิดแผกไปกว่าศาลรัฐธรรมนูญทุกที่ในโลก ที่มีหน้าที่เพียงวินิฉัยข้อกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ให้ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจเหมือนศาลรัฐธรรมนูญของไทย
ถ้าเหมือนใคร ก็ไม่ใช่คนไทยสิ
ดังนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดแรก ที่ตั้งขึ้นด้วยรัฐธรรมนูญ 2550 จึงตีความขยายขอบเขตอำนาจของตนเองออกไป จนดูจะยิ่งใหญ่และมีอำนาจเหนือ 3 สถาบันหลักในระบอบประชาธิปไตย อย่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายนิติบัญญัติ ทำตนเป็นผู้ปกครองของ ฝ่ายอำนาจหลักทั้งสาม ที่จะทำอะไรต้องมารายงานและขอความเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญก่อน
นั้นคือการกระทำในลักษณะ เหาะเหินเกินลงกา ของศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2550
แต่ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ที่ร่างโดย คณะของนาย มีชัย ฤชุพันธ์
กลับบัญญัติอำนาจที่ศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อนที่ตีความด้วยตนเอง มาใส่ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร
ผมอ่านแล้ว ต้องอุทานดังๆว่า ...เฮ้ย...เอาจริง เด้.....
ลำพังแค่มีคนที่ชอบทำอะไรเกินหน้าที่ ก็สร้างปัญหาให้ชาติบ้านเมืองมามากแล้ว
แล้วนี้ยังมีคนคอยให้ท้ายอีก ก็คงจะคะนองในอำนาจกันไปอีกนาน
และไม่มีทางที่ประเทศไทย จะไปถึงกรุงลงกาได้หรอกไม่มีทางได้เจอนางสีดาอย่างที่หวัง เพราะเรายังต้องเสียเวลากับ พญาหนุมาน พวกนี้อีกนาน
(นายพระรอง) บทความการเมือง ตามท้องเรื่องรามเกียรติ์ ตอนที่1 เหาะเหินเกินลงกา
เหาะเหินเกินลงกา เป็นสำนวนไทย ที่มาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ที่เปรียบเปรยถึงการกระทำที่เกินความจำเป็น ดั่งที่ท้องเรื่องกล่าวถึง เมื่อพระรามเดินทัพวานรจากเมืองขีดขินของสุครีพ เพื่อติดตามหานางสีดาที่ทศกัณฐ์เจ้ากรุงลงกาลักพาไป แล้วกองทัพพระรามเดินทางมาถึงตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่ริมฝั่งมหาสมุทร แต่ยังหาทางไปไม่ได้เพราะลงกาเป็นเกาะที่อยู่กลางมหาสมุทร ห่างจากแผ่นดินมากไกลมาก พระรามจึงสั่งให้ทหารเอก ไปสืบดูให้แน่ว่าเกาะลงกาตั้งอยู่ยังทิศทางใด
โดยบัญชาให้ องคต ชมพูพาน และหนุมาน เป็นผู้รับหน้าที่นี้ ทั้ง 3 พญาวานรได้พบพญานกสัมพาทีที่ภูเขาเหมติรัน พญานกสัมพาทีพา 3 วานรบินเร่ร่อนไปในมหาสมุทร
โน่นแน่ลงกากรุงมาร.......เป็นประธานในกลางสมุทรไท
ดังหนึ่งจอกน้อยลอยอยู่ .......แลหาดูใคร่เห็นไม่
ท่ามกลางนิเวศเวียงชัย .......มีเขาหนึ่งใหญ่มหึมา
"เป็นหลักลงกาทวีปอสุรินทร์ .......ชื่อนิลกาลาภูผา
ท่านจงสำคัญให้มั่นตา.......นั่นคือ "ลงกา" ธานี
เมื่อกำหนดทิศทางเมืองลงกาแน่นอนแล้ว พญานกสัมพาทีก็พา 3 วานรกลับมาส่งที่ภูเขาเหิมติรันบนฝั่งแผ่นดินใหญ่ตามเดิม จากนี้หนุมานก็ทิ้งองคตกับชมพูพานไว้ที่นั่น ตัวเองเหาะไปลงกาแต่ลำพัง ปรากฏว่า ไปผิดทางจนไปพบพระนารทฤๅษีซึ่งตั้งสำนักอยู่ที่เขาโสฬส จนพระฤาษีต้องชี้ทางให้ย้อนกลับ เพราะหนุมานเหินหาวมาไกลเกินกรุงลงกามาก
กว่าจะสำเร็จดังหมาย ต้องเสียเวลาและกำลังมากมาย คำว่าเหาะเหินเกินลงกา จึงเป็นสำนวนเปรียบเทียบถึง คนที่ทำอะไรเกินพอดี
หนุมาน เป็นพญาวานรที่คะนองในฤทธาของตนเอง หลงคะนองจนเกือบเสียการใหญ่หลายครั้งหลายหน แต่นั้นก็เป็นแค่เรื่องในวรรณคดีที่อ่านแล้วแค่จดจำไว้สอนใจเท่านั้น แต่คนบางคนคงไม่เคยอ่าน หรือเคยอ่านแต่ไม่คิด จึงพยายามได้ปั้นแต่งให้ ศาล รัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระเฉพาะกาล มีอำนาจล้นฟ้า ยิ่งใหญ่คับระอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ไม่จำเป็นต้องสนโลกสากล เพราะเราเป็นคนไทย ที่อยู่กันแบบไทยๆ
การถือกำเนิด ขององค์กรอิสระที่ชื่อ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่จำเป็นต้องยึดถือประเทศต้นแบบที่เราไปลอกเขามาอย่าง เยอรมัน หน้าที่ของ องกรอิสระแห่งนี้ จึงผิดแผกไปกว่าศาลรัฐธรรมนูญทุกที่ในโลก ที่มีหน้าที่เพียงวินิฉัยข้อกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ให้ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจเหมือนศาลรัฐธรรมนูญของไทย
ถ้าเหมือนใคร ก็ไม่ใช่คนไทยสิ
ดังนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดแรก ที่ตั้งขึ้นด้วยรัฐธรรมนูญ 2550 จึงตีความขยายขอบเขตอำนาจของตนเองออกไป จนดูจะยิ่งใหญ่และมีอำนาจเหนือ 3 สถาบันหลักในระบอบประชาธิปไตย อย่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และฝ่ายนิติบัญญัติ ทำตนเป็นผู้ปกครองของ ฝ่ายอำนาจหลักทั้งสาม ที่จะทำอะไรต้องมารายงานและขอความเห็นชอบจากศาลรัฐธรรมนูญก่อน
นั้นคือการกระทำในลักษณะ เหาะเหินเกินลงกา ของศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2550
แต่ร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ที่ร่างโดย คณะของนาย มีชัย ฤชุพันธ์
กลับบัญญัติอำนาจที่ศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อนที่ตีความด้วยตนเอง มาใส่ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร
ผมอ่านแล้ว ต้องอุทานดังๆว่า ...เฮ้ย...เอาจริง เด้.....
ลำพังแค่มีคนที่ชอบทำอะไรเกินหน้าที่ ก็สร้างปัญหาให้ชาติบ้านเมืองมามากแล้ว
แล้วนี้ยังมีคนคอยให้ท้ายอีก ก็คงจะคะนองในอำนาจกันไปอีกนาน
และไม่มีทางที่ประเทศไทย จะไปถึงกรุงลงกาได้หรอกไม่มีทางได้เจอนางสีดาอย่างที่หวัง เพราะเรายังต้องเสียเวลากับ พญาหนุมาน พวกนี้อีกนาน