"เป็นคนดีต้องไม่มีอะไรด่างพร้อย" หรือ "สินค้าดีต้องไม่มีรอยตำหนิ"
มันเป็นค่านิยมที่ผู้ใหญ่มักปลูกฝังเราตั้งแต่ยังเด็ก คือเข้าใจว่าใครๆ ก็อยากให้ลูกหลานของตัวเองเป็นคนดีทั้งนั้น เลยทำให้เกิดการเลี้ยงดูแบบ "ไข่ในหิน" คือพยายามตีกรอบ ตั้งกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตของเรา เช่น ห้ามกลับดึก (เด็กที่ยังอยู่นอกบ้านในตอนกลางคืนมักจะถูกมองว่ามั่วสุม) ต้องไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ คบแต่เพื่อนที่เป็นเด็กเรียน (ตามค่านิยมของสำนวน คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล) อะไรประมาณนี้
ทำให้เด็กบางคนที่ว่านอนสอนง่ายตั้งความหวังนี้ไว้สูงว่าจะไม่ทำอะไรที่ผิดพลาดเลยแม้แต่ครั้งเดียว เมื่อต้องเจอกับภาวะเหล่านี้ พวกเขาจะพยายามหลีกเลี่ยงให้ถึงที่สุด พอหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือรู้ทีหลังว่าพลาดไปโดยไม่เจตนา ก็จะรู้สึกกดดันตัวเอง เครียด และกลัวว่าจะเกิดความผิดพลาดซ้ำสอง กลายเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตัวเองทันที
ภาวะเหล่านี้คือภาวะที่ต้องการความสมบูรณ์แบบให้ชีวิตเรา (Perfectionist) ตามความเห็นส่วนตัวของจขกท.แล้ว ภาวะนี้อาจมีอิทธิพลจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สังเกตง่ายๆ จากพุทธประวัติตามสื่อต่างๆ เราเคยสังเกตและตั้งคำถามไหมว่า ตั้งแต่ประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกระทั่งปรินิพพาน เราเคยได้เห็นความผิดพลาดของพระองค์บ้างหรือไม่ ถ้าไม่...ก็อาจเป็นไปได้ว่า นี่คืออิทธิพลที่ทำให้สังคมไทยต้องการความสมบูรณ์แบบทุกประการ เพื่อให้ได้รับการยกย่องสูงสุดจากสังคม
และอีกปัจจัยหนึ่งที่จขกท. คิดว่าเป็นไปได้อีกก็คือ อิทธิพลของวรรณคดีและละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ฝ่ายธรรมะไม่เคยทำสิ่งเสื่อมเสียในสายตาของคนส่วนใหญ่เลย มันก็ทำให้คนไทยส่วนใหญ่อยากเป็นคนดีสมบูรณ์แบบเหมือนกันนะ
แต่ถ้าคิดตามสังคมปัจจุบัน จขกท.คิดว่า คนที่มีภาวะนี้เริ่มอยู่ยากนะ เพราะชีวิตจริงมันไม่ใช่เส้นตรงหรือเป็นทางเรียบตลอดไง มันก็ต้องมีบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อเราและเราหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้เราก็ทำได้แค่...ทำยังไงให้เสียหายน้อยที่สุดจะดีกว่า เพราะจริงๆ แล้ว ถ้าไม่มีความผิดพลาด ความสมบูรณ์แบบย่อมไม่เกิดหรอก จริงมั้ย
เมื่อสังคมไทยคือสังคมที่ต้องการความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)
มันเป็นค่านิยมที่ผู้ใหญ่มักปลูกฝังเราตั้งแต่ยังเด็ก คือเข้าใจว่าใครๆ ก็อยากให้ลูกหลานของตัวเองเป็นคนดีทั้งนั้น เลยทำให้เกิดการเลี้ยงดูแบบ "ไข่ในหิน" คือพยายามตีกรอบ ตั้งกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตของเรา เช่น ห้ามกลับดึก (เด็กที่ยังอยู่นอกบ้านในตอนกลางคืนมักจะถูกมองว่ามั่วสุม) ต้องไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ คบแต่เพื่อนที่เป็นเด็กเรียน (ตามค่านิยมของสำนวน คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล) อะไรประมาณนี้
ทำให้เด็กบางคนที่ว่านอนสอนง่ายตั้งความหวังนี้ไว้สูงว่าจะไม่ทำอะไรที่ผิดพลาดเลยแม้แต่ครั้งเดียว เมื่อต้องเจอกับภาวะเหล่านี้ พวกเขาจะพยายามหลีกเลี่ยงให้ถึงที่สุด พอหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือรู้ทีหลังว่าพลาดไปโดยไม่เจตนา ก็จะรู้สึกกดดันตัวเอง เครียด และกลัวว่าจะเกิดความผิดพลาดซ้ำสอง กลายเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตัวเองทันที
ภาวะเหล่านี้คือภาวะที่ต้องการความสมบูรณ์แบบให้ชีวิตเรา (Perfectionist) ตามความเห็นส่วนตัวของจขกท.แล้ว ภาวะนี้อาจมีอิทธิพลจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สังเกตง่ายๆ จากพุทธประวัติตามสื่อต่างๆ เราเคยสังเกตและตั้งคำถามไหมว่า ตั้งแต่ประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนกระทั่งปรินิพพาน เราเคยได้เห็นความผิดพลาดของพระองค์บ้างหรือไม่ ถ้าไม่...ก็อาจเป็นไปได้ว่า นี่คืออิทธิพลที่ทำให้สังคมไทยต้องการความสมบูรณ์แบบทุกประการ เพื่อให้ได้รับการยกย่องสูงสุดจากสังคม
และอีกปัจจัยหนึ่งที่จขกท. คิดว่าเป็นไปได้อีกก็คือ อิทธิพลของวรรณคดีและละครจักรๆ วงศ์ๆ ที่ฝ่ายธรรมะไม่เคยทำสิ่งเสื่อมเสียในสายตาของคนส่วนใหญ่เลย มันก็ทำให้คนไทยส่วนใหญ่อยากเป็นคนดีสมบูรณ์แบบเหมือนกันนะ
แต่ถ้าคิดตามสังคมปัจจุบัน จขกท.คิดว่า คนที่มีภาวะนี้เริ่มอยู่ยากนะ เพราะชีวิตจริงมันไม่ใช่เส้นตรงหรือเป็นทางเรียบตลอดไง มันก็ต้องมีบ้างที่เป็นอุปสรรคต่อเราและเราหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้เราก็ทำได้แค่...ทำยังไงให้เสียหายน้อยที่สุดจะดีกว่า เพราะจริงๆ แล้ว ถ้าไม่มีความผิดพลาด ความสมบูรณ์แบบย่อมไม่เกิดหรอก จริงมั้ย