[เสนอความคิด] เสนอเกณฑ์หลังการประมูลคลื่นความถี่ ป้องกันการฮั๋ว, ปั่น, ปัญหาไม่มีจ่าย แบบนี้ดีไหม.?

กระทู้สนทนา
[ไม่รู้มีใครเสนอความคิดหรือยัง พอดีผมนั่งๆ อ่านกระทู้พันทิปแล้วคิดๆ ไปเพลินๆ เรื่องประมูลคลื่นความถี่]

เริ่มจาก ช่วงนี้ กระแสเรื่องการประมูลแล้ว(ยัง)ไม่จ่ายเงินหนาหู
จะด้วยเหตุผลว่า ไม่มีเงินจ่าย, ไม่กล้าจ่ายกลัวเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจ, หรือตั้งใจจะไม่จ่ายอยู่แล้ว
ตอนนี้ก็เลยเหมือนกระแส กระทู้เชียร์กระทู้แช่งเต็มไปหมด ผมมานั่งคิดๆ เลยมีไอเดียเสนอครับ


หลักเกณฑ์หลังการประมูลคลื่นความถี่ (ที่ผมคิด อาจจะมีอยู่แล้วหรือเปล่าผมก็ไม่รู้ ไม่ได้เช็ค)
1. ผู้ประมูลต้องจ่ายเงินภายใน ... วัน (เข้าใจว่ามีอยู่แล้ว)
2. ผู้ที่ประมูลที่ไม่จ่ายเงิน จะถูกริบเงิน, และจะเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายทั้งหมด (เข้าใจว่ามีอยู่แล้ว)
...
ทำไมผลต้องเกริ่นถึงข้อ 1, 2 เพราะจะท้าวความมาถึงข้อหลังๆ

ในกรณีที่การประมูลมีผู้ไม่จ่ายเงิน
3. ให้ผู้ประมูลที่จ่ายเงินแล้ว, และผู้ที่ประมูลคลื่นความถี่ไม่ได้ สามารถไปประมูลใหม่(จัดใหม่) โดยเริ่มที่ราคาเริ่มต้น
4. ตัดสิทธิผู้ที่ประมูลแล้วไม่จ่ายเงินตลอดชีวิตนิติบุคคล (หรือจะกี่สิบปี่ก็แล้วแต่)

ที่ผมเสนอข้อ 3 กับข้อ 4 ในกระทู้นี้ผมมีเหตุการณที่จะเป็นไปได้ และเหตุผลรองรับดังนี้
กรณีที่ 1 ผู้ประมูลชนะทั้งหมดจ่ายชำระตามปกติ
     กรณีนี้ก็ถือว่าจบสวย ทุกคนแฮปปี้ ประเทศแฮปปี้ กสทชแฮปปี้ ค่ายมือถือแฮปปี้ (เดาว่าแฮปปี้)


กรณีที่ 2 ผู้ประมูลชนะ มีบางรายไม่จ่ายชำระ
     เช่นสมมติ มีผู้ชนะ 2 รายคือ T และ J แต่ J เกิดไม่จ่าย แต่ T จ่ายไปแล้ว 35,000 MB (ตัวอักษรและจำนวนเงินสมมติ มิได้อ้างอิงเหตุการณ์ใดๆ)

หากเกิดเหตุการณ์นี้ ให้ปฏิบัติดังนี้
2.1 ยึดเงิน J หกร้อยกว่าล้าน, ปรับเงินค่าจัดประมูลใหม่ (หรือมูลค่าความเสียหายอื่นๆ), และแบล็ครีส J
2.2 ให้คืนเงิน 35,000 MB แก T และจัดการประมูลใหม่ภายใน 30 วัน(หรือกี่วันก็แล้วแต่)
2.3 ให้ T, และคนที่ไม่ชนะการประมูลรอบแรก คือ A, D มีสิทธิประมูลในรอบ 2

ข้อดีของวิธีนี้
- ป้องกันการปั่นราคา, คือมีแผนสมคบคิดว่า ถ้า J ประมูลเพียงเพื่อปั่นราคาให้คู่แข็งที่ชนะร่วม ต้องได้ใบอนุญาตในราคาแพง
ส่วนตัวเองสละสิทธิยอมเสียค่าปรับหลักพันล้าน บางคนคิดว่า J คุ้ม เพราะทำให้ T ประมูลในราคาที่สูง
แถม A กับ D ต้องไปประมูลรอบใหม่ในราคาสูงเว่อร์ แบบบี้ J คุ้มสุดๆ
แต่การมีกฏข้อ 3, 4 จะทำให้ J ไม่สามารถปั่นราคาได้ เพราะราคาจะถูก reset ส่วนตัวเองก็เสียสิทธิไปตลอด

- ป้องกันการทุบราคา, เช่น J เองเป็นนอมินี ของ A หรือ D ส่งมาเพื่อปั่นราคา และทำให้ T ต้องจ่ายค่าใบอนุญาตแพง
หาก กสทช จัดรอบ 2 โดยเริ่มในราคา reset และให้ A และ D แค่ 2 เจ้าเท่านั้นที่สามารถประมูลได้
A และ D จะได้ใบอนุญาตอีกใบในราคาที่ถูกกว่า T มากๆ
แต่การมีกฏข้อ 2.2, 2.3 จะทำให้ T ได้รับเงินคืนเพราะถือว่า การประมูลรอบแรกโมฆะ และ T A D มีสิทธิเท่าๆ กันในการประมูลรอบที่ 2

กรณีที่ 3 ผู้ประมูลชนะทุกรายไม่จ่ายชำระ
     เช่นสมมติ มีผู้ชนะ 2 รายคือ T และ J และ JกับT เกิดไม่จ่ายทั้งคู่ ให้ถือว่า J และ T ไม่ได้มีเจตนาที่จะประมูลคลื่นความถี่จริงให้ตัดสิทธิทั้งคู่

หากเกิดเหตุการณ์นี้ ให้ปฏิบัติดังนี้
3.1 ยึดเงิน J, T หกร้อยกว่าล้าน, ปรับเงินค่าจัดประมูลใหม่ (หรือมูลค่าความเสียหายอื่นๆ) หาร 2 กันนะ, และแบล็ครีส J และ T
3.2 ให้คนที่ไม่ชนะการประมูลรอบแรก คือ A, D มีสิทธิประมูลในรอบ 2 เท่านั้น



ความเห็นของ จขกท คือ การประมูล จะต้องมีมาตรการและความมุ่งหมายเพื่อ
- คัดกรองผู้ที่มีเจตนาต้องการคลื่นความถี่จริงๆ เท่านั้น
- แบล็ครีส รายที่ผิดเงื่อนไข
- จัดการประมูลใหม่ให้เร็วที่สุด (หากมีการประมูลซ่อมรอบถัดๆ ไป)

ด้วยวิธีนี้ หากมีคนต้องการปั่นราคาทางธุรกิจ ก็ไม่สามารถทำได้ (เพราะคู่แข่งยังมีโอกาสอยู่)
หรือพวกนอมินีที่ต้องการให้การประมูลรอบ 2 เหลือเฉพาะพวกของตน ก็ทำไม่ได้ เพราะรอบ 1 คนที่ชำระแล้วก็ยังมีสิทธิอยู่
จบ

ปล.
จขกท ไม่ต้องการให้ใครเห็นด้วยเสมอไป หากเห็นแย้งเสนอได้เลย เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ
จขกท พยายามเขียนกระทู้ด้วยใจเป็นกลางและเป็นธรรม
หากใครเห็นแย้ง อยากให้เสนอแนวทางที่เป็นประโยชน์ สร้างสรร ควรละเว้นข้อความที่สร้างความเกลียดชังต่อเครือข่ายตรงข้าม
ตัวอักษร D T A J เป็นเพียงตัวอักษรภาษาอังกฤษสมมติ ไม่ได้อ้างอิงเหตุการณ์ บุคคล ใดๆ ทั้งสิ้น (จริงๆ น้า เชื่อไหมอมยิ้ม07)
ขอบคุณ icon จาก flaticon เพราะต้องการให้กระทู้มีรูปบ้าง เลยทำรูปเพื่อวัตถุประสงค์ประโยชน์สาธารณะและการศึกษา(แนวทาง)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่