ในยุคที่ผู้หญิงมีสิทธิ์เท่าเทียมกับผู้ชาย จนคำเปรียบเปรยว่า “ผู้ชายคือช้างเท้าหน้า” และ “ผู้หญิงคือช้างเท้าหลัง” ดูจะ “ล้าสมัย” ลงไปถนัดตา เพราะบริบททางสังคมกำหนดให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป ผู้ชายไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำคอยหาเลี้ยงครอบครัว และผู้หญิงไม่จำเป็นต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูก เฝ้าหลังครัว และปรนนิบัติสามีเพียงเท่านั้น
ฉะนั้นคำว่าหน้าที่ของ “สามี” และ “ภรรยา” หากมองในแง่ของหลักการ หรือความเชื่อในการประคองชีวิตคู่จึงเป็นเรื่องของปัจเจก ที่แต่ละคู่มีการเรียนรู้ธรรมชาติของลักษณะนิสัยซึ่งกันและกัน คงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวในการครองรักให้ยาวนาน แต่เหนือสิ่งอื่นใด “ความซื่อสัตย์” ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตคู่เสมอ
“ปดิวรัดา” (ปะ-ดิ-วะ-รัด-ดา) แปลว่า “ภรรยาผู้ซื่อสัตย์และภักดีต่อสามี” ชื่อละครพีเรียดสมัย พ.ศ.2500 ที่หลายคนอ่านออกเสียงไม่ถนัดเสียด้วยซ้ำ สร้างจากบทประพันธ์ของนักเขียนชั้นครูอย่าง “สราญจิตต์” กว่า 60 ปี นับจากที่นวนิยายเรื่องนี้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรก จวบจนถึงปัจจุบันความเชื่อบางอย่างในสังคมถูกสั่นคลอนไป แต่สิ่งใดคือ “เสน่ห์” และ “ความจริง” ที่ทำให้ “ละคร” จากค่าย “กู๊ดฟิลลิ่ง” โดยผู้จัด “คิง” สมจริง ศรีสุภาพ เรื่องนี้ ยังมีมนต์ขลังและน่าติดตาม
ใครๆ ย่อมอยากเป็น “หนึ่งเดียว” ในใจของคนที่รัก ไม่มีผู้หญิงคนไหนรู้สึกยินดีที่จะใช้ “สามี” ร่วมกับผู้อื่น แต่ “ปลัดศรัณย์” (“เจมส์” จิรายุ ตั้งศรีสุข) จำต้องแต่งงานกับ ริน ระพี (“เบลล่า” ราณี แคมเปน) ซึ่งถูกคุณหญิงเพ็ญแข (“ต่อง” สาวิตรี สามิภักดิ์) ผู้มีพระคุณที่ชุบเลี้ยงมาตั้งแต่เด็ก สลับตัวกับคุณหนู “บรารี” (“ดาว” พิมพ์ทอง วชิราคม) ลูกสาวตัวจริง ด้วยคำสัญญาของผู้ใหญ่ทั้งสองตระกูล ทั้งที่ทั้งปลัดศรัณย์ และริน ระพี ไม่ได้รักกัน โดยมีตัวแปลอย่าง “ดวงสวาท” (“มิ้นท์” ณัฐวรา วงศ์วาสนา) คนรักเก่าของปลัดศรัณย์ กลับมาทวงของรักที่เธอเคยเป็นคนทิ้งไปคืนมา
“ผู้หญิงบางคนมีเอาไว้ “ตรึงกาย” เอาไว้ตักตวงให้อิ่มกาย แต่ผู้หญิงบางคน “สวยตรึงใจ” มีเอาไว้ตักตวงให้อิ่มใจ ลูกของแม่จะเลือกอย่างไหน” คำพูดจากคุณหญิงแก้ว (“แหม่ม” จินตหรา สุขพัฒน์) บอกกับลูกชายอย่างปลัดศรัณย์ บทละครเรื่องนี้มีทั้งความละมุนละไม คมคาย และสอดแทรกแง่คิดในการครองเรือนของคนรุ่นเก่า แต่บางครั้งความเก่ายังคงไว้ซึ่งความ “เก๋า” ด้วย “ความจริง” ที่ไม่ล้าสมัย ต้องชมเชย คนเขียนบทโทรทัศน์อย่าง “บ๊วย” นันทวรรณ รุ่งวงศ์พาณิชย์ ที่ใช้ประสบการณ์ในการทำงาน เขียนบทละครเรื่องนี้ออกมาได้จับใจ
“คนรุ่นเราไม่ได้แต่งงานด้วยความรัก แต่แต่งงานด้วยสัจจะ ด้วยความตั้งใจว่าจะมีคู่ผัวตัวเดียว เมื่อมีความตั้งใจก็มีความอดทน มีความพยายามที่จะแก้ปัญหา” คำพูดของคุณหญิงเพ็ญแข ที่บอกกับริน ระพี แสดงถึงการ “คลุมถุงชน” หากเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้ แน่นอนว่า “ลูก” ไม่ว่าจะเป็น “หญิง” หรือ “ชาย” คงไม่ยอมให้ “พ่อแม่” จับแต่งงานได้อย่างง่ายดาย เพราะคนรุ่นใหม่มีความนับถือตัวเองสูง ทำอะไรต้อง “ถูกใจ” และ “ตามใจ” ตัวเองไว้ก่อน
ทำไมคนสมัยก่อนหลายคู่ถูกคลุมถุงชนแต่อยู่กันยืนยาว หากมองในมุมผู้หญิง อาจเพราะภรรยา “ตั้งใจ” แล้วว่าจะมีสามีแค่คนเดียว ฉะนั้นต่อให้สามีจะดี เลวแค่ไหน ผู้หญิงสมัยก่อนจะมีความ “อดทน” มาก ทำให้อยู่กันรอด ต่างจากยุคปัจจุบันที่ต่างฝ่ายต่างมีความ “เท่าเทียม” และ “ทำตามใจ” ในเมื่อคิดว่าสามีไม่ดี หรือภรรยาไม่ดี เข้ากันไม่ได้ ก็ไม่จำเป็นต้อง “ทน” อีกต่อไป
ภาพสะท้อนจากปดิวรัดา นอกจากหลักการครองเรือนแล้วยังมี “หน้าที่ของข้าราชการ” ปลัดศรัณย์ เป็นตัวแทนของข้าราชการในอุดมคติ ซื่อตรง เห็นแก่ผลประโยช์ของประเทศชาติ ยึดถือความ “ถูกต้อง” และ “ความดี” เหมือนตอนที่ออกไปจับกลุ่มโจรอย่าง “เสือขาว” ที่เล่นคุณไสย มีวิชาอาคมมากมาย แต่ปลัดศรัณย์ มีเพียงปืน กับความเชื่อ ความกล้า คำสอนและพรของแม่ บวกกับความตั้งใจทำเพื่อชาติ
สิ่งที่ดีคือ “ละคร” ไม่ได้สอนให้คนเชื่อเรื่องคุณไสย มนต์ดำ แต่ชี้ให้ใช้สติ พิจารณาตามความเป็นจริง ปลัดศรัณย์ไม่จำเป็นต้องเป็นพระเอกที่มีของดี ใช้วิชาอาคมปราบ “เสือขาว” ที่ใช้คุณไสยเพื่อสร้างความเข้มแข็งและขวัญกำลังใจให้พรรคพวก วิชามหาอุด ฟันแทงไม่เข้า อยู่ยงคงกระพัน มีหรือจะช่วยคนเลวให้รอดพ้นความผิดไปได้ ซึ่งเป็นความจริงของตำนานมหาโจรชื่อดังหลายต่อหลายเรื่อง ต่อให้โจรมีวิชาเก่งกาจแค่ไหน สุดท้ายจุดจบคือ “ตาย” ตกไปตามกรรมที่สร้างไว้
เคมีของนักแสดงอย่าง เจมส์จิ และเบลล่า เข้ากันเป็นอย่างดี บทพูดเข้าพระเข้านางไม่ได้โฉ่งฉ่าง แต่ฟังแล้วเขินอายไปหลายตลบ ด้วยนัยที่ซ่อนไว้ พาให้คนดูรู้สึกวาบหวามเล็กๆ กลิ่นอายละคร “เมโลดราม่า” สูตรสำเร็จยังอยู่ครบถ้วน แม้ว่าไม่ได้เป็นพล็อตที่ผิดแผกแตกต่าง ทว่าเนื้อในที่ซ่อนไว้ “มีดี” จนน่าชื่นชม
ก่อนละครออกฉายมีหลายเสียงบ่นเบื่อกระแส “คู่จิ้น” และไม่ได้ตั้งใจรอดู แต่เมื่อละครฉายไปได้ไม่นานหลายคนกลับตกหลุม “เสน่ห์” ของนักแสดงเข้าอย่างจัง ได้มองเห็นประเพณีอันดีงามบางอย่างของกุลสตรีไทย หน้าที่ของภรรยาผู้ซื่อสัตย์ ข้าราชการผู้ซื่อตรง เป็นอุดมคติที่ไม่ได้ยัดเยียดไห้รู้สึก “เอียน” หรือ “เลี่ยน” ตรงกันข้ามหากแต่ “ข้อคิด” “แง่มุม” หลายอย่าง สามารถนำมาปรับใช้ได้จริง
ในยุคสมัยที่คนถือความ “สัตย์ซื่อ” เทียบเอาไว้ใกล้เคียงกับความ “โง่เขลา” แต่หลักของการดำรงชีวิตในทางที่ดี บางครั้งความ “ซื่อตรง” ยังเป็นสิ่งจำเป็น และความ “ซื่อสัตย์” ก็สร้างความรักและความไว้วางใจได้เสมอ ความเชื่อในอุดมคติ คงไร้ราคาสำหรับคนที่ไม่ให้คุณค่า แต่มีความหมาย และให้คุณเสมอ สำหรับผู้ที่ยึดถือไว้
.............................
จากสกู๊ปบันเทิง คมชัดลึก / ๙ ก.พ. ๕๙
http://www.komchadluek.net/detail/20160209/222035.html#sthash.RRjHHkPN.dpuf
มุมมองใหม่เรื่องช้างเท้าหลัง กับหน้าที่อันทรงพลังของ "ปดิวรัดา"
ฉะนั้นคำว่าหน้าที่ของ “สามี” และ “ภรรยา” หากมองในแง่ของหลักการ หรือความเชื่อในการประคองชีวิตคู่จึงเป็นเรื่องของปัจเจก ที่แต่ละคู่มีการเรียนรู้ธรรมชาติของลักษณะนิสัยซึ่งกันและกัน คงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวในการครองรักให้ยาวนาน แต่เหนือสิ่งอื่นใด “ความซื่อสัตย์” ยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตคู่เสมอ
“ปดิวรัดา” (ปะ-ดิ-วะ-รัด-ดา) แปลว่า “ภรรยาผู้ซื่อสัตย์และภักดีต่อสามี” ชื่อละครพีเรียดสมัย พ.ศ.2500 ที่หลายคนอ่านออกเสียงไม่ถนัดเสียด้วยซ้ำ สร้างจากบทประพันธ์ของนักเขียนชั้นครูอย่าง “สราญจิตต์” กว่า 60 ปี นับจากที่นวนิยายเรื่องนี้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรก จวบจนถึงปัจจุบันความเชื่อบางอย่างในสังคมถูกสั่นคลอนไป แต่สิ่งใดคือ “เสน่ห์” และ “ความจริง” ที่ทำให้ “ละคร” จากค่าย “กู๊ดฟิลลิ่ง” โดยผู้จัด “คิง” สมจริง ศรีสุภาพ เรื่องนี้ ยังมีมนต์ขลังและน่าติดตาม
ใครๆ ย่อมอยากเป็น “หนึ่งเดียว” ในใจของคนที่รัก ไม่มีผู้หญิงคนไหนรู้สึกยินดีที่จะใช้ “สามี” ร่วมกับผู้อื่น แต่ “ปลัดศรัณย์” (“เจมส์” จิรายุ ตั้งศรีสุข) จำต้องแต่งงานกับ ริน ระพี (“เบลล่า” ราณี แคมเปน) ซึ่งถูกคุณหญิงเพ็ญแข (“ต่อง” สาวิตรี สามิภักดิ์) ผู้มีพระคุณที่ชุบเลี้ยงมาตั้งแต่เด็ก สลับตัวกับคุณหนู “บรารี” (“ดาว” พิมพ์ทอง วชิราคม) ลูกสาวตัวจริง ด้วยคำสัญญาของผู้ใหญ่ทั้งสองตระกูล ทั้งที่ทั้งปลัดศรัณย์ และริน ระพี ไม่ได้รักกัน โดยมีตัวแปลอย่าง “ดวงสวาท” (“มิ้นท์” ณัฐวรา วงศ์วาสนา) คนรักเก่าของปลัดศรัณย์ กลับมาทวงของรักที่เธอเคยเป็นคนทิ้งไปคืนมา
“ผู้หญิงบางคนมีเอาไว้ “ตรึงกาย” เอาไว้ตักตวงให้อิ่มกาย แต่ผู้หญิงบางคน “สวยตรึงใจ” มีเอาไว้ตักตวงให้อิ่มใจ ลูกของแม่จะเลือกอย่างไหน” คำพูดจากคุณหญิงแก้ว (“แหม่ม” จินตหรา สุขพัฒน์) บอกกับลูกชายอย่างปลัดศรัณย์ บทละครเรื่องนี้มีทั้งความละมุนละไม คมคาย และสอดแทรกแง่คิดในการครองเรือนของคนรุ่นเก่า แต่บางครั้งความเก่ายังคงไว้ซึ่งความ “เก๋า” ด้วย “ความจริง” ที่ไม่ล้าสมัย ต้องชมเชย คนเขียนบทโทรทัศน์อย่าง “บ๊วย” นันทวรรณ รุ่งวงศ์พาณิชย์ ที่ใช้ประสบการณ์ในการทำงาน เขียนบทละครเรื่องนี้ออกมาได้จับใจ
“คนรุ่นเราไม่ได้แต่งงานด้วยความรัก แต่แต่งงานด้วยสัจจะ ด้วยความตั้งใจว่าจะมีคู่ผัวตัวเดียว เมื่อมีความตั้งใจก็มีความอดทน มีความพยายามที่จะแก้ปัญหา” คำพูดของคุณหญิงเพ็ญแข ที่บอกกับริน ระพี แสดงถึงการ “คลุมถุงชน” หากเกิดขึ้นในยุคสมัยนี้ แน่นอนว่า “ลูก” ไม่ว่าจะเป็น “หญิง” หรือ “ชาย” คงไม่ยอมให้ “พ่อแม่” จับแต่งงานได้อย่างง่ายดาย เพราะคนรุ่นใหม่มีความนับถือตัวเองสูง ทำอะไรต้อง “ถูกใจ” และ “ตามใจ” ตัวเองไว้ก่อน
ทำไมคนสมัยก่อนหลายคู่ถูกคลุมถุงชนแต่อยู่กันยืนยาว หากมองในมุมผู้หญิง อาจเพราะภรรยา “ตั้งใจ” แล้วว่าจะมีสามีแค่คนเดียว ฉะนั้นต่อให้สามีจะดี เลวแค่ไหน ผู้หญิงสมัยก่อนจะมีความ “อดทน” มาก ทำให้อยู่กันรอด ต่างจากยุคปัจจุบันที่ต่างฝ่ายต่างมีความ “เท่าเทียม” และ “ทำตามใจ” ในเมื่อคิดว่าสามีไม่ดี หรือภรรยาไม่ดี เข้ากันไม่ได้ ก็ไม่จำเป็นต้อง “ทน” อีกต่อไป
ภาพสะท้อนจากปดิวรัดา นอกจากหลักการครองเรือนแล้วยังมี “หน้าที่ของข้าราชการ” ปลัดศรัณย์ เป็นตัวแทนของข้าราชการในอุดมคติ ซื่อตรง เห็นแก่ผลประโยช์ของประเทศชาติ ยึดถือความ “ถูกต้อง” และ “ความดี” เหมือนตอนที่ออกไปจับกลุ่มโจรอย่าง “เสือขาว” ที่เล่นคุณไสย มีวิชาอาคมมากมาย แต่ปลัดศรัณย์ มีเพียงปืน กับความเชื่อ ความกล้า คำสอนและพรของแม่ บวกกับความตั้งใจทำเพื่อชาติ
สิ่งที่ดีคือ “ละคร” ไม่ได้สอนให้คนเชื่อเรื่องคุณไสย มนต์ดำ แต่ชี้ให้ใช้สติ พิจารณาตามความเป็นจริง ปลัดศรัณย์ไม่จำเป็นต้องเป็นพระเอกที่มีของดี ใช้วิชาอาคมปราบ “เสือขาว” ที่ใช้คุณไสยเพื่อสร้างความเข้มแข็งและขวัญกำลังใจให้พรรคพวก วิชามหาอุด ฟันแทงไม่เข้า อยู่ยงคงกระพัน มีหรือจะช่วยคนเลวให้รอดพ้นความผิดไปได้ ซึ่งเป็นความจริงของตำนานมหาโจรชื่อดังหลายต่อหลายเรื่อง ต่อให้โจรมีวิชาเก่งกาจแค่ไหน สุดท้ายจุดจบคือ “ตาย” ตกไปตามกรรมที่สร้างไว้
เคมีของนักแสดงอย่าง เจมส์จิ และเบลล่า เข้ากันเป็นอย่างดี บทพูดเข้าพระเข้านางไม่ได้โฉ่งฉ่าง แต่ฟังแล้วเขินอายไปหลายตลบ ด้วยนัยที่ซ่อนไว้ พาให้คนดูรู้สึกวาบหวามเล็กๆ กลิ่นอายละคร “เมโลดราม่า” สูตรสำเร็จยังอยู่ครบถ้วน แม้ว่าไม่ได้เป็นพล็อตที่ผิดแผกแตกต่าง ทว่าเนื้อในที่ซ่อนไว้ “มีดี” จนน่าชื่นชม
ก่อนละครออกฉายมีหลายเสียงบ่นเบื่อกระแส “คู่จิ้น” และไม่ได้ตั้งใจรอดู แต่เมื่อละครฉายไปได้ไม่นานหลายคนกลับตกหลุม “เสน่ห์” ของนักแสดงเข้าอย่างจัง ได้มองเห็นประเพณีอันดีงามบางอย่างของกุลสตรีไทย หน้าที่ของภรรยาผู้ซื่อสัตย์ ข้าราชการผู้ซื่อตรง เป็นอุดมคติที่ไม่ได้ยัดเยียดไห้รู้สึก “เอียน” หรือ “เลี่ยน” ตรงกันข้ามหากแต่ “ข้อคิด” “แง่มุม” หลายอย่าง สามารถนำมาปรับใช้ได้จริง
ในยุคสมัยที่คนถือความ “สัตย์ซื่อ” เทียบเอาไว้ใกล้เคียงกับความ “โง่เขลา” แต่หลักของการดำรงชีวิตในทางที่ดี บางครั้งความ “ซื่อตรง” ยังเป็นสิ่งจำเป็น และความ “ซื่อสัตย์” ก็สร้างความรักและความไว้วางใจได้เสมอ ความเชื่อในอุดมคติ คงไร้ราคาสำหรับคนที่ไม่ให้คุณค่า แต่มีความหมาย และให้คุณเสมอ สำหรับผู้ที่ยึดถือไว้
.............................
จากสกู๊ปบันเทิง คมชัดลึก / ๙ ก.พ. ๕๙
http://www.komchadluek.net/detail/20160209/222035.html#sthash.RRjHHkPN.dpuf