อยากจะเขียนถึงละครเรื่องนี้ ก่อนที่จะจบไป เพราะเป็นละครที่ “นานๆที” จะมีมาให้ได้ชม เป็นม้านอกสายตาของใครหลายๆคน ซึ่งถ้าหากลองได้ติดตามอย่างเปิดใจสักตอนสองตอนโดยไม่ยึดติดกับข้อบกพร่องเล็กๆน้อยๆ เชื่อว่า มากกว่าครึ่งน่าจะติดและตามดูต่อจนจบ
ปดิวรัดา มาจากคำท้ายของชื่อ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา แปลว่า ภรรยาที่ซื่อสัตย์และภักดีต่อสามี ซึ่งไม่ใช่ชื่อของนางเอกในเรื่องแต่อย่างใด แต่เป็นชื่อที่สรุปความเป็นตัวตนของนางเอก ซึ่งเป็นตัวหลักของเรื่อง
ทั้งนี้ เราไม่ได้อ่านนวนิยายเรื่องนี้มาก่อน จึงขอวิจารณ์เฉพาะเท่าที่เห็นในละคร ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาไปจากนิยายพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อเรื่องหลักๆของปดิวรัดา ก็ไม่พ้นวังวนของละครประเภท Soap Opera คือ เนื้อเรื่องมีการปลอมตัว มียาจกที่ภายหลังกลายเป็นคุณหนูลูกเศรษฐี มีเรื่องราวหึงหวง ชิงรักหักสวาท ซึ่งเรื่องเหล่านี้ ก็วนๆเวียนอยู่ในละครไทยมานานแสนนาน ทั้งที่หากจะถามหาความเป็นไปได้ในโลกของความจริง มันอาจจะขัดหูขัดตาเหลือเกินที่จะมีคนที่คิดหรือกระทำแบบนี้ แต่ในความน้ำเน่า กลับมีรายละเอียดบางอย่างที่สอดแทรกเข้ามา ทำให้น้ำเน่ากลายเป็นน้ำลอยดอกมะลิไปได้
ปดิวรัดา เปิดเรื่องในยุคสมัยประมาณปี พ.ศ.2500 (นวนิยายเรื่องนี้ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2496) สภาพสังคม ค่านิยม บุคลิกลักษณะของตัวละคร จึงอาจจะดูแปลกตาสำหรับคนในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะแนวคิดบางอย่าง ที่เด็กสมัยใหม่อาจจะไม่เข้าใจเอาเสียเลย เช่น การแต่งงานแบบคลุมถุงชน ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินเรื่องหลักในที่นี้
โครงเรื่องของปดิวรัดา ได้วางตัวละครหลัก 2 ตัวให้เห็นความแตกต่าง โดยมีปลัดศรันย์เป็นตัวกลาง โจทย์ที่ยากและท้าทาย คือ ปลัดศรันย์จะเลือกใครเป็นภรรยา ระหว่างผู้หญิงที่รักและบูชามาร่วมสิบปี กับผู้หญิงที่ไม่เคยรัก ไม่เคยแม้แต่จะรู้จัก แต่ต้องมาใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จุดนี้เอง เป็นแกนหลักที่ชี้ให้เห็นว่า เวลาและความผูกพันในอารมณ์รัก บางทีก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ชีวิตคู่ดำเนินไปได้ ดังเช่นคำพูดของพระบำรุงประชากิจ ที่ว่า “....ชีวิตที่นำด้วยอารมณ์อารมณ์จะพาไปขึ้นสวรรค์ พาไปลงนรก เป็นไปได้ทั้งสองทาง แต่ชีวิตที่นำด้วยหน้าที่ หน้าที่ความรับผิดชอบ จะพาไปทิศทางเดียว ...คือพาไปสู่สิ่งที่ดีงาม” จุดนี้เองที่ทำให้เราสะดุดหู และสะดุดใจขึ้นมาทันที เพราะประโยคนี้เอง มันอธิบายด้านดีของการแต่งงานแบบคลุมถุงชนอย่างกระจ่าง เราเองก็เคยนึกสงสัยมาตลอดว่า รุ่นพ่อรุ่นแม่ที่ถูกจับแต่งงานกัน ทั้งๆที่ไม่ได้คบหา ดูใจ ศึกษานิสัยใจคอด้วยตัวเองนั้น เขาอยู่กันได้อย่างไร แม้จะมีบางคู่ที่ไปกันไม่รอด แต่คู่สมรสที่เลือกคู่ด้วยตนเองก็ใช่ว่าจะไปกันรอดทุกคู่ และยิ่งนำคำพูดประโยคนี้มาคิด ยิ่งค้นพบว่า ความล้มเหลวในชีวิตคู่ หลักใหญ่ๆมาจากอารมณ์จริงๆ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย ใช้อารมณ์เป็นตัวนำพาชีวิต ก็สุดแท้แต่ว่า อารมณ์นั้นจะสอดคล้อง เข้าคู่กันไปได้ด้วยดีอยู่นานแค่ไหน แต่เมื่ออารมณ์เกิดแยกขั้ว หรืออยู่คนละฝั่งกัน สงครามเล็กๆในครอบครัวย่อมเกิดขึ้น แต่ด้วยค่านิยมของคนในยุคสมัยนั้น การสมรสด้วยวิธีคลุมถุงชนสามารถดำเนินชีวิตคู่ไปกันได้ด้วยดีหลายต่อหลายคู่ เพราะแต่ละคนต่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน ตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง ประคองชีวิตสมรสด้วยความเกรงอกเกรงใจกัน พร้อมๆกับค่อยๆหล่อหลอมความรัก ความผูกพันต่อกันไปได้ในที่สุด แน่นอน ปัจจัยของความสำเร็จในชีวิตคู่แบบคลุมถุงชนนี้ ส่วนหลักต้องนับตั้งแต่จุดเริ่มต้น การเลือกด้วยสายตาของพ่อแม่แต่ละฝ่าย มักผ่านการกลั่นกรอง พิจารณามาเป็นอย่างดีแล้ว ไม่มีใครอยากจะส่งลูกของตนเองไปอยู่กับคนที่ไม่น่าไว้วางใจทั้งนั้น ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง แต่ถ้าเชื่อถือในชาติตระกูล ซึ่งหมายถึงเชื่อถือว่า อีกฝ่ายต้องมีการอบรมบ่มนิสัยกันมาเป็นอย่างดี ไม่ใช่เพียงเกียรติยศหน้าตา หรือฐานะ (การเลือกจากเปลือกนอกเหล่านี้เท่านั้นก็อาจจะมี และมักเสี่ยงต่อความล้มเหลวในภายหน้า) เมื่อจุดเริ่มต้นดี โอกาสที่จะไปกันรอดก็มีมาก ทั้งนี้ทั้งนั้น คนในยุคปัจจุบันที่มีอัตตาสูงกว่าในสมัยก่อนมากมายนัก ย่อมไม่เข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ย้อนกลับมาที่ปลัดศรันย์ โครงเรื่องจึงจงใจวางบุคลิก นิสัยของผู้หญิงที่เข้ามาพัวพันปลัดศรันย์ ให้แตกต่างกัน โดยวางกรอบว่า ปลัดศรันย์ต้องมาเริ่มต้นชีวิตคู่กับผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ไม่รู้จักมาก่อน คือ รินระพี แต่ด้วยความดีงาม ความซื่อสัตย์ ความเป็นแม่บ้านแม่เรือน ความห่วงใยเอาใจใส่อย่างจริงใจ ทำให้รินระพี กลายเป็นคนที่ปลัดศรันย์รู้สึกผูกพันมากขึ้นทีละนิดๆ ในขณะเดียวกัน ดวงสวาท ผู้หญิงอีกคนก็ถูกโยนลงมาท้าทายจิตใจของปลัดศรันย์ โดยวางให้เป็นคนที่ปลัดศรันย์เองเคยรักอย่างมากมาย แทบจะเรียกว่า รักเท่าชีวิต ด้วยความผูกพันที่มีมานานนับสิบปี (ตรงนี้แอบขัดใจนิดนึง ถ้ารู้จักและรักกันมาเป็นสิบปี จะไม่รู้นิสัยดวงสวาทได้อย่างไร หรือเพราะความรักทำให้หน้ามืดตาบอด เห็นอะไรดีงามไปหมด) ดวงสวาทเป็นผู้หญิงที่ตอบสนองอารมณ์ของปลัดศรันย์ได้อย่างดี ทั้งอารมณ์รัก อารมณ์ใคร่ แถมยังวางให้ดวงสวาทรู้การรู้งาน สามารถทำหน้าที่ “หลังบ้าน” ของปลัดได้อย่างคล่องแคล่วกว่ารินระพีด้วยซ้ำ รู้จักเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ สิ่งเหล่านี้ คือโจทย์ที่ท้าทายยิ่งนัก ทำให้คนรักเก่าที่แม้ว่าจะเคยทิ้งร้างห่างหายไปแล้ว แต่ก็กลับมางอนง้อ ดูมีราคา มีค่าน่าสนใจไม่แพ้รินระพีเลยทีเดียว เพียงแต่ว่า สิ่งที่รินระพีมี แต่ดวงสวาทไม่มี คือ ความจงรักภักดีต่อสามีอย่างสุดหัวใจ ไม่ว่าสามีจะทำงาน ทำหน้าที่อะไร เสี่ยงอันตรายแค่ไหน รินระพีก็พร้อมจะสนับสนุนและเข้าอกเข้าใจ ดังคำสอนของคุณหญิงแก้วที่ว่า คู่สร้างคู่สม ต้องมีสิ่งที่เสมอกัน 4 อย่าง สมศรัทธา มีความเชื่อเหมือนกัน สมศีลา เป็นคนดีเสมอกัน สมจาคะ มีจิตใจเอื้อเฟื้อพอๆกัน และสมปัญญา มีปัญญาเสมอกัน ทั้งๆที่รินระพีไม่รู้จักปลัดศรันย์มาก่อน แต่เมื่อตนเองยอมมาแต่งงานกับเขา ก็พร้อมจะรับและเข้าใจในอาชีพของเขา หนำซ้ำ ยังเห็นอกเห็นใจชาวบ้านที่เดือดร้อน ยอมรับให้สามีไปเสี่ยงชีวิตสู้กับโจร ทั้งๆที่รู้ว่า สามีอาจไม่ได้กลับมาอีกเลยตลอดชีวิต แอบคิดเล่นๆว่า ถ้ากลับกัน เป็นดวงสวาทที่เป็นภรรยา เธอคงทำหน้าที่หลังบ้าน แอบรับผลประโยชน์ตั้งแต่พนิชมาขอให้เซ็นชื่อเป็นหุ้นส่วนค้าข้าวเถื่อนไปแล้ว และชีวิตคู่ของปลัดศรันย์ย่อมร้อนเป็นไฟ เมื่อสามีกินอุดมการณ์แต่ภรรยาจะกินผลประโยชน์ ซึ่งสุดท้ายแล้ว อาจไม่พ้นสูตรสำเร็จของละครไทยที่ว่า ความดีย่อมเอาชนะความชั่วร้าย คนดีย่อมได้รับสิ่งที่ดีในที่สุด แต่ด้วยบริบทต่างๆ ก็พาให้คนดูคล้อยตามว่า หากแม้แต่ตนเองเป็นปลัดศรันย์ ก็ย่อมต้องเลือกแบบเดียวกันแน่นอน
จุดเด่นที่เป็นคุณค่าของละครเรื่องนี้อีกจุดหนึ่ง คือ การสอดแทรกคำสอนดีๆผ่านตัวละครผู้ใหญ่หลายๆตัว ไม่ว่าจะเป็นคุณหญิงแก้ว เจ้าคุณบำรุงฯ หรือคุณหญิงเพ็ญแข และส่วนนี้เองที่ทำให้น้ำเน่า กลายเป็นน้ำลอยดอกมะลิไปได้ ทั้งๆที่โครงเรื่องไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป
นอกเหนือจากคำสอนในละครเรื่องนี้ อีกจุดหนึ่งที่อยากจะพูดถึงและชื่นชม คือ บทพูดของรินระพีเวลาปะทะกับดวงสวาท เป็นคำพูดที่แสดงถึงวุฒิภาวะทางอารมณ์ของรินระพีว่า มีสูงมาก สามารถตั้งสติ และดึงตัวเอง ดึงอารมณ์ออกจากเรื่องราวที่เผชิญ และวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา จุดนี้แหละที่เราประทับใจมาก เพราะมันสอนวิธีการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดีทีเดียว คนเราในทุกวันนี้ มักปล่อยให้อารมณ์ของเรื่องนำพาเราไป แต่หากเราสามารถดึงอารมณ์ร่วมออกแล้วใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์ปัญหาอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที ตอบโต้อย่างเหนือชั้นอย่างรินระพีล่ะก็ ย่อมทำให้เราไม่ตกเป็นทาสของปัญหาอย่างแน่นอน จริงอยู่คำพูดของตัวละครอาจดูเป็นไปไม่ได้ที่ในยุคสมัยนั้นจะมีการพูดกันแบบนี้ เช่นการถกเถียงกันของรินระพีและดวงสวาท แต่หากไม่คิดมาก ก็นับว่า การเขียนบท สามารถเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ แต่ทำให้คนดูได้แง่คิด ได้มุมมองใหม่ๆในการดำเนินชีวิตอย่างดี
ในส่วนของนักแสดง อยากจะให้เครดิตกับทีมงานทั้งหมด นับตั้งแต่ผู้จัด ผู้กำกับ นักแสดงหลัก ไปจนถึงคนจัดฉาก จัดพรอพประกอบ สามารถทำได้อย่างละเอียดลออ ละเมียดละไม ทำให้โทนบรรยากาศของละครดูนุ่มนวลสวยงามมาก การดูละครเรื่องนี้ จึงเหมือนได้พักผ่อน สบายตา สบายใจจริงๆ
มาที่นักแสดงหลัก อยากจะพูดถึงเจมส์จิก่อนใคร ในความเป็นจริงแล้ว เจมส์จิเป็นหนุ่มหน้าอ่อนใส หน้าหวานมาก และมีผิวขาวอมชมพูสวย ทำให้เจมส์จิไม่มีอะไรใกล้เคียงกับปลัดศรันย์เลยแม้แต่น้อย แต่ด้วยฝีมือการแสดง ทำให้เราเชื่อว่า คนๆนี้คือปลัดศรันย์ ซึ่งแม้จะเป็นปลัดศรันย์ที่มีรูปลักษณ์แตกต่าง แต่ก็ไม่ขัดสายตา ยิ่งบวกกับเสน่ห์เฉพาะตัวทางการแสดงของเจมส์ ซึ่งตรงนี้ขอชมเชยว่า มีพระเอกละครน้อยคนที่จะครบเครื่อง ทั้งรูปลักษณ์ที่หล่อเหลา ดึงดูดสายตา ทั้งรูปร่างที่สูงสง่า แล้วยังมีเสน่ห์ทางการแสดงที่สามารถดึงสายตาคนดูให้เคลิ้มยามได้ชม จะสังเกตได้ว่า เจมส์เล่นละครเรื่องไหน ก็มักมีแม่ยกมากรี๊ดกร๊าดเป็นจำนวนมาก คนหน้าตาหล่อหลายๆคนเมื่อเล่นละครกลับไม่ดึงดูดเท่า ในขณะเดียวกัน คนที่มีเสน่ห์ทางการแสดงหลายๆคนก็ไม่หล่อเหลา หรือมีข้อบกพร่องตรงนั้นตรงนี้ แต่เจมส์แทบจะครบเครื่องทุกอย่างทีเดียว หากสามารถประคองชื่อเสียง สร้างผลงานแบบนี้ไปเรื่อยๆ เจมส์น่าจะดังไปได้อีกนาน
มาที่เบลล่าและมินต์ ทั้งคู่น่าสงสารตรงที่เธอมีใบหน้าสวยตามวัย แต่ต้องมาเล่นละครประกบกับหนุ่มหน้าอ่อนกว่าวัย และยังอายุน้อยกว่า ทำให้จุดแรกๆ อาจดูขัดตา และถ้าไม่ปล่อยวาง ยังมองเบลล่าเป็นเบลล่า มองมินต์เป็นมินต์ เราก็จะเห็นพี่สาวสองคน ทะเลาะกันเรื่องน้องชาย แต่หากปล่อยให้ละครพาเราไปเรื่อยๆ เราจะเห็นรินระพีผู้อ่อนหวาน เป็นกุลสตรี และดวงสวาท สาวสวยฉูดฉาดเจ้าเล่ห์จริงๆ
เบลล่าสวมบทรินระพีได้ดีมาก อาจเพราะเธอมีประสบการณ์กับการเล่นเป็นสตรีไทยในสมัยก่อนมาหลายเรื่อง ทำให้การแสดงท่วงท่าทำงานบ้าน งานฝีมือของเธอดูไม่ขัดตา บทเข้าพระเข้านางกับเจมส์จิก็ดูน่ารัก สมกับความเป็นรินระพีจริงๆ ส่วนมินต์ ก็สามารถแสดงความเป็นดวงสวาทได้อย่างถึงพริกถึงขิง แม้รูปร่างของมินต์จะไม่ได้เหมาะเป็นนางร้ายเซ็กซี่แต่อย่างใด แต่เธอก็ใช้ฝีมือการแสดงกลบข้อด้อยเหล่านั้นไปจนหมด
ส่วนตัวละครรุ่นพ่อแม่นั้น คงไม่ต้องวิจารณ์อะไร เพราะฝีมือขึ้นหิ้งกันทั้งนั้น แทบทุกคนแสดงกันได้อย่างกลมกลืนไปกับบท จนไม่ทำให้รู้สึกโดดแม้แต่น้อย ละครเรื่องนี้จึงกลมกล่อม นุ่มนวล ทำให้เวลาดู เหมือนได้ดื่มน้ำลอยดอกมะลิเย็นๆ ชื่นใจ ที่สำคัญคือ ฉาก สิ่งของ การทำงานบ้าน และสิ่งต่างๆที่แฝงอยู่ในละคร ทำให้เรามองเห็นจุดเด่นของวัฒนธรรมและความเป็นไทย ที่น่ารื่นรมย์ ซึ่งหากละครเรื่องนี้มีโอกาสไปฉายในประเทศอื่น เชื่อว่า น่าจะเป็นเสน่ห์หนึ่งที่สำคัญ และทำให้คนอยากมาท่องเที่ยว มาดูศิลปวัฒนธรรมของไทย มาชิมอาหารไทย (โดยเฉพาะน้ำพริกลงเรือ) กันเป็นแน่
ปดิวรัดา ละครน้ำเน่าคลาสสิคที่ไม่ธรรมดา….
ปดิวรัดา มาจากคำท้ายของชื่อ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา แปลว่า ภรรยาที่ซื่อสัตย์และภักดีต่อสามี ซึ่งไม่ใช่ชื่อของนางเอกในเรื่องแต่อย่างใด แต่เป็นชื่อที่สรุปความเป็นตัวตนของนางเอก ซึ่งเป็นตัวหลักของเรื่อง
ทั้งนี้ เราไม่ได้อ่านนวนิยายเรื่องนี้มาก่อน จึงขอวิจารณ์เฉพาะเท่าที่เห็นในละคร ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาไปจากนิยายพอสมควร แต่อย่างไรก็ตาม เนื้อเรื่องหลักๆของปดิวรัดา ก็ไม่พ้นวังวนของละครประเภท Soap Opera คือ เนื้อเรื่องมีการปลอมตัว มียาจกที่ภายหลังกลายเป็นคุณหนูลูกเศรษฐี มีเรื่องราวหึงหวง ชิงรักหักสวาท ซึ่งเรื่องเหล่านี้ ก็วนๆเวียนอยู่ในละครไทยมานานแสนนาน ทั้งที่หากจะถามหาความเป็นไปได้ในโลกของความจริง มันอาจจะขัดหูขัดตาเหลือเกินที่จะมีคนที่คิดหรือกระทำแบบนี้ แต่ในความน้ำเน่า กลับมีรายละเอียดบางอย่างที่สอดแทรกเข้ามา ทำให้น้ำเน่ากลายเป็นน้ำลอยดอกมะลิไปได้
ปดิวรัดา เปิดเรื่องในยุคสมัยประมาณปี พ.ศ.2500 (นวนิยายเรื่องนี้ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2496) สภาพสังคม ค่านิยม บุคลิกลักษณะของตัวละคร จึงอาจจะดูแปลกตาสำหรับคนในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะแนวคิดบางอย่าง ที่เด็กสมัยใหม่อาจจะไม่เข้าใจเอาเสียเลย เช่น การแต่งงานแบบคลุมถุงชน ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินเรื่องหลักในที่นี้
โครงเรื่องของปดิวรัดา ได้วางตัวละครหลัก 2 ตัวให้เห็นความแตกต่าง โดยมีปลัดศรันย์เป็นตัวกลาง โจทย์ที่ยากและท้าทาย คือ ปลัดศรันย์จะเลือกใครเป็นภรรยา ระหว่างผู้หญิงที่รักและบูชามาร่วมสิบปี กับผู้หญิงที่ไม่เคยรัก ไม่เคยแม้แต่จะรู้จัก แต่ต้องมาใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน จุดนี้เอง เป็นแกนหลักที่ชี้ให้เห็นว่า เวลาและความผูกพันในอารมณ์รัก บางทีก็ไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้ชีวิตคู่ดำเนินไปได้ ดังเช่นคำพูดของพระบำรุงประชากิจ ที่ว่า “....ชีวิตที่นำด้วยอารมณ์อารมณ์จะพาไปขึ้นสวรรค์ พาไปลงนรก เป็นไปได้ทั้งสองทาง แต่ชีวิตที่นำด้วยหน้าที่ หน้าที่ความรับผิดชอบ จะพาไปทิศทางเดียว ...คือพาไปสู่สิ่งที่ดีงาม” จุดนี้เองที่ทำให้เราสะดุดหู และสะดุดใจขึ้นมาทันที เพราะประโยคนี้เอง มันอธิบายด้านดีของการแต่งงานแบบคลุมถุงชนอย่างกระจ่าง เราเองก็เคยนึกสงสัยมาตลอดว่า รุ่นพ่อรุ่นแม่ที่ถูกจับแต่งงานกัน ทั้งๆที่ไม่ได้คบหา ดูใจ ศึกษานิสัยใจคอด้วยตัวเองนั้น เขาอยู่กันได้อย่างไร แม้จะมีบางคู่ที่ไปกันไม่รอด แต่คู่สมรสที่เลือกคู่ด้วยตนเองก็ใช่ว่าจะไปกันรอดทุกคู่ และยิ่งนำคำพูดประโยคนี้มาคิด ยิ่งค้นพบว่า ความล้มเหลวในชีวิตคู่ หลักใหญ่ๆมาจากอารมณ์จริงๆ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่าย ใช้อารมณ์เป็นตัวนำพาชีวิต ก็สุดแท้แต่ว่า อารมณ์นั้นจะสอดคล้อง เข้าคู่กันไปได้ด้วยดีอยู่นานแค่ไหน แต่เมื่ออารมณ์เกิดแยกขั้ว หรืออยู่คนละฝั่งกัน สงครามเล็กๆในครอบครัวย่อมเกิดขึ้น แต่ด้วยค่านิยมของคนในยุคสมัยนั้น การสมรสด้วยวิธีคลุมถุงชนสามารถดำเนินชีวิตคู่ไปกันได้ด้วยดีหลายต่อหลายคู่ เพราะแต่ละคนต่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน ตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง ประคองชีวิตสมรสด้วยความเกรงอกเกรงใจกัน พร้อมๆกับค่อยๆหล่อหลอมความรัก ความผูกพันต่อกันไปได้ในที่สุด แน่นอน ปัจจัยของความสำเร็จในชีวิตคู่แบบคลุมถุงชนนี้ ส่วนหลักต้องนับตั้งแต่จุดเริ่มต้น การเลือกด้วยสายตาของพ่อแม่แต่ละฝ่าย มักผ่านการกลั่นกรอง พิจารณามาเป็นอย่างดีแล้ว ไม่มีใครอยากจะส่งลูกของตนเองไปอยู่กับคนที่ไม่น่าไว้วางใจทั้งนั้น ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง แต่ถ้าเชื่อถือในชาติตระกูล ซึ่งหมายถึงเชื่อถือว่า อีกฝ่ายต้องมีการอบรมบ่มนิสัยกันมาเป็นอย่างดี ไม่ใช่เพียงเกียรติยศหน้าตา หรือฐานะ (การเลือกจากเปลือกนอกเหล่านี้เท่านั้นก็อาจจะมี และมักเสี่ยงต่อความล้มเหลวในภายหน้า) เมื่อจุดเริ่มต้นดี โอกาสที่จะไปกันรอดก็มีมาก ทั้งนี้ทั้งนั้น คนในยุคปัจจุบันที่มีอัตตาสูงกว่าในสมัยก่อนมากมายนัก ย่อมไม่เข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ย้อนกลับมาที่ปลัดศรันย์ โครงเรื่องจึงจงใจวางบุคลิก นิสัยของผู้หญิงที่เข้ามาพัวพันปลัดศรันย์ ให้แตกต่างกัน โดยวางกรอบว่า ปลัดศรันย์ต้องมาเริ่มต้นชีวิตคู่กับผู้หญิงคนหนึ่ง ที่ไม่รู้จักมาก่อน คือ รินระพี แต่ด้วยความดีงาม ความซื่อสัตย์ ความเป็นแม่บ้านแม่เรือน ความห่วงใยเอาใจใส่อย่างจริงใจ ทำให้รินระพี กลายเป็นคนที่ปลัดศรันย์รู้สึกผูกพันมากขึ้นทีละนิดๆ ในขณะเดียวกัน ดวงสวาท ผู้หญิงอีกคนก็ถูกโยนลงมาท้าทายจิตใจของปลัดศรันย์ โดยวางให้เป็นคนที่ปลัดศรันย์เองเคยรักอย่างมากมาย แทบจะเรียกว่า รักเท่าชีวิต ด้วยความผูกพันที่มีมานานนับสิบปี (ตรงนี้แอบขัดใจนิดนึง ถ้ารู้จักและรักกันมาเป็นสิบปี จะไม่รู้นิสัยดวงสวาทได้อย่างไร หรือเพราะความรักทำให้หน้ามืดตาบอด เห็นอะไรดีงามไปหมด) ดวงสวาทเป็นผู้หญิงที่ตอบสนองอารมณ์ของปลัดศรันย์ได้อย่างดี ทั้งอารมณ์รัก อารมณ์ใคร่ แถมยังวางให้ดวงสวาทรู้การรู้งาน สามารถทำหน้าที่ “หลังบ้าน” ของปลัดได้อย่างคล่องแคล่วกว่ารินระพีด้วยซ้ำ รู้จักเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ สิ่งเหล่านี้ คือโจทย์ที่ท้าทายยิ่งนัก ทำให้คนรักเก่าที่แม้ว่าจะเคยทิ้งร้างห่างหายไปแล้ว แต่ก็กลับมางอนง้อ ดูมีราคา มีค่าน่าสนใจไม่แพ้รินระพีเลยทีเดียว เพียงแต่ว่า สิ่งที่รินระพีมี แต่ดวงสวาทไม่มี คือ ความจงรักภักดีต่อสามีอย่างสุดหัวใจ ไม่ว่าสามีจะทำงาน ทำหน้าที่อะไร เสี่ยงอันตรายแค่ไหน รินระพีก็พร้อมจะสนับสนุนและเข้าอกเข้าใจ ดังคำสอนของคุณหญิงแก้วที่ว่า คู่สร้างคู่สม ต้องมีสิ่งที่เสมอกัน 4 อย่าง สมศรัทธา มีความเชื่อเหมือนกัน สมศีลา เป็นคนดีเสมอกัน สมจาคะ มีจิตใจเอื้อเฟื้อพอๆกัน และสมปัญญา มีปัญญาเสมอกัน ทั้งๆที่รินระพีไม่รู้จักปลัดศรันย์มาก่อน แต่เมื่อตนเองยอมมาแต่งงานกับเขา ก็พร้อมจะรับและเข้าใจในอาชีพของเขา หนำซ้ำ ยังเห็นอกเห็นใจชาวบ้านที่เดือดร้อน ยอมรับให้สามีไปเสี่ยงชีวิตสู้กับโจร ทั้งๆที่รู้ว่า สามีอาจไม่ได้กลับมาอีกเลยตลอดชีวิต แอบคิดเล่นๆว่า ถ้ากลับกัน เป็นดวงสวาทที่เป็นภรรยา เธอคงทำหน้าที่หลังบ้าน แอบรับผลประโยชน์ตั้งแต่พนิชมาขอให้เซ็นชื่อเป็นหุ้นส่วนค้าข้าวเถื่อนไปแล้ว และชีวิตคู่ของปลัดศรันย์ย่อมร้อนเป็นไฟ เมื่อสามีกินอุดมการณ์แต่ภรรยาจะกินผลประโยชน์ ซึ่งสุดท้ายแล้ว อาจไม่พ้นสูตรสำเร็จของละครไทยที่ว่า ความดีย่อมเอาชนะความชั่วร้าย คนดีย่อมได้รับสิ่งที่ดีในที่สุด แต่ด้วยบริบทต่างๆ ก็พาให้คนดูคล้อยตามว่า หากแม้แต่ตนเองเป็นปลัดศรันย์ ก็ย่อมต้องเลือกแบบเดียวกันแน่นอน
จุดเด่นที่เป็นคุณค่าของละครเรื่องนี้อีกจุดหนึ่ง คือ การสอดแทรกคำสอนดีๆผ่านตัวละครผู้ใหญ่หลายๆตัว ไม่ว่าจะเป็นคุณหญิงแก้ว เจ้าคุณบำรุงฯ หรือคุณหญิงเพ็ญแข และส่วนนี้เองที่ทำให้น้ำเน่า กลายเป็นน้ำลอยดอกมะลิไปได้ ทั้งๆที่โครงเรื่องไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป
นอกเหนือจากคำสอนในละครเรื่องนี้ อีกจุดหนึ่งที่อยากจะพูดถึงและชื่นชม คือ บทพูดของรินระพีเวลาปะทะกับดวงสวาท เป็นคำพูดที่แสดงถึงวุฒิภาวะทางอารมณ์ของรินระพีว่า มีสูงมาก สามารถตั้งสติ และดึงตัวเอง ดึงอารมณ์ออกจากเรื่องราวที่เผชิญ และวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา จุดนี้แหละที่เราประทับใจมาก เพราะมันสอนวิธีการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดีทีเดียว คนเราในทุกวันนี้ มักปล่อยให้อารมณ์ของเรื่องนำพาเราไป แต่หากเราสามารถดึงอารมณ์ร่วมออกแล้วใช้ปัญญาคิดวิเคราะห์ปัญหาอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที ตอบโต้อย่างเหนือชั้นอย่างรินระพีล่ะก็ ย่อมทำให้เราไม่ตกเป็นทาสของปัญหาอย่างแน่นอน จริงอยู่คำพูดของตัวละครอาจดูเป็นไปไม่ได้ที่ในยุคสมัยนั้นจะมีการพูดกันแบบนี้ เช่นการถกเถียงกันของรินระพีและดวงสวาท แต่หากไม่คิดมาก ก็นับว่า การเขียนบท สามารถเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ แต่ทำให้คนดูได้แง่คิด ได้มุมมองใหม่ๆในการดำเนินชีวิตอย่างดี
ในส่วนของนักแสดง อยากจะให้เครดิตกับทีมงานทั้งหมด นับตั้งแต่ผู้จัด ผู้กำกับ นักแสดงหลัก ไปจนถึงคนจัดฉาก จัดพรอพประกอบ สามารถทำได้อย่างละเอียดลออ ละเมียดละไม ทำให้โทนบรรยากาศของละครดูนุ่มนวลสวยงามมาก การดูละครเรื่องนี้ จึงเหมือนได้พักผ่อน สบายตา สบายใจจริงๆ
มาที่นักแสดงหลัก อยากจะพูดถึงเจมส์จิก่อนใคร ในความเป็นจริงแล้ว เจมส์จิเป็นหนุ่มหน้าอ่อนใส หน้าหวานมาก และมีผิวขาวอมชมพูสวย ทำให้เจมส์จิไม่มีอะไรใกล้เคียงกับปลัดศรันย์เลยแม้แต่น้อย แต่ด้วยฝีมือการแสดง ทำให้เราเชื่อว่า คนๆนี้คือปลัดศรันย์ ซึ่งแม้จะเป็นปลัดศรันย์ที่มีรูปลักษณ์แตกต่าง แต่ก็ไม่ขัดสายตา ยิ่งบวกกับเสน่ห์เฉพาะตัวทางการแสดงของเจมส์ ซึ่งตรงนี้ขอชมเชยว่า มีพระเอกละครน้อยคนที่จะครบเครื่อง ทั้งรูปลักษณ์ที่หล่อเหลา ดึงดูดสายตา ทั้งรูปร่างที่สูงสง่า แล้วยังมีเสน่ห์ทางการแสดงที่สามารถดึงสายตาคนดูให้เคลิ้มยามได้ชม จะสังเกตได้ว่า เจมส์เล่นละครเรื่องไหน ก็มักมีแม่ยกมากรี๊ดกร๊าดเป็นจำนวนมาก คนหน้าตาหล่อหลายๆคนเมื่อเล่นละครกลับไม่ดึงดูดเท่า ในขณะเดียวกัน คนที่มีเสน่ห์ทางการแสดงหลายๆคนก็ไม่หล่อเหลา หรือมีข้อบกพร่องตรงนั้นตรงนี้ แต่เจมส์แทบจะครบเครื่องทุกอย่างทีเดียว หากสามารถประคองชื่อเสียง สร้างผลงานแบบนี้ไปเรื่อยๆ เจมส์น่าจะดังไปได้อีกนาน
มาที่เบลล่าและมินต์ ทั้งคู่น่าสงสารตรงที่เธอมีใบหน้าสวยตามวัย แต่ต้องมาเล่นละครประกบกับหนุ่มหน้าอ่อนกว่าวัย และยังอายุน้อยกว่า ทำให้จุดแรกๆ อาจดูขัดตา และถ้าไม่ปล่อยวาง ยังมองเบลล่าเป็นเบลล่า มองมินต์เป็นมินต์ เราก็จะเห็นพี่สาวสองคน ทะเลาะกันเรื่องน้องชาย แต่หากปล่อยให้ละครพาเราไปเรื่อยๆ เราจะเห็นรินระพีผู้อ่อนหวาน เป็นกุลสตรี และดวงสวาท สาวสวยฉูดฉาดเจ้าเล่ห์จริงๆ
เบลล่าสวมบทรินระพีได้ดีมาก อาจเพราะเธอมีประสบการณ์กับการเล่นเป็นสตรีไทยในสมัยก่อนมาหลายเรื่อง ทำให้การแสดงท่วงท่าทำงานบ้าน งานฝีมือของเธอดูไม่ขัดตา บทเข้าพระเข้านางกับเจมส์จิก็ดูน่ารัก สมกับความเป็นรินระพีจริงๆ ส่วนมินต์ ก็สามารถแสดงความเป็นดวงสวาทได้อย่างถึงพริกถึงขิง แม้รูปร่างของมินต์จะไม่ได้เหมาะเป็นนางร้ายเซ็กซี่แต่อย่างใด แต่เธอก็ใช้ฝีมือการแสดงกลบข้อด้อยเหล่านั้นไปจนหมด
ส่วนตัวละครรุ่นพ่อแม่นั้น คงไม่ต้องวิจารณ์อะไร เพราะฝีมือขึ้นหิ้งกันทั้งนั้น แทบทุกคนแสดงกันได้อย่างกลมกลืนไปกับบท จนไม่ทำให้รู้สึกโดดแม้แต่น้อย ละครเรื่องนี้จึงกลมกล่อม นุ่มนวล ทำให้เวลาดู เหมือนได้ดื่มน้ำลอยดอกมะลิเย็นๆ ชื่นใจ ที่สำคัญคือ ฉาก สิ่งของ การทำงานบ้าน และสิ่งต่างๆที่แฝงอยู่ในละคร ทำให้เรามองเห็นจุดเด่นของวัฒนธรรมและความเป็นไทย ที่น่ารื่นรมย์ ซึ่งหากละครเรื่องนี้มีโอกาสไปฉายในประเทศอื่น เชื่อว่า น่าจะเป็นเสน่ห์หนึ่งที่สำคัญ และทำให้คนอยากมาท่องเที่ยว มาดูศิลปวัฒนธรรมของไทย มาชิมอาหารไทย (โดยเฉพาะน้ำพริกลงเรือ) กันเป็นแน่