เคยเขียนชื่นชมละครเรื่องนี้ไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว อยากจะขอบคุณทุกๆท่าน และรู้สึกชื่นใจแทนคณะผู้จัดทำละครจริงๆค่ะ ที่มีคนรักละครเรื่องนี้อย่างที่เรารักมากมายเหลือเกิน และขอเป็นอีกเสียงที่สนับสนุนละครเรื่องนี้ เพราะมีสิ่งดีๆในตัวหลายอย่าง จนไม่อยากให้พลาดชมกัน
มีประเด็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่น่าสนใจมาก และยังไม่มีใครเขียนถึงอย่างละเอียดนัก คือ ในละครเรื่องนี้ มีคนที่เป็นปดิวรัดา คือ เป็นภรรยาที่ซื่อสัตย์ จงรักภักดิต่อสามีกี่คน เราลองมาไล่เรียงกันทีละคนนะคะ
(ขอติดสปอยล์ไว้ก่อน เพราะเนื้อหาบางส่วนอาจจะล่วงหน้าจากละครไปแล้วนะคะ)
ริน ระพี หรือ บราลี
แน่นอน นางเอกของเราเป็นปดิวรัดาในอุดมคติอย่างไม่ต้องสงสัย เธอเป็นแบบฉบับของกุลสตรีไทยตามขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยแท้แต่โบราณ งานบ้านงานเรือนเธอทำได้ไม่ขาดตกบกพร่อง ส่งเสริม เกื้อกูลสามีทุกอย่าง ทั้งๆที่ในตอนแรก เธอทำเพราะคิดเพียงว่า มันเป็นหน้าที่มากกว่าความรู้สึกอยากจะทำด้วยใจ หรือด้วยความรักด้วยซ้ำไป หากเปรียบเทียบรินกับบริบทของสังคมในสมัยนี้ หลายๆคนอาจจะรู้สึกขัดใจว่า ยังมีผู้หญิงหัวอ่อนแบบนี้อยู่อีกหรือ ที่พร้อมจะเป็นคนที่อยู่กับบ้าน คอยสนับสนุนสามีอยู่ข้างหลัง ทำหน้าที่ภรรยา แม่บ้าน แม่เรือน และแม่ของลูกที่ดี เชื่อฟัง อยู่ในโอวาทของสามีและแม่สามี อย่าลืมว่า ละครเรื่องนี้เป็นละครที่แสดงสภาพสังคมในยุคปี พ.ศ.2500 ยุคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังเป็นอย่างริน ยังมีผู้หญิงน้อยคนนักที่จะกล้าลุกขึ้นมา หรือมีหัวก้าวหน้าแบบบุรนี ซึ่งส่วนใหญ่ ก็ต้องเป็นผู้หญิงที่มีฐานะดีพอสมควร และพ่อแม่ไม่หัวโบราณจนเกินไปเท่านั้น ที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษาสูงๆทัดเทียมกับผู้ชาย พ่อแม่ในสมัยนั้นส่วนใหญ่มักคิดว่า เรียนไปทำไม เดี๋ยวก็แต่งงาน เป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก สู้มาหัดงานบ้านงานเรือนยังจะดีกว่า รินจึงเป็นตัวแทนของภรรยาที่เป็นปดิวรัดาในแบบยุคเก่าจริงๆ
แต่ถึงแม้กระนั้น ก่อนที่รินจะเปิดใจรักและผูกพันกับปลัดศรันย์ เธอยังเคยร้องขอความเป็นเพื่อนกับปลัดฯ แม้ว่าด้วยหน้าที่จะเป็นภรรยา แต่เธอก็ยังอยากเป็นแค่เพื่อนทางใจไปก่อน หรือเมื่อรินเข้าสู่ฐานะคุณหนูลูกเศรษฐีอันแท้จริง ในท้ายสุดแล้ว รินก็ยืนหยัดที่จะเป็นแบบที่เธอเป็น ไม่ได้ยอมก้มหัว หรือทำตามความต้องการของสามีไปหมดทุกอย่าง นับว่ารินก็ไม่ถึงกับหัวอ่อนเสียทีเดียวนัก
คุณหญิงแก้ว
คุณหญิงแก้วโชคร้ายที่สามีไม่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคใหญ่ในชีวิต ไม่สามารถทนรับแรงกดดันเมื่อเกิดปัญหา กลับเลือกการฆ่าตัวตายเพื่อตัดปัญหา แต่คุณหญิงแก้วก็ยังอดทน ใช้ชีวิตหญิงม่ายต่อไป โดยนำศรันย์ไปฝากไว้ที่วัด เพื่อลดภาระการดูแล เนื่องจากตัวคุณหญิงเองคงไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรอยู่ ส่วนตนเองนั้นก็ต้องไปอาศัยญาติผู้น้อง จนลูกชายโต เรียนจบ จึงได้กลับมาอยู่ด้วยกัน ตลอดเรื่อง คุณหญิงแก้วเป็นเหมือนรากแก้วของต้นไม้แห่งครอบครัวศิวะเวทย์ คอยประสานความขัดแย้ง คอยสั่งสอน อบรม ทั้งปลัดศรันย์ ทั้งริน ให้ประคับประคองชีวิตคู่กันต่อไป คำสอนของคุณหญิงแก้วนั้น งดงาม ชัดเจน และเป็นคำสอนที่สามารถนำมาใช้ได้แทบทั้งสิ้น จึงไม่น่าสงสัยว่า คุณหญิงแก้วนอกจากจะเป็นปดิวรัดา ที่แม้ว่าสามีจะไม่อยู่ด้วยแล้ว แต่ก็ยังทำหน้าที่ภรรยาและแม่ที่ประเสริฐอยู่เสมอมา การเป็นปดิวรัดาของคุณหญิงแก้ว จึงไม่จำกัดเฉพาะการทำหน้าที่ต่อสามี แต่ขยายวงไปยังลูก ลูกสะใภ้ และน่าจะไปถึงหลาน บริวารในบ้านอีกด้วย
คุณหญิงเพ็ญแข
เท่าที่ทราบ ตามนิยายคุณหญิงเพ็ญแขค่อนข้างไปทางร้าย ริษยานางเอก แต่ละครได้ปรับบทให้กลายเป็นค่อนข้างดี แม้ว่าต้นเรื่องจะปัดภาระการแต่งงานไปให้ริน แทนลูกแท้ๆ แต่หลังจากนั้น คุณหญิงเพ็ญแขก็ดูจะเป็นแม่เลี้ยงที่ดีของรินตลอด และเมื่อได้รับรู้ว่า พนิช สามีของบารนี ไม่ได้เป็นคนดีอย่างที่คิด ก็ไม่สนับสนุนให้บารนีอดทนอยู่กับพนิชต่อไปแต่อย่างใด
แต่จุดที่น่าสนใจมากๆของคุณหญิงเพ็ญแข กลับเป็นเรื่องอดีตที่คุณหญิงเล่าให้รินและลูกสาวฟังเกี่ยวกับการที่เจ้าคุณบำรุงฯเคยนอกใจ ตอนอยู่ที่อังกฤษ สิ่งที่เป็นความชาญฉลาดของคุณหญิงเพ็ญแข คือ การตามไปจัดการกับมือที่สาม เริ่มตั้งแต่ คุณหญิงเพ็ญแขเลือกที่จะไม่บอกความจริงกับลูกๆ ณ ขณะนั้น เพื่อไม่ให้เสียใจ หรือสะเทือนใจ อันอาจนำมาซึ่งการขาดความเคารพนับถือในตัวพ่ออีกไปตลอดชีวิต แล้วตัดสินใจเดินทางไปตามสามี ไปอยู่ขัดขวางความสัมพันธ์ของสามีกับหญิงอื่น อย่างเงียบๆ ไม่โวยวาย ตีโพยตีพาย อาละวาด หึงหวง จนในที่สุด เจ้าคุณบำรุงฯเกิดความเกรงใจ และยอมยุติความสัมพันธ์กับแหม่ม
ตรงนี้ล่ะค่ะ ที่เป็นประเด็นหลักที่ทำให้เราอยากเขียนถึงมากๆ เพราะอะไรหรือ เพราะหลังจากนั้น คุณหญิงเพ็ญแขได้เลือกที่จะให้โอกาสสามี กลับมาเป็นครอบครัวกันเหมือนเดิม ประคองชีวิตคู่ต่อไปจนแก่เฒ่า เพราะหน้าที่ความเป็นพ่อแม่ยังอยู่ และด้วบริบทสังคมในสมัยนั้น การหย่าร้างไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้หญิงที่เกือบทุกคนเมื่อสมรสแล้ว ก็ทำหน้าที่แม่บ้านเป็นหลัก ไหนจะส่วนของลูกๆที่อาจเกิดปัญหา ความไม่มั่นคงในจิตใจ ฉะนั้น ความเป็นปดิวรัดา จึงไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่ต้องจงรักภักดี ต่อสามี มันมีความหมายครอบคลุมและลึกซึ้งมากกว่านั้น ซึ่งถ้าจะให้สรุปง่ายๆ ก็คือ การเป็นภรรยาที่ประเสริฐ เมื่อสามีทำผิดพลาดแล้วกลับตัวได้ แลเห็นหนทางว่า ยังสามารถไปต่อได้ ก็ทำใจ ให้อภัย ยกโทษให้สามี โดยไม่หยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกนานแสนนาน จนลูกๆโตเป็นสาว เริ่มแต่งงานแต่งการ ถึงหยิบยกขึ้นมาบอกเล่า เพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า คนเป็นสามีก็มีโอกาสทำผิด นอกใจ ไม่ใช่เรื่องแปลก
บารนี
บารนีโชคร้ายที่เลือกคู่ชีวิตผิดพลาด ไม่ได้ศึกษาพื้นหลัง นิสัยใจคอของพนิชให้ชัดเจนก่อน และเพราะความที่ต้องการเอาพนิช มากีดกันภาระเรื่องการแต่งงานกับปลัดศรันย์ออกไป จึงทำให้ใจเร็วด่วนได้ เมื่อแรกที่บารนีรู้ว่าพนิชทำการค้าของเถื่อน ก็ยังพยายามสนับสนุน ด้วยการไปขอร้องรินให้ปลัดศรันย์ เซ็นยินยอมในเอกสารผ่านแดนของพนิช ตรงนี้ อาจแสดงความเป็นปดิวรัดาในความคิดของบารนี แต่มันไม่ใช่ การเป็นภรรยาที่ซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อสามี ไม่ใช่การที่พร้อมจะทำชั่วทำเลวไปกับสามี ฉะนั้น ปัจจัยที่สำคัญของชีวิตคู่จึงเริ่มตั้งแต่จุดแรก คือการเลือกคู่ หากเลือกคู่ได้ถูกต้อง มีศีล ศรัทธา จาคะ และปัญญาเสมอกัน ซึ่งต้องย้ำว่าและต้อง เป็นการเสมอกันในทางที่ดีด้วย ชีวิตคู่จึงจะรุ่งเรือง เจริญ แต่ถ้าเลือกคู่ผิด การพยายามที่จะคล้อยตาม กลับกลายเป็นการพากันลงเหว เหมือนกรณีของนิ่ม ลูกสาวกำนัน (เดี๋ยวจะขอเขียนต่อ) สุดท้าย แม้ว่าบารนีจะไม่มีโอกาสได้เป็นภรรยาที่ดี เธอก็สามารถยืนหยัดกลับมาเป็นบารนีคนเดิม แม้จะเจ็บปวดจากความล้มเหลว แต่เธอก็ได้รับโอกาสดีๆให้ยืนหยัดอยู่ต่อไปด้วยตัวเอง
เราชอบละครเรื่องนี้มากๆ อีกอย่าง ตรงที่ตอนจบไม่จับคู่บารนีกับอรุณฤกษ์ ทั้งๆที่สร้างสถานการณ์มาให้ทั้งคู่ใกล้ชิดกัน เป็นห่วงเป็นใยกัน ตอนแรกๆก็คิดว่า ตามสูตรสำเร็จละครไทย คู่นี้ไม่แคล้วต้องลงเอยกัน เพราะต่างอกหัก ช้ำรักมา แต่เรื่องนี้กลับเลือกที่จะจบตามความเป็นจริง เลือกที่จะให้ตัวละครยอมรับความจริงว่า มันเป็นแค่ความเหงา ความว้าเหว่า แล้วหักมุมให้ทั้งคู่แยกย้ายกันไปมีชีวิตของตัวเอง ซึ่งเป็นการสอนคนดูอีกเช่นกันว่า เมื่อขาดรัก ก็ไม่จำเป็นต้องรีบแสวงหามาชดเชย เพราะนั่นจะไม่ใช่ความรักที่แท้จริง
นิ่ม
นิ่มเป็นตัวละครที่มีบทบาทไม่กี่ตอน แต่น่าประทับใจตรงที่ได้วางตัวละครนี้ ออกมาเป็นภาพเปรียบเทียบความเป็นปดิวรัดา เหมือนจะแอบตั้งคำถามคนดูว่า ภรรยาเสือบางแบบนิ่ม เป็นปดิวรัดาหรือไม่ เพราะนิ่มจงรักภักดีต่อเสือบางอย่างล้นเหลือ แม้ว่าเสือบางจะตายไปแล้ว แต่นิ่มก็ยังออกปล้น เพื่อล้างแค้นให้สามี โดยไม่สนใจว่า พ่อแม่จะรู้สึกอย่างไร และแม้แต่พี่ชายก็ตายด้วยน้ำมือของพวกโจรแท้ๆ
นิ่มเป็นตัวละครที่สอนให้เราเห็นถึงผู้หญิงที่รักและบูชาสามีอย่างไม่ลืมหูลืมตา เป็นคนที่สุดโต่งไปในทางหลงผิด บารนีอาจเคยเกือบๆเป็นแบบนิ่ม แต่ด้วยอะไรหลายๆอย่าง ทำให้บารนีไม่หลุดไปไกลเท่านิ่ม ในความคิดของนิ่ม เมื่อรักและได้เป็นภรรยาของเสือบางแล้ว ก็จะพยายามทำทุกอย่างตามหน้าที่ของภรรยา แต่นิ่มกลับไม่ได้มองว่า สิ่งเหล่านั้น ขัดต่อศีลธรรม ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง ฉะนั้น การเป็นปดิวรัดา จึงไม่ใช่การที่จะต้องเดินตามสิ่งที่สามีเป็นและทำไปเสียทุกสิ่งอย่าง นิ่มผิดตั้งแต่ต้นที่รักเสือบาง ชีวิตหลังจากนั้นจึงผิดที่ผิดทาง และใช้ความจงรักภักดีในทางที่ผิด จนทำให้ต้องจบชีวิตลง เราจึงมองว่า จุดเริ่มต้นของการมีคู่ชีวิต จึงสำคัญมากและจำเป็นจุดที่กำหนดทิศทางของชีวิตคู่แต่ละคู่ว่าจะดำเนินไปทางไหน ทุกวันนี้ ในชีวิตจริงเราอาจจะเห็นภรรยาที่มีสามีขี้เหล้า เจ้าชู้ ทำร้ายร่างกาย แต่ก็อดทนเป็นภรรยาที่แสนประเสริฐ เป็นกระสอบทราย คอยรับใช้ ภรรยาอย่างนี้ สมควรเรียกว่า ปดิวรัดาหรือไม่
ดวงสวาท
ตัวละครดวงสวาทนี้ นอกจากจะเป็นโจทย์ที่ตั้งขึ้นมาแข่งกับริน ก็ยังเป็นภาพของผู้หญิงหัวสมัยใหม่ (สำหรับยุคปี พ.ศ.2500) ที่เอาแต่ความต้องการของตัวเองเป็นหลัก ไม่เคยคิดจะให้ แต่กลับทำทุกอย่างเพื่อที่จะได้ และแพ้ไม่เป็น ดวงสวาทอาจดูสุดโต่งไปอีกข้าง หากเปรียบเทียบกับริน แต่หากลองคิดสักนิดจะเห็นว่า ในยุคปัจจุบัน ปี พ.ศ.2559 นี้ ผู้หญิงแบบดวงสวาท ชักจะมีมากขึ้นเรื่อยๆหรือไม่ ผู้หญิงที่เลือกผู้ชายจากฐานะก่อนอย่างอื่น ผู้หญิงที่ว่า เมื่อหมายใจใครแล้ว จะทำทุกอย่างให้ได้มา โดยไม่สนว่า สิ่งที่ตนทำจะไปทำให้ใครเดือดร้อน มีความทะเยอทะยานไฝ่สูง เมื่อคิดว่าจะกลับมาครองคู่กับปลัดศรันย์ ก็พยายามวิ่งเต้นหาผู้หลักผู้ใหญ่ เพื่อสร้างทางลัดของความก้าวหน้าในอาชีพการงานให้กับสามี แต่พอกลับไปอยู่กับนริศ ก็ต้องการให้นริศมีหน้ามีตา มีเกียรติ มีวังเพื่อให้ตนเองเป็นที่ยอมรับในสังคม ดวงสวาทเป็นภรรยาประเภทที่จะคอยกดดันสามีของตนเอง เพื่อสนองความทะยานอยากของตนอยู่เสมอ แน่นอน ภรรยาแบบดวงสวาทย่อมไม่ใช่ปดิวรัดา แต่เราลองถามตัวเองบ้างซิว่า ในตัวเรา มีดวงสวาทแอบซ่อนอยู่ในบางมุมหรือไม่
บุรนี
บุรนี เป็นตัวละครที่เป็นตัวแทนของหญิงยุคใหม่ในสมัยนั้น เป็นหญิงหัวก้าวหน้าที่ไม่คิดจะคอยหวังพึ่งสามี กลับสนใจไฝ่การศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะได้ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ภายหน้า บุรนีน่าจะเป็นตัวละครที่ตรงใจคนดูในยุคนี้ที่สุด เพราะดูไม่งอมืองอเท้า เอาแต่ทำงานบ้าน ( ซึ่งหลายๆคนมองว่า เป็นงานไร้ค่า ) และ แม้ว่าในละคร จนถึงท้ายเรื่อง บุรนีจะยังไม่ได้แต่งงานกับชรัตน์ แต่ผู้หญิงแบบบุรนี น่าจะ ไปได้ดีกับผู้ชายแบบชรัตน์ ที่มีพรั่งพร้อมทุกอย่างแล้ว ขาดแต่ใครสักคน ที่จะมาชี้นำไปในทางที่ถูกต้อง ชีวิตของชรัตน์ที่ผ่านมาจึงค่อนข้างเหลวแหลก เจ้าสำอาง ใช้เงินมากกว่าหาเงิน ดีที่ชรัตน์รู้จักคิด จึงชอบผู้หญิงแบบบุรนี เพราะรู้ตัวว่า หากเลือกคู่ชีวิตที่ไม่มานำตนเอง คอยแต่จะคล้อยตาม คงพากันลงเหว ผูหญิงแบบบุรนีถึงจะดุ เด็ดขาด แต่ก็เหมาะสมกับผู้ชายที่ขาดภาวะผู้นำอย่างชรัตน์ ฉะนั้น หากสองคนนี้แต่งงานกัน ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ใครจะนำใคร บุรนีก็สามารถเป็นปดิวรัดาได้ ในแบบฉบับของเธอ ที่ไม่จำเป็นต้องเดินตามหลัง หรือคอยเป็นฝ่ายรับ ฝ่ายสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา
ทั้งหมดนี้ จึงเป็นภาพเปรียบเทียบการเป็นปดิวรัดาของตัวละครแต่ละคน ที่มีความแตกต่างกัน อยากให้ทุกๆคนที่ติดตามละครเรื่องนี้ ลองสังเกตดูค่ะ การเป็นปดิวรัดา ก็เหมือนการทำความดี ที่มีปัจจัยหลักที่ว่า ต้องทำอย่างมีสติ และปัญญา ประกอบไปด้วย และหากจะให้สรุปคำจำกัดความของความเป็นปดิวรัดา ก็อยากจะบอกว่า ความหมายของการเป็นภรรยาที่ดี ไม่ใช่เพียงแค่ซื่อสัตย์ จงรักภักดี และยอมทำตามความต้องการของสามีเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึง ความดีงาม จริยธรรม ศีลธรรม การรู้จักเป็นผู้นำ รู้จักเป็นผู้ตาม หรือเป็นผู้อยู่เคียงข้าง รู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว รู้จักยอมรับผิด รู้จักให้อภัย ในจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม ตลอดจนการครองตนอย่างสง่างามแม้ปราศจากสามีเคียงข้าง
ปดิวรัดา - ใครบ้าง ที่ได้ชื่อว่าเป็น ปดิวรัดา มาคุยกัน....
มีประเด็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่น่าสนใจมาก และยังไม่มีใครเขียนถึงอย่างละเอียดนัก คือ ในละครเรื่องนี้ มีคนที่เป็นปดิวรัดา คือ เป็นภรรยาที่ซื่อสัตย์ จงรักภักดิต่อสามีกี่คน เราลองมาไล่เรียงกันทีละคนนะคะ
(ขอติดสปอยล์ไว้ก่อน เพราะเนื้อหาบางส่วนอาจจะล่วงหน้าจากละครไปแล้วนะคะ)
ริน ระพี หรือ บราลี
แน่นอน นางเอกของเราเป็นปดิวรัดาในอุดมคติอย่างไม่ต้องสงสัย เธอเป็นแบบฉบับของกุลสตรีไทยตามขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยแท้แต่โบราณ งานบ้านงานเรือนเธอทำได้ไม่ขาดตกบกพร่อง ส่งเสริม เกื้อกูลสามีทุกอย่าง ทั้งๆที่ในตอนแรก เธอทำเพราะคิดเพียงว่า มันเป็นหน้าที่มากกว่าความรู้สึกอยากจะทำด้วยใจ หรือด้วยความรักด้วยซ้ำไป หากเปรียบเทียบรินกับบริบทของสังคมในสมัยนี้ หลายๆคนอาจจะรู้สึกขัดใจว่า ยังมีผู้หญิงหัวอ่อนแบบนี้อยู่อีกหรือ ที่พร้อมจะเป็นคนที่อยู่กับบ้าน คอยสนับสนุนสามีอยู่ข้างหลัง ทำหน้าที่ภรรยา แม่บ้าน แม่เรือน และแม่ของลูกที่ดี เชื่อฟัง อยู่ในโอวาทของสามีและแม่สามี อย่าลืมว่า ละครเรื่องนี้เป็นละครที่แสดงสภาพสังคมในยุคปี พ.ศ.2500 ยุคที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ยังเป็นอย่างริน ยังมีผู้หญิงน้อยคนนักที่จะกล้าลุกขึ้นมา หรือมีหัวก้าวหน้าแบบบุรนี ซึ่งส่วนใหญ่ ก็ต้องเป็นผู้หญิงที่มีฐานะดีพอสมควร และพ่อแม่ไม่หัวโบราณจนเกินไปเท่านั้น ที่จะได้รับโอกาสทางการศึกษาสูงๆทัดเทียมกับผู้ชาย พ่อแม่ในสมัยนั้นส่วนใหญ่มักคิดว่า เรียนไปทำไม เดี๋ยวก็แต่งงาน เป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก สู้มาหัดงานบ้านงานเรือนยังจะดีกว่า รินจึงเป็นตัวแทนของภรรยาที่เป็นปดิวรัดาในแบบยุคเก่าจริงๆ
แต่ถึงแม้กระนั้น ก่อนที่รินจะเปิดใจรักและผูกพันกับปลัดศรันย์ เธอยังเคยร้องขอความเป็นเพื่อนกับปลัดฯ แม้ว่าด้วยหน้าที่จะเป็นภรรยา แต่เธอก็ยังอยากเป็นแค่เพื่อนทางใจไปก่อน หรือเมื่อรินเข้าสู่ฐานะคุณหนูลูกเศรษฐีอันแท้จริง ในท้ายสุดแล้ว รินก็ยืนหยัดที่จะเป็นแบบที่เธอเป็น ไม่ได้ยอมก้มหัว หรือทำตามความต้องการของสามีไปหมดทุกอย่าง นับว่ารินก็ไม่ถึงกับหัวอ่อนเสียทีเดียวนัก
คุณหญิงแก้ว
คุณหญิงแก้วโชคร้ายที่สามีไม่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคใหญ่ในชีวิต ไม่สามารถทนรับแรงกดดันเมื่อเกิดปัญหา กลับเลือกการฆ่าตัวตายเพื่อตัดปัญหา แต่คุณหญิงแก้วก็ยังอดทน ใช้ชีวิตหญิงม่ายต่อไป โดยนำศรันย์ไปฝากไว้ที่วัด เพื่อลดภาระการดูแล เนื่องจากตัวคุณหญิงเองคงไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรอยู่ ส่วนตนเองนั้นก็ต้องไปอาศัยญาติผู้น้อง จนลูกชายโต เรียนจบ จึงได้กลับมาอยู่ด้วยกัน ตลอดเรื่อง คุณหญิงแก้วเป็นเหมือนรากแก้วของต้นไม้แห่งครอบครัวศิวะเวทย์ คอยประสานความขัดแย้ง คอยสั่งสอน อบรม ทั้งปลัดศรันย์ ทั้งริน ให้ประคับประคองชีวิตคู่กันต่อไป คำสอนของคุณหญิงแก้วนั้น งดงาม ชัดเจน และเป็นคำสอนที่สามารถนำมาใช้ได้แทบทั้งสิ้น จึงไม่น่าสงสัยว่า คุณหญิงแก้วนอกจากจะเป็นปดิวรัดา ที่แม้ว่าสามีจะไม่อยู่ด้วยแล้ว แต่ก็ยังทำหน้าที่ภรรยาและแม่ที่ประเสริฐอยู่เสมอมา การเป็นปดิวรัดาของคุณหญิงแก้ว จึงไม่จำกัดเฉพาะการทำหน้าที่ต่อสามี แต่ขยายวงไปยังลูก ลูกสะใภ้ และน่าจะไปถึงหลาน บริวารในบ้านอีกด้วย
คุณหญิงเพ็ญแข
เท่าที่ทราบ ตามนิยายคุณหญิงเพ็ญแขค่อนข้างไปทางร้าย ริษยานางเอก แต่ละครได้ปรับบทให้กลายเป็นค่อนข้างดี แม้ว่าต้นเรื่องจะปัดภาระการแต่งงานไปให้ริน แทนลูกแท้ๆ แต่หลังจากนั้น คุณหญิงเพ็ญแขก็ดูจะเป็นแม่เลี้ยงที่ดีของรินตลอด และเมื่อได้รับรู้ว่า พนิช สามีของบารนี ไม่ได้เป็นคนดีอย่างที่คิด ก็ไม่สนับสนุนให้บารนีอดทนอยู่กับพนิชต่อไปแต่อย่างใด
แต่จุดที่น่าสนใจมากๆของคุณหญิงเพ็ญแข กลับเป็นเรื่องอดีตที่คุณหญิงเล่าให้รินและลูกสาวฟังเกี่ยวกับการที่เจ้าคุณบำรุงฯเคยนอกใจ ตอนอยู่ที่อังกฤษ สิ่งที่เป็นความชาญฉลาดของคุณหญิงเพ็ญแข คือ การตามไปจัดการกับมือที่สาม เริ่มตั้งแต่ คุณหญิงเพ็ญแขเลือกที่จะไม่บอกความจริงกับลูกๆ ณ ขณะนั้น เพื่อไม่ให้เสียใจ หรือสะเทือนใจ อันอาจนำมาซึ่งการขาดความเคารพนับถือในตัวพ่ออีกไปตลอดชีวิต แล้วตัดสินใจเดินทางไปตามสามี ไปอยู่ขัดขวางความสัมพันธ์ของสามีกับหญิงอื่น อย่างเงียบๆ ไม่โวยวาย ตีโพยตีพาย อาละวาด หึงหวง จนในที่สุด เจ้าคุณบำรุงฯเกิดความเกรงใจ และยอมยุติความสัมพันธ์กับแหม่ม
ตรงนี้ล่ะค่ะ ที่เป็นประเด็นหลักที่ทำให้เราอยากเขียนถึงมากๆ เพราะอะไรหรือ เพราะหลังจากนั้น คุณหญิงเพ็ญแขได้เลือกที่จะให้โอกาสสามี กลับมาเป็นครอบครัวกันเหมือนเดิม ประคองชีวิตคู่ต่อไปจนแก่เฒ่า เพราะหน้าที่ความเป็นพ่อแม่ยังอยู่ และด้วบริบทสังคมในสมัยนั้น การหย่าร้างไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้หญิงที่เกือบทุกคนเมื่อสมรสแล้ว ก็ทำหน้าที่แม่บ้านเป็นหลัก ไหนจะส่วนของลูกๆที่อาจเกิดปัญหา ความไม่มั่นคงในจิตใจ ฉะนั้น ความเป็นปดิวรัดา จึงไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่ต้องจงรักภักดี ต่อสามี มันมีความหมายครอบคลุมและลึกซึ้งมากกว่านั้น ซึ่งถ้าจะให้สรุปง่ายๆ ก็คือ การเป็นภรรยาที่ประเสริฐ เมื่อสามีทำผิดพลาดแล้วกลับตัวได้ แลเห็นหนทางว่า ยังสามารถไปต่อได้ ก็ทำใจ ให้อภัย ยกโทษให้สามี โดยไม่หยิบยกขึ้นมาพูดถึงอีกนานแสนนาน จนลูกๆโตเป็นสาว เริ่มแต่งงานแต่งการ ถึงหยิบยกขึ้นมาบอกเล่า เพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า คนเป็นสามีก็มีโอกาสทำผิด นอกใจ ไม่ใช่เรื่องแปลก
บารนี
บารนีโชคร้ายที่เลือกคู่ชีวิตผิดพลาด ไม่ได้ศึกษาพื้นหลัง นิสัยใจคอของพนิชให้ชัดเจนก่อน และเพราะความที่ต้องการเอาพนิช มากีดกันภาระเรื่องการแต่งงานกับปลัดศรันย์ออกไป จึงทำให้ใจเร็วด่วนได้ เมื่อแรกที่บารนีรู้ว่าพนิชทำการค้าของเถื่อน ก็ยังพยายามสนับสนุน ด้วยการไปขอร้องรินให้ปลัดศรันย์ เซ็นยินยอมในเอกสารผ่านแดนของพนิช ตรงนี้ อาจแสดงความเป็นปดิวรัดาในความคิดของบารนี แต่มันไม่ใช่ การเป็นภรรยาที่ซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อสามี ไม่ใช่การที่พร้อมจะทำชั่วทำเลวไปกับสามี ฉะนั้น ปัจจัยที่สำคัญของชีวิตคู่จึงเริ่มตั้งแต่จุดแรก คือการเลือกคู่ หากเลือกคู่ได้ถูกต้อง มีศีล ศรัทธา จาคะ และปัญญาเสมอกัน ซึ่งต้องย้ำว่าและต้อง เป็นการเสมอกันในทางที่ดีด้วย ชีวิตคู่จึงจะรุ่งเรือง เจริญ แต่ถ้าเลือกคู่ผิด การพยายามที่จะคล้อยตาม กลับกลายเป็นการพากันลงเหว เหมือนกรณีของนิ่ม ลูกสาวกำนัน (เดี๋ยวจะขอเขียนต่อ) สุดท้าย แม้ว่าบารนีจะไม่มีโอกาสได้เป็นภรรยาที่ดี เธอก็สามารถยืนหยัดกลับมาเป็นบารนีคนเดิม แม้จะเจ็บปวดจากความล้มเหลว แต่เธอก็ได้รับโอกาสดีๆให้ยืนหยัดอยู่ต่อไปด้วยตัวเอง
เราชอบละครเรื่องนี้มากๆ อีกอย่าง ตรงที่ตอนจบไม่จับคู่บารนีกับอรุณฤกษ์ ทั้งๆที่สร้างสถานการณ์มาให้ทั้งคู่ใกล้ชิดกัน เป็นห่วงเป็นใยกัน ตอนแรกๆก็คิดว่า ตามสูตรสำเร็จละครไทย คู่นี้ไม่แคล้วต้องลงเอยกัน เพราะต่างอกหัก ช้ำรักมา แต่เรื่องนี้กลับเลือกที่จะจบตามความเป็นจริง เลือกที่จะให้ตัวละครยอมรับความจริงว่า มันเป็นแค่ความเหงา ความว้าเหว่า แล้วหักมุมให้ทั้งคู่แยกย้ายกันไปมีชีวิตของตัวเอง ซึ่งเป็นการสอนคนดูอีกเช่นกันว่า เมื่อขาดรัก ก็ไม่จำเป็นต้องรีบแสวงหามาชดเชย เพราะนั่นจะไม่ใช่ความรักที่แท้จริง
นิ่ม
นิ่มเป็นตัวละครที่มีบทบาทไม่กี่ตอน แต่น่าประทับใจตรงที่ได้วางตัวละครนี้ ออกมาเป็นภาพเปรียบเทียบความเป็นปดิวรัดา เหมือนจะแอบตั้งคำถามคนดูว่า ภรรยาเสือบางแบบนิ่ม เป็นปดิวรัดาหรือไม่ เพราะนิ่มจงรักภักดีต่อเสือบางอย่างล้นเหลือ แม้ว่าเสือบางจะตายไปแล้ว แต่นิ่มก็ยังออกปล้น เพื่อล้างแค้นให้สามี โดยไม่สนใจว่า พ่อแม่จะรู้สึกอย่างไร และแม้แต่พี่ชายก็ตายด้วยน้ำมือของพวกโจรแท้ๆ
นิ่มเป็นตัวละครที่สอนให้เราเห็นถึงผู้หญิงที่รักและบูชาสามีอย่างไม่ลืมหูลืมตา เป็นคนที่สุดโต่งไปในทางหลงผิด บารนีอาจเคยเกือบๆเป็นแบบนิ่ม แต่ด้วยอะไรหลายๆอย่าง ทำให้บารนีไม่หลุดไปไกลเท่านิ่ม ในความคิดของนิ่ม เมื่อรักและได้เป็นภรรยาของเสือบางแล้ว ก็จะพยายามทำทุกอย่างตามหน้าที่ของภรรยา แต่นิ่มกลับไม่ได้มองว่า สิ่งเหล่านั้น ขัดต่อศีลธรรม ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง ฉะนั้น การเป็นปดิวรัดา จึงไม่ใช่การที่จะต้องเดินตามสิ่งที่สามีเป็นและทำไปเสียทุกสิ่งอย่าง นิ่มผิดตั้งแต่ต้นที่รักเสือบาง ชีวิตหลังจากนั้นจึงผิดที่ผิดทาง และใช้ความจงรักภักดีในทางที่ผิด จนทำให้ต้องจบชีวิตลง เราจึงมองว่า จุดเริ่มต้นของการมีคู่ชีวิต จึงสำคัญมากและจำเป็นจุดที่กำหนดทิศทางของชีวิตคู่แต่ละคู่ว่าจะดำเนินไปทางไหน ทุกวันนี้ ในชีวิตจริงเราอาจจะเห็นภรรยาที่มีสามีขี้เหล้า เจ้าชู้ ทำร้ายร่างกาย แต่ก็อดทนเป็นภรรยาที่แสนประเสริฐ เป็นกระสอบทราย คอยรับใช้ ภรรยาอย่างนี้ สมควรเรียกว่า ปดิวรัดาหรือไม่
ดวงสวาท
ตัวละครดวงสวาทนี้ นอกจากจะเป็นโจทย์ที่ตั้งขึ้นมาแข่งกับริน ก็ยังเป็นภาพของผู้หญิงหัวสมัยใหม่ (สำหรับยุคปี พ.ศ.2500) ที่เอาแต่ความต้องการของตัวเองเป็นหลัก ไม่เคยคิดจะให้ แต่กลับทำทุกอย่างเพื่อที่จะได้ และแพ้ไม่เป็น ดวงสวาทอาจดูสุดโต่งไปอีกข้าง หากเปรียบเทียบกับริน แต่หากลองคิดสักนิดจะเห็นว่า ในยุคปัจจุบัน ปี พ.ศ.2559 นี้ ผู้หญิงแบบดวงสวาท ชักจะมีมากขึ้นเรื่อยๆหรือไม่ ผู้หญิงที่เลือกผู้ชายจากฐานะก่อนอย่างอื่น ผู้หญิงที่ว่า เมื่อหมายใจใครแล้ว จะทำทุกอย่างให้ได้มา โดยไม่สนว่า สิ่งที่ตนทำจะไปทำให้ใครเดือดร้อน มีความทะเยอทะยานไฝ่สูง เมื่อคิดว่าจะกลับมาครองคู่กับปลัดศรันย์ ก็พยายามวิ่งเต้นหาผู้หลักผู้ใหญ่ เพื่อสร้างทางลัดของความก้าวหน้าในอาชีพการงานให้กับสามี แต่พอกลับไปอยู่กับนริศ ก็ต้องการให้นริศมีหน้ามีตา มีเกียรติ มีวังเพื่อให้ตนเองเป็นที่ยอมรับในสังคม ดวงสวาทเป็นภรรยาประเภทที่จะคอยกดดันสามีของตนเอง เพื่อสนองความทะยานอยากของตนอยู่เสมอ แน่นอน ภรรยาแบบดวงสวาทย่อมไม่ใช่ปดิวรัดา แต่เราลองถามตัวเองบ้างซิว่า ในตัวเรา มีดวงสวาทแอบซ่อนอยู่ในบางมุมหรือไม่
บุรนี
บุรนี เป็นตัวละครที่เป็นตัวแทนของหญิงยุคใหม่ในสมัยนั้น เป็นหญิงหัวก้าวหน้าที่ไม่คิดจะคอยหวังพึ่งสามี กลับสนใจไฝ่การศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะได้ประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ภายหน้า บุรนีน่าจะเป็นตัวละครที่ตรงใจคนดูในยุคนี้ที่สุด เพราะดูไม่งอมืองอเท้า เอาแต่ทำงานบ้าน ( ซึ่งหลายๆคนมองว่า เป็นงานไร้ค่า ) และ แม้ว่าในละคร จนถึงท้ายเรื่อง บุรนีจะยังไม่ได้แต่งงานกับชรัตน์ แต่ผู้หญิงแบบบุรนี น่าจะ ไปได้ดีกับผู้ชายแบบชรัตน์ ที่มีพรั่งพร้อมทุกอย่างแล้ว ขาดแต่ใครสักคน ที่จะมาชี้นำไปในทางที่ถูกต้อง ชีวิตของชรัตน์ที่ผ่านมาจึงค่อนข้างเหลวแหลก เจ้าสำอาง ใช้เงินมากกว่าหาเงิน ดีที่ชรัตน์รู้จักคิด จึงชอบผู้หญิงแบบบุรนี เพราะรู้ตัวว่า หากเลือกคู่ชีวิตที่ไม่มานำตนเอง คอยแต่จะคล้อยตาม คงพากันลงเหว ผูหญิงแบบบุรนีถึงจะดุ เด็ดขาด แต่ก็เหมาะสมกับผู้ชายที่ขาดภาวะผู้นำอย่างชรัตน์ ฉะนั้น หากสองคนนี้แต่งงานกัน ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ใครจะนำใคร บุรนีก็สามารถเป็นปดิวรัดาได้ ในแบบฉบับของเธอ ที่ไม่จำเป็นต้องเดินตามหลัง หรือคอยเป็นฝ่ายรับ ฝ่ายสนับสนุนอยู่ตลอดเวลา
ทั้งหมดนี้ จึงเป็นภาพเปรียบเทียบการเป็นปดิวรัดาของตัวละครแต่ละคน ที่มีความแตกต่างกัน อยากให้ทุกๆคนที่ติดตามละครเรื่องนี้ ลองสังเกตดูค่ะ การเป็นปดิวรัดา ก็เหมือนการทำความดี ที่มีปัจจัยหลักที่ว่า ต้องทำอย่างมีสติ และปัญญา ประกอบไปด้วย และหากจะให้สรุปคำจำกัดความของความเป็นปดิวรัดา ก็อยากจะบอกว่า ความหมายของการเป็นภรรยาที่ดี ไม่ใช่เพียงแค่ซื่อสัตย์ จงรักภักดี และยอมทำตามความต้องการของสามีเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึง ความดีงาม จริยธรรม ศีลธรรม การรู้จักเป็นผู้นำ รู้จักเป็นผู้ตาม หรือเป็นผู้อยู่เคียงข้าง รู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว รู้จักยอมรับผิด รู้จักให้อภัย ในจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม ตลอดจนการครองตนอย่างสง่างามแม้ปราศจากสามีเคียงข้าง