การท่องปาติโมกข์ : หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข



พระอาจารย์คำสุข ญาณสุโข
วัดป่าซับคำกอง จ.เพชรบูรณ์

...

เมื่อพูดถึงการสวดเป็นภาษามคธบาลี  
"การสวดปาติโมกข์" ก็ถือว่าหินอย่างที่สุดแล้วในบรรดาการสวดทั้งหลาย
ต้องเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์และพยายามอย่างมากในการสวด
ใช้เสียงให้ถูกอักขระฐานกรณ์แห่งภาษาบาลีอันเป็นต้นแบบต้นฉบับที่พระกรรมฐานสายป่าถือเคร่ง
จะมักง่ายไม่ได้  ต้องฝึกให้ชำนาญ คือ ต้องเป็นผู้ทรงจำ ช่ำชองและคล่องปาก
ทั้ง ๓ ประการนี้ไปด้วยกันจึงจะนับว่าเป็น "ผู้ชำนาญในการสวด" แท้

"หลวงปู่คำสุข" ก็เป็นอีกรูปหนึ่งที่สามารถสวดปาติโมกข์ได้ แต่ด้วยอายุมากแล้ว
"สัญญา" ความจำก็เป็นหนึ่งในขันธ์ห้าที่ต้องเสื่อมตามกาลเวลา
หลวงปู่ได้เล่าถึงเทคนิคและความพยายามในการท่องปาติโมกข์ให้เป็นคติว่า

"ท่องปาติโมกข์ที่วัดป่ากลางโนนภู่ (อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร)
เริ่มต้นท่องที่นั่นพรรษาที่ ๒๘ ยังไม่ลืม  ท่องอยู่สองปีจึงจะจบ
เพราะว่า ท่องๆหยุดๆก็เลยไม่จบสักที  ใจมันบอกกับตัวเองว่า
ปาติโมกข์ก็อยู่กับเรา  จะไปท่องทำไม แท้จริงแล้วมันขี้เกียจ
มันหลอกตัวเอง ต้องอาศัยสัจจะจึงจะท่องจบ  ตั้งเอาไว้ท่องวันละสามชั่วโมงสี่ชั่วโมง
วันละวรรควันละคำก็ยังดี  ตอนเช้าตีสามตีสี่ตื่นขึ้นมาทวนของเก่าที่ท่องได้แล้ว
นอนท่องมันจำได้ง่ายแต่ลืมเร็ว  เดินจงกรมท่องมันจำได้ยากแต่ลืมช้า  ติดใจ
ให้ว่าช้าๆ เมื่อท่องได้แล้วมันจะเร็วเอง"


หลังจากที่ท่องจบแล้วขึ้นสวดตลอดพรรษา ปีนั้นพระหนุ่มแทบไม่ได้สวดเลย

...

จากสารคดีประวัติ "หลวงปู่คำสุข ญาณสุโข"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่