เจดีย์พิพิธภัณฑ์ - วัดป่าศรัทธารวม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา


วัดป่าศรัทธารวม หลายคนคงรู้จักตั้งแต่มีเหตุกราดยิงที่โคราช
ได้ไปเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563 ด้านในเจดียังไม่ไม่มีอะไร
แต่ขอเดาว่าเป็นประวัติของหลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล ซึ่งเป็นผู้สร้างเสนาเสนาะแห่งนี้ - ถ้าไม่ใช่จะกลับมาแก้ไขนะคะ 

หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล เดิมชื่อ ปิ่น บุญโท เป็นน้องชายของ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
บวชที่วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ.2457
พ.ศ. 2458 ได้ฟังธรรมกับพระอาจารย์มั่นซึ่งเพิ่งกลับจากวัดปทุมวนาราม กรุงเทพ ที่จำพรรษาที่วัดบูรพาราม ซึ่งตอนนั้นมีหลวงปู่สิงห์ถวายตัวเป็นศิษย์อยู่
หลวงปู่มหาปิ่นจึงขอไปเรียนพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพก่อน
พ.ศ. 2460 ไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพ
สอบนักธรรมชั้นตรี โท เอก จนกระทั่งได้เปรียญธรรม 5 ประโยคจึงมีคำนำหน้าว่ามหา
พ.ศ. 2466 กลับมายังวัดสุทัศนาราม เป็นครูสอน นักธรรมบาลีแก่พระภิกษุสามเณร ตลอดจนชาวบ้าน เพื่อสนองคุณครูบาอาจารย์
ปีนั้นโยมมารดาถึงแก่กรรม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับงานศพ
เมื่อหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ทราบข่าวจึงร่วมกับหลวงปู่ดูลย์ ชักจูงพระน้องชายให้มาปฏิบัติกรรมฐาน
พระมหาปิ่นจึงออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่สิงห์ไปออกธุดงค์
พ.ศ. 2469 ท่านได้เป็นพระคู่สวดในการบวชในอุทกสีมา เป็นพระธรรมยุตของ
พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และ พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร
และตอนนั้นมี พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร (วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่) ซึ่งเป็นสามเณรรวมอยู่ด้วย
โบสถ์อุทกสีมา (โบสถ์น้ำ) นั้น เป็นเรือ 2 ลำลอยเป็นโป๊ะ เอาไม้พื้นปูเป็นแพ ในหนองสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
มีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูชิโนวาทธำรง เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และท่านพระอาจารย์มั่นเป็นประธานสงฆ์

พ.ศ. 2474 คณะพระสงฆ์ธรรมยุต ได้แยกย้ายกันจำพรรษาตามสำนักสงฆ์ต่าง ๆ ในขอนแก่น
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา
ท่านเห็นท่านพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดบรมนิวาส ที่กรุงเทพ ป่วยหนัก
ท่านจึงตัดสินใจไปตามหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล
ซึ่งกำลังออกเที่ยวธุดงค์ไปจังหวัดขอนแก่นมาเป็นกัลยาณมิตรมาอยู่ด้วยที่จังหวัดนครราชสีมา
เพื่อปรึกษาหารือกันด้านวิปัสสนาและอบรมสมถวิปัสสนาแก่พุทธบริษัททั้งหลาย
หลวงปู่สิงห์และคณะมาถึงโคราช ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้นำคณะไปปักกลดโปรดสัตว์ที่ป่าช้าที่ 3
อยู่ทางตะวันตกของที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของ พ.ต.ต. หลวงชาญนิคม (ทอง จันทรศร) ผู้บังคับกองตำรวจภูธร กิ่งจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา
ท่านหลวงชาญฯ และบุตรภรรยาจึงถวายที่ดินของท่านให้เป็นสำนักสงฆ์วัดป่าสาลวัน
มีหลวงปู่สิงห์ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ร่วมกับ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ และพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ

ส่วนพระมหาปิ่น ก็ได้พาหมู่ศิษย์อีกหมู่หนึ่งไปสร้างเสนาสนะที่ข้างกรมทหาร ต. หัวทะเล อ. เมือง จ. นครราชสีมา
ซึ่งเคยเป็นป่าช้าที่ 2 สำหรับเผาศพผู้ที่ตายด้วยโรคติดต่อ เช่นอหิวาตกโรค , กาฬโรค ฯลฯ ชื่อว่าวัดป่าศรัทธารวม
พระมหาปิ่น ร่วมกับ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
เกิดมีวัดป่าพระกรรมฐานขึ้นสองวัดเป็นปฐมฤกษ์ของเมืองโคราช
และมีการกระจายกันไปสร้างวัดที่ต่างอำเภอโดยรอบ เช่นโชคชัย ปักธงชัย สีคิ้ว

พระมหาปิ่น ปญฺญาพโลได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศรัทธารวม ได้ 5 พรรษา
ท่านได้ติดตามหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ

พ ศ. 2487-88 หลวงปู่พระมหาปิ่น ได้อาพาธอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
มีพระอาจารย์ฝั้นก็ประกอบยารักษาโรค ถวายพระอาจารย์มหาปิ่น
พระมหาปิ่นได้ละสังขารเมื่อ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489

.
หลวงพ่อทำพระหัตถ์ขวาเป็นรูปธรรมจักร สื่อถึงการแสดงธรรม


เทียน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่