นานมาแล้ว ผมเคยได้อ่านเรื่องราวของพระกับฆาราวาสปรึกษาปัญหาธรรม
พระท่านบอกว่า ถ้าเรายังไม่แกร่งสมาธิยังไม่ดี จิตยังไม่มั่นคง ต้องสำรวมอินทรีย์ให้มาก
เปรียบเหมือนว่า ถ้ายังไม่เก่งก็อย่าไปรบกับใครเขา หนีเอาก่อน
รบบ้าง หนีบ้าง ยังไม่เก่งก็หนีบ่อยหน่อย หลบเอาบ้าง อย่าไปท้าสู้อย่างเดียว
พระพุทธเจ้าเองท่านตรัสสอนเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติไว้มาก
นักปฏิบัติท่านใดได้ศึกษาเรียนรู้ก็จะเป็นประโยชน์ เพราะท่านสอนเพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนมาก
ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ใดผู้หนึ่ง จริตใดจริตหนึ่ง ใครถนัดแบบไหนท่านก็สอนจำแนกแจกให้ละเอียด
๘. อินทรียสังวรสูตร
[๓๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรไม่มี
ศีลของภิกษุผู้มีอินทรีย์สังวรวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้น ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์
แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลของภิกษุผู้มีอินทรียสังวรสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์
แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=8520&Z=8539&pagebreak=0
อรรถกถาอินทรียสังวรสูตรที่ ๘
พึงทราบวินิจฉัยในอินทรียสังวรสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า หตูปนิสํ โหติ ความว่า ศีลมีที่อาศัย (อุปนิสัย) ถูกขจัดเสียแล้ว.
บทว่า สีลวิปนฺนสฺส ได้แก่ ผู้มีศีลวิบัติ.
บทว่า ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ ได้แก่ วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน.
ในบทว่า นิพฺพิทา วิราโค นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้.
วิปัสสนาที่มีกำลัง ชื่อนิพพิทา. อริยมรรค ชื่อวิราคะ.
ในบทว่า วิมุตฺติญาณทสฺสนํ นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้
อรหัตผล ชื่อวิมุตติ. ปัจจเวกขณญาณ ชื่อญาณทัสสนะ.
บทว่า อุปนิสฺสยสมฺปนฺนํ โหติ ความว่า ศีลมีที่อาศัยถึงพร้อมแล้ว.
ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอนิทรียสังวรอันเป็นเครื่องช่วยรักษาศีลไว้.
อินทรีย์สังวร เป็นจุดเริ่มต้นแห่งศีล สมาธิ และที่สุดแห่งวิมุติญาณทัสนะ
พระท่านบอกว่า ถ้าเรายังไม่แกร่งสมาธิยังไม่ดี จิตยังไม่มั่นคง ต้องสำรวมอินทรีย์ให้มาก
เปรียบเหมือนว่า ถ้ายังไม่เก่งก็อย่าไปรบกับใครเขา หนีเอาก่อน
รบบ้าง หนีบ้าง ยังไม่เก่งก็หนีบ่อยหน่อย หลบเอาบ้าง อย่าไปท้าสู้อย่างเดียว
พระพุทธเจ้าเองท่านตรัสสอนเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติไว้มาก
นักปฏิบัติท่านใดได้ศึกษาเรียนรู้ก็จะเป็นประโยชน์ เพราะท่านสอนเพื่อประโยชน์แก่หมู่ชนมาก
ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ใดผู้หนึ่ง จริตใดจริตหนึ่ง ใครถนัดแบบไหนท่านก็สอนจำแนกแจกให้ละเอียด
๘. อินทรียสังวรสูตร
[๓๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรไม่มี
ศีลของภิกษุผู้มีอินทรีย์สังวรวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้น ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์
แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลของภิกษุผู้มีอินทรียสังวรสมบูรณ์
ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์
เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์
แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=8520&Z=8539&pagebreak=0
อรรถกถาอินทรียสังวรสูตรที่ ๘
พึงทราบวินิจฉัยในอินทรียสังวรสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า หตูปนิสํ โหติ ความว่า ศีลมีที่อาศัย (อุปนิสัย) ถูกขจัดเสียแล้ว.
บทว่า สีลวิปนฺนสฺส ได้แก่ ผู้มีศีลวิบัติ.
บทว่า ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ ได้แก่ วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน.
ในบทว่า นิพฺพิทา วิราโค นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้.
วิปัสสนาที่มีกำลัง ชื่อนิพพิทา. อริยมรรค ชื่อวิราคะ.
ในบทว่า วิมุตฺติญาณทสฺสนํ นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้
อรหัตผล ชื่อวิมุตติ. ปัจจเวกขณญาณ ชื่อญาณทัสสนะ.
บทว่า อุปนิสฺสยสมฺปนฺนํ โหติ ความว่า ศีลมีที่อาศัยถึงพร้อมแล้ว.
ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอนิทรียสังวรอันเป็นเครื่องช่วยรักษาศีลไว้.