รู้เท่าทัน ‘โรคซิกา’ ซึ่งยุงลายเป็นพาหะนำโรค

กระทู้คำถาม
ขณะนี้ ไวรัสซิกา ได้ระบาดในหลายประเทศ ในแถบอเมริกากลางและใต้ ซึ่งองค์กรอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณะสุขระหว่างประเทศ หลังจากที่ไวรัสดังกล่าว ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นเชื้อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค และสามารถแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว

ไวรัสซิกา กำลังระบาดในบราซิลอย่างหนัก และความร้ายแรงของเชื้อชนิดนี้คือทำให้เด็กที่เกิดจากมารดาที่ได้รับเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ มีภาวะ microcephaly ในเด็กแรกเกิดคือเด็กจะมีรอบหัวน้อยกว่าเด็กทั่วไป ไม่เพียงเท่านั้น เชื้อดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสมองทำให้สมองบางส่วนผิดปกติได้

ดยขณะนี้มีงานวิจัยบ่งชี้ถึง ความเกี่ยวข้องของการระบาดของเชื้อไวรัสซิกา กับภาวะ microcephaly ทั้งนี้ในประเทศไทยเคยมีผู้ป่วยโรคไวรัสซิกา เป็น นักท่องเที่ยวหญิงชาวแคนาดา ในปี 2556

ในความเป็นจริงแล้ว โรคนี้มีอาการคล้ายกับโรคกลุ่มไข้เลือดออก Dengue และ chikungunya ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่ม flavi virus เช่นกัน โดยทั้งสามโรคนี้มีพาหะเป็น ยุงลายเช่นกันค่ะ

เมื่อถามถึงสถานการณ์ในไทยมีความน่ากังวลแค่ไหน โรคไวรัสซิกา เป็นโรคที่ระบาดมากในแถบอเมริกาใต้ เกิดจากไวรัสกลุ่ม Flavivirus และ มีพาหะสำคัญคือ ยุงลาย (Aedes species) เช่นเดียวกับ ไข้เลือดออกเด็งกี่ และ ไข้ Chikungunya

เรื่องความร้ายแรงของโรคนั้น โรคไวรัสซิกา นั้นสำหรับบุคคลทั่วไป จากผู้ติดเชื้อจำนวน 5 คน จะมีคนป่วยเพียงแค่ 1 คนเท่านั้น อาการของโรคจะเริ่มแสดงขึ้นหลังจากเวลาผ่านไปไม่เกิน 1 สัปดาห์ โดยอาการของโรคมีดังนี้ เป็นไข้ ปวดเมื่อยตามข้อ ร่วมกับมีผื่น และ เยื่อตาอักเสบ อาจจะมีปวดศีรษะและอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้จะคล้ายกับ ไข้เลือดออกเด็งกี่ และ ไข้ Chikungunya ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย การจะแยก 3 โรคนี้ได้อย่างชัดเจนนั้นจะต้องอาศัยการสังเกตอาการอย่างละเอียด และ มีผลทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย

โรคไวรัสซิกา แม้ไม่มียารักษาโดยตรง แต่โดยทั่วไปสามารถหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ มีน้อยมากที่จะรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต
สาเหตุที่เชื้อไวรัสซิกา เป็นไวรัสที่ทั่วโลกจับตามองไม่ใช่เพราะเป็นโรคที่รุนแรงถึงแก่ความตาย แต่เพราะว่า ถ้าหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อไวรัสตัวนี้ จะก่อให้เกิดภาวะ Microcephaly ต่อเด็กในครรภ์ ซึ่งเป็นภาวะเด็กทารกมีรอบหัวเล็กกว่ากำหนดอย่างมีนัยยะสำคัญ อาจมีอาการร่วมกับความพิการทางสมอง เช่น สติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ อาการชัก เป็นต้น

ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย ซึ่งเคยมีประวัติพบผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556 แล้ว แต่ยังสามารถควบคุมการระบาดได้ รวมถึงปัจจุบันนี้ทางกรมควบคุมโรคก็ยังคงให้ความสำคัญกับการระบาดของโรคนี้ เพราะประเทศไทยมียุงลายซึ่งเป็นพาหะสำคัญของโรคไวรัสซิกา ทำให้ต้องระวังมากขึ้น

ส่วนผลกระทบจากโรคดังกล่าวที่มีต่อสังคมไทย ในด้านอื่น ๆนั้น หากมีการควบคุมการระบาดได้คงไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยเท่าใดนัก

พร้อมกันนี้การรับมือต่อปัญหาดังกล่าว กรมควบคุมโรค ประกาศให้โรคซิกาเป็นโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ.2523 หากพบผู้ป่วยต้องแจ้งให้กระทรวงสาธารณสุขทันที รวมทั้งยังมีการคัดกรอง

ส่วนสถานการณ์ล่าสุดในสหรัฐฯ มีการติดเชื้อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ ส่วนวิธีการรับมือ หรือป้องกันอย่างไร และมีความเหมือน หรือแตกต่างกับการ ติดต่อผ่านยุงเป็นพาหะอย่างไรคือ หากยุงเป็นพาหะเราสามารถเลี่ยงด้วยการไม่ให้ถูกยุงกัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดีที่สุด คือ งดการมีเพศสัมพันธ์ แต่ถ้าหากจะมีเพศสัมพันธ์ต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง ด้วยวิธีที่ถูกต้อง

อ้างอิง : http://news.mthai.com/hot-news/world-news/478706.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่