พบไข้เลือดออกระบาดในกทม. แล้ว 9 เขต เกือบ 10,000 ราย
10 มกราคม 2562
นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีความห่วงใยสุขภาพอนามัยของประชาชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยและบางพื้นที่อาจมีฝนตก ส่งผลให้เกิดแหล่งน้ำขังตามภาชนะต่างๆ ที่อาจทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค โดยเฉพาะ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเปิดเผยว่าจากสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ จำนวน 80,650 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 8,345 ราย
พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตดินแดง บึงกุ่ม บางนา และเขตลาดพร้าว ผู้ป่วยโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกาทั่วประเทศ จำนวน 573 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 129 ราย พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตบางกะปิ และเขตตลิ่งชัน และผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายทั่วประเทศ จำนวน 2,383 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 104 ราย พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตจอมทอง ประเวศ และเขตธนบุรี
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกัน ดูแลตนเองและบุตรหลาน โดยเฉพาะผู้ป่วย ที่มีโรคประจำตัว เพื่อให้ปลอดภัยจากทั้ง 3 โรค ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยป้องกันอย่าให้ยุงกัด เช่น ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด ทาครีมหรือพ่นสเปรย์ไล่ยุง จุดยากันยุง ฉีดสเปรย์ฆ่ายุง และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามมาตรการ 3 เก็บ ได้แก่
1.เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายอยู่อาศัย
2.เก็บขยะและเศษภาชนะที่อาจเป็น แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
3.เก็บน้ำโดยปิดฝาให้มิดชิดไม่ให้ยุงลายวางไข่และเปลี่ยนน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ แจกันแก้วน้ำบูชาพระ แจกันเลี้ยงพลูด่าง ทุกสัปดาห์
โดยหากมีอาการไข้มากกว่า 3 วัน หรือมีผื่นขึ้นที่ใบหน้า แขนขา ตามตัว และมีอาการปวดตามข้อมือข้อเท้าอย่างมากให้ไปพบแพทย์ทันที หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์ไข้เลือดออก กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร 0-2203-2892-93 ในวันและเวลาราชการ
https://www.smartsme.co.th/content/111135
พบไข้เลือดออกระบาดในกทม. แล้ว 9 เขต เกือบ 10,000 ราย
10 มกราคม 2562
นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีความห่วงใยสุขภาพอนามัยของประชาชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยและบางพื้นที่อาจมีฝนตก ส่งผลให้เกิดแหล่งน้ำขังตามภาชนะต่างๆ ที่อาจทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค โดยเฉพาะ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเปิดเผยว่าจากสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกทั่วประเทศ จำนวน 80,650 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 8,345 ราย
พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตดินแดง บึงกุ่ม บางนา และเขตลาดพร้าว ผู้ป่วยโรคไข้ติดเชื้อไวรัสซิกาทั่วประเทศ จำนวน 573 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 129 ราย พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตบางกะปิ และเขตตลิ่งชัน และผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายทั่วประเทศ จำนวน 2,383 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 104 ราย พื้นที่ที่มีการระบาด ได้แก่ เขตจอมทอง ประเวศ และเขตธนบุรี
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนเฝ้าระวัง ป้องกัน ดูแลตนเองและบุตรหลาน โดยเฉพาะผู้ป่วย ที่มีโรคประจำตัว เพื่อให้ปลอดภัยจากทั้ง 3 โรค ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยป้องกันอย่าให้ยุงกัด เช่น ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด ทาครีมหรือพ่นสเปรย์ไล่ยุง จุดยากันยุง ฉีดสเปรย์ฆ่ายุง และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามมาตรการ 3 เก็บ ได้แก่
1.เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายอยู่อาศัย
2.เก็บขยะและเศษภาชนะที่อาจเป็น แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
3.เก็บน้ำโดยปิดฝาให้มิดชิดไม่ให้ยุงลายวางไข่และเปลี่ยนน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ แจกันแก้วน้ำบูชาพระ แจกันเลี้ยงพลูด่าง ทุกสัปดาห์
โดยหากมีอาการไข้มากกว่า 3 วัน หรือมีผื่นขึ้นที่ใบหน้า แขนขา ตามตัว และมีอาการปวดตามข้อมือข้อเท้าอย่างมากให้ไปพบแพทย์ทันที หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ ศูนย์ไข้เลือดออก กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร 0-2203-2892-93 ในวันและเวลาราชการ
https://www.smartsme.co.th/content/111135