คอลัมน์ กระดานความคิด: วิบากกรรม 'แจสผู้ฆ่ายักษ์'?
คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
โดย : น้ำเชี่ยว บูรพา
น่าจะถือเป็นมหกรรมคืนความสุขแก่คนในชาติที่ทุกฝ่ายเพรียกหาอย่างแท้จริง กับตลาดมือถือ 4 จีในบ้านเรายามนี้ที่กำลังระอุแดด แต่ละค่ายต่างงัดกลยุทธ์ลดแลกแจกแถม อัด "โปรโม่" เพื่อช่วงชิงลูกค้ากันสนั่นเมือง หลังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อออกใบอนุญาต 4 จีปลายปีที่ผ่านมา
ล่าสุด 2 ค่ายยักษ์ "เอไอเอส" และ "ดีแทค" ได้เปิดให้บริการ 4 จีเต็มรูปแบบแล้ว โดยเอไอเอสชูแพ็กเกจเต็มพิกัด ขณะที่ "ดีแทค" ไม่ยอมน้อยหน้า จัด "เลิฟแอนด์โรล นันสต็อป" ทั้งราคาทั้งเครื่อง ส่วน "ทรูมูฟ เอช" ที่ถือครองคลื่นความถี่ 4 จีไว้ในมือมากที่สุดนั้นก็จัดแพ็กเกจสุดแรง 4จี ไอสมาร์ท อัดทั้งราคาทั้งเครื่องเช่นกัน
ทำเอาประชาชนผู้ใช้บริการละลานตากับโปรโมชั่นที่แต่ละค่ายจัดเต็มจนแทบสำลัก !
อย่างไรก็ตามผลพวงของสงคราม มือถือข้างต้นกำลังทำเอาค่ายมือถือน้องใหม่ "แจส โมบาย บรอดแบนด์" ที่เพิ่งสร้างปรากฏการณ์เป็น "แจสผู้ฆ่ายักษ์" ด้วยการเคาะราคาและคว้าใบอนุญาต 4 จีบนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ไปด้วยวงเงินค่าธรรมเนียมสูงกว่า 76,000 ล้านบาท ร่วมกับบริษัท "ทรูมูฟ เอช" ในเครือทรูคอร์ปนั้น อยู่ในภาวะ "หืดจับ-หายใจไม่ทั่วท้อง" ขึ้นมาทันทีทันใด
เพราะกว่าขวบเดือนไปแล้วนับตั้งแต่ กสทช.รับรองผลการประมูล 4 จีบนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทุบสถิติโลกไปถึง 151,952 ล้านบาท นั้นจนถึงวันนี้ดูเหมือนจะมีเพียงค่ายทรูมูฟ เอช เท่านั้นที่ได้รับการตอบรับจากสถาบันการเงิน 5 แห่งจะร่วมปล่อยกู้โดยออกแบงก์การันตีให้
ขณะที่ แจส โมบาย ยังคงเงียบสนิท แม้ก่อนหน้าผู้บริหารแจส โมบายจะยืนยันว่ามีแบงก์พร้อมจะลงขันปล่อยกู้ให้ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป แถมค่ายมือถือยักษ์ใหญ่เบอร์ 1-2-3 ต้อนรับน้องใหม่ชนิด "ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต" แบบนี้ขึ้นมา สถาบันการเงินทั้งหลายจึงต่างผวาไม่กล้าเสี่ยงที่จะออกแบงก์การันตีกว่า 73,000 ล้านบาทให้ เพราะวิตกว่าหากแผนธุรกิจของบริษัทไม่สามารถดำเนินการได้ ธนาคารจะต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ
อีกทั้งบทเรียนในอดีตโครงการโทรศัพท์ขั้นพื้นฐาน "ทีทีแอนด์ที" ที่ล้มทั้งยืนลากเอาแบงก์เจ็บตัวกันระนาว ก็ทำให้ทุกแบงก์ต้อง "คิดหนัก"
คิดสะระตะแล้วมือถือน้องใหม่ "แจส โมบาย" มีความเสี่ยงสูงกว่าค่ายอื่นๆ จะเอาชนะมือถือรายอื่นๆ ได้ก็คงมีแต่ทีโอทีและแคทที่มีฐานลูกค้ามือถืออยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การจะเบียดแทรกเจ้าตลาดเดิมอย่าง เอไอเอส ดีแทค และทรู คงเป็นเรื่องที่ยากลำบากและในขณะที่แจส โมบาย ยังไม่มีความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ แม้ว่าจะมีการแจกเบอร์ฟรี ผู้บริโภครับมาแล้ว ก็คงนำมาเป็นเบอร์สำรอง
ล่าสุด ยังมีนักวิเคราะห์ออกมาตีปี๊บ แม้ "แจส โมบาย" จะจ่ายค่าสัมปทานงวดแรก 8,040 ล้านบาท และเช่าเสาสัญญาณจากผู้ประกอบการรายเดิมก็ยังต้องมีภาระ ในการซื้ออุปกรณ์มาติดตั้งเพื่อให้บริการอยู่ดี ที่สำคัญในช่วงปีที่ 4 ที่ต้องจ่ายเงินค่าสัมปทานก้อนโตสูงถึง 59,000 ล้านบาทนั้น หากแจส โมบายไม่มีพันธมิตรเข้ามาร่วมทุนหรือเข้ามาร่วมแบกรับภาระหนี้อย่าง "ทรูมูฟ" ที่มี "ไชน่า เทเลคอม" ถือหุ้นเป็น แบ็กอัพให้ก็เป็นเรื่องยากที่ธนาคารพาณิชย์จะออกหนังสือค้ำประกันทางการเงินให้ แถมยังสำทับซ้ำ หากแจส โมบายทิ้งใบอนุญาต 4 จี 900 เมกะเฮิรตซ์ ไปจะส่งผลดีต่อสถานะของบริษัทถึงขั้นจะทำให้ราคาหุ้นจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ที่เป็นบริษัทแม่วิ่งฉิวทันที 4 บาท ทำเอาภาพของแจส โมบายหืดจับหนักเข้า ไปอีก
อยากลงจากหลังเสือก็ไม่ได้ เพราะนอกจากจะถูก กสทช.ริบแบงก์การันตีการประมูล 600 ล้านบาท ยังอาจเจอแบล็กลิสต์ห้ามเข้าประมูลคลื่นความถี่อื่นๆ อีก จะกัดฟันเดินหน้าต่อแบงก์หรือสถาบันการเงิน ที่จะปล่อยกู้ก็คิดหนัก
แค่คิดก็ขนหัวลุกซู่แทน!
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
คอลัมน์ กระดานความคิด: วิบากกรรม 'แจสผู้ฆ่ายักษ์'?
คอลัมน์ กระดานความคิด: วิบากกรรม 'แจสผู้ฆ่ายักษ์'?
คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
โดย : น้ำเชี่ยว บูรพา
น่าจะถือเป็นมหกรรมคืนความสุขแก่คนในชาติที่ทุกฝ่ายเพรียกหาอย่างแท้จริง กับตลาดมือถือ 4 จีในบ้านเรายามนี้ที่กำลังระอุแดด แต่ละค่ายต่างงัดกลยุทธ์ลดแลกแจกแถม อัด "โปรโม่" เพื่อช่วงชิงลูกค้ากันสนั่นเมือง หลังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อออกใบอนุญาต 4 จีปลายปีที่ผ่านมา
ล่าสุด 2 ค่ายยักษ์ "เอไอเอส" และ "ดีแทค" ได้เปิดให้บริการ 4 จีเต็มรูปแบบแล้ว โดยเอไอเอสชูแพ็กเกจเต็มพิกัด ขณะที่ "ดีแทค" ไม่ยอมน้อยหน้า จัด "เลิฟแอนด์โรล นันสต็อป" ทั้งราคาทั้งเครื่อง ส่วน "ทรูมูฟ เอช" ที่ถือครองคลื่นความถี่ 4 จีไว้ในมือมากที่สุดนั้นก็จัดแพ็กเกจสุดแรง 4จี ไอสมาร์ท อัดทั้งราคาทั้งเครื่องเช่นกัน
ทำเอาประชาชนผู้ใช้บริการละลานตากับโปรโมชั่นที่แต่ละค่ายจัดเต็มจนแทบสำลัก !
อย่างไรก็ตามผลพวงของสงคราม มือถือข้างต้นกำลังทำเอาค่ายมือถือน้องใหม่ "แจส โมบาย บรอดแบนด์" ที่เพิ่งสร้างปรากฏการณ์เป็น "แจสผู้ฆ่ายักษ์" ด้วยการเคาะราคาและคว้าใบอนุญาต 4 จีบนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ไปด้วยวงเงินค่าธรรมเนียมสูงกว่า 76,000 ล้านบาท ร่วมกับบริษัท "ทรูมูฟ เอช" ในเครือทรูคอร์ปนั้น อยู่ในภาวะ "หืดจับ-หายใจไม่ทั่วท้อง" ขึ้นมาทันทีทันใด
เพราะกว่าขวบเดือนไปแล้วนับตั้งแต่ กสทช.รับรองผลการประมูล 4 จีบนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทุบสถิติโลกไปถึง 151,952 ล้านบาท นั้นจนถึงวันนี้ดูเหมือนจะมีเพียงค่ายทรูมูฟ เอช เท่านั้นที่ได้รับการตอบรับจากสถาบันการเงิน 5 แห่งจะร่วมปล่อยกู้โดยออกแบงก์การันตีให้
ขณะที่ แจส โมบาย ยังคงเงียบสนิท แม้ก่อนหน้าผู้บริหารแจส โมบายจะยืนยันว่ามีแบงก์พร้อมจะลงขันปล่อยกู้ให้ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป แถมค่ายมือถือยักษ์ใหญ่เบอร์ 1-2-3 ต้อนรับน้องใหม่ชนิด "ไม่ตายก็เลี้ยงไม่โต" แบบนี้ขึ้นมา สถาบันการเงินทั้งหลายจึงต่างผวาไม่กล้าเสี่ยงที่จะออกแบงก์การันตีกว่า 73,000 ล้านบาทให้ เพราะวิตกว่าหากแผนธุรกิจของบริษัทไม่สามารถดำเนินการได้ ธนาคารจะต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ
อีกทั้งบทเรียนในอดีตโครงการโทรศัพท์ขั้นพื้นฐาน "ทีทีแอนด์ที" ที่ล้มทั้งยืนลากเอาแบงก์เจ็บตัวกันระนาว ก็ทำให้ทุกแบงก์ต้อง "คิดหนัก"
คิดสะระตะแล้วมือถือน้องใหม่ "แจส โมบาย" มีความเสี่ยงสูงกว่าค่ายอื่นๆ จะเอาชนะมือถือรายอื่นๆ ได้ก็คงมีแต่ทีโอทีและแคทที่มีฐานลูกค้ามือถืออยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การจะเบียดแทรกเจ้าตลาดเดิมอย่าง เอไอเอส ดีแทค และทรู คงเป็นเรื่องที่ยากลำบากและในขณะที่แจส โมบาย ยังไม่มีความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ แม้ว่าจะมีการแจกเบอร์ฟรี ผู้บริโภครับมาแล้ว ก็คงนำมาเป็นเบอร์สำรอง
ล่าสุด ยังมีนักวิเคราะห์ออกมาตีปี๊บ แม้ "แจส โมบาย" จะจ่ายค่าสัมปทานงวดแรก 8,040 ล้านบาท และเช่าเสาสัญญาณจากผู้ประกอบการรายเดิมก็ยังต้องมีภาระ ในการซื้ออุปกรณ์มาติดตั้งเพื่อให้บริการอยู่ดี ที่สำคัญในช่วงปีที่ 4 ที่ต้องจ่ายเงินค่าสัมปทานก้อนโตสูงถึง 59,000 ล้านบาทนั้น หากแจส โมบายไม่มีพันธมิตรเข้ามาร่วมทุนหรือเข้ามาร่วมแบกรับภาระหนี้อย่าง "ทรูมูฟ" ที่มี "ไชน่า เทเลคอม" ถือหุ้นเป็น แบ็กอัพให้ก็เป็นเรื่องยากที่ธนาคารพาณิชย์จะออกหนังสือค้ำประกันทางการเงินให้ แถมยังสำทับซ้ำ หากแจส โมบายทิ้งใบอนุญาต 4 จี 900 เมกะเฮิรตซ์ ไปจะส่งผลดีต่อสถานะของบริษัทถึงขั้นจะทำให้ราคาหุ้นจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล ที่เป็นบริษัทแม่วิ่งฉิวทันที 4 บาท ทำเอาภาพของแจส โมบายหืดจับหนักเข้า ไปอีก
อยากลงจากหลังเสือก็ไม่ได้ เพราะนอกจากจะถูก กสทช.ริบแบงก์การันตีการประมูล 600 ล้านบาท ยังอาจเจอแบล็กลิสต์ห้ามเข้าประมูลคลื่นความถี่อื่นๆ อีก จะกัดฟันเดินหน้าต่อแบงก์หรือสถาบันการเงิน ที่จะปล่อยกู้ก็คิดหนัก
แค่คิดก็ขนหัวลุกซู่แทน!
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559