ดาบ 2 คม กม.พิเศษ 3 ชายแดนใต้ ทำพิษ ศูนย์ทนายมุสลิมฯ เผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานพลเรือน

คมดาบด้านที่ 2 ศูนย์ทนายมุสลิมฯ เผยแพร่รายงาน พบการทรมานหลายรูปแบบ เพื่อให้ได้ข้อมูลและคำรับสารภาพ

เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา เว็๋บไซต์ศูนย์ทนายความมุสลิม[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เผยแพร่รายงานสถานการณ์ การละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

ซึ่งในแถลงการณ์ระบุว่า การก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอด 11 ปี(พ.ศ.2547 - 2559) ทำให้ทางการออกมาตรการเพื่อใช้ในการควบคุมสถานการณ์ที่ทวีความรุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนในเพื้นที่สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ประกอบด้วย พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.47 พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 48 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.51 ภายใต้การนำของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (กอ.รมน.4)

ในรายงานยังระบุอีกว่า ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากการรร้องเรียนขอความช่วยเหลือของประชาชนในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นาราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา โดยในปี 2558 ที่ผ่านมา(ม.ค.-ธ.ค.58) พบว่าในระหว่างการควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษ ทางการมีการรีดเค้นข้อมูลด้วยการทรมารนอกจากจะใช้วิธีการทำร้ายร่างกายด้วยความรุนแรงแล้ว ขั้นตอนการจับกุมหลังจากถูกควบคุมตัวพบว่ามีการใช้วิธีทรมานเพื่อให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพ

ศูนย์ทนายความมุสสลิมยังเผยอีกว่า จากการร้องเรียนจำนวน  33 ราย แบ่งเป็นจังหวัดปัตตานี 11 ราย จังหวัดยะลา 15 ราย จังหวัดนราธิวาส 6 ราย และ 4 อำเภอของสงขลา คือ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอนาทวี จำนวน 1 ราย ผู้ถูกควบคุมตัวส่วนใหญ่อยู่ระหว่างอายุ 23-42  ปี พบว่า วิธีการทรมานเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและคำรับสารภาพประกอบด้วย อยู่ในห้องทีมีอุณหภูมิต่ำ(เย็น) / จี้(ช๊อต)ด้วยกระแสไฟฟ้า / บังคับให้นอนหงายพร้อมราดน้ำและกรอกน้ำใส่ปาก / บังคับให้เปลือยกาย / การขาดอากาศหายใจจากวิธีเปียกและแห้ง เช่นให้แช่ในน้ำ / การทรมานทางเพศต่ออวัยวะสืบพันธ์ / ยืนตากแดดบนปูนพื้นซิเมนต์ในช่วงที่อากาศร้อน / การทรมานทางเภสัชวิทยา / โดยใช้ยาฉีดเข้าไป / การขู่ว่าจะฆ่า จะทำอันตรายต่อครอบครัว / บังคับให้ดื่มน้ำปัสสาวะของตนเอง / การบาดเจ็บจากการถูกกระแทก เช่น เตะ ต่อย บีบคอ เหยียบ ล๊อคคอ ตบ ฟาด ตีด้วยไม้กระบอง หรือเหล็ก / บาดเจ็บจากการทิ่มแทง การสอดลวดหรือเข็ม / การบาดเจ็บจากการถูกหนีบ บีบ หรือเคลื่อนอย่างรุนแรงของนิ้วและแขนขา / การถูกบังคับให้กระทำในเรื่องขัดต่อศาสนาของผู้เสียหาย ฯลฯ

ศูนย์ทนายความมุสลิมระบุว่า การนำเสนอดังกล่าวมีความกังวลและห่วงใยต่อการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย และการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายพิเศษไม่วาจะเป็นชั้นการควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก หรือพระราชกำหนดการบริหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พรก.ฉุกเฉิน) เนื่องจากแม้สถานการณ์โดยรวมจะเห็นว่าดีขึ้น และรัฐมีความพยายามในการดำเนินการกระบวนการพูดคุยสันติภาพหรือสันติสุข แต่ยังมีการใช้ความรุนแรงจากการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมทรมาน (torture) การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด (arbitrary detention)  การวิสามัญฆาตกรรม (extrajudicial killings)  โดยเจ้าหน้าที่จะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายพิเศษ

ทั้งนี้ศูนย์ทนายความมุสลิมยังกล่าวทิ้งท้ายอีกว่า ทางศูนย์ฯ ขอให้กำลังใจกับทุกฝ่ายที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ และขอเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับกฎหมายพิเศษ หน่วยงานที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และในกระบวนการยุติธรรมทั้งหลายในประเทศ ให้ความสำคัญต่อการละเมิดสิทธิภายใต้อำนาจตามกฎหมายพิเศษต่อประชาชนในพื้นที่ โดยการตรวจสอบการใช้อำนาจตามกฎหมายพิเศษอย่างจริงจัง มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการร้องเรียนต่อการถูกซ้อมทรมานจากการกระทำของเจ้าหน้าที่อย่างจริงจัง และหากพบว่าการกระทำใดของที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าสิทธิเหนือตัวร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือเลือกปฏิบัติต่อศาสนาหรือความเป็นชาติพันธุ์ ให้ดำเนินการอย่างเด็ดขาด ก่อนที่ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะชาวมาลายูปาตานีซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นผู้ต้องสงสัยและมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกละเมิดสิทธิ จะสูญเสียความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมภายในประเทศ และหันไปขอความเป็นธรรมต่อกลไกภายนอกประเทศหรือแม้แต่อาศัยเหตุรุนแรงในการต่อต้านรัฐต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่