จขกท. เชื่อว่า ผู้นำพาสร้างศาสนสถานต่างๆ ฝากไว้ในพระพุทธศาสนา ต้องมีจิตใจที่มั่นคงดุจแผ่นผา เฉกเช่น ที่เราเห็นกันจากประวัติศาสตร์ เช่น การสร้างเจดีย์ บุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย , การสร้าง นครวัด นครธม ประเทศ กัมพูชา , การสกัดภูเขาทั้งลูก เพื่อทำถ้ำให้เป็นวัดวาอาราม อย่างถ้ำอชันต้า ประเทศอินเดีย และ วัดตุนหวง ในประเทศจีน
ขอแยกบทความเป็น ๒ ประเด็นครับ คือ
๑. แรงศรัทธาในยุคประวัติศาสตร์
๒. แรงศรัทธา ในยุคปัจจุบัน
-----------------------------------------------
๑. แรงศรัทธาในยุคประวัติศาสตร์
แรงศรัทธาพุทธศาสนา ในอินเดีย ด้วยการสร้างถ้ำอชันต้า
และถ้ำตุนหวง (Dunhuang) เป็นเมืองโอเอซิสกลางทะเลทรายโกบี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลกานซู่ สาธารณรัฐประชาชนจีน แม้จะเป็นเมืองเล็กแต่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในฐานะเป็นแหล่งศาสนศิลป์ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน และมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๕ ตุนหวง เป็นศูนย์กลางสำคัญบนเส้นทางไหม (Silk Road) เป็นทางผ่านและจุดแวะพักของขบวนคาราวานพ่อค้า และถนนไหมเป็นเส้นทางแห่งการเผยแพร่พุทธศาสนา จากอินเดียเข้ามายังประเทศจีน ตุนหวง จึงกลายเป็นศูนย์รวมเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมหลายชนชาติ โดยเฉพาะจีน อินเดีย กรีก และอาหรับ หลอมรวมและช่วยกันสร้างวัดในถ้ำ ไว้เป็นที่สักการะบูชาพระพุทธเจ้า โดยปรากฏหลักฐานโบราณคดีอันล้ำค่ามีสภาพสมบูรณ์ในถ้ำแห่งนี้
วัดถ้ำตุนหวง (Mogao Caves of Dunhuang) เป็นสิ่งก่อสร้างมหัศจรรย์บนหน้าผาของเขาหมิงซา กลางทะเลทรายโกบี ห่างจากตัวเมืองตุนหวง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว ๒๕ กิโลเมตร ผาหินถูกเจาะเป็นถ้ำจำนวนทั้งสิน ๔๙๒ ถ้ำ ภายในเป็นที่บรรจุพุทธประติมากรรม และภาพเขียนพุทธประวัติต่างๆ ในอดีตกาล และส่วนใหญ่ของถ้ำแห่งนี้ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาและการเมือง
ในจำนวนถ้ำ ๔๙๒ ถ้ำ โม่เกา (Mogao) เป็นถ้ำมีขนาดใหญ่ที่สุดและอายุเก่าแก่มาก รู้จักกันในชื่อ “ถ้ำพระพุทธรูปพันองค์” แกะสลักหน้าผาทางซีกตะวันออกของภูเขาหมิงซา รวมความยาว ๑,๖๐๐ เมตร ทุกตารางนิ้วของผนังถ้ำเต็มไปด้วยภาพวาดและรูปสลักทางศาสนา และถ้ำแห่งนี้มีภาพผนังกินเนื้อที่กว่า ๔๕,๐๐๐ ตารางเมตร นักโบราณคดีตะวันตกขนานนามภาพผนังแห่งนี้ว่า “ห้องสมุดบนผนัง”
สิ่งก่อสร้างภายใน วัดถ้ำโม่เกา ทำจากไม้ในสมัยราชวงศ์ถังและซ้อง จำนวน ๕ หลัง คัมภีร์และหนังสือต่างๆ กว่า ๕๐,๐๐๐ ชิ้น และประติมากรรมเกือบ ๒,๕๐๐ ชิ้น ถ้ำโม่เกา ดำเนินการก่อสร้างนานนับพันปี ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๔ เรื่อยมา จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ ตั้งแต่ราชวงศ์ฉินถึงราชวงศ์หยวน รวม ๑๐ ราชวงศ์ โดยยุคทองอยู่ในช่วงกลางสมัยราชวงศ์ถัง
กรุณาตามไปอ่านต่อได้ที่นี่ครับ
http://travel.mthai.com/world-travel/65224.html ต้องขอขอบคุณข้อมูลนี้ด้วยครับ
๒. แรงศรัทธาในยุคปัจจุบัน
แน่นอน ความยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะความเชื่อในด้านศาสนา มักจะก่อให้เกิดศาสนสถานตามมา ด้วยเพราะ จิตใจของผู้นำพาในการสร้างสิ่งต่างๆ ย่อมได้ธรรมบางอย่างเหนือผู้อื่น ยุคปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน ถ้ากล่าวถึงในไทย เราจะเห็นจาก การนำพาสร้างเจดีย์ฯ ที่ผู้นำพามีทั้งบุคคลผู้ประพฤติธรรม และ พระสงฆ์ระดับครูบาอาจารย์ เช่น
พระตุรังคธาตุ เจดีย์ ณ.วัดอโศการาม
เจดีย์หินทราย บรมพุทโธจำลอง ณ.วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด
ส่วนในต่างประเทศที่นับว่าเป็นงานสร้างพุทธสถานขนาดใหญ่ ยุคใหม่ในศตวรรษนี้ ก็มี
๑.เจดีย์ชเวดากอง (จำลอง) ชื่อ Shwedagon Pagoda Replica International Buddhist Centre - Taman Alam Lumbini ณ.เมืองบราสตากี้ บนเกาะสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย เจดีย์องค์นี้สร้างโดยเศรษฐีชาวพุทธอินโด ได้รับแรงบันดาลใจจากที่เขาเคยมีโอกาสสักการะ เจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า และภายหลังได้สร้างบนที่ดินส่วนตัวของเขา ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และ ประกอบพิธีทางพุทธศาสนาของพระสงฆ์อินโดนีเซีย
ภาพวันพิธีฉลอง ๓๐ - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ขอบคุณภาพ จากเฟสบุ๊ค
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาพวันพิธีฉลอง ทางผู้สร้าง ได้นิมนต์พระสงฆ์จากทั่วโลก หลายเชื้อชาติ กว่า ๑,๕๐๐ รูป เข้าร่วมพิธี มีพระพม่าราว ๗๐๐ รูป พระไทย ๓๕๐ รูป ฯลฯ
๒. เจดีย์วิปัสสนาสากล (global vipassana pagoda)
โครงการก่อสร้างเจดีย์วิปัสสนาสากล เริ่มวางศิลาฤกษ์ในปี ๑๙๙๗ ( พ.ศ. ๒๕๔๐) โครงสร้างทั้งหมดประกอบด้วยเจดีย์รูปโดม ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ห้องโถงขนาดใหญ่ สำหรับปฏิบัติวิปัสสนา หอศิลป์จัดแสดงภาพพุทธประวัติและพุทธธรรมเจดีย์ขนาดเล็กสูง ๖๐ ฟุต ๒ องค์ ทางทิศเหนือและใต้ห้องสมุดและห้องเรียน ลานกว้างรอบๆพระเจดีย์ ตึกธุรการห้องใต้ดิน และห้องประชุม ๒ ห้อง
จุดประสงค์ของการสร้างเจดีย์นี้ เพื่อแสดงความซาบซึ้งในมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงธรรมอันเป็นสากล เพื่อให้มวลมนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ และนำไปสู่ความสุขที่แท้จริง และเพื่อแสดงออกถึงความขอบคุณประเทศพม่า ที่ยังคงอนุรักษ์การทำวิปัสสนาแบบดั้งเดิมไว้ ในขณะที่ได้หายสาบสูญไปจากแหล่งกำเนิดในอินเดียแล้ว
เจดีย์องค์นี้สร้างโดยมหาเศรษฐีชาวอินเดียวัย ๖๑ ปีนาม “สุภัช จันทรา” ใช้เทคโนโลยีผสมผสานระหว่างอินเดียโบราณและสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคโบราณที่นำก้อนหินทรายแดงมาเชื่อมต่อกันด้วยปูนขาว หินแต่ละก้อนหนัก ๗๐๐ กก. น้ำหนักรวมทั้งสิ้น ๒.๕ ล้านตัน เพื่อให้คงทนถาวรราว ๒,๐๐๐ ปี
รูปแบบเจดีย์วิปัสสนาสากล (global vipassana pagoda) จำลองมาจากมหาเจดีย์ชเวดากองของพม่า
กรุณาตามไปอ่านข้อมูลได้ที่นี่ และ ขอขอบคุณข้อมูลด้วยครับ
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9550000043295
ลิงค์ด้านล่าง สำหรับเข้าชมการก่อสร้างเจดีย์วิปัสสนา
http://www.metacafe.com/watch/6670182/making_of_global_vipassana_pagoda/
ชมภายในโดมองค์เจดีย์ฯ
ทั้งเจดีย์ Shwedagon Pagoda Replica International Buddhist Centre - Taman Alam Lumbini และ เจดีย์ วิปัสสนาสากล รวมถึงเจดีย์ฯ องค์ต่อไป ผู้นำพาการสร้างต่างได้รับแรงบันดาลใจ จากการได้สักการะเจดีย์ชเวดากองทั้งสิ้น
ในประเทศไทย ดังที่กล่าวมาในตอนต้น มีการสร้างเจดีย์ฯ เหมือนกัน ผู้นำในการสร้างส่วนใหญ่ จะเป็นพระสงฆ์ครูอาจารย์ ซึ่งยังมีอยู่หลายที่ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ และ หนึ่งในนั้น คือ
โครงการสร้างเจดีย์ บูรพาฐิตวิริยาประชาสามัคคี ( บู ระ พา ฐิ ตะ วิ ริ ยา ประ ชา สา มัค คี ) เป็นปณิธานสุดท้าย ที่พระวิสุทธิญาณเถร หรือที่พุทธศาสนิกชน รู้จักดีในชื่อ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ผู้ก่อตั้ง วัดเขาสุกิม โดยหลวงปู่ฯ ได้รับแรงบันดาลใจ จากการเดินทางไปสักการะ เจดีย์ชเวดากอง รวมถึงเจดีย์ฯอีกมากมายกว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ ที่อยู่ตามหัวเมืองทั่วประเทศพม่า ท่านฯปรารภว่า " การได้ไปสักการะเจดีย์ในพม่านั้น มีความปิติอิ่มใจ มากกว่าไปเมืองไหนๆ บุคคลที่นำพาศรัทธาชาวพุทธ ร่วมสร้างเจดีย์ฯได้มากมายก่ายกองเช่นนี้ อาจจะเป็นพระมหากษัตริย์ หรือ พระสงฆ์ที่มีบุญบารมี "
จุดประสงค์โครงการฯ
1.เพื่อประดิษฐาน " พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า " ที่คณะสงฆ์ฯและรัฐบาลศรีลังกา ได้น้อมถวายให้ไว้
2.เพื่อประดิษฐาน พระพุทธรูปหินขาว (ขนาดใหญ่) จากพม่า จำนวน 29 องค์
3.เป็นศูนย์ศึกษาพระไตรปิฏก นานาชาติ
4.เป็นพิพิธภัณฑ์ อัฐบริขารและสรีระสังขารของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
5.เป็นสถานที่ฝึกอบรมกรรมฐาน สำหรับพุทธบริษัท และ ผู้ที่สนใจทั่วโลก
ในปี พ.ศ.2538 ท่านฯ จึงเริ่มดำเนินโครงการฯ โดยมีคณะสงฆ์ฯและศิษย์ฝ่ายฆราวาส ดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ นี้ขึ้น
ภาพงานสร้างเจดีย์ฯ ชั้นที่ 1.
ภาพงานสร้างเจดีย์ฯ ชั้นที่ 3.
ภาพงานสร้างเจดีย์ฯ ชั้นที่ 5.
ภาพงานสร้างเจดีย์ฯ ชั้นที่ 6.
พระพุทธรูปหินขาว ที่เตรียมนำขึ้นประดิษฐานบนเจดีย์ฯ
ถึงตรงนี้ จขกท. ขอเชิญชวนท่านร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างเจดีย์ฯ นี้
แล้วต้องทำอย่างไรล่ะ ?
ตอบ ขอแนะนำให้หากระปุกออมสิน แล้วหยอดเงิน ใส่กระปุกออมสิน เพียงวันละ 1 บาท ทั้งนี้ท่านอาจจะให้ ญาติผู้ใหญ่ ที่สูงอายุ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ลูกๆ หลานๆ หรือ แม้แต่ คนป่วย เปิดโอกาสให้เขาเหล่านั้นได้มีโอกาสร่วมสร้างบุญบารมีในครั้งนี้ จริงอยู่ การทำบุญด้วยเงิน บางคนอาจจะทำทีละ ร้อยสองร้อยบาท หรือ ห้าร้อยบาท ก็ได้ แต่ในขณะเดียวกัน ขณะจบเงินอธิษฐาน ใจจะตั้งมั่นได้แค่ไหน ลองทำแค่วันละ 1 บาท ก่อนหยอดเงินใส่ออมสิน ก็ให้ตั้งใจอธิษฐานดีๆ บุญที่เกิดจากการน้อมใจสามารถทำให้เป็นเสบียงบุญแล้วเกิดความปิติใจ ได้อย่างแน่นอน และเชื่อได้ว่าเงิน 1 บาทของทุกท่าน จะเปลี่ยนเป็นเม็ดหินเม็ดทรายสร้างความมั่นคงให้เจดีย์ฯ สืบไป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ท้ายที่สุด เมื่อรอยเท้า เราๆท่านๆ จางหายไปจากผืนแผ่นดินนี้ บุญกุศลที่ทำไว้ทุกๆวัน อานิสงส์จะหนุนเนื่องให้จิตใจสู่อารมณ์อันเป็นทิพย์ ส่งดวงจิตสู่สุคติภพ และเป็นอนุคามินี ติดตามไปให้ได้กลับมาสร้างบารมีในพระพุทธศาสนาอีก ตราบกระทั่งจิตถึงพระนิพพาน....และ ขอนำคำอวยพรของ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ที่ในบั้นปลายชีวิตของท่านฯ มักจะอวยพรให้ญาติโยมเสมอๆ " ขอให้เหมือนดอกไม้นะ อย่าได้มีคนรังเกียจเลย ไปที่ไหนก็ขอให้มีแต่คนรัก หลังจากหมดชาตินี้ไปแล้ว ให้ไปรออยู่ข้างบนด้วยกัน หากมีพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นมาอีก ขอให้พวกเรากลับลงมาสร้างบารมีกันให้เต็มอิ่ม ทุกภพ ทุกชาติ "
ขออนุโมทนา ล่วงหน้ากับทุกๆท่าน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หมายเหตุ กระทู้นี้ใช้เวลาทำ ๔ วัน ครับ คือ ต้องหาข้อมูลภาพด้วย สำหรับท่านที่อยากดูข้อมูลเพิ่มสามารถชมได้ที่ http://www.doojdee.org/ ถ้าคิดว่าจะมีประโยชน์กับท่านอื่น ก็ช่วยโหวตให้หน่อยครับ ที่สำคัญ จขกท. คิดว่าทำได้ทุกๆวัน ไม่ต้องไปรอให้ถึงวันสำคัญต่างๆ ขอบคุณอีกครั้ง
รีวิว วิธีทำบุญให้อิ่มใจ...ด้วยเงินวันละ 1 บาท
ขอแยกบทความเป็น ๒ ประเด็นครับ คือ
๑. แรงศรัทธาในยุคประวัติศาสตร์
๒. แรงศรัทธา ในยุคปัจจุบัน
-----------------------------------------------
๑. แรงศรัทธาในยุคประวัติศาสตร์
แรงศรัทธาพุทธศาสนา ในอินเดีย ด้วยการสร้างถ้ำอชันต้า
และถ้ำตุนหวง (Dunhuang) เป็นเมืองโอเอซิสกลางทะเลทรายโกบี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลกานซู่ สาธารณรัฐประชาชนจีน แม้จะเป็นเมืองเล็กแต่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในฐานะเป็นแหล่งศาสนศิลป์ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน และมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
๒. แรงศรัทธาในยุคปัจจุบัน
แน่นอน ความยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะความเชื่อในด้านศาสนา มักจะก่อให้เกิดศาสนสถานตามมา ด้วยเพราะ จิตใจของผู้นำพาในการสร้างสิ่งต่างๆ ย่อมได้ธรรมบางอย่างเหนือผู้อื่น ยุคปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน ถ้ากล่าวถึงในไทย เราจะเห็นจาก การนำพาสร้างเจดีย์ฯ ที่ผู้นำพามีทั้งบุคคลผู้ประพฤติธรรม และ พระสงฆ์ระดับครูบาอาจารย์ เช่น
พระตุรังคธาตุ เจดีย์ ณ.วัดอโศการาม
เจดีย์หินทราย บรมพุทโธจำลอง ณ.วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด
ส่วนในต่างประเทศที่นับว่าเป็นงานสร้างพุทธสถานขนาดใหญ่ ยุคใหม่ในศตวรรษนี้ ก็มี
๑.เจดีย์ชเวดากอง (จำลอง) ชื่อ Shwedagon Pagoda Replica International Buddhist Centre - Taman Alam Lumbini ณ.เมืองบราสตากี้ บนเกาะสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย เจดีย์องค์นี้สร้างโดยเศรษฐีชาวพุทธอินโด ได้รับแรงบันดาลใจจากที่เขาเคยมีโอกาสสักการะ เจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า และภายหลังได้สร้างบนที่ดินส่วนตัวของเขา ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และ ประกอบพิธีทางพุทธศาสนาของพระสงฆ์อินโดนีเซีย
ภาพวันพิธีฉลอง ๓๐ - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ ขอบคุณภาพ จากเฟสบุ๊ค
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
๒. เจดีย์วิปัสสนาสากล (global vipassana pagoda)
โครงการก่อสร้างเจดีย์วิปัสสนาสากล เริ่มวางศิลาฤกษ์ในปี ๑๙๙๗ ( พ.ศ. ๒๕๔๐) โครงสร้างทั้งหมดประกอบด้วยเจดีย์รูปโดม ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ห้องโถงขนาดใหญ่ สำหรับปฏิบัติวิปัสสนา หอศิลป์จัดแสดงภาพพุทธประวัติและพุทธธรรมเจดีย์ขนาดเล็กสูง ๖๐ ฟุต ๒ องค์ ทางทิศเหนือและใต้ห้องสมุดและห้องเรียน ลานกว้างรอบๆพระเจดีย์ ตึกธุรการห้องใต้ดิน และห้องประชุม ๒ ห้อง
จุดประสงค์ของการสร้างเจดีย์นี้ เพื่อแสดงความซาบซึ้งในมหากรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงแสดงธรรมอันเป็นสากล เพื่อให้มวลมนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ และนำไปสู่ความสุขที่แท้จริง และเพื่อแสดงออกถึงความขอบคุณประเทศพม่า ที่ยังคงอนุรักษ์การทำวิปัสสนาแบบดั้งเดิมไว้ ในขณะที่ได้หายสาบสูญไปจากแหล่งกำเนิดในอินเดียแล้ว
เจดีย์องค์นี้สร้างโดยมหาเศรษฐีชาวอินเดียวัย ๖๑ ปีนาม “สุภัช จันทรา” ใช้เทคโนโลยีผสมผสานระหว่างอินเดียโบราณและสมัยใหม่ โดยใช้เทคนิคโบราณที่นำก้อนหินทรายแดงมาเชื่อมต่อกันด้วยปูนขาว หินแต่ละก้อนหนัก ๗๐๐ กก. น้ำหนักรวมทั้งสิ้น ๒.๕ ล้านตัน เพื่อให้คงทนถาวรราว ๒,๐๐๐ ปี
รูปแบบเจดีย์วิปัสสนาสากล (global vipassana pagoda) จำลองมาจากมหาเจดีย์ชเวดากองของพม่า
กรุณาตามไปอ่านข้อมูลได้ที่นี่ และ ขอขอบคุณข้อมูลด้วยครับ
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9550000043295
ลิงค์ด้านล่าง สำหรับเข้าชมการก่อสร้างเจดีย์วิปัสสนา
http://www.metacafe.com/watch/6670182/making_of_global_vipassana_pagoda/
ชมภายในโดมองค์เจดีย์ฯ
ทั้งเจดีย์ Shwedagon Pagoda Replica International Buddhist Centre - Taman Alam Lumbini และ เจดีย์ วิปัสสนาสากล รวมถึงเจดีย์ฯ องค์ต่อไป ผู้นำพาการสร้างต่างได้รับแรงบันดาลใจ จากการได้สักการะเจดีย์ชเวดากองทั้งสิ้น
ในประเทศไทย ดังที่กล่าวมาในตอนต้น มีการสร้างเจดีย์ฯ เหมือนกัน ผู้นำในการสร้างส่วนใหญ่ จะเป็นพระสงฆ์ครูอาจารย์ ซึ่งยังมีอยู่หลายที่ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ และ หนึ่งในนั้น คือ
โครงการสร้างเจดีย์ บูรพาฐิตวิริยาประชาสามัคคี ( บู ระ พา ฐิ ตะ วิ ริ ยา ประ ชา สา มัค คี ) เป็นปณิธานสุดท้าย ที่พระวิสุทธิญาณเถร หรือที่พุทธศาสนิกชน รู้จักดีในชื่อ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ผู้ก่อตั้ง วัดเขาสุกิม โดยหลวงปู่ฯ ได้รับแรงบันดาลใจ จากการเดินทางไปสักการะ เจดีย์ชเวดากอง รวมถึงเจดีย์ฯอีกมากมายกว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ ที่อยู่ตามหัวเมืองทั่วประเทศพม่า ท่านฯปรารภว่า " การได้ไปสักการะเจดีย์ในพม่านั้น มีความปิติอิ่มใจ มากกว่าไปเมืองไหนๆ บุคคลที่นำพาศรัทธาชาวพุทธ ร่วมสร้างเจดีย์ฯได้มากมายก่ายกองเช่นนี้ อาจจะเป็นพระมหากษัตริย์ หรือ พระสงฆ์ที่มีบุญบารมี "
จุดประสงค์โครงการฯ
1.เพื่อประดิษฐาน " พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า " ที่คณะสงฆ์ฯและรัฐบาลศรีลังกา ได้น้อมถวายให้ไว้
2.เพื่อประดิษฐาน พระพุทธรูปหินขาว (ขนาดใหญ่) จากพม่า จำนวน 29 องค์
3.เป็นศูนย์ศึกษาพระไตรปิฏก นานาชาติ
4.เป็นพิพิธภัณฑ์ อัฐบริขารและสรีระสังขารของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
5.เป็นสถานที่ฝึกอบรมกรรมฐาน สำหรับพุทธบริษัท และ ผู้ที่สนใจทั่วโลก
ในปี พ.ศ.2538 ท่านฯ จึงเริ่มดำเนินโครงการฯ โดยมีคณะสงฆ์ฯและศิษย์ฝ่ายฆราวาส ดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ นี้ขึ้น
ภาพงานสร้างเจดีย์ฯ ชั้นที่ 1.
ภาพงานสร้างเจดีย์ฯ ชั้นที่ 3.
ภาพงานสร้างเจดีย์ฯ ชั้นที่ 5.
ภาพงานสร้างเจดีย์ฯ ชั้นที่ 6.
พระพุทธรูปหินขาว ที่เตรียมนำขึ้นประดิษฐานบนเจดีย์ฯ
ถึงตรงนี้ จขกท. ขอเชิญชวนท่านร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างเจดีย์ฯ นี้
แล้วต้องทำอย่างไรล่ะ ?
ตอบ ขอแนะนำให้หากระปุกออมสิน แล้วหยอดเงิน ใส่กระปุกออมสิน เพียงวันละ 1 บาท ทั้งนี้ท่านอาจจะให้ ญาติผู้ใหญ่ ที่สูงอายุ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ลูกๆ หลานๆ หรือ แม้แต่ คนป่วย เปิดโอกาสให้เขาเหล่านั้นได้มีโอกาสร่วมสร้างบุญบารมีในครั้งนี้ จริงอยู่ การทำบุญด้วยเงิน บางคนอาจจะทำทีละ ร้อยสองร้อยบาท หรือ ห้าร้อยบาท ก็ได้ แต่ในขณะเดียวกัน ขณะจบเงินอธิษฐาน ใจจะตั้งมั่นได้แค่ไหน ลองทำแค่วันละ 1 บาท ก่อนหยอดเงินใส่ออมสิน ก็ให้ตั้งใจอธิษฐานดีๆ บุญที่เกิดจากการน้อมใจสามารถทำให้เป็นเสบียงบุญแล้วเกิดความปิติใจ ได้อย่างแน่นอน และเชื่อได้ว่าเงิน 1 บาทของทุกท่าน จะเปลี่ยนเป็นเม็ดหินเม็ดทรายสร้างความมั่นคงให้เจดีย์ฯ สืบไป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ท้ายที่สุด เมื่อรอยเท้า เราๆท่านๆ จางหายไปจากผืนแผ่นดินนี้ บุญกุศลที่ทำไว้ทุกๆวัน อานิสงส์จะหนุนเนื่องให้จิตใจสู่อารมณ์อันเป็นทิพย์ ส่งดวงจิตสู่สุคติภพ และเป็นอนุคามินี ติดตามไปให้ได้กลับมาสร้างบารมีในพระพุทธศาสนาอีก ตราบกระทั่งจิตถึงพระนิพพาน....และ ขอนำคำอวยพรของ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ที่ในบั้นปลายชีวิตของท่านฯ มักจะอวยพรให้ญาติโยมเสมอๆ " ขอให้เหมือนดอกไม้นะ อย่าได้มีคนรังเกียจเลย ไปที่ไหนก็ขอให้มีแต่คนรัก หลังจากหมดชาตินี้ไปแล้ว ให้ไปรออยู่ข้างบนด้วยกัน หากมีพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นมาอีก ขอให้พวกเรากลับลงมาสร้างบารมีกันให้เต็มอิ่ม ทุกภพ ทุกชาติ "
ขออนุโมทนา ล่วงหน้ากับทุกๆท่าน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้