"ข้อหนึ่ง ระเบียบหรือวิธีปฏิบัติอย่างใดเป็นทางให้พลเมืองรู้สึกเห็นไปว่า เป็นการเบียดเบียน กดขี่ศาสนาอิสลาม ต้องยกเลิกหรือแก้ไขเสียทันที การใดจะจัดขึ้นใหม่ต้องอย่าให้ขัดกับลัทธินิยมของอิสลาม หรือยิ่งทำให้เห็นเป็นการอุดหนุนศาสดามูฮัมหมัดได้ยิ่งดี
ข้อสอง การกะเกณฑ์อย่างใดๆ ก็ดี การเก็บภาษีอากรหรืออย่างใดๆ ก็ดี เมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมเทียมกัน ต้องอย่าให้ยิ่งกว่าที่พลเรือนในแว่นแคว้นของต่างประเทศ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงติดต่อกันนั้นต้องเกณฑ์ ต้องเสียอยู่เป็นธรรมดา เมื่อพิจารณาเทียบกันแต่เฉพาะอย่าง ต้องอย่าให้ยิ่งหย่อนกว่ากัน จนถึงเหตุเสียหายในการปกครองได้
ข้อสาม การกดขี่บีบคั้นแต่เจ้าพนักงานของรัฐบาล เนื่องแต่การหมั่นดูแคลนพลเมืองชาติแขก โดยฐานที่เป็นคนต่างชาติก็ดี เนื่องแต่การหน่วงเหนี่ยวชักช้าในกิจการตามหน้าที่ เป็นเหตุให้ราษฎรเสียความสะดวกในทางหาเลี้ยงชีพก็ดี พึงต้องแก้ไขระมัดระวังมิให้มีขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องให้ผู้ทำผิดรองรับผลตามความผิดโดยยุติธรรมไม่ใช่สักแต่ว่าจัดการกลบเกลื่อนให้เงียบไปเสียเพื่อจะไว้หน้าสงวนศักดิ์ของ ข้าราชการ
ข้อสี่ กิจการใดทั้งหมดอันเจ้าพนักงานต้องบังคับแก่ราษฎร ต้องระวังอย่าให้ราษฎรต้องขัดข้องเสียเวลา เสียการในทางหาเลี้ยงชีพของเขาเกินสมควร แม้จะเป็นการจำเป็นโดยระเบียบการก็ดี เจ้าหน้าที่พึงสอดส่องแก้ไขอยู่เสมอเท่าที่สุดจะทำได้
ข้อห้า ข้าราชการที่จะแต่งตั้งออกไปประจำตำแหน่งในมณฑลปัตตานี พึงเลือกเฟ้นแต่คนมีนิสัย ซื่อสัตย์ สุจริต สงบเสงี่ยมเยือกเย็น ไม่ใช่สักแต่ว่าส่งไปบรรจุให้ตำแหน่ง หรือส่งไปเป็นทางลงโทษเพราะเลว เมื่อจะส่งไปต้องสั่งสอนชี้แจงให้รู้ลักษณะทางการอันพึงประพฤติระมัดระวัง โดยหลักที่กล่าวได้ว่า ในข้อหนึ่งและข้อสี่ข้างบนนั้นแล้ว ผู้ใหญ่ในท้องที่พึงสอดส่องฝึกฝนอบรมกันต่อๆไปในคุณธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่คอยให้พลาดพลั้งลงไปก่อนแล้วจึงว่ากล่าวโทษ
ข้อหก เจ้ากระทรวงทั้งหลายจะจัดการวางระเบียบการอย่างใดขึ้นใหม่ หรือบังคับการอย่างใดในมณฑลปัตตานี อันจะเป็นทางพากพานถึงสุขทุกข์ราษฎร ก็ควรพิจารณาเหตุผลแก้ไขหรือยับยั้ง ถ้าไม่เห็นด้วยว่า มีมูลขัดข้อง ก็ควรหารือกระทรวงมหาดไทย แม้ยังไม่ตกลงกันได้ระหว่างกระทรวง ก็พึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย”
เครดิต
http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=18804
อ่านแล้วบางข้อไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรค่ะ จะสามารถอธิบายแต่ละข้อแบบใช้ภาษาง่ายๆเข้าใจง่าย ได้อย่างไรคะ
โดยเฉพาะข้อ 6 คำว่า พากพาน หมายถึงอะไรคะ
ขอบคุณค่ะ
สอบถามเรื่องหลักรัฐประศาสโนบาย6 ข้อ สำหรับมณฑลปัตตานี รัชกาลที่ 6
ข้อสอง การกะเกณฑ์อย่างใดๆ ก็ดี การเก็บภาษีอากรหรืออย่างใดๆ ก็ดี เมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมเทียมกัน ต้องอย่าให้ยิ่งกว่าที่พลเรือนในแว่นแคว้นของต่างประเทศ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงติดต่อกันนั้นต้องเกณฑ์ ต้องเสียอยู่เป็นธรรมดา เมื่อพิจารณาเทียบกันแต่เฉพาะอย่าง ต้องอย่าให้ยิ่งหย่อนกว่ากัน จนถึงเหตุเสียหายในการปกครองได้
ข้อสาม การกดขี่บีบคั้นแต่เจ้าพนักงานของรัฐบาล เนื่องแต่การหมั่นดูแคลนพลเมืองชาติแขก โดยฐานที่เป็นคนต่างชาติก็ดี เนื่องแต่การหน่วงเหนี่ยวชักช้าในกิจการตามหน้าที่ เป็นเหตุให้ราษฎรเสียความสะดวกในทางหาเลี้ยงชีพก็ดี พึงต้องแก้ไขระมัดระวังมิให้มีขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องให้ผู้ทำผิดรองรับผลตามความผิดโดยยุติธรรมไม่ใช่สักแต่ว่าจัดการกลบเกลื่อนให้เงียบไปเสียเพื่อจะไว้หน้าสงวนศักดิ์ของ ข้าราชการ
ข้อสี่ กิจการใดทั้งหมดอันเจ้าพนักงานต้องบังคับแก่ราษฎร ต้องระวังอย่าให้ราษฎรต้องขัดข้องเสียเวลา เสียการในทางหาเลี้ยงชีพของเขาเกินสมควร แม้จะเป็นการจำเป็นโดยระเบียบการก็ดี เจ้าหน้าที่พึงสอดส่องแก้ไขอยู่เสมอเท่าที่สุดจะทำได้
ข้อห้า ข้าราชการที่จะแต่งตั้งออกไปประจำตำแหน่งในมณฑลปัตตานี พึงเลือกเฟ้นแต่คนมีนิสัย ซื่อสัตย์ สุจริต สงบเสงี่ยมเยือกเย็น ไม่ใช่สักแต่ว่าส่งไปบรรจุให้ตำแหน่ง หรือส่งไปเป็นทางลงโทษเพราะเลว เมื่อจะส่งไปต้องสั่งสอนชี้แจงให้รู้ลักษณะทางการอันพึงประพฤติระมัดระวัง โดยหลักที่กล่าวได้ว่า ในข้อหนึ่งและข้อสี่ข้างบนนั้นแล้ว ผู้ใหญ่ในท้องที่พึงสอดส่องฝึกฝนอบรมกันต่อๆไปในคุณธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่คอยให้พลาดพลั้งลงไปก่อนแล้วจึงว่ากล่าวโทษ
ข้อหก เจ้ากระทรวงทั้งหลายจะจัดการวางระเบียบการอย่างใดขึ้นใหม่ หรือบังคับการอย่างใดในมณฑลปัตตานี อันจะเป็นทางพากพานถึงสุขทุกข์ราษฎร ก็ควรพิจารณาเหตุผลแก้ไขหรือยับยั้ง ถ้าไม่เห็นด้วยว่า มีมูลขัดข้อง ก็ควรหารือกระทรวงมหาดไทย แม้ยังไม่ตกลงกันได้ระหว่างกระทรวง ก็พึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย”
เครดิต http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=18804
อ่านแล้วบางข้อไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรค่ะ จะสามารถอธิบายแต่ละข้อแบบใช้ภาษาง่ายๆเข้าใจง่าย ได้อย่างไรคะ
โดยเฉพาะข้อ 6 คำว่า พากพาน หมายถึงอะไรคะ
ขอบคุณค่ะ