ธรรมของพระองค์เป็นปัจจัตตัง
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญ ดังนี้
๑. ธรรมของตถาคตเป็น ปัจจัตตัง ใครปฏิบัติถึงแล้วย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เฉพาะตนของใครของมัน กรรมใครกรรมมัน ธรรมของใครก็ของผู้นั้น ทำแทนกันไม่ได้
๒. เมื่อเข้าใจธรรมในข้อแรกแล้ว ก็จะเข้าใจคำสอนที่ว่า ธรรมของตถาคต ผู้ใดปฏิบัติจนเกิดความเข้าใจ หรือรู้ได้ด้วยตนเองเพียงครั้งเดียว ดีกว่ามีผู้อื่นมาบอกให้รู้ ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง
๓. ธรรมของตถาคต ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน ผู้ที่ยังปฏิบัติไม่ถึงจึงต้องมีการขัดแย้งกันเป็นธรรมดา เพราะรู้ - เห็นไม่เหมือนกัน ตามบารมีธรรมของแต่ละคน ให้จับหลักข้อนี้ไว้ ก็จะเข้าถึงตัวธรรมดาได้ไม่ยาก
๔. ใครยังไม่เข้าใจจุดนี้ ก็ย่อมยังมีอารมณ์ ๒ (พอใจกับไม่พอใจ) ยังมีการตำหนิกรรมของผู้อื่น ยังยึดผิด-ถูก ดี-เลว อยู่เป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์ ๔ - ๕ ยังไม่ขาด เป็นการเห็นกันต่างมุม-ต่างทิฐิ-ต่างความเห็น เป็นสงครามทางความคิด
๕. ธรรมของตถาคตต้องจำให้ได้เป็นประการแรก แล้วนำไปปฏิบัติตามให้เกิดผลเป็นขั้นที่ ๒ โดยนำไปใคร่ครวญให้เกิดปัญญา ( ธัมมวิจยะ) ธรรมนั้น ๆ จะเดินไปในทางเดียวกันหมด จนที่สุดรวมเป็นหนึ่ง เป็น เอโกธัมโม
๖. ธรรมทุกข้อทุกขั้นตอนของพระองค์ จะเกิดขึ้นได้จากความเพียรชอบเท่านั้น มิใช่เพียรขออธิษฐาน อ้อนวอน แต่ไม่ยอมปฏิบัติ พระองค์จะสงเคราะห์เราได้ เราจะต้องช่วยจิตของเราให้สงบปราศจากนิวรณ์ก่อน โดยเจริญอานาปานัสสติ ควบคำภาวนา ยิ่งจับกสิณภาพพระ หรือภาพพระนิพพานได้ก็ยิ่งดี ส่วนใหญ่พวกเรามักเผลอ จิตทิ้งพระจึงยังเอาดีกันไม่ได้
๗. ส่วนใหญ่ประมาทและขาดความเพียรชอบ พอทำได้หรือพอสัมผัสธรรมได้ แต่ยังไม่ชำนาญ ก็วางธรรมนั้นไปสนใจธรรมอื่น ๆ ต่อไป จะต้องเพียรปฏิบัติต่อไปให้เกิด ความชำนาญจนจิตชิน กลายเป็นฌาน ชินในอารมณ์นั้น ๆ แบบเพียรรักษาศีล จนศีลรักษาเราไม่ได้ผิดศีลอีก เป็นสีลานุสสติเพียรทำทาน โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เป็น จาคานุสสติ เพียรระวังจิตอย่าให้มันคิดชั่ว เพราะกลัวผลของกรรมชั่วจะเกิดกับจิตตน เป็น เทวตานุสสติ และยากที่สุด คือ เพียรรักษาพรหมวิหาร ๔ จนกระทั่งพ้นภัยจากอารมณ์จิตของเรา ทำร้ายจิตเราเอง ได้ทรงตัว ใครทำได้ก็พ้นภัยตนเอง ต้องทำให้ชินจนเป็นฌาน
๘. ทรงตรัสว่า การกำหนดรู้วาระจิตในทุกๆ ขณะจิตนั้นแหละ คือ จิตตานุสติปัฏฐาน ซึ่งตามปกติถ้าจิตยังเจริญไม่ถึง จักฟังสักเท่าไหร่ กี่ครั้งกี่หน ก็รู้ไม่ได้อยู่ดี จนกว่าถึงแล้วก็รู้เอง นี่คือการศึกษาปฏิบัติในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา ซึ่งฟังแต่ปริยัติจักเข้าใจไม่ได้ จนกว่าจักปฏิบัติถึงแล้ว จึงจักเข้าใจ เพราะธรรมเป็น ปัจจัตตัง ถึงแล้วรู้เอง
๙. และการสอนให้ปฏิบัติมาตามนี้ ก็เป็นอยู่ในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา การสอนให้เข้าถึงธรรมปัจจุบันอย่างนี้ เขาเรียกว่าสอนโดยพิสดาร สอนแล้วปฏิบัติมาก็ตรงแนวคำสอนเดิมอยู่ดี แตกต่างกันไปตามศัพท์แสง คำอธิบายเท่านั้น ซึ่ง ถ้าใช้ภาษาในอดีตคือต้นพุทธกาล พวกเจ้าก็จักเข้าใจยาก หรือยากที่จักเข้าใจ (จัดเป็นพระเมตตาของพระองค์อย่างหาประมาณมิได้)
๑๐. นักปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จุดนี้ จักปฏิบัติให้เข้าถึง อริยมรรค อริยผล เบื้องสูงได้ยาก แต่เมื่อรู้แล้วยังจักต้องปฏิบัติให้คล่องแคล่วชำนาญยิ่งๆ ขึ้นด้วย จึงจักมีมรรคผลเกิดขึ้นได้
ทุกข์ อยู่ที่การเกาะร่างกายเป็นประการสำคัญ
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. เจ้าจักเห็นได้ว่า ทุกชีวิตที่อยู่ในโลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่ว่าเราหรือเขาหรือใครๆ ต่างก็อยู่กันด้วยความทุกข์ แม้สภาพต่างกัน สภาวะต่างกัน แต่ก็รวมความว่าเป็นทุกข์เหมือนกันหมด
๒. คนจักตาย ไม่อยากให้ตายก็ทุกข์ คนไม่มีที่ทำกินก็ทุกข์ ถ้าปรารถนาไม่สมหวังก็ทุกข์ ทุกคนที่ยังมีสภาวะร่างกายอยู่ ทุกๆ ลมหายใจเข้าออก มันอยู่กับความทุกข์ และความทุกข์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด มันสืบเนื่องมาจากการมีร่างกายทั้งสิ้น
๓. คนถ้าไม่มีร่างกาย จักตายได้ไหม? (ตอบว่า ไม่ได้)
๔. ยกเว้นพรหม - เทวดา - นางฟ้าที่เป็นกายทิพย์ ท่านยังมีการจุติ แต่กายนั้นก็ยังมีการถูกยึดมั่นว่ามีในตน เป็นของตน จึงยังจัดว่ายังไม่หมด สักกายทิฎฐิ อยู่ ทุกข์จึงอยู่ที่การเกาะร่างกายเป็นประการสำคัญ
๕. ไม่มีร่างกาย ก็ไม่จำเป็นต้องทำมาหากิน จึงเท่ากับการมีร่างกายทำให้เกิดทุกข์ขึ้นทุกอย่าง ต้องกิน - ต้องอยู่ - ต้องทำงาน มีความปรารถนาไม่สมหวัง มีความกระทบกระทั่งใจ มีแก่-มีเจ็บ-มีตายอยู่อย่างนี้ แล้วพวกเจ้ายังหลงความมีร่างกายอยู่อีกหรือ หรือยังคิดว่าการมีร่างกายเป็นของดี (ตอบว่า ไม่ดี)
๖. แล้วยังหลงอยู่อีกหรือ (ยอมรับว่ายังหลงอยู่) ใช่ จักต้องตอบว่ายังหลง เพราะขึ้นชื่อว่า สังโยชน์ ๑๐ ประการยังตัดไม่หมด จักปรารภว่าตัดความหลงได้หมด ย่อมเป็นไปไม่ได้
๗. อย่าหลงลืมตัวเป็นอันขาด คิดอะไร - พูดอะไร - ทำอะไรให้มีสติกำหนดรู้อยู่ทุกๆ ขณะจิต พยายามเข้าไว้ อย่าทิ้งอารมณ์ให้ว่างจากคำภาวนา และพิจารณาเป็นอันขาด ถ้าหากอยากได้ดี ก็จงทำให้ได้เป็นปกติ
เมตตาคุ้มครองโลก
เท่ากับเมตตา อัปมาโณ เท่ากับ ธัมโมอัปมาโณ
สมเด็จองค์ปฐมทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ ดังนี้
เพื่อนผู้ร่วมปฏิบัติธรรมกับผม ท่าน ธัมมวิจัยว่า อภัยทานตัวจริง จะต้องทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ครบทั้ง ๔ ตัว และทรงตัวเป็นปกติ และบุคคลที่ยังมีอารมณ์ ๒ อยู่ ก็เพราะยังตัดสังโยชน์ ๔ และ ๕ ไม่ขาด สมเด็จองค์ปฐมก็มีพระเมตตาตรัสสอนว่า
๑. จริงของเจ้าที่ว่าอภัยทานจักเกิดแก่จิตของผู้ใด บุคคลผู้นั้นจักต้องทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ครบ ๔ ตัวอยู่ตามปกติ แต่จักทำได้ไฉนเล่า นี่แหละคือเหตุที่ตถาคตจักต้องนำมากล่าวในที่นี้
๒. พรหมวิหาร ๔ เป็นสมบัติของพรหมธรรม นอกเหนือจากพรหมที่เกิดด้วยกำลังฌาน พรหมวิหาร ๔ เป็นพี่เลี้ยงของศีล - สมาธิ - ปัญญาให้ตั้งมั่นพรหมวิหาร ๔ เป็นตัวปัญญาอันเกิดขึ้นได้ด้วยการพิจารณา ใคร่ครวญถึงเหตุผลของที่ตั้งได้ของพรหมวิหาร ๔ ทั้ง ๔ ตัวนี้ การใคร่ครวญทำดังนี้
๓. จริงๆ แล้วการปฏิบัติในศีลได้เป็นปกติ เพราะอำนาจหิริ - โอตตัปปะ กลัวบาป เกรงผลของบาปจักให้ผล เป็น เทวธรรม ที่ทำให้สงบจิต เว้นจากการทำบาป กลัวตกนรกและจัดว่าเป็นอำนาจของพรหมวิหาร ๒ ประการเบื้องต้น
๔. การงดเว้นจากการกระทำกรรมชั่ว ๕ อย่าง ก็เป็นเมตตากับกรุณาอยู่ในตัวเสร็จสรรพ เหมือนคนกินแกงส้ม แต่ไม่รู้จักชื่อแกงส้ม นี่ก็เช่นกัน ประพฤติปฏิบัติตามแบบฉบับของเมตตา - กรุณา แต่ไม่เคยคิดถึงชื่อเมตตา - กรุณาเลย คือ ปฏิบัติโดยไม่คิดถึงชื่อสมมุติบัญญัติ ให้ลงพิจารณาไล่ดู หากขาดเมตตา - กรุณา - มุทิตา - อุเบกขาทีละข้อๆ ว่า ขาดแล้ว การกระทำ (กรรม) ของกาย - วาจา - ใจจักออกมาในรูปใด คิดให้ออก คิดให้บ่อยๆ แล้วจักเข้าใจได้เอง
๕. เมื่อเข้าใจแล้ว ให้คิดกลับกันว่า หากมีเมตตา - กรุณา - มุทิตา - อุเบกขา ทีละข้อๆ แล้ว การกระทำทางกาย - วาจา - ใจ จักออกมาในรูปใด>
๖. ขั้นต่อไป ก็ให้พิจารณาคิดเทียบไปกับอารมณ์กระทบของอายตนะภายนอกและภายใน เริ่มจากพบตา - ห ู- จมูก - ลิ้น - กาย และธรรมารมณ์ตามลำดับ ทีละข้อ ๆ โดยตั้งคำถามกับจิตว่า ตาเห็นรูป รูปดีหรือรูปไม่ดี หากมีพรหมวิหาร ๔ กับไม่มีพรหมวิหาร ๔ กาย - วาจา - ใจจักเป็นอย่างไร ซึ่งคนฉลาดพิจารณาเพียงอย่างเดียว หากได้คำตอบแล้วอีก ๕ ข้อก็จะมีอารมณ์เหมือนๆ กันทั้งสิ้น
๗. เรื่องสัมผัสทางกาย ตถาคตหมายถึงทุกอย่างที่เข้ามาสัมผัสด้วยกาย แม้กระทั่งร่างกายกระทบอากาศร้อน - หนาว กระทบเสื้อผ้าอาภรณ์ และสิ่งอื่นๆ ที่มากระทบร่างกาย ก็ให้ปฏิบัติแบบในข้อ ๖ ทั้งสิ้น เช่น เสียงจากโลกธรรม ๘ คือ เสียงนินทา - สรรเสริญ, เสียงผู้ไม่มีศีล - เสียงผู้ไม่มีกรรมบถ ๑๐ ก็ให้พิจารณาโดยใช้หลักเดียวกัน
๘. หากจิตพิจารณาตามหลักเหล่านี้ดีแล้ว พรหมวิหาร ๔ ก็จะเริ่มทรงตัวอยู่กับจิต เมื่อกระทบกับเสียงที่ไม่ดีทั้งหลาย เมตตา - กรุณาก็จักรักและสงสารว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย การผิดศีล, ละเมิดกรรมบถ ๑๐ จะต้องตกเป็นเหยื่อของอบายภูมิ มีมุทิตาคือจิตอ่อนโยน อภัยในความชั่วของเขา คือ ไม่เก็บความชั่วของเขามาไว้ในจิตของเรา หากเตือนได้ก็เตือนด้วยเหตุด้วยผล ถ้าเตือนไม่ได้ก็เรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา อย่าเก็บเอามาให้ กาย - วาจา - ใจ เราเดือดร้อน อุเบกขา คือ มีจิตปล่อยวางในเสียงนั้น เพราะพิจารณาเห็นเป็นธรรมดาของเขา เป็นปกติของผู้ไม่มีศีล ไม่มีกรรมบถ ๑๐ มันก็เป็นธรรมดาอย่างนี้แหละ
๙. นี่แหละคือการใคร่ครวญถึงพรหมวิหาร ๔ ทั้ง ๔ ประการ จักต้องคิดไว้ ใคร่ครวญไว้ ใช้ปัญญาตามรู้เข้าไว้ จุดนี้เป็นวิปัสสนาญาณและให้คิดจบลงตอนท้ายทุกๆ ข้อว่า หากเราตายตอนนี้จิตเราจักไปไหน หากมีพรหมวิหาร ๔ กับไม่มีพรหมวิหาร ๔ ให้ปริปุจฉาถาม - ตอบในจิตตนเองให้เป็นปกติ
๑๐. พวกเจ้าจงอย่าละความเพียร ใช้ฌานเป็นกำลังของจิตควบกับคำภาวนา สลับกับการพิจารณาอยู่อย่างนี้อย่าให้ขาด เช่นเดียวกับในอดีตธรรมที่ใคร่ครวญเรื่องของศีล ทำได้เมื่อใด เมื่อนั้นแหละจิตของพวกเจ้าจักรู้ว่ามีพรหมวิหาร ๔ ครบทั้ง ๔ ประการ เจริญอยู่ในจิตตราบนั้น และจักเป็นของแท้ พระอริยเจ้า ท่านได้แล้วได้เลย เข้าถึงแล้วก็รู้ว่าเข้าถึง ไม่มีอันใดที่จักมาโยกคลอน เปลี่ยนแปลงจิตของท่านได้อีก ขอให้โชคดีนะ
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
อ้างอิง :
http://www.tangnipparn.com/page33_b00k7.html
ธรรมของพระองค์เป็นปัจจัตตัง
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญ ดังนี้
๑. ธรรมของตถาคตเป็น ปัจจัตตัง ใครปฏิบัติถึงแล้วย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง เฉพาะตนของใครของมัน กรรมใครกรรมมัน ธรรมของใครก็ของผู้นั้น ทำแทนกันไม่ได้
๒. เมื่อเข้าใจธรรมในข้อแรกแล้ว ก็จะเข้าใจคำสอนที่ว่า ธรรมของตถาคต ผู้ใดปฏิบัติจนเกิดความเข้าใจ หรือรู้ได้ด้วยตนเองเพียงครั้งเดียว ดีกว่ามีผู้อื่นมาบอกให้รู้ ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง
๓. ธรรมของตถาคต ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน ผู้ที่ยังปฏิบัติไม่ถึงจึงต้องมีการขัดแย้งกันเป็นธรรมดา เพราะรู้ - เห็นไม่เหมือนกัน ตามบารมีธรรมของแต่ละคน ให้จับหลักข้อนี้ไว้ ก็จะเข้าถึงตัวธรรมดาได้ไม่ยาก
๔. ใครยังไม่เข้าใจจุดนี้ ก็ย่อมยังมีอารมณ์ ๒ (พอใจกับไม่พอใจ) ยังมีการตำหนิกรรมของผู้อื่น ยังยึดผิด-ถูก ดี-เลว อยู่เป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์ ๔ - ๕ ยังไม่ขาด เป็นการเห็นกันต่างมุม-ต่างทิฐิ-ต่างความเห็น เป็นสงครามทางความคิด
๕. ธรรมของตถาคตต้องจำให้ได้เป็นประการแรก แล้วนำไปปฏิบัติตามให้เกิดผลเป็นขั้นที่ ๒ โดยนำไปใคร่ครวญให้เกิดปัญญา ( ธัมมวิจยะ) ธรรมนั้น ๆ จะเดินไปในทางเดียวกันหมด จนที่สุดรวมเป็นหนึ่ง เป็น เอโกธัมโม
๖. ธรรมทุกข้อทุกขั้นตอนของพระองค์ จะเกิดขึ้นได้จากความเพียรชอบเท่านั้น มิใช่เพียรขออธิษฐาน อ้อนวอน แต่ไม่ยอมปฏิบัติ พระองค์จะสงเคราะห์เราได้ เราจะต้องช่วยจิตของเราให้สงบปราศจากนิวรณ์ก่อน โดยเจริญอานาปานัสสติ ควบคำภาวนา ยิ่งจับกสิณภาพพระ หรือภาพพระนิพพานได้ก็ยิ่งดี ส่วนใหญ่พวกเรามักเผลอ จิตทิ้งพระจึงยังเอาดีกันไม่ได้
๗. ส่วนใหญ่ประมาทและขาดความเพียรชอบ พอทำได้หรือพอสัมผัสธรรมได้ แต่ยังไม่ชำนาญ ก็วางธรรมนั้นไปสนใจธรรมอื่น ๆ ต่อไป จะต้องเพียรปฏิบัติต่อไปให้เกิด ความชำนาญจนจิตชิน กลายเป็นฌาน ชินในอารมณ์นั้น ๆ แบบเพียรรักษาศีล จนศีลรักษาเราไม่ได้ผิดศีลอีก เป็นสีลานุสสติเพียรทำทาน โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เป็น จาคานุสสติ เพียรระวังจิตอย่าให้มันคิดชั่ว เพราะกลัวผลของกรรมชั่วจะเกิดกับจิตตน เป็น เทวตานุสสติ และยากที่สุด คือ เพียรรักษาพรหมวิหาร ๔ จนกระทั่งพ้นภัยจากอารมณ์จิตของเรา ทำร้ายจิตเราเอง ได้ทรงตัว ใครทำได้ก็พ้นภัยตนเอง ต้องทำให้ชินจนเป็นฌาน
๘. ทรงตรัสว่า การกำหนดรู้วาระจิตในทุกๆ ขณะจิตนั้นแหละ คือ จิตตานุสติปัฏฐาน ซึ่งตามปกติถ้าจิตยังเจริญไม่ถึง จักฟังสักเท่าไหร่ กี่ครั้งกี่หน ก็รู้ไม่ได้อยู่ดี จนกว่าถึงแล้วก็รู้เอง นี่คือการศึกษาปฏิบัติในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา ซึ่งฟังแต่ปริยัติจักเข้าใจไม่ได้ จนกว่าจักปฏิบัติถึงแล้ว จึงจักเข้าใจ เพราะธรรมเป็น ปัจจัตตัง ถึงแล้วรู้เอง
๙. และการสอนให้ปฏิบัติมาตามนี้ ก็เป็นอยู่ในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา การสอนให้เข้าถึงธรรมปัจจุบันอย่างนี้ เขาเรียกว่าสอนโดยพิสดาร สอนแล้วปฏิบัติมาก็ตรงแนวคำสอนเดิมอยู่ดี แตกต่างกันไปตามศัพท์แสง คำอธิบายเท่านั้น ซึ่ง ถ้าใช้ภาษาในอดีตคือต้นพุทธกาล พวกเจ้าก็จักเข้าใจยาก หรือยากที่จักเข้าใจ (จัดเป็นพระเมตตาของพระองค์อย่างหาประมาณมิได้)
๑๐. นักปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จุดนี้ จักปฏิบัติให้เข้าถึง อริยมรรค อริยผล เบื้องสูงได้ยาก แต่เมื่อรู้แล้วยังจักต้องปฏิบัติให้คล่องแคล่วชำนาญยิ่งๆ ขึ้นด้วย จึงจักมีมรรคผลเกิดขึ้นได้
ทุกข์ อยู่ที่การเกาะร่างกายเป็นประการสำคัญ
สมเด็จองค์ปฐม ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้
๑. เจ้าจักเห็นได้ว่า ทุกชีวิตที่อยู่ในโลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่ว่าเราหรือเขาหรือใครๆ ต่างก็อยู่กันด้วยความทุกข์ แม้สภาพต่างกัน สภาวะต่างกัน แต่ก็รวมความว่าเป็นทุกข์เหมือนกันหมด
๒. คนจักตาย ไม่อยากให้ตายก็ทุกข์ คนไม่มีที่ทำกินก็ทุกข์ ถ้าปรารถนาไม่สมหวังก็ทุกข์ ทุกคนที่ยังมีสภาวะร่างกายอยู่ ทุกๆ ลมหายใจเข้าออก มันอยู่กับความทุกข์ และความทุกข์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด มันสืบเนื่องมาจากการมีร่างกายทั้งสิ้น
๓. คนถ้าไม่มีร่างกาย จักตายได้ไหม? (ตอบว่า ไม่ได้)
๔. ยกเว้นพรหม - เทวดา - นางฟ้าที่เป็นกายทิพย์ ท่านยังมีการจุติ แต่กายนั้นก็ยังมีการถูกยึดมั่นว่ามีในตน เป็นของตน จึงยังจัดว่ายังไม่หมด สักกายทิฎฐิ อยู่ ทุกข์จึงอยู่ที่การเกาะร่างกายเป็นประการสำคัญ
๕. ไม่มีร่างกาย ก็ไม่จำเป็นต้องทำมาหากิน จึงเท่ากับการมีร่างกายทำให้เกิดทุกข์ขึ้นทุกอย่าง ต้องกิน - ต้องอยู่ - ต้องทำงาน มีความปรารถนาไม่สมหวัง มีความกระทบกระทั่งใจ มีแก่-มีเจ็บ-มีตายอยู่อย่างนี้ แล้วพวกเจ้ายังหลงความมีร่างกายอยู่อีกหรือ หรือยังคิดว่าการมีร่างกายเป็นของดี (ตอบว่า ไม่ดี)
๖. แล้วยังหลงอยู่อีกหรือ (ยอมรับว่ายังหลงอยู่) ใช่ จักต้องตอบว่ายังหลง เพราะขึ้นชื่อว่า สังโยชน์ ๑๐ ประการยังตัดไม่หมด จักปรารภว่าตัดความหลงได้หมด ย่อมเป็นไปไม่ได้
๗. อย่าหลงลืมตัวเป็นอันขาด คิดอะไร - พูดอะไร - ทำอะไรให้มีสติกำหนดรู้อยู่ทุกๆ ขณะจิต พยายามเข้าไว้ อย่าทิ้งอารมณ์ให้ว่างจากคำภาวนา และพิจารณาเป็นอันขาด ถ้าหากอยากได้ดี ก็จงทำให้ได้เป็นปกติ
เมตตาคุ้มครองโลก
เท่ากับเมตตา อัปมาโณ เท่ากับ ธัมโมอัปมาโณ
สมเด็จองค์ปฐมทรงมีพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ ดังนี้
เพื่อนผู้ร่วมปฏิบัติธรรมกับผม ท่าน ธัมมวิจัยว่า อภัยทานตัวจริง จะต้องทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ครบทั้ง ๔ ตัว และทรงตัวเป็นปกติ และบุคคลที่ยังมีอารมณ์ ๒ อยู่ ก็เพราะยังตัดสังโยชน์ ๔ และ ๕ ไม่ขาด สมเด็จองค์ปฐมก็มีพระเมตตาตรัสสอนว่า
๑. จริงของเจ้าที่ว่าอภัยทานจักเกิดแก่จิตของผู้ใด บุคคลผู้นั้นจักต้องทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ครบ ๔ ตัวอยู่ตามปกติ แต่จักทำได้ไฉนเล่า นี่แหละคือเหตุที่ตถาคตจักต้องนำมากล่าวในที่นี้
๒. พรหมวิหาร ๔ เป็นสมบัติของพรหมธรรม นอกเหนือจากพรหมที่เกิดด้วยกำลังฌาน พรหมวิหาร ๔ เป็นพี่เลี้ยงของศีล - สมาธิ - ปัญญาให้ตั้งมั่นพรหมวิหาร ๔ เป็นตัวปัญญาอันเกิดขึ้นได้ด้วยการพิจารณา ใคร่ครวญถึงเหตุผลของที่ตั้งได้ของพรหมวิหาร ๔ ทั้ง ๔ ตัวนี้ การใคร่ครวญทำดังนี้
๓. จริงๆ แล้วการปฏิบัติในศีลได้เป็นปกติ เพราะอำนาจหิริ - โอตตัปปะ กลัวบาป เกรงผลของบาปจักให้ผล เป็น เทวธรรม ที่ทำให้สงบจิต เว้นจากการทำบาป กลัวตกนรกและจัดว่าเป็นอำนาจของพรหมวิหาร ๒ ประการเบื้องต้น
๔. การงดเว้นจากการกระทำกรรมชั่ว ๕ อย่าง ก็เป็นเมตตากับกรุณาอยู่ในตัวเสร็จสรรพ เหมือนคนกินแกงส้ม แต่ไม่รู้จักชื่อแกงส้ม นี่ก็เช่นกัน ประพฤติปฏิบัติตามแบบฉบับของเมตตา - กรุณา แต่ไม่เคยคิดถึงชื่อเมตตา - กรุณาเลย คือ ปฏิบัติโดยไม่คิดถึงชื่อสมมุติบัญญัติ ให้ลงพิจารณาไล่ดู หากขาดเมตตา - กรุณา - มุทิตา - อุเบกขาทีละข้อๆ ว่า ขาดแล้ว การกระทำ (กรรม) ของกาย - วาจา - ใจจักออกมาในรูปใด คิดให้ออก คิดให้บ่อยๆ แล้วจักเข้าใจได้เอง
๕. เมื่อเข้าใจแล้ว ให้คิดกลับกันว่า หากมีเมตตา - กรุณา - มุทิตา - อุเบกขา ทีละข้อๆ แล้ว การกระทำทางกาย - วาจา - ใจ จักออกมาในรูปใด>
๖. ขั้นต่อไป ก็ให้พิจารณาคิดเทียบไปกับอารมณ์กระทบของอายตนะภายนอกและภายใน เริ่มจากพบตา - ห ู- จมูก - ลิ้น - กาย และธรรมารมณ์ตามลำดับ ทีละข้อ ๆ โดยตั้งคำถามกับจิตว่า ตาเห็นรูป รูปดีหรือรูปไม่ดี หากมีพรหมวิหาร ๔ กับไม่มีพรหมวิหาร ๔ กาย - วาจา - ใจจักเป็นอย่างไร ซึ่งคนฉลาดพิจารณาเพียงอย่างเดียว หากได้คำตอบแล้วอีก ๕ ข้อก็จะมีอารมณ์เหมือนๆ กันทั้งสิ้น
๗. เรื่องสัมผัสทางกาย ตถาคตหมายถึงทุกอย่างที่เข้ามาสัมผัสด้วยกาย แม้กระทั่งร่างกายกระทบอากาศร้อน - หนาว กระทบเสื้อผ้าอาภรณ์ และสิ่งอื่นๆ ที่มากระทบร่างกาย ก็ให้ปฏิบัติแบบในข้อ ๖ ทั้งสิ้น เช่น เสียงจากโลกธรรม ๘ คือ เสียงนินทา - สรรเสริญ, เสียงผู้ไม่มีศีล - เสียงผู้ไม่มีกรรมบถ ๑๐ ก็ให้พิจารณาโดยใช้หลักเดียวกัน
๘. หากจิตพิจารณาตามหลักเหล่านี้ดีแล้ว พรหมวิหาร ๔ ก็จะเริ่มทรงตัวอยู่กับจิต เมื่อกระทบกับเสียงที่ไม่ดีทั้งหลาย เมตตา - กรุณาก็จักรักและสงสารว่าเขาไม่น่าทำอย่างนั้นเลย การผิดศีล, ละเมิดกรรมบถ ๑๐ จะต้องตกเป็นเหยื่อของอบายภูมิ มีมุทิตาคือจิตอ่อนโยน อภัยในความชั่วของเขา คือ ไม่เก็บความชั่วของเขามาไว้ในจิตของเรา หากเตือนได้ก็เตือนด้วยเหตุด้วยผล ถ้าเตือนไม่ได้ก็เรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา อย่าเก็บเอามาให้ กาย - วาจา - ใจ เราเดือดร้อน อุเบกขา คือ มีจิตปล่อยวางในเสียงนั้น เพราะพิจารณาเห็นเป็นธรรมดาของเขา เป็นปกติของผู้ไม่มีศีล ไม่มีกรรมบถ ๑๐ มันก็เป็นธรรมดาอย่างนี้แหละ
๙. นี่แหละคือการใคร่ครวญถึงพรหมวิหาร ๔ ทั้ง ๔ ประการ จักต้องคิดไว้ ใคร่ครวญไว้ ใช้ปัญญาตามรู้เข้าไว้ จุดนี้เป็นวิปัสสนาญาณและให้คิดจบลงตอนท้ายทุกๆ ข้อว่า หากเราตายตอนนี้จิตเราจักไปไหน หากมีพรหมวิหาร ๔ กับไม่มีพรหมวิหาร ๔ ให้ปริปุจฉาถาม - ตอบในจิตตนเองให้เป็นปกติ
๑๐. พวกเจ้าจงอย่าละความเพียร ใช้ฌานเป็นกำลังของจิตควบกับคำภาวนา สลับกับการพิจารณาอยู่อย่างนี้อย่าให้ขาด เช่นเดียวกับในอดีตธรรมที่ใคร่ครวญเรื่องของศีล ทำได้เมื่อใด เมื่อนั้นแหละจิตของพวกเจ้าจักรู้ว่ามีพรหมวิหาร ๔ ครบทั้ง ๔ ประการ เจริญอยู่ในจิตตราบนั้น และจักเป็นของแท้ พระอริยเจ้า ท่านได้แล้วได้เลย เข้าถึงแล้วก็รู้ว่าเข้าถึง ไม่มีอันใดที่จักมาโยกคลอน เปลี่ยนแปลงจิตของท่านได้อีก ขอให้โชคดีนะ
รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
อ้างอิง : http://www.tangnipparn.com/page33_b00k7.html