เมื่อกล่าวถึง สติ สมาธิ ปัญญา แล้ว มักมีความเข้าใจไปในคนละทิศคนละทาง ตามแต่ความรู้ความเข้าใจ ที่ได้รับมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ และตนได้เรียนรู้มาจากแหล่งเหล่านั้น
บ้างก็เน้นไปที่ "สติเพียงอย่างเดียว" ให้หมั่นรู้ตัวทั่วพร้อม เดี๋ยวสมาธิปัญญาก็จะตามมาเอง ซึ่งยังดีไปกว่ากลุ่มอื่นที่สอนว่า "เหตุใกล้ทำให้สติเกิด" เป็นเพียงการสะดุ้งรู้ตัวในภายหลังว่าตนได้เหม่อไปแล้วเท่านั้น
บ้างก็ว่า "สมาธิ" นั่นแหละเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา เมื่อเพียรภาวนาไปสติปัญญาย่อมเกิดขึ้นมาตามลำดับ พร้อมทั้งยังนำพุทธพจน์ที่มีรับรองไว้ มากำกับเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือเข้าไปอีก
"สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงดังนี้"
บ้างเน้นเดินเข้าไปสู่ปรมัติโดยเอา "วิปัสสนาปัญญา" (รู้เห็นตามความเป็นจริง) โดยตรงกันไปเลยทีเดียว ไม่ต้องเสียเวลามานั่งทำสมาธิภาวนาจนหลังขดหลังแข็ง หรือเดินจงกรมจนส้นเท้าแตก
ล้วนคิดไปเองว่าเป็นการสร้างสภาวะความยากลำบากให้เกิดขึ้นที่กาย-ใจ ของตนเอง สู้หันมารู้กาย รู้ใจ (นึกเอา) หรือที่เรียกว่ารู้ทันรูป-นาม สติ-สมาธิก็จะเกิดขึ้นมาเอง
นั่นเป็นเพียงความเชื่อที่มีอยู่ก่อน แบบตามๆ กันมาว่าเป็นไปได้ ทั้งที่ยังขาดหลักของเหตุผล ที่น่าเชื่อถือจากพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสรับรองไว้
ไม่เคยมีพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรับรองไว้เลยในพระไตรปิฎกเลยว่า "สติปัญญาเกิดขึ้นมาได้เอง" ถ้าเกิดขึ้นมาได้เองจริง พระพุทธองค์ไม่ต้องทรงหนีออกมาผนวชเพื่อค้นหาความจริงอันประเสริฐ คือ "อริยสัจ ๔"
เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงเน้นไว้ในที่ต่างๆ ว่า "สติ สมาธิ ปัญญา" นั้น ต้องเพียรเจริญ เพียรสร้างให้เกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นมาได้เอง ด้วยความรู้สึกนึกคิด เพราะสติ สมาธิ ปัญญานั้นเป็น "ภาเวตัพพะ" คือต้องเพียรเจริญ เพียรสร้างให้เกิดขึ้น
ควรวางคติธรรมความเชื่อของตนที่มีในแบบตามๆ กันมาอยู่นั้นลงไว้ก่อน เอาหลักของเหตุผลตามความเป็นจริง ที่เราสามารถพิจารณาตริตรองตามได้ โดยไม่ขัดกับพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ ที่มีมาใน "อริยมรรคมีองค์ ๘" ที่เรียกว่า "ทางเดินอันเอกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย"
การจะระลึกนึกคิดถึงอะไรสักอย่าง ซึ่งเป็นเพียงแค่สัญญาอารมณ์นั้น บุคคลยังต้องมีพื้นฐานของความสงบ หรือที่เรียกว่า "นิ่งให้เป็น" อันเป็นธรรมขั้นพื้นฐานของบุคคลทั่วไป ยังต้องเพียรสร้างสมฝึกฝนจนเป็นนิสัยปัจจัยของตน เป็นเพียงปัญญาทางโลกที่เรียกว่า "ถิรสัญญา" ความสามารถจดจำเหตุการณ์ต่างๆ ได้แม่นยำ
เรามาดูโครงสร้างของสติ สมาธิ ที่เป็น "สัมมา" อันมีมาใน "อริยมรรคมีองค์ ๘" ได้กล่าวไว้ว่า สัมมาสติ คือระลึกรู้ในที่ ๔ สถาน ซึ่งเป็นเรื่องภายในรูปกายของตน อันมีกาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อทำให้จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว รวมลงเป็นสมาธิ
แค่ความสงบเพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่จิตของตนยังมึความหวั่นไหวซ่อนอยู่ ณ ภายใน ไม่ตั้งมั่น เนื่องจากจิตยังปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ออกไปไม่เป็น ความสงบที่ได้เป็นเพียงหินทับหญ้า พอให้ผ่านเหตุการณ์ไปเท่านั้น ถ้าคิดทำเพียงแค่นี้ จนกลายเป็น "ถิรสัญญา" สิ่งที่ได้ตามมา เป็นปัญญาทางโลก คือ "การเปลี่ยนอารมณ์ ไม่ใช่การปล่อยวางอารมณ์" ที่เรียกว่า "เฉยโง่"
เมื่อจิตยังไม่สามารถรวมลงเป็น "สมาธิ" ที่เป็น "สัมมา" อันประกอบด้วยปัญญาความสามารถในการปล่อยวางอารมณ์ความยึดมั่นถือมั่นลงได้แล้ว เนื่องจากการสร้างสติ หรือเจริญสติของตนยังไม่ต่อเนื่องเนืองๆ อยู่ที่ฐาน ที่เรียกว่า "สติปัฏฐาน"
โครงสร้าง "สัมมาสมาธิ" ใน "สติปัฏฐาน ๔" รับรองไว้ชัดเจนดังนี้
สมาธิฌานที่ ๔
"เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่"
เป็นความชัดเจนในเนื้อหาโดยไม่ต้องตีความใดๆ ว่า "จิตของบุคคลนั้น มีสติบริสุทธิ์ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ละวาง ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆ ลงได้ กุมเฉยอยู่ มีปัญญารู้อยู่ว่า ความกระสับกระส่าย สับสน วุ่นวาย เพราะยึดมั่นถือมั่น กับความสงบตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวของจิตเพราะปล่อยวางได้ ต่างกันอย่างไร"
มีพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสรับรองความเพียร (เพ่ง คือการรู้อยู่อย่างต่อเนื่อง) ไว้ดังนี้
"ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ
ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท (เกียจคร้าน)
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอฯ"
สรุปสุดท้าย จากหลักฐานอ้างอิงข้างต้น พอนำไปพิจารณาตริตรองให้เห็นจริงได้ว่า สติ สมาธิ ปัญญา ในพระพุทธศาสนาที่เป็น "สัมมา" นั้น เป็นเรื่องเดียวกัน เป็นข้อธรรมที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกันให้เกิดสืบเนื่องต่อกัน ตามลำดับความเพียรเพ่งกรรมฐานภาวนา ที่จำเป็นต้องกระทำให้มาก เจริญให้มาก จึงจะบริบูรณ์ได้ดังนี้....สาธุ
เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
ธรรมภูต
สติ สมาธิ ปัญญา เป็นอัญญะมัญญะปัจจัย
บ้างก็เน้นไปที่ "สติเพียงอย่างเดียว" ให้หมั่นรู้ตัวทั่วพร้อม เดี๋ยวสมาธิปัญญาก็จะตามมาเอง ซึ่งยังดีไปกว่ากลุ่มอื่นที่สอนว่า "เหตุใกล้ทำให้สติเกิด" เป็นเพียงการสะดุ้งรู้ตัวในภายหลังว่าตนได้เหม่อไปแล้วเท่านั้น
บ้างก็ว่า "สมาธิ" นั่นแหละเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา เมื่อเพียรภาวนาไปสติปัญญาย่อมเกิดขึ้นมาตามลำดับ พร้อมทั้งยังนำพุทธพจน์ที่มีรับรองไว้ มากำกับเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือเข้าไปอีก
"สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงดังนี้"
บ้างเน้นเดินเข้าไปสู่ปรมัติโดยเอา "วิปัสสนาปัญญา" (รู้เห็นตามความเป็นจริง) โดยตรงกันไปเลยทีเดียว ไม่ต้องเสียเวลามานั่งทำสมาธิภาวนาจนหลังขดหลังแข็ง หรือเดินจงกรมจนส้นเท้าแตก
ล้วนคิดไปเองว่าเป็นการสร้างสภาวะความยากลำบากให้เกิดขึ้นที่กาย-ใจ ของตนเอง สู้หันมารู้กาย รู้ใจ (นึกเอา) หรือที่เรียกว่ารู้ทันรูป-นาม สติ-สมาธิก็จะเกิดขึ้นมาเอง
นั่นเป็นเพียงความเชื่อที่มีอยู่ก่อน แบบตามๆ กันมาว่าเป็นไปได้ ทั้งที่ยังขาดหลักของเหตุผล ที่น่าเชื่อถือจากพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสรับรองไว้
ไม่เคยมีพระพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรับรองไว้เลยในพระไตรปิฎกเลยว่า "สติปัญญาเกิดขึ้นมาได้เอง" ถ้าเกิดขึ้นมาได้เองจริง พระพุทธองค์ไม่ต้องทรงหนีออกมาผนวชเพื่อค้นหาความจริงอันประเสริฐ คือ "อริยสัจ ๔"
เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงเน้นไว้ในที่ต่างๆ ว่า "สติ สมาธิ ปัญญา" นั้น ต้องเพียรเจริญ เพียรสร้างให้เกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นมาได้เอง ด้วยความรู้สึกนึกคิด เพราะสติ สมาธิ ปัญญานั้นเป็น "ภาเวตัพพะ" คือต้องเพียรเจริญ เพียรสร้างให้เกิดขึ้น
ควรวางคติธรรมความเชื่อของตนที่มีในแบบตามๆ กันมาอยู่นั้นลงไว้ก่อน เอาหลักของเหตุผลตามความเป็นจริง ที่เราสามารถพิจารณาตริตรองตามได้ โดยไม่ขัดกับพระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ ที่มีมาใน "อริยมรรคมีองค์ ๘" ที่เรียกว่า "ทางเดินอันเอกของพระอริยเจ้าทั้งหลาย"
การจะระลึกนึกคิดถึงอะไรสักอย่าง ซึ่งเป็นเพียงแค่สัญญาอารมณ์นั้น บุคคลยังต้องมีพื้นฐานของความสงบ หรือที่เรียกว่า "นิ่งให้เป็น" อันเป็นธรรมขั้นพื้นฐานของบุคคลทั่วไป ยังต้องเพียรสร้างสมฝึกฝนจนเป็นนิสัยปัจจัยของตน เป็นเพียงปัญญาทางโลกที่เรียกว่า "ถิรสัญญา" ความสามารถจดจำเหตุการณ์ต่างๆ ได้แม่นยำ
เรามาดูโครงสร้างของสติ สมาธิ ที่เป็น "สัมมา" อันมีมาใน "อริยมรรคมีองค์ ๘" ได้กล่าวไว้ว่า สัมมาสติ คือระลึกรู้ในที่ ๔ สถาน ซึ่งเป็นเรื่องภายในรูปกายของตน อันมีกาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อทำให้จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว รวมลงเป็นสมาธิ
แค่ความสงบเพียงอย่างเดียว ทั้งๆ ที่จิตของตนยังมึความหวั่นไหวซ่อนอยู่ ณ ภายใน ไม่ตั้งมั่น เนื่องจากจิตยังปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ออกไปไม่เป็น ความสงบที่ได้เป็นเพียงหินทับหญ้า พอให้ผ่านเหตุการณ์ไปเท่านั้น ถ้าคิดทำเพียงแค่นี้ จนกลายเป็น "ถิรสัญญา" สิ่งที่ได้ตามมา เป็นปัญญาทางโลก คือ "การเปลี่ยนอารมณ์ ไม่ใช่การปล่อยวางอารมณ์" ที่เรียกว่า "เฉยโง่"
เมื่อจิตยังไม่สามารถรวมลงเป็น "สมาธิ" ที่เป็น "สัมมา" อันประกอบด้วยปัญญาความสามารถในการปล่อยวางอารมณ์ความยึดมั่นถือมั่นลงได้แล้ว เนื่องจากการสร้างสติ หรือเจริญสติของตนยังไม่ต่อเนื่องเนืองๆ อยู่ที่ฐาน ที่เรียกว่า "สติปัฏฐาน"
โครงสร้าง "สัมมาสมาธิ" ใน "สติปัฏฐาน ๔" รับรองไว้ชัดเจนดังนี้
สมาธิฌานที่ ๔
"เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่"
เป็นความชัดเจนในเนื้อหาโดยไม่ต้องตีความใดๆ ว่า "จิตของบุคคลนั้น มีสติบริสุทธิ์ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ละวาง ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆ ลงได้ กุมเฉยอยู่ มีปัญญารู้อยู่ว่า ความกระสับกระส่าย สับสน วุ่นวาย เพราะยึดมั่นถือมั่น กับความสงบตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวของจิตเพราะปล่อยวางได้ ต่างกันอย่างไร"
มีพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสรับรองความเพียร (เพ่ง คือการรู้อยู่อย่างต่อเนื่อง) ไว้ดังนี้
"ดูกรอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์
อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย
กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ
ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง
เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท (เกียจคร้าน)
อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง
นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอฯ"
สรุปสุดท้าย จากหลักฐานอ้างอิงข้างต้น พอนำไปพิจารณาตริตรองให้เห็นจริงได้ว่า สติ สมาธิ ปัญญา ในพระพุทธศาสนาที่เป็น "สัมมา" นั้น เป็นเรื่องเดียวกัน เป็นข้อธรรมที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกันให้เกิดสืบเนื่องต่อกัน ตามลำดับความเพียรเพ่งกรรมฐานภาวนา ที่จำเป็นต้องกระทำให้มาก เจริญให้มาก จึงจะบริบูรณ์ได้ดังนี้....สาธุ
เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
ธรรมภูต