ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HIV หลายรายมีอาการดื้อยาต่อต้านเชื้อไวรัส HIV และมีอีกหลายรายที่รับประทานยานั้นโดยไม่ทำตามคำแนะนำที่ได้รับอย่างเคร่งครัด ทางประเทศไทยนั้น รัฐบาลมีแผนจะตรวจ DNA ให้ฟรีเพื่อตรวจดูว่าผู้ใดมีอาการแพ้ยานั้น ทั้งเพื่อช่วยลดการคุกคามของอาการดื้อยา
ชายผู้นี้มีอาการแพ้ยาต่อต้านเชื้อไวรัส HIV ที่ใช้เพื่อชะลอการเป็นโรคเอดส์ เขารู้สึกตื่นตระหนกตกใจเมื่อเกิดผื่นแดงไปทั้งตัว สิ่งที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญรู้สึกวิตกกังวลก็คือว่า อาการแพ้ยาดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยหยุดรับการบำบัดรักษา ทำให้เสี่ยงต่อเรื่องที่ว่าพวกเขาจะเกิดอาการดื้อยาต่อต้านเอดส์ที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดและราคาไม่แพงด้วย
ทางประเทศไทย อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหิดล วสันต์ จันทราทิตย์ ศึกษาตัวอย่าง DNA ของผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ผู้มีอาการแพ้ยาต่อต้านเชื้อไวรัส HIV (antiretroviral drugs) หรือ ARVs
เมื่อรับประทานยา ARVs ตามกำหนด ARVs จะกดดันเชื้อไวรัส HIV แต่ทว่าการผ่อนคลายการกดดันโดยหยุดการบำบัดรักษากลางคันหมายถึงว่า เซลล์ต่อต้านอาจสามารถกลายพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น อาจารย์วสันต์กล่าวว่า การพลาดการบำบัดรักษาแค่สองสามครั้งสามารถก่อให้เกิดการดื้อยาได้
ผู้ที่มีอาการดื้อ ARVsในประเทศไทยนั้นมีอยู่ราวๆร้อยละ 2 ในขณะที่ผู้ที่มีอาการดื้อ ARVs ในอีกหลายประเทศมีอยู่ร้อยละ10 ผู้แทนขององค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ลอรา เบอร์มิงแฮม กล่าวว่า เรื่องนั้นสำคัญมากเพราะประเทศไทยมีผู้ที่ใช้ยาที่ว่านี้อยู่สองแสนหนึ่งหมื่นหกพันคน และเราอยากให้พวกเขาบำบัดรักษาด้วยยานี้ให้นานที่สุด ไม่ใช่เพื่อตัวพวกเขาเองเท่านั้น แต่เพราะราคาของยาด้วย
ประเทศไทยก็คล้ายกับประเทศอีกบางส่วนในแง่ที่ว่า ประเทศไทยผลิตยา ARVs ซึ่งมิได้รับการคุ้มครองจากการจดทะบียนเครื่องหมายการค้า (generic) ซึ่งทำให้รัฐบาลไทยสามารถแจกจ่ายยา ARVs ให้ฟรี โดยรัฐบาลเสียค่าใช้จ่ายราวปีละหนึ่งหมื่นสามพันห้าร้อยบาทต่อผู้ป่วยหนึ่งคน อาจารย์วสันต์แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่าถ้าผู้ป่วยเกิดอาการดื้อยาARVs เหล่านี้ เราก็จะต้องนำยา ARVs กลุ่มที่สองมาให้ ซึ่งมีราคาแพงกว่ากลุ่มแรกสองถึงเก้าเท่า
ผู้ประกอบอาชีพด้านสุขภาพอนามัยของไทยแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศในเรื่องการระงับยับยั้งการแพ้ยาและการดื้อยาเพื่อให้มียาgeneric ซึ่งมีราคาพอสมควรนั้นไว้ใช้ให้นานที่สุด
ส่วนศาสตราจารย์ เฉิน หยวน-ซองแห่ง Academia Sinica ที่ใต้หวันช่วยในการค้นพบ DNA markers ซึ่งจะบ่งชี้ว่าผู้ใดจะเกิดอาการแพ้ยาหรือไม่?
การตรวจ DNA ของผู้ป่วยทำให้แพทย์หลีกเลี่ยงการสั่งยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้
ช่างเทคนิคที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำลังทดสอบเครื่องมือขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่สามารถตรวจความอ่อนไหวที่มีต่อ ARVs และหวังว่าจะนำเทคโนโลยีการตรวจสอบที่ว่านี้ไปใช้ตามโรงพยาบาลในเขตชนบทต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก voathai.com
Report : LIV APCO
ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV หลายรายมีอาการดื้อยาต่อต้านเชื้อไวรัส HIV
ชายผู้นี้มีอาการแพ้ยาต่อต้านเชื้อไวรัส HIV ที่ใช้เพื่อชะลอการเป็นโรคเอดส์ เขารู้สึกตื่นตระหนกตกใจเมื่อเกิดผื่นแดงไปทั้งตัว สิ่งที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญรู้สึกวิตกกังวลก็คือว่า อาการแพ้ยาดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยหยุดรับการบำบัดรักษา ทำให้เสี่ยงต่อเรื่องที่ว่าพวกเขาจะเกิดอาการดื้อยาต่อต้านเอดส์ที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดและราคาไม่แพงด้วย
ทางประเทศไทย อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยมหิดล วสันต์ จันทราทิตย์ ศึกษาตัวอย่าง DNA ของผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ผู้มีอาการแพ้ยาต่อต้านเชื้อไวรัส HIV (antiretroviral drugs) หรือ ARVs
เมื่อรับประทานยา ARVs ตามกำหนด ARVs จะกดดันเชื้อไวรัส HIV แต่ทว่าการผ่อนคลายการกดดันโดยหยุดการบำบัดรักษากลางคันหมายถึงว่า เซลล์ต่อต้านอาจสามารถกลายพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น อาจารย์วสันต์กล่าวว่า การพลาดการบำบัดรักษาแค่สองสามครั้งสามารถก่อให้เกิดการดื้อยาได้
ผู้ที่มีอาการดื้อ ARVsในประเทศไทยนั้นมีอยู่ราวๆร้อยละ 2 ในขณะที่ผู้ที่มีอาการดื้อ ARVs ในอีกหลายประเทศมีอยู่ร้อยละ10 ผู้แทนขององค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ลอรา เบอร์มิงแฮม กล่าวว่า เรื่องนั้นสำคัญมากเพราะประเทศไทยมีผู้ที่ใช้ยาที่ว่านี้อยู่สองแสนหนึ่งหมื่นหกพันคน และเราอยากให้พวกเขาบำบัดรักษาด้วยยานี้ให้นานที่สุด ไม่ใช่เพื่อตัวพวกเขาเองเท่านั้น แต่เพราะราคาของยาด้วย
ประเทศไทยก็คล้ายกับประเทศอีกบางส่วนในแง่ที่ว่า ประเทศไทยผลิตยา ARVs ซึ่งมิได้รับการคุ้มครองจากการจดทะบียนเครื่องหมายการค้า (generic) ซึ่งทำให้รัฐบาลไทยสามารถแจกจ่ายยา ARVs ให้ฟรี โดยรัฐบาลเสียค่าใช้จ่ายราวปีละหนึ่งหมื่นสามพันห้าร้อยบาทต่อผู้ป่วยหนึ่งคน อาจารย์วสันต์แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่าถ้าผู้ป่วยเกิดอาการดื้อยาARVs เหล่านี้ เราก็จะต้องนำยา ARVs กลุ่มที่สองมาให้ ซึ่งมีราคาแพงกว่ากลุ่มแรกสองถึงเก้าเท่า
ผู้ประกอบอาชีพด้านสุขภาพอนามัยของไทยแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศในเรื่องการระงับยับยั้งการแพ้ยาและการดื้อยาเพื่อให้มียาgeneric ซึ่งมีราคาพอสมควรนั้นไว้ใช้ให้นานที่สุด
ส่วนศาสตราจารย์ เฉิน หยวน-ซองแห่ง Academia Sinica ที่ใต้หวันช่วยในการค้นพบ DNA markers ซึ่งจะบ่งชี้ว่าผู้ใดจะเกิดอาการแพ้ยาหรือไม่?
การตรวจ DNA ของผู้ป่วยทำให้แพทย์หลีกเลี่ยงการสั่งยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้
ช่างเทคนิคที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำลังทดสอบเครื่องมือขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่สามารถตรวจความอ่อนไหวที่มีต่อ ARVs และหวังว่าจะนำเทคโนโลยีการตรวจสอบที่ว่านี้ไปใช้ตามโรงพยาบาลในเขตชนบทต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก voathai.com
Report : LIV APCO