ทีมนักวิจัยระดับนานาชาติได้ทำการศึกษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกจำนวน 1,900 คนและพบว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยในเกือบทุกชาติในแอฟริกาทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ติดเชื้อเอชไอวีสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส tenofovir และพบว่ามีผู้ป่วยเอชไอวีราว 20 เปอร์เซ็นต์ในยุโรปที่เริ่มดื้อต่อยาต้านไวรัส
การศึกษานี้ชี้ว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีราว 15 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้ยาต้านไวรัสแบบค็อกเทลที่มียา tenofovir เป็นส่วนผสมจะเริ่มดื้อต่อยาที่ใช้ในช่วงปีแรกของการบำบัด นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่า สองในสามของผู้ป่วยที่ดื้อต่อยา tenofovir จะเริ่มดื้อต่อยาต้านไวรัสตัวอื่นๆ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบในยาค็อกเทลอีกด้วย
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการศึกษาทั้งหมดเริ่มมีอาการป่วยหนักขึ้น แม้ว่าจะได้รับการบำบัดด้วยยาต้านไวรัส tenofovir หนึ่งในยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็ตาม
คุณ Ravi Gupta ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านโรคติดต่อแห่งมหาวิทยาลัย University College of London กล่าวว่าองค์การอนามัยโลกหรือ WHO แนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัส tenofovir ในการบำบัดเอชไอวี เพราะถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดตัวหนึ่งเเละเป็นยาค็อกเทลตัวหลัก
ทีมนักวิจัยต้องการศึกษาเรื่องนี้เพื่อหาคำตอบว่าผลการบำบัดด้วยยาตัวนี้จะเป็นอย่างไรหากใช้ในกลุ่มผู้ติดเชื้อกลุ่มใหญ่ในประเทศยากจน
คุณ Gupta ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อในอังกฤษกล่าวว่า ปัญหาที่พบคือคนจำนวนมากไม่ใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีแบบค็อกเทลเป็นประจำอย่างที่ควร ทำให้เชื้อเอชไอวีเริ่มดื้อต่อยา
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อในอังกฤษกล่าวว่า ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างน้อย 85-90 เปอร์เซ็นต์ของระยะเวลาทั้งหมด เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพสูงที่สุด ไม่เช่นนั้นเชื้อไวรัสจะเริ่มกลายพันธุ์
ในพื้นที่ชนบทห่างไกล คุณ Gupta ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ามีการขาดแคลนยาต้านไวรัส tenofovir เพราะมีปัญหาด้านการจัดส่งยาทำให้การบำบัดขาดความต่อเนื่อง
เขากล่าวว่าหากผู้ป่วยหยุดรับประทานยาต้านไวรัส ระดับตัวยาในเลือดจะลดลงและเชื้อไวรัสจะเริ่มปรับตัวและกลายพันธุ์ จนสามารถต่อต้านต่อตัวยา และแม้ว่าจะกลับไปรับประทานยาตัวเดิมในปริมาณเดิมอีก ยาก็จะไม่ได้ผลในการลดปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดลง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก voathai.com
Report by LIV APCO
พบผู้ติดเชื้อเอชไอวีดื้อต่อยาต้านไวรัสบางตัวเพิ่มขึ้น
การศึกษานี้ชี้ว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีราว 15 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้ยาต้านไวรัสแบบค็อกเทลที่มียา tenofovir เป็นส่วนผสมจะเริ่มดื้อต่อยาที่ใช้ในช่วงปีแรกของการบำบัด นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่า สองในสามของผู้ป่วยที่ดื้อต่อยา tenofovir จะเริ่มดื้อต่อยาต้านไวรัสตัวอื่นๆ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบในยาค็อกเทลอีกด้วย
ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการศึกษาทั้งหมดเริ่มมีอาการป่วยหนักขึ้น แม้ว่าจะได้รับการบำบัดด้วยยาต้านไวรัส tenofovir หนึ่งในยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็ตาม
คุณ Ravi Gupta ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านโรคติดต่อแห่งมหาวิทยาลัย University College of London กล่าวว่าองค์การอนามัยโลกหรือ WHO แนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัส tenofovir ในการบำบัดเอชไอวี เพราะถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดตัวหนึ่งเเละเป็นยาค็อกเทลตัวหลัก
ทีมนักวิจัยต้องการศึกษาเรื่องนี้เพื่อหาคำตอบว่าผลการบำบัดด้วยยาตัวนี้จะเป็นอย่างไรหากใช้ในกลุ่มผู้ติดเชื้อกลุ่มใหญ่ในประเทศยากจน
คุณ Gupta ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อในอังกฤษกล่าวว่า ปัญหาที่พบคือคนจำนวนมากไม่ใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีแบบค็อกเทลเป็นประจำอย่างที่ควร ทำให้เชื้อเอชไอวีเริ่มดื้อต่อยา
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อในอังกฤษกล่าวว่า ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างน้อย 85-90 เปอร์เซ็นต์ของระยะเวลาทั้งหมด เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพสูงที่สุด ไม่เช่นนั้นเชื้อไวรัสจะเริ่มกลายพันธุ์
ในพื้นที่ชนบทห่างไกล คุณ Gupta ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ามีการขาดแคลนยาต้านไวรัส tenofovir เพราะมีปัญหาด้านการจัดส่งยาทำให้การบำบัดขาดความต่อเนื่อง
เขากล่าวว่าหากผู้ป่วยหยุดรับประทานยาต้านไวรัส ระดับตัวยาในเลือดจะลดลงและเชื้อไวรัสจะเริ่มปรับตัวและกลายพันธุ์ จนสามารถต่อต้านต่อตัวยา และแม้ว่าจะกลับไปรับประทานยาตัวเดิมในปริมาณเดิมอีก ยาก็จะไม่ได้ผลในการลดปริมาณไวรัสเอชไอวีในเลือดลง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก voathai.com
Report by LIV APCO