เผยจำนวนผู้ป่วยเอดส์ดื้อยาต้านไวรัสพุ่ง รัฐแบกรับค่าใช้จ่ายอื้อ รามาธิบดีร่วมกับ TCELS คิดค้นชุดตรวจยีนดื้อยาต้านไวรัสเอชไอวีความไวสูงสำเร็จ เป็นเข็มทิศให้แพทย์เลือกทีจะให้ยาต้านตรงยีนกับผู้ป่วยได้
จากรายงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งประเทศที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ สปสช. จำนวน 180,000-200,000 คน มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสโดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 140,000 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่สามารถใช้ยาต้านไวรัสในสูตรแรกได้จำนวน 10,000 คนเนื่องจากมีภาวะดื้อยาสูตรแรก ทั้งยาซิโดวูดีน (Zidovudine) ลามิวูดีน (lamivudine) สตาวูดีน (stavudine) เอฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) หรือ เนวิราพีน (Nevirapine) จึงต้องหันมาใช้ยาสูตรสำรอง หรือยาสูตร 2 ซึ่งมีราคาแพงขึ้นเป็นเดือนละ 5,000 บาท แต่ที่เป็นปัญหาคือผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่ง มีภาวะแพ้ยาสูตรสำรองในกลุ่มนี้ ทำให้ต้องหันมาใช้ยาสูตร 3 ซึ่งมีราคาแพงอย่างมากตกเดือนละ 7,000-8,000 บาทและไม่อยู่ในบัญชียาหลัก ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ต้องออกเงินรักษาตัวเอง หรือต้องจำยอมใช้ยาสูตรเดิม หากเศรษฐานะไม่อำนวยเพื่อคงอาการไม่ให้ทรุดหนักลงไปจนกลายเป็นเอดส์เต็มขั้น
อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญของการตรวจไวรัสเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัสทางห้องปฏิบัติการคือชุดตรวจในปัจจุบันไม่สามารถตรวจพบเชื้อดื้อยา (drug-resistant virus) จำนวนน้อยกว่าร้อยละยี่สิบที่อยู่ปะปนกับไวรัสที่ไวต่อยาต้านไวรัส(drug-sensitive virus)ทำให้ออกเป็นผลลบผิดพลาด(False negative) ได้ว่าไวรัสทั้งหมดยังไวต่อยาต้านไวรัส ทำให้แพทย์หลงให้ยาต้านไวรัสชุดเดิมที่รักษาไม่ได้ผลต่อเนื่องส่งผลให้เชื้อไวรัสดื้อยาเพิ่มจำนวนขึ้นและการดื้อต่อยาลุกลามไปยังยาต้านไวรัสสูตรแรกทั้งกลุ่ม
จากปัญหาข้างต้น รศ. ดร. วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าหน่วยไวรัส รพ. รามาธิบดีโดยการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) ได้พัฒนา”ชุดตรวจไวรัสเอชไอวีดื้อต่อยาต้านไวรัส ความไวสูง (Deep sequencing)” โดยตรวจวิเคราะห์บนเครื่อง Next Generation Sequencer ซึ่งสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจจับไวรัสดื้อยาสูงกว่าวิธีการเดิม (Sanger sequencing) ถึง 100-200 เท่า สามารถตรวจจับเชื้อไวรัสดื้อยาที่ปะปนอยู่กับไวรัสไวต่อยาต้านไวรัสในสัดส่วน 1 ต่อ 500 หรือ 1 ต่อ 1,000 ได้
“การที่เราสามารถตรวจพบเชื้อดื้อยาปริมาณเล็กน้อยได้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ติดเชื้อเพราะแพทย์ผู้รักษาจะทราบได้ล่วงหน้าหรือทราบเร็วขึ้นกว่าเดิมว่าได้เกิดเชื้อดื้อยาขึ้นร่างกายผู้ติดเชื้อแล้ว มีเวลาปรับเปลี่ยนยาต้านไวรัสได้ทันท่วงทีโดยใช้ยาตัวอื่นที่อยู่ในยาสูตรแรกซึ่งมีราคาถูกและถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักเรียบร้อยแล้วทดแทน โดยผู้ติดเชื้อภายใต้การดูแลของแพทย์สามารถรับยาทดแทนได้ฟรีจากการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ตรงกันข้ามหากการตรวจเชื้อดื้อยาล่าช้าจะส่งผลให้ไวรัสเอชไอวีดังกล่าวดื้อต่อยาต้านไวรัสสูตรแรกทั้งกลุ่มทำให้ต้องหันไปใช้ยาต้านไวรัสสูตรที่สองที่มีราคาแพง หรือสูตรที่สามที่ผู้ติดเชื้อต้องออกค่าใช้จ่ายเองเนื่องจากยังไม่ได้รับการบรรจุในบัญชียาหลัก” รศ.ดร.วสันต์ กล่าว
รศ.ดร.วสันต์ กล่าวอีกว่า ชุดตรวจไวรัสเอชไอวีดื้อต่อยาต้านไวรัส ความไวสูง สามารถตรวจสิ่งส่งตรวจได้หลายตัวอย่างพร้อมกัน เช่นหากตรวจ 12 ตัวอย่างพร้อมกันจะทำให้ราคาค่าตรวจแต่ละตัวอย่างลดต่ำลงกว่าครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการตรวจเชื้อดื้อยาด้วยวิธีดั้งเดิม
ที่มา : newswit
Report : LIV Capsule
TCELS ร่วมกับรามาฯ คิดค้นชุดตรวจยีนดื้อยาต้านไวรัสเอดส์ได้สำเร็จ
จากรายงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ระบุว่า จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งประเทศที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับ สปสช. จำนวน 180,000-200,000 คน มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสโดยใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 140,000 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่สามารถใช้ยาต้านไวรัสในสูตรแรกได้จำนวน 10,000 คนเนื่องจากมีภาวะดื้อยาสูตรแรก ทั้งยาซิโดวูดีน (Zidovudine) ลามิวูดีน (lamivudine) สตาวูดีน (stavudine) เอฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) หรือ เนวิราพีน (Nevirapine) จึงต้องหันมาใช้ยาสูตรสำรอง หรือยาสูตร 2 ซึ่งมีราคาแพงขึ้นเป็นเดือนละ 5,000 บาท แต่ที่เป็นปัญหาคือผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่ง มีภาวะแพ้ยาสูตรสำรองในกลุ่มนี้ ทำให้ต้องหันมาใช้ยาสูตร 3 ซึ่งมีราคาแพงอย่างมากตกเดือนละ 7,000-8,000 บาทและไม่อยู่ในบัญชียาหลัก ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ต้องออกเงินรักษาตัวเอง หรือต้องจำยอมใช้ยาสูตรเดิม หากเศรษฐานะไม่อำนวยเพื่อคงอาการไม่ให้ทรุดหนักลงไปจนกลายเป็นเอดส์เต็มขั้น
อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญของการตรวจไวรัสเอชไอวีที่ดื้อต่อยาต้านไวรัสทางห้องปฏิบัติการคือชุดตรวจในปัจจุบันไม่สามารถตรวจพบเชื้อดื้อยา (drug-resistant virus) จำนวนน้อยกว่าร้อยละยี่สิบที่อยู่ปะปนกับไวรัสที่ไวต่อยาต้านไวรัส(drug-sensitive virus)ทำให้ออกเป็นผลลบผิดพลาด(False negative) ได้ว่าไวรัสทั้งหมดยังไวต่อยาต้านไวรัส ทำให้แพทย์หลงให้ยาต้านไวรัสชุดเดิมที่รักษาไม่ได้ผลต่อเนื่องส่งผลให้เชื้อไวรัสดื้อยาเพิ่มจำนวนขึ้นและการดื้อต่อยาลุกลามไปยังยาต้านไวรัสสูตรแรกทั้งกลุ่ม
จากปัญหาข้างต้น รศ. ดร. วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าหน่วยไวรัส รพ. รามาธิบดีโดยการสนับสนุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) ได้พัฒนา”ชุดตรวจไวรัสเอชไอวีดื้อต่อยาต้านไวรัส ความไวสูง (Deep sequencing)” โดยตรวจวิเคราะห์บนเครื่อง Next Generation Sequencer ซึ่งสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจจับไวรัสดื้อยาสูงกว่าวิธีการเดิม (Sanger sequencing) ถึง 100-200 เท่า สามารถตรวจจับเชื้อไวรัสดื้อยาที่ปะปนอยู่กับไวรัสไวต่อยาต้านไวรัสในสัดส่วน 1 ต่อ 500 หรือ 1 ต่อ 1,000 ได้
“การที่เราสามารถตรวจพบเชื้อดื้อยาปริมาณเล็กน้อยได้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ติดเชื้อเพราะแพทย์ผู้รักษาจะทราบได้ล่วงหน้าหรือทราบเร็วขึ้นกว่าเดิมว่าได้เกิดเชื้อดื้อยาขึ้นร่างกายผู้ติดเชื้อแล้ว มีเวลาปรับเปลี่ยนยาต้านไวรัสได้ทันท่วงทีโดยใช้ยาตัวอื่นที่อยู่ในยาสูตรแรกซึ่งมีราคาถูกและถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักเรียบร้อยแล้วทดแทน โดยผู้ติดเชื้อภายใต้การดูแลของแพทย์สามารถรับยาทดแทนได้ฟรีจากการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ ตรงกันข้ามหากการตรวจเชื้อดื้อยาล่าช้าจะส่งผลให้ไวรัสเอชไอวีดังกล่าวดื้อต่อยาต้านไวรัสสูตรแรกทั้งกลุ่มทำให้ต้องหันไปใช้ยาต้านไวรัสสูตรที่สองที่มีราคาแพง หรือสูตรที่สามที่ผู้ติดเชื้อต้องออกค่าใช้จ่ายเองเนื่องจากยังไม่ได้รับการบรรจุในบัญชียาหลัก” รศ.ดร.วสันต์ กล่าว
รศ.ดร.วสันต์ กล่าวอีกว่า ชุดตรวจไวรัสเอชไอวีดื้อต่อยาต้านไวรัส ความไวสูง สามารถตรวจสิ่งส่งตรวจได้หลายตัวอย่างพร้อมกัน เช่นหากตรวจ 12 ตัวอย่างพร้อมกันจะทำให้ราคาค่าตรวจแต่ละตัวอย่างลดต่ำลงกว่าครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการตรวจเชื้อดื้อยาด้วยวิธีดั้งเดิม
ที่มา : newswit
Report : LIV Capsule