พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงสั่งสอน
ให้พุทธบริษัทนั้นละกรรมชั่วออกจากกาย วาจา ใจ
ให้หมดไปสิ้นไปได้ยิ่งดีหลาย แล้วมันจะได้ตั้งหน้าสั่งสม
ตั้งแต่บุญกุศลล้วนๆให้เกิดมีขึ้นในตนเรื่อยไป
แล้วบุญกุศลนั้นมันจะได้เต็มเร็วเข้าบาดนี่
เพราะมันไม่มีบาปมาแทรกแซง
อันบุญนี้นะมีแต่ส่งเสริมจิตใจให้ยินดีในความสุขยิ่งๆขึ้นไป
ไม่ให้ติดอยู่ในความสุขชั่วคราว บุญที่สั่งสมโดยถูกทางนะ
เรียกว่า
การบำเพ็ญบุญกุศลให้มันครบวงจรน่ะ
เหมือนอย่างภาษาสมัยใหม่เขาพูดนะ
ทำยังไงบำเพ็ญบุญกุศลครบวงจรน่ะ
เอ้า ทานก็ให้ รักษาศีลก็รักษา ภาวนาก็ภาวนา
นี่เรียกว่า เราบำเพ็ญไปพร้อมๆกันไปเลย
"ให้ทาน" ก็หมายความว่า
"เรามีเมตตาจิต"
คิดให้สัตว์ทั้งหลายเป็นสุขทั่วหน้ากันอยู่เสมอทุกวั๊นทุกวันไป
ทีนี้เมื่อได้โอกาสที่ควรจะสละข้าวของเงินทอง
ของตนที่มีอยู่ให้เป็นทานเมื่อใด เราก็สละออกไป
เช่นอย่างเราเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก ลำบาก อย่างนี้นะ
คนนั้นเขาตกทุกข์ได้ยากจริงๆ ไม่ใช่เขาแกล้งทำ
เมื่อเห็นเขาแล้วก็เอ็นดูสงสาร มีอะไรก็ให้กันไปสงเคราะห์กันไป
อันนี้เรียกว่าให้โดยอาการสงเคราะห์ ด้วยจิตเมตตา
โดยฐานที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
เมื่อผู้นั้นกรรมวิบากที่ตนทำมาแต่ก่อนนั้นมันมาให้ผลเอา
ให้ได้ถึงซึ่งความวิบัติอะไรขึ้นมาอย่างนี้นะ
แทนที่จะไปแช่งซ้ำนั้น..ไม่เอา ผิดธรรม เป็นกรรม
ถ้าเห็นใครตกทุกข์ได้ยาก เกิดอุบัติเหตุแล้วแช่งซ้ำนะเป็นบาป
ก็ต้องตั้งความเมตตาเอ็นดูสงสารขึ้นมา
ถึงแม้ว่า เราจะรู้ว่าคนนั้นมีประวัติอันชั่วร้ายมาก็ตาม
แต่มันก็เป็นเรื่องของเขา อันความชั่วนั้นน่ะ
แต่ว่า ไอ้ความเอ็นดูกรุณานี้เป็นหน้าที่ของเรา
ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม กรุณาธรรม ที่จะต้องแสดงออก
ต่อบุคคลทุกประเภท ทั้งคนดีและคนชั่ว นี้นะให้เข้าใจ
อันความวิบัติความชั่วร้ายทั้งหลายน่ะให้เป็นเรื่องของเขาไป
เออ เราต้องคิดอย่างนั้น อันความเอ็นดูสงสารความช่วยเหลือเกื้อกูลนั้น
เป็นหน้าที่ของเราผู้เปี่ยมไปด้วยคุณธรรมดังกล่าวมานั้น
อันนี้น่ะความเมตตาในพุทธศาสนาน่ะ
เรียกว่า
“เมตตาแบบอัปปมัญญา” คือ แผ่ไมตรีจิต
คิดให้สัตว์ทั้งหลายเป็นสุขทั่วหน้ากัน
ทั้งที่เป็นมิตรทั้งที่เป็นศัตรูโดยไม่มีประมาณเลย
ว่าแต่สัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิตเป็นอยู่ในโลกสันนิวาสอันนี้
ในภพทั้งสามเนี่ย กามภพก็ดี รูปภพก็ดี อรูปภพก็ดี
หมู่นี้นะ เราต้องแผ่ส่วนบุญกุศลความดีที่เรากระทำนี้
ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งที่เป็นมิตรทั้งที่เป็นศัตรู
โดยทั่วไปเลย ไม่มีประมาณนะ อย่างนี้นะ
ท่านจึงเรียกว่าเป็น
“เมตตาอัปปมัญญา”
เป็นเมตตาในพระพุทธศาสนา
เมตตาอย่างนี้แหละเป็นเครื่องป้องกัน
ไม่ให้จิตใจของตัวเองนี้นะสร้างความโกรธความพยาบาทให้มีขึ้น
ให้ความโกรธความพยาบาทมันน้อยเบาบางออกไปจากจิตใจ
ถ้าหากว่าไม่เจริญเมตตาธรรม กรุณาธรรมดังกล่าวมานี้แล้ว
มันก็จะไปเลือกที่รัก ผลักที่ชัง ไปอย่างนั้นแหละ
เรารักคนใดก็จึงค่อยเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนนั้น
ถ้าเกลียดชังคนใดมาแล้วไม่เหลียวแลเลย
มันจะเป็นทุกข์เป็นยากมันจะล้มจะตายก็ช่างมัน
ไอ้อย่างนี้เนี่ยมันไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
คำสั่งสอนพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นพึงพากันเข้าใจ
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
"อานุภาพแห่งศีล"
เมตตาอัปปมัญญา : หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ
วัดอรัญญบรรพต
อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
...
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงสั่งสอน
ให้พุทธบริษัทนั้นละกรรมชั่วออกจากกาย วาจา ใจ
ให้หมดไปสิ้นไปได้ยิ่งดีหลาย แล้วมันจะได้ตั้งหน้าสั่งสม
ตั้งแต่บุญกุศลล้วนๆให้เกิดมีขึ้นในตนเรื่อยไป
แล้วบุญกุศลนั้นมันจะได้เต็มเร็วเข้าบาดนี่
เพราะมันไม่มีบาปมาแทรกแซง
อันบุญนี้นะมีแต่ส่งเสริมจิตใจให้ยินดีในความสุขยิ่งๆขึ้นไป
ไม่ให้ติดอยู่ในความสุขชั่วคราว บุญที่สั่งสมโดยถูกทางนะ
เรียกว่า การบำเพ็ญบุญกุศลให้มันครบวงจรน่ะ
เหมือนอย่างภาษาสมัยใหม่เขาพูดนะ
ทำยังไงบำเพ็ญบุญกุศลครบวงจรน่ะ
เอ้า ทานก็ให้ รักษาศีลก็รักษา ภาวนาก็ภาวนา
นี่เรียกว่า เราบำเพ็ญไปพร้อมๆกันไปเลย
"ให้ทาน" ก็หมายความว่า "เรามีเมตตาจิต"
คิดให้สัตว์ทั้งหลายเป็นสุขทั่วหน้ากันอยู่เสมอทุกวั๊นทุกวันไป
ทีนี้เมื่อได้โอกาสที่ควรจะสละข้าวของเงินทอง
ของตนที่มีอยู่ให้เป็นทานเมื่อใด เราก็สละออกไป
เช่นอย่างเราเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก ลำบาก อย่างนี้นะ
คนนั้นเขาตกทุกข์ได้ยากจริงๆ ไม่ใช่เขาแกล้งทำ
เมื่อเห็นเขาแล้วก็เอ็นดูสงสาร มีอะไรก็ให้กันไปสงเคราะห์กันไป
อันนี้เรียกว่าให้โดยอาการสงเคราะห์ ด้วยจิตเมตตา
โดยฐานที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกัน
เมื่อผู้นั้นกรรมวิบากที่ตนทำมาแต่ก่อนนั้นมันมาให้ผลเอา
ให้ได้ถึงซึ่งความวิบัติอะไรขึ้นมาอย่างนี้นะ
แทนที่จะไปแช่งซ้ำนั้น..ไม่เอา ผิดธรรม เป็นกรรม
ถ้าเห็นใครตกทุกข์ได้ยาก เกิดอุบัติเหตุแล้วแช่งซ้ำนะเป็นบาป
ก็ต้องตั้งความเมตตาเอ็นดูสงสารขึ้นมา
ถึงแม้ว่า เราจะรู้ว่าคนนั้นมีประวัติอันชั่วร้ายมาก็ตาม
แต่มันก็เป็นเรื่องของเขา อันความชั่วนั้นน่ะ
แต่ว่า ไอ้ความเอ็นดูกรุณานี้เป็นหน้าที่ของเรา
ผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรม กรุณาธรรม ที่จะต้องแสดงออก
ต่อบุคคลทุกประเภท ทั้งคนดีและคนชั่ว นี้นะให้เข้าใจ
อันความวิบัติความชั่วร้ายทั้งหลายน่ะให้เป็นเรื่องของเขาไป
เออ เราต้องคิดอย่างนั้น อันความเอ็นดูสงสารความช่วยเหลือเกื้อกูลนั้น
เป็นหน้าที่ของเราผู้เปี่ยมไปด้วยคุณธรรมดังกล่าวมานั้น
อันนี้น่ะความเมตตาในพุทธศาสนาน่ะ
เรียกว่า “เมตตาแบบอัปปมัญญา” คือ แผ่ไมตรีจิต
คิดให้สัตว์ทั้งหลายเป็นสุขทั่วหน้ากัน
ทั้งที่เป็นมิตรทั้งที่เป็นศัตรูโดยไม่มีประมาณเลย
ว่าแต่สัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิตเป็นอยู่ในโลกสันนิวาสอันนี้
ในภพทั้งสามเนี่ย กามภพก็ดี รูปภพก็ดี อรูปภพก็ดี
หมู่นี้นะ เราต้องแผ่ส่วนบุญกุศลความดีที่เรากระทำนี้
ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งที่เป็นมิตรทั้งที่เป็นศัตรู
โดยทั่วไปเลย ไม่มีประมาณนะ อย่างนี้นะ
ท่านจึงเรียกว่าเป็น “เมตตาอัปปมัญญา”
เป็นเมตตาในพระพุทธศาสนา
เมตตาอย่างนี้แหละเป็นเครื่องป้องกัน
ไม่ให้จิตใจของตัวเองนี้นะสร้างความโกรธความพยาบาทให้มีขึ้น
ให้ความโกรธความพยาบาทมันน้อยเบาบางออกไปจากจิตใจ
ถ้าหากว่าไม่เจริญเมตตาธรรม กรุณาธรรมดังกล่าวมานี้แล้ว
มันก็จะไปเลือกที่รัก ผลักที่ชัง ไปอย่างนั้นแหละ
เรารักคนใดก็จึงค่อยเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนนั้น
ถ้าเกลียดชังคนใดมาแล้วไม่เหลียวแลเลย
มันจะเป็นทุกข์เป็นยากมันจะล้มจะตายก็ช่างมัน
ไอ้อย่างนี้เนี่ยมันไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
คำสั่งสอนพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นพึงพากันเข้าใจ
...
ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
"อานุภาพแห่งศีล"